เวียงจันทน์

เมืองหลวงของประเทศลาว
(เปลี่ยนทางจาก เมืองเวียงจันทน์)

เวียงจันทน์ (ลาว: ວຽງຈັນ, ออกเสียง: [wíaŋ tɕàn]) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศลาว อยู่ในลุ่มแม่น้ำโขง แบ่งการปกครองออกเป็น 9 เมือง ปัจจุบันกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ สำมะโน พ.ศ. 2563 ระบุว่าเมืองนี้มีประชากร 948,477 คน

เวียงจันทน์

ວຽງຈັນ  (ลาว)
ນະຄອນຫຼວງວຽງຈັນ
นครหลวงเวียงจันทน์
จากบน ซ้ายไปขวา: ปะตูไซ; ภาพเวียงจันทน์มองจากปะตูไซ, วัดสีสะเกด; พระธาตุหลวง
แผนที่
เวียงจันทน์ตั้งอยู่ในประเทศลาว
เวียงจันทน์
เวียงจันทน์
เวียงจันทน์ตั้งอยู่ในทวีปเอเชีย
เวียงจันทน์
เวียงจันทน์
พิกัด: 17°58′N 102°36′E / 17.967°N 102.600°E / 17.967; 102.600
ประเทศลาว
แขวงเวียงจันทน์
ก่อตั้งคริสต์ศตวรรษที่ 9[2]
พื้นที่
 • ทั้งหมด3,920 ตร.กม. (1,510 ตร.ไมล์)
ความสูง174 เมตร (570 ฟุต)
ประชากร
 (สำมะโน พ.ศ. 2563)
 • ทั้งหมด948,477[1] คน
เขตเวลาUTC+7 (เวลาอินโดจีน)

เวียงจันทน์เป็นที่รู้จักจากการเป็นที่ตั้งของพระธาตุหลวง อนุสรณ์สถานแห่งชาติลาวที่สำคัญที่สุด ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะสัญลักษณ์ประจำชาติและศาสนาพุทธในประเทศลาว บริเวณนี้เป็นที่ตั้งของวัดสำคัญหลาย ๆ แห่ง เช่นหอพระแก้ว ซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกต

เมืองนี้เป็นสถานที่จัดงานซีเกมส์ครั้งที่ 25 ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2009

ศัพทมูลวิทยา

แก้

ในอดีต ชื่อเมืองเคยเขียนเป็น 'ວຽງຈັນທນ໌' แต่ปัจจุบันมักเขียนเป็น 'ວຽງຈັນ' คำว่า เวียง (ວຽງ) ในภาษาลาว สื่อถึง 'เมืองกำแพง' ส่วน จัน (ຈັນ อดีตสะกดเป็น ຈັນທນ໌) มาจากศัพท์ภาษาบาลีสันสกฤตว่า candana (จนฺทน) (चन्दन, /t͡ɕand̪ana/) 'ไม้จันทน์' และสามารถแปลเป็น 'เมืองกำแพงไม้จันทน์' ชาวลาวบางส่วนเชื่อแบบผิด ๆ ว่ามันสื่อถึง 'เมืองกำแพงดวงจันทร์' เพราะคำว่า จัน ก็สามารถแปลว่า 'ดวงจันทร์' ได้ ถึงแม้ว่าคำนี้ในอดีตเคยเขียนเป็น 'ຈັນທຣ໌' ก็ตาม[3][4]

ประวัติศาสตร์

แก้

พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงสถาปนาเวียงจันทน์ขึ้นเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านช้าง เมื่อ พ.ศ. 2103 ครั้นเมื่อล้านช้างเสื่อมอำนาจลง ใน พ.ศ. 2250 เวียงจันทน์กลายเป็นอาณาจักรอิสระ เรียกว่าอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์จนกระทั่ง พ.ศ. 2321 เวียงจันทน์มีชื่อที่ตั้งในรัชสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ว่า กรุงศรีสตนาคนหุต วิสุทธิ์รัตนราชธานีบุรีรมย์

