จูมมะลี ไซยะสอน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
พลโท จูมมะลี ไซยะสอน (ลาว: ຈູມມະລີ ໄຊຍະສອນ) อดีตประธานาธิบดีลาว สมรสกับแก้วสายใจ ไซยะสอน เมื่อ พ.ศ. 2533 มีบุตร 2 คน
จูมมะลี ไซยะสอน | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ຈູມມະລີ ໄຊຍະສອນ | |||||||||||||||
เลขาธิการใหญ่คณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาว คนที่ 2 | |||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 21 มีนาคม ค.ศ. 2006 – 22 มกราคม ค.ศ. 2016 | |||||||||||||||
ประธานาธิบดี | คำไต สีพันดอน ตนเอง บุนยัง วอละจิด | ||||||||||||||
ก่อนหน้า | คำไต สีพันดอน | ||||||||||||||
ถัดไป | บุนยัง วอละจิด | ||||||||||||||
ประธานาธิบดีลาว คนที่ 5 | |||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 8 มิถุนายน ค.ศ. 2006 – 20 เมษายน ค.ศ. 2016 | |||||||||||||||
นายกรัฐมนตรี | ดูรายชื่อ | ||||||||||||||
รองประธานาธิบดี | บุนยัง วอละจิด | ||||||||||||||
ประธานพรรค | ตนเอง | ||||||||||||||
ก่อนหน้า | คำไต สีพันดอน | ||||||||||||||
ถัดไป | บุนยัง วอละจิด | ||||||||||||||
รองประธานาธิบดีลาว คนที่ 3 | |||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 27 มีนาคม ค.ศ. 2001 – 8 มิถุนายน ค.ศ. 2006 | |||||||||||||||
ประธานาธิบดี | คำไต สีพันดอน | ||||||||||||||
ก่อนหน้า | อุดม ขัดติยะ | ||||||||||||||
ถัดไป | บุนยัง วอละจิด | ||||||||||||||
รองนายกรัฐมนตรีลาว | |||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1998 – 27 มีนาคม ค.ศ. 2001 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ คำผุย แก้วบัวละพา, บุนยัง วอละจิด, และสมสะหวาด เล่งสะหวัด | |||||||||||||||
นายกรัฐมนตรี | คำไต สีพันดอน สีสะหวาด แก้วบุนพัน | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||||||||||||||
เกิด | บ้านวัดเหนือ แขวงอัตตะปือ อาณาจักรหลวงพระบาง อินโดจีนของฝรั่งเศส | 6 มีนาคม ค.ศ. 1936||||||||||||||
สัญชาติ | ลาว | ||||||||||||||
ศาสนา | พุทธเถรวาท | ||||||||||||||
พรรคการเมือง | ประชาชนปฏิวัติลาว | ||||||||||||||
คู่สมรส | แก้วสายใจ ไซยะสอน (สมรส 1993; เสียชีวิต 2021) | ||||||||||||||
บุตร | 2 คน | ||||||||||||||
อาชีพ | ทหาร นักการเมือง | ||||||||||||||
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |||||||||||||||
รับใช้ | ลาว | ||||||||||||||
สังกัด | กองทัพประชาชนลาว | ||||||||||||||
ยศ | พลโท | ||||||||||||||
ประวัติ
แก้จูมมะลี ไซยะสอนเป็นชาวลาวเผ่าลาวลุ่ม เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2479 ในครอบครัวชาวนาที่บ้านวัดเหนือ เมืองไซเสดถา แขวงอัตตะปือ ประเทศลาว
การศึกษา
แก้- วิชาการทหารชั้นสูงจากอดีตสหภาพโซเวียต
- ทฤษฎีการเมืองลัทธิมาร์กซ์-เลนินชั้นสูงจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
การเข้าร่วมปฏิวัติกับพรรคประชาชนปฏิวัติลาว
แก้จูมมะลี ไซยะสอนได้เข้าร่วมพรรคประชาชนปฏิวัติลาวในปี พ.ศ. 2497 ด้วยการเป็นทหารขื้นไปในเขตรวมเมืองซำเหนือ และได้เข้าเป็นสมาชิกของพรรคอย่างเต็มตัว เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2498 ได้เข้าร่วมปฏิวัติและได้รบ โดยเริ่มจากการเคลื่อนไหวสู้รบป้องกันเขตรวม ในปี พ.ศ. 2498 - 2499 จนถึงการบัญชากองกำลังติดอาวุธแขวงเชียงขวาง และยึดเมืองพูคูน เมืองกาสี เมืองวังเวียง เมืองโพนโฮง และเมืองเวียงจันทน์ ในแขวงเวียงจันทน์ ในปี พ.ศ. 2518 เพื่อเป็นเงื่อนไขนำไปสู่การก่อตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวสำเร็จ
ตำแหน่งการงาน
แก้งานฝ่ายทหาร
