ชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา
นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา หรือ เสี่ยหม่อง[1]กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยฟลายอิ้ง เซอร์วิส จำกัด กรรมการอำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ สมาคมกีฬาเทนนิส อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โฆษกพรรคชาติพัฒนา และอดีตผู้อำนวยการเลือกตั้งพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
ชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา | |
---|---|
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
โฆษกพรรคชาติพัฒนา | |
ดำรงตำแหน่ง 18 กันยายน พ.ศ. 2554 – พ.ศ. 2566 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 เมษายน พ.ศ. 2507 กรุงเทพมหานคร |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | ชาติพัฒนา |
ประวัติ
แก้ชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา เกิดเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2507 ที่เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร[2] เป็นบุตรของพลอากาศเอกชนินทร์ จันทรุเบกษา (เป็นหลานของพลอากาศเอก บุญชู จันทรุเบกษา) กับนางปาลีรัฐ จันทรุเบกษา สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษา และมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย จบการอาชีวศึกษา และด้านด้านคอมพิวเตอร์ จากประเทศออสเตรเลีย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และผ่านการอบรมหลักสูตรการบิน จากกองทัพอากาศ และจากสถาบันการบินพลเรือน
การทำงาน
แก้ชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา เคยสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กรุงเทพมหานคร ในสังกัดพรรคชาติพัฒนา ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้รับมอบหมายจากพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ให้เป็นผู้อำนวยการเลือกตั้งของพรรค (รับผิดชอบเขตกรุงเทพมหานครและภาคกลาง) และได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[3]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติพัฒนา ลำดับที่ 5[4] แต่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยภายหลังว่าการเลือกตั้งนี้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญไปด้วย[5] ต่อมาได้ตัดสินใจลาออกจากสมาชิกพรรคชาติพัฒนาและย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทย
ผลงานด้านการแสดง
แก้ละครโทรทัศน์
แก้- ปี พ.ศ. 2552 ดินน้ำลมไฟ (ช่อง 3) รับบทเป็น ผู้สร้างหนัง (รับเชิญ)
- ปี พ.ศ. 2554 ตะวันเดือด (ช่อง 3) รับบทเป็น เฮียโชติ (รับเชิญ)
- ปี พ.ศ. 2554 เหนือเมฆ (ช่อง 3)
- ปี พ.ศ. 2559 ชาติพยัคฆ์ (ช่อง 3) รับบทเป็น ผู้ใหญ่เชื้อ (รับเชิญ)
- ปี พ.ศ. 2559 ดาวหลงฟ้า ภูผาสีเงิน (ช่อง 3) รับบทเป็น เอกอัครราชทูตซามาร์
- ปี พ.ศ. 2564 เกมล่าทรชน (ช่อง 3) รับบทเป็น พ่อเลี้ยงกาแล (รับเชิญ)
ละครชุด
แก้- ปี พ.ศ. 2556 สุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ช่อง 3) ตอน คุณชายรณพีร์ รับบทเป็น เป็นผู้บังคับการกองบิน
ละครเฉลิมพระเกียรติ
แก้- ละคร ป่ารักน้ำ (ช่อง 5) รับบทเป็น พ่อสลิลา (ลิลา)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[6]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ โทรโข่งรบ.เกี่ยงงาน 'ชลิตรัตน์'เน้นขำขัน เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจาก ข่าวสด
- ↑ "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 2011-08-29.
- ↑ ครม.ตั้งพัลลภ-โอฬาร-สุชน-บิ๊กตุ้ยเป็นที่ปรึกษานายกฯ เก็บถาวร 2011-08-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจาก เดลินิวส์
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคชาติพัฒนา)
- ↑ เปิด คำวินิจฉัยกลาง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เลือกตั้ง 2 ก.พ. โมฆะ เก็บถาวร 2015-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. มติชน. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2557.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๑, ตอน ๒๗ ข , ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙, ตอน ๓๕ ข , ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕, หน้า ๒๐๑