ถังหูหลู

ขนมหวานของจีนภาคเหนือ

ถังหูหลู (จีนตัวย่อ: 糖葫芦; จีนตัวเต็ม: 糖葫蘆; พินอิน: tánghúlu) เป็นขนมขบเคี้ยวหรือของหวานแบบจีนภาคเหนือ (华北) ที่ใช้น้ำตาลเคลือบแข็งบนผิวผลไม้สดที่เสียบก้านไม้ยาว โดยเฉพาะแบบดั้งเดิมที่ใช้น้ำตาลกรวด (冰糖; ปิงถัง) เคลือบผลชานจาสด เป็นที่มาของชื่อเต็มคือ ปิงถังหูหลู (冰糖葫芦; 冰糖葫蘆; bīngtánghúlu)

ถังหูหลู
ปิงถังหูหลูแบบดั้งเดิม (เซี่ยงไฮ้, 2008)
ชื่ออื่นปิงถังหูหลู
ประเภทขนมขบเคี้ยว หรือ ของหวาน
แหล่งกำเนิดจีน
ภูมิภาคเมืองใหญ่ในประเทศจีน พบมากทางภาคเหนือ
ส่วนผสมหลักชานจา, น้ำเชื่อมร้อนจากน้ำตาลกรวด
รูปแบบอื่นผลไม้อื่น ๆ เช่น มะเขือเทศเชอรี่ ส้มแมนดาริน สตรอเบอร์รี บลูเบอร์รี สับปะรด กีวี กล้วย หรือองุ่น
ถังหูหลู
อักษรจีนตัวเต็ม糖葫蘆
อักษรจีนตัวย่อ糖葫芦
ความหมายตามตัวอักษรน้ำเต้าน้ำตาล
ปิงถังหูหลู
อักษรจีนตัวเต็ม冰糖葫蘆
อักษรจีนตัวย่อ冰糖葫芦
ความหมายตามตัวอักษรน้ำเต้าน้ำตาลกรวด

ถังหูหลูรสหวานเปรี้ยวกรอบนี้มีประวัติตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่งและยังคงได้รับความนิยมไปทั่วภาคเหนือของจีน[1] พบเห็นได้บ่อยในช่วงฤดูหนาว ตามตรอกซอกซอย สถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ

ชื่อ

แก้

ชื่อทั่วไปสำหรับขนมถังหูหลู และปิงถังหูหลู มีความหมายตามตัวอักษรว่า "น้ำเต้าน้ำตาล" และ "น้ำเต้าน้ำตาลกรวด" ตามลำดับ คำว่า "ถัง" หรือ น้ำตาล หมายถึงการเคลือบน้ำตาล ในขณะที่ "หูหลู" หรือ น้ำเต้า หมายถึงขนมที่มีความคล้ายคลึงกับรูปทรงน้ำเต้า

ในอีกที่มาหนึ่ง ถังหูหลูแบบดั้งเดิมมีขายเฉพาะในฤดูหนาว อุณหภูมิเย็นจัดช่วยให้น้ำตาลที่เคลือบด้านนอกแข็งตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งชื่อ "ปิงถังหูหลู" สะท้อนให้เห็นรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของความแข็งและใสเหมือนกินน้ำแข็ง

ถังหูหลูแบบดั้งเดิมที่มีต้นกำเนิดในภูมิภาคปักกิ่ง - เทียนจินของจีน ที่ปักกิ่งเรียกว่า ถังหูหลู หรือ ปิงถังหูหลู ที่เทียนจินเรียกว่า ถังตุน (糖礅) ชิงเต่าเรียกว่า ถังฉิว (糖球) และในไต้หวันเรียกว่า หลี่จึเซียน (李仔攕), เหนี่ยวหลีจึเกา (鳥梨仔膏), เหนี่ยวหลีจึถัง (鳥梨仔糖) (หลี่ หรือ เหนี่ยวหลี หมายถึงลูกสาลี่นก (Pyrus calleryana) ดอง เป็นสาลี่ขนาดเล็กมาก มีรสขมเมื่อดองมีรสเปรี้ยว พบมากทางใต้เช่น ซัวเถา และไต้หวันของประเทศจีน)

ประวัติ

แก้

ตามตำนานบอกเล่าเชื่อว่า ถังหูหลู เกิดขึ้นในราชวงศ์เหลียว

ตำนานบอกเล่าพื้นบ้านอีกเรื่องที่อ้างอิงประวัติศาสตร์ เชื่อว่าพระสนมหฺวางในจักรพรรดิกวงจงแห่งราชวงศ์ซ่ง ประชวรหนักและแพทย์หลวงไม่สามารถรักษาได้ จักรพรรดิจีงทรงประกาศหาทั้งประเทศและแพทย์คนหนึ่งประสบความสำเร็จในการรักษามเหสีโดยให้ยาชานจาเคลือบน้ำตาลกรอบ ต่อมาวิธีการนี้แพร่หลายในชาวบ้านและถูกเรียกว่า ถังหูหลู[2] อย่างไรก็ตามเนื่องจากเทคโนโลยีการทำน้ำตาลจากอ้อยแม้ถูกนำเข้ามาใช้จากอินเดียในสมัยราชวงศ์ถัง แต่น้ำตาลเป็นสิ่งฟุ่มเฟือยสำหรับคนทั่วไปในสมัยนั้นและพบน้ำตาลในหนังสือโบราณเป็นยาเท่านั้น[3]

ความหลากหลาย

แก้

นอกจากผลชานจาซึ่งเหมาะกับการขบเคี้ยวแล้ว[4] ในปัจจุบันยังใช้ผลไม้อื่น ๆ เช่น มะเขือเทศเชอรี่ ส้มแมนดาริน สตรอเบอร์รี บลูเบอร์รี สับปะรด กีวี กล้วย หรือองุ่น ในบางครั้งเลาะเมล็ดและแกนของชานจาออกและมักใส่ถั่วแดงเชื่อมหรือวอลนัทแทนก่อนที่จะเสียบไม้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Timothy G. Roufs Ph.D.; Kathleen Smyth Roufs (29 July 2014). Sweet Treats around the World: An Encyclopedia of Food and Culture: An Encyclopedia of Food and Culture. ABC-CLIO. p. 85. ISBN 978-1-61069-221-2.
  2. "bīngtáng húlú – Candied Haw in a Stick – 冰糖葫芦 | MOVABLE FEASTS" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  3. Matson, Tiana (2021-08-22). "Bing Tanghulu – Chinese Candied Fruit on a Stick". Yum Of China (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-06. สืบค้นเมื่อ 2022-02-06.
  4. Mary Choate and Aaron Brachfeld (31 August 2015). At Home in Nature, a user's guide. Coastalfields Press. p. 315. GGKEY:K5213DDZJD2.