แก้ท่านได้รับผิดชอบหน้าที่สำคัญ โดยเริ่มจากการเป็นรองหัวหน้าหมู่ใน พ.ศ. 2502 เป็นหัวหน้าหมวด แล้วก้าวขึ้นเป็นผู้บังคับกองพันโดยตรง ต่อมาได้เป็นหัวหน้าเสนาเขต และเป็นรองเลขาคณะพรรคเขตใน พ.ศ. 2515 เป็นเจ้ากรมสู้รบกรมใหญ่เสนาธิการ และเป็นรองเจ้ากรมใหญ่เสนาธิการใน พ.ศ. 2523 เป็นรองรัฐมนตรี (รัฐมนตรีช่วยว่าการ) กระทรวงป้องกันประเทศ (กระทรวงกลาโหม) ใน พ.ศ. 2525 ได้รับประดับยศชั้นพลโทเมื่อปี พ.ศ. 2533 และเป็นรัฐมนตรีกระทรวงป้องกันประเทศใน พ.ศ. 2534
งานฝ่ายบริหาร
แก้นอกจากนี้ท่านยังได้เป็นพนักงานฝ่ายบริหารในหลายตำแหน่งสำคัญ โดยเริ่มจากการเป็นเมืองหมวดใน พ.ศ. 2503 เป็นผู้บัญชาการและเป็นเลขาคณะพรรคกองพัน เป็นเลขาคณะพรรคเขตเชียงขวาง ต่อมาได้เป็นคณะพรรคกรมใหญ่เสนาธิการและเลขานุการคณะพรรคกรมใหญ่เสนาธิการใน พ.ศ. 2523 ในกองประชุมใหญ่ของพรรคประชาชนปฏิวัติลาวครั้งที่ 3 ท่านได้รับเลือกให้เป็นกรรมการศูนย์กลางพรรค ได้รับเลือกเป็นกรรมการสำรองกรมการเมืองศูนย์กลางพรรคในกองประชุมใหญ่ของพรรคครั้งที่ 4 และเป็นกรรมการกรมการเมืองศูนย์กลางพรรค ตั้งแต่กองประชุมใหญ่ของพรรคครั้งที่ 5 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน (ครั้งล่าสุดมีขึ้นเป็นครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 18-21 มีนาคม พ.ศ. 2549)
ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 ได้ดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดี ทั้งเป็นรองประธานคณะกรรมการป้องกันชาติป้องกันความสงบศูนย์กลาง ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา นอกจากนี้ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ประจำการกรมการเมืองศูนย์กลางพรรคอีกด้วย
การเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
แก้ในกองประชุมครบคณะครั้งปฐมฤกษ์ ของคณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคสมัยที่ 8 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2549 พลโทจูมมะลี ไซยะสอนได้รับเลือกตั้งอย่างเป็นเอกฉันท์ ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่คณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาว และในการประชุมสภาแห่งชาติชุดที่ 6 ครั้งปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ปีเดียวกัน ที่ประชุมได้ลงมติเป็นเอกฉันท์เลือกตั้งให้ท่านเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจากท่านคำไต สีพันดอน นับเป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
อุบัติเหตุเรือล่ม
แก้ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2564 ในขณะที่จูมมะลีและครอบครัวได้เดินทางท่องเที่ยว ณ เขื่อนน้ำงึม ได้เกิดอุบัติเหตุเรือล่มเนื่องจากพายุ และคลื่นลมแรงทำให้เรือจมห่างจากฝั่งประมาณ 40 เมตร โดยมีผู้เสียชีวิต 8 คน จากผู้โดยสารทั้งหมด 39 คน ทำให้มีผู้รอดชีวิต 31 คน หนึ่งในนั้นคือ จูมมะลี ได้รับความช่วยเหลือขึ้นมาได้อย่างปลอดภัย และถูกนำตัวไปรักษาอยู่ในโรงพยาบาลที่นครหลวงเวียงจันทน์ แต่ต้องสูญเสียสมาชิกครอบครัว 6 คน คือภรรยาแก้วสายใจ ไซยะสอน ลูกชาย 1 คน ลูกสะใภ้ 2 คน และหลานอีก 2 คน[1][2][3]
อ้างอิง
แก้- ↑ "เรือล่มในอ่างลำน้ำงึม "อดีตผู้นำลาว" สูญเสียคนในครอบครัว 6 ชีวิต". Thai PBS News. 2021-04-06. สืบค้นเมื่อ 2021-04-06.
- ↑ "Eight die in pleasure boat capsize on Sunday". VIENTIANE TIMES. 2021-04-04. สืบค้นเมื่อ 2021-04-06.
- ↑ "เรือเรือยอช์ตล่มทะเลสาบดังในลาว ดับ 8 ราย". xinhua thainews service. 2021-04-05. สืบค้นเมื่อ 2021-04-06.
ก่อนหน้า | จูมมะลี ไซยะสอน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
คำไต สีพันดอน | ประธานาธิบดีลาว (8 มิถุนายน พ.ศ. 2549 – 20 เมษายน พ.ศ. 2559) |
บุนยัง วอละจิด | ||
คำไต สีพันดอน | เลขาธิการใหญ่คณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาว (15 มีนาคม พ.ศ. 2549 – 22 มกราคม พ.ศ. 2559) |
บุนยัง วอละจิด | ||
อุดม ขัดติยะ | รองประธานาธิบดีลาว (พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2549) |
บุนยัง วอละจิด |