เมืองเวียงจันทน์ หรือนครหลวงเวียงจันทน์ มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน ซึ่งนักค้นคว้าภายในและต่างประเทศได้ทำการศึกษาและค้นพบหลักฐานทางวัตถุโบราณอันเก่าแก่เป็นต้นคือ เครื่องมือทำมาหากินทั้งเป็นแบบโลหะและแบบหิน นี้เป็นสิ่งยืนยันว่า ในดินแดนแถบนี้เป็นที่ราบเวียงจันทน์ มีคนได้มาอยู่อาศัยมาแล้วประมาณกว่า 500,000 ปี โดยนักวิจัยสำรวจในปี 2010 เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 450 ปี ทางโทรทัศน์แห่งชาติลาวก็ได้มีการเล่าหวนคืนประวัติศาสตร์นครเวียงจันทน์ และนักวิจัยได้ให้ข้อมูลว่า มนุษย์ได้เข้ามาอาศัยอยู่คงเขตนี้แต่แรก ๆ โดยต่อมาก็มีเผ่าลาว-มอญ ที่ได้นำเอาศาสนาพุทธเข้ามาเข้ามาเผยแพร่ในแผ่นดินลาว ซึ่งเมื่อก่อนล้วนแล้วศาสนาพราหมณ์ทั้งหมด

ตามหนังสืออุรังคธาตุได้เล่าสืบขานกันมาว่า เมืองเวียงจันทน์ก่อร้างสร้างมาจากบ้านเล็ก ๆ ที่มีชื่อว่า "บ้านหนองคันแท้ผีเสื้อน้ำ" (บ้านศรีสังวรในปัจจุบัน) โดย นาย (ลาว: ท้าว) บุรีจันทน์ หรืออ้วยล้วย เป็นเจ้าเมืองแห่งนี้ และได้ตั้งชื่อเมืองว่า เวียงจันทน์ ตามชื่อนามมยดของ บุรีจันทน์ ในช่วงเวลานั้นยังไม่มีการวิจัยหรือค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์เล่มไหนยืนยันได้ว่า ข้อมูลในหนังสือเล่มนี้คือข้อเท็จจริง จนมาถึงสมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรได้ถูกค้นพบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญหลายอย่างเป็นต้นเช่น การถูกค้นพบพระพุทธรูปที่สร้างด้วยหินและศิลาฤกษ์อยู่สถานที่เดียวกันที่บ้านท่าลาด เมืองแก้วอุดม แขวงเวียงจันทน์ปัจจุบัน ซึ่งเมื่อก่อนก็เป็นอาณาจักรเขตนครเวียงจันทน์ในสมัยนั้น ที่ยังนับถือศาสนาพุทธของชาวนครเวียงจันทน์[5]

ภูมิศาสตร์

แก้

เวียงจันทน์อยู่ในช่วงโค้งของแม่น้ำโขง ทิศเหนือติดกับแขวงเวียงจันทน์ ทิศใต้ติดกับแขวงบอลิคำไซ ทางทิศตะวันตกติดกับจังหวัดหนองคาย ประเทศไทย เชื่อมต่อสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์)

