ชนสิษฎ์ วัฒนวรางกูร

พลตำรวจเอก ชนสิษฎ์ วัฒนวรางกูร ( 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 ) หรือ บิ๊กเบิ้ม อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ​ อดีตจเรตำรวจแห่งชาติ นายตำรวจราชองครักษ์[3] อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ,รองจเรตำรวจแห่งชาติ,ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3,ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 และรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ตำแหน่งหน้าที่พิเศษได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[1]
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 30 กันยายน พ.ศ. 2564
(0 ปี 365 วัน)
จเรตำรวจแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 – 30 กันยายน พ.ศ. 2563
(0 ปี 364 วัน)
ก่อนหน้าพลตำรวจเอก สุชาติ ธีระสวัสดิ์
ถัดไปพลตำรวจเอก วิสนุ ปราสาททองโอสถ
ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 30 กันยายน พ.ศ. 2562
(0 ปี 364 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 (63 ปี)
คู่สมรสกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร
ศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร
โรงเรียนนายเรือ
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
รับใช้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
แผนก/สังกัดกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 3
กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 6
กองบัญชาการตำรวจนครบาล
ประจำการพ.ศ. 2530 - 2564
ชั้นยศ พลตำรวจเอก[2]


ประวัติ

แก้

พลตำรวจเอก ชนสิษฎ์ วัฒนวรางกูร เกิดวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 เป็นบุตรชายคนโตในบรรดาพี่น้อง 4 คน ของพลตำรวจเอก สนอง วัฒนวรางกูร อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ มีน้องอีก 3 คน คือ พลอากาศเอก สฤษฎ์พงศ์ วัฒนวรางกูร ,นางวิรงรอง รัตนวิจัย และ นางสนองนุช ภิรมย์ภักดี เริ่มรับราชการตำรวจครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2529[4] จนกระทั่งเมื่อ 1 ตุลาคม 2562 ได้ดำรงตำแหน่ง จเรตำรวจแห่งชาติ เมื่อปี 2545 ขณะดำรงตำแหน่งผู้กำกับการ มีเป็นยศพันตำรวจเอก ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นนายตำรวจราชสำนักเวร

ในวงการสีกากีเป็นที่รู้จักดีว่า พลตำรวจเอก ชนสิษฎ์ วัฒนวรางกูร ผ่านการปฏิบัติงานทั้งด้านงานบู๊และงานบุ๋น ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นคนที่มีจุดยืนที่ชัดเจนในการปกป้องสถาบัน มีความเด็ดขาดรับผิดชอบต่อหน้าที่ ที่รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาจะทำเต็มที่สุดความสามารถ เป็นผู้ที่มีระเบียบวินัยสูง แม้ไม่ค่อยพูด ไม่ค่อยปรากฏตามข่าว หรือสื่อสารต่างๆ บุคลิก  เรียบง่าย มีความเป็นตัวของตัวเองสูง  ไม่มีพิธีรีตอง มีจุดยืนส่วนตัวไม่ชอบให้ใครมาห้อมล้อม แต่ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการถือว่าเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถที่เด็ดขาด มีหลักการ และรับฟังเหตุผลของบุคคลอื่นที่ร่วมปฏิบัติงานด้วย  

ครอบครัว

แก้

พลตำรวจเอก ชนสิษฎ์ วัฒนวรางกูร สมรสกับ นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร[5] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา , อดีตคณะกรรมการที่ปรึกษาพิเศษของนายกรัฐมนตรี ซึ่งปัจจุบัน  ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด ,ประธานกรรมการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) มีบุตร 2 คน คนแรก นายภากร หรือไผ่ วัฒนวรางกูร อายุ 27 ปี อยู่ระหว่างศึกษาที่มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ต  และ น.ส.แพรวา หรือแพร วัฒนวรางกูร อายุ 23 ปี อยู่ระหว่างศึกษาที่มหาวิทยาลัยที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