ภูมิอากาศ

แก้
ข้อมูลภูมิอากาศของเวียงจันทน์ (ค.ศ. 1981–2010, สูงสุด ค.ศ. 1907–1990)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 35.6
(96.1)
37.8
(100)
40.0
(104)
41.1
(106)
38.9
(102)
37.8
(100)
36.1
(97)
37.2
(99)
38.9
(102)
38.9
(102)
34.4
(93.9)
33.4
(92.1)
41.1
(106)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 28.7
(83.7)
30.8
(87.4)
33.1
(91.6)
34.6
(94.3)
33.1
(91.6)
32.2
(90)
31.6
(88.9)
31.2
(88.2)
31.3
(88.3)
31.2
(88.2)
30.1
(86.2)
28.3
(82.9)
31.1
(88)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 22.4
(72.3)
24.7
(76.5)
27.1
(80.8)
29.0
(84.2)
28.4
(83.1)
28.1
(82.6)
27.7
(81.9)
27.5
(81.5)
27.3
(81.1)
26.8
(80.2)
24.8
(76.6)
22.2
(72)
26.3
(79.3)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 17.4
(63.3)
19.6
(67.3)
22.1
(71.8)
24.5
(76.1)
24.9
(76.8)
25.2
(77.4)
25.0
(77)
24.8
(76.6)
24.3
(75.7)
23.4
(74.1)
20.5
(68.9)
17.3
(63.1)
22.4
(72.3)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 0.0
(32)
7.6
(45.7)
12.1
(53.8)
17.1
(62.8)
20.0
(68)
21.1
(70)
21.2
(70.2)
21.1
(70)
21.2
(70.2)
12.9
(55.2)
8.9
(48)
5.0
(41)
0.0
(32)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 7.8
(0.307)
15.3
(0.602)
39.2
(1.543)
92.8
(3.654)
233.5
(9.193)
264.6
(10.417)
307.2
(12.094)
332.9
(13.106)
270.2
(10.638)
96.6
(3.803)
13.5
(0.531)
3.7
(0.146)
1,677.2
(66.031)
ความชื้นร้อยละ 70 68 66 69 78 82 82 84 83 78 72 70 75
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 1 2 5 8 16 19 20 22 17 9 2 1 122
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 239.8 216.9 218.5 227.6 195.3 140.8 129.9 133.0 165.9 210.5 228.5 246.6 2,353.5
แหล่งที่มา 1: World Meteorological Organization,[6] Deutscher Wetterdienst (สูงสุด ค.ศ. 1907–1990)[7]
แหล่งที่มา 2: NOAA (ความชื้น ค.ศ. 1961–1990)[8]

การคมนาคม

แก้

ภายในประเทศลาว

แก้

การเดินทางภายในประเทศลาว มีรถโดยสารประจำทางกระจายทั่วเมือง โดยเชื่อมระหว่างสถานีรถโดยสารเวียงจันทน์ไปทั่วประเทศ[9]

จากประเทศไทย

แก้
 
แท็กซี่เก่าในเวียงจันทน์กำลังถูกแทนที่ด้วยรถที่ผลิตในประเทศจีน อย่างรถSoueast Lioncelคันนี้[10]


สะพานมิตรภาพไทย–ลาวที่สร้างขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1990 ข้ามแม่น้ำ 18 กิโลเมตรไปที่เมืองหนองคายในประเทศไทย ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อสะพานใน ค.ศ. 2007 โดยการเพิ่มคำว่า "แห่งที่ 1" หลังมีการสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2 ซึ่งเชื่อมระหว่างจังหวัดมุกดาหารในประเทศไทยกับแขวงสุวรรณเขตในประเทศลาว และเปิดใช้งานในช่วงต้น ค.ศ. 2007

ต่อมามีการเปิดใช้งานรางมีเตอร์เกจที่เชื่อมเหนือสะพานในวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 2009 โดยสิ้นสุดที่สถานีรถไฟท่านาแล้งในหมู่บ้านดงโพสี (แขวงเวียงจันทน์) ซึ่งอยู่ห่างจากเวียงจันทน์ไปทางตะวันออก 20 กิโลเมตร[11][12] ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2010 เจ้าหน้าที่ลาวมีแผนที่จะแปลงสถานที่ไปเป็นสถานีขนส่งสินค้าทางรถไฟไว้สำหรับการขนส่งสินค้าระบบราง ซึ่งจะทำให้สินค้าจากกรุงเทพฯ ไปที่ลาวมีราคาถูกมากกว่าการขนส่งทางถนน[13]