การศึกษา

แก้
  • โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 21
  • โรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 78 ( ชั้นปีที่ 1 ) 78[6]
  • ปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต
  • ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
  • โรงเรียนนายร้อยตำรวจ - หลักสูตรข้าราชการตำรวจและบุคคลที่บรรจุหรือโอนมาเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร  หรือ กอส.รุ่นที่ 6
  • หลักสูตรฝ่ายอำนวยการ กรมตำรวจ ชุดที่ 15  โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
  • หลักสูตรการสืบสวนสอบสวนป้องกันและติดตามการฟอกเงินและอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • หลักสูตร FBI ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 56
  • หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บยส.) รุ่นที่ 20
  • หลักสูตรนักบริหารการเงินการคลังภาครัฐระดับสูง (บงส.) รุ่นที่ 4
  • หลักสูตรวิทยาการผู้นำยุคใหม่ ไทย – จีน รุ่นที่ 1

การรับราชการ

แก้
  • 20 มี.ค. 2534 - รองสารวัตรสืบสวนสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชย 2
  • 1 ก.พ. 2538 - สารวัตรสอบสวน สถานีตำรวจพลับพลาไชย 2
  • 16 เม.ย. 2540 - สารวัตรงาน 1 กองกำกับการ 1 กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ
  • 1 เม.ย. 2541 - รองผู้กำกับการ 1 กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ
  • 16 พ.ย. 2544 - ผู้กำกับการ 1 กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ
  • 16 ธ.ค. 2545 - ผู้กำกับการ 4 กองบังคับการปราบปราม
  • 30 มิ.ย. 2548 - ผู้กำกับการ 1 กองบังคับการปราบปราม
  • 1 พ.ย. 2548 - รองผู้บังคับการ ปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • 1 เม.ย. 2550 - รองผู้บังคับการปราบปราม
  • 8 ก.ย. 2552 - รักษาราชการแทนผู้บังคับการกองทะเบียนพล
  • 25 พ.ย. 2552 - ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา[7]
  • 28 ธ.ค. 2554 - ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต[8]
  • 1 ต.ค. 2555 - ผู้บังคับการกองตรวจราชการ 9 [9]
  • 1 ต.ค. 2556 - รองผู้บัญชาการสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ[10]
  • 1 ต.ค. 2557 - รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล[11]
  • 1 ต.ค. 2558 - ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6[12]
  • 1 ต.ค. 2559 - ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3[13]
  • 1 ต.ค. 2560 - รองจเรตำรวจแห่งชาติ(สบ 9)[14]
  • 1 ต.ค. 2561 - ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[15] (รับผิดชอบดูแลงานบริหาร ,งานปราบปราม และงานสืบสวนสอบสวน)
  • 1 ต.ค.2562 - จเรตำรวจแห่งชาติ[16]
  • 1 ต.ค. 2563 - รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/223/T_0001.PDF
  2. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจชั้นนายพล เล่ม 136 ตอนที่ 49 ข หน้า 1 7 กันยายน 2562
  3. ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งนายทหารราชองครักษ์และนายตำรวจราชองครักษ์ เล่ม 137 ตอนพิเศษ 158 ง หน้า 11 9 กรกฎาคม 2563
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-25. สืบค้นเมื่อ 2020-07-27.
  5. โชว์ทรัพย์สิน'กอบกาญจน์ -สามี' ล่าสุด ครองที่ดิน พระ นาฬิกาหรู ร้อยล.-ปืนโผล่4กระบอก?
  6. ทำเนียบนักเรียนนายเรือ,http://www.rtna.ac.th/departments/stat/list%20of%20Naval%20cadet/namelistnc-62.pdf เก็บถาวร 2020-11-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน้า 70 ลำดับที่ 3746
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (หน้า ๓๘)
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (หน้า ๕)
  9. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/E/149/14.PDF
  10. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/E/146/2.PDF
  11. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/226/6.PDF
  12. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/247/4.PDF
  13. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/012/1.PDF
  14. https://th.m.wikipedia.org/wiki/สุวัฒน์_แจ้งยอดสุข
  15. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/297/T_0007.PDF
  16. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/224/T_0053.PDF
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๑๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒๕, ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๒, ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