ไปประเทศไทย

แก้

มีบริการรถบัสระหว่างเวียงจันทน์ถึงหนองคาย อุดรธานี และขอนแก่น

จากประเทศจีน

แก้

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2010 มีการประกาศแผนสร้างรถไฟความเร็วสูงความยาว 530 กิโลเมตรเชื่อมระหว่างเวียงจันทน์กับสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน[14] ซึ่งภายหลังมีการปรับเส้นทางไปเป็นบ่อเต็นถึงเวียงจันทน์ รวมเส้นทางมีความยาว 421.243 กิโลเมตร ให้บริการ 21 สถานี รวม 5 สถานีหลัก ข้ามสะพาน 165 แห่ง และอุโมงค์ 69 แห่ง[15][16] การก่อสร้างเส้นทางนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟคุนหมิง–สิงคโปร์ ได้เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 2011 และคาดว่าจะเปิดใช้งานในวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 2021[17]

ทางอากาศ

แก้

เวียงจันทน์มีบริการท่าอากาศยานนานาชาติวัตไตที่เชื่อมต่อกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย โดยการบินลาวมีเที่ยวบินในประเทศ[18] ในประเทศไทย ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี หนึ่งในจุดหมายหลักของวัตไต อยู่ห่างกันน้อยกว่า 90 กิโลเมตร

การท่องเที่ยว

แก้
 
หอพระแก้ว
 
พระธาตุหลวง
 
ปะตูไช Patuxai,Vientiane, Laos

เวียงจันทน์มีชื่อเสียงเรื่องการท่องเที่ยว ที่มีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลมามากมายในแต่ละปี เนื่องจากเวียงจันทน์เป็นเมืองที่มีวัฒนธรรมเก่าแก่ผสมความทันสมัยอย่างลงตัว

สถานที่สำคัญ

แก้
  • ปะตูไซ สัญลักษณ์แห่งชัยชนะของปวงชนลาว พ้นจากการเป็นเมืองขึ้น โดยเลียนแบบประตูชัยในฝรั่งเศส แต่ใช้ศิลปะลาว[ต้องการอ้างอิง]
  • หอพระแก้ว เดิมเป็นวัด เคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์และมีร้านขายของที่ระลึก
  • พระธาตุหลวง พระธาตุ (สถูป) ขนาดใหญ่สีทองอร่าม บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และเป็นเครื่องหมายในดวงตราสำคัญของประเทศ
  • วัดสีสะเกด อีกวัดหนึ่งที่ไม่ได้ถูกทำลายในช่วงสงคราม มีพระพุทธรูปใหญ่ และเล็กเรียงรายอยู่มากที่สุด

การศึกษา

แก้

มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว หนึ่งในสามมหาวิทยาลัยในประเทศ ตั้งอยู่ในเวียงจันทน์[19]

เศรษฐกิจ

แก้

เวียงจันทน์เป็นแรงขับเคลื่อนในการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในประเทศลาว เมืองนี้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วจากการลงทุนของต่างชาติ[20] ใน ค.ศ. 2011 ตลาดหลักทรัพย์เปิดหุ้นบริษัทจดทะเบียน 2 แห่งที่มีความร่วมมือของเกาหลีใต้[21]

สาธารณสุข

แก้

โรงพยาบาลมโหสถ เป็นโรงพยาบาลศูนย์ประจำประเทศลาว

โรงพยาบาลเชษฐาธิราช เป็นโรงพยาบาลศูนย์ประจำประเทศลาวอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลจีน จะเป็นโรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศลาวและทันสมัยที่สุดจำนวน500เตียง[ต้องการอ้างอิง]

โรงพยาบาลทหาร103

เมืองพี่น้อง

แก้
ภาพปริทัศน์กรุงเวียงจันทน์มุมสูง

อ้างอิง

แก้
  1. United Nations Statistics Division. "Population by sex, rate of population increase, surface area and density" (PDF). สืบค้นเมื่อ 9 November 2007.
  2. Lao Statistics Bureau (21 October 2016). "Results of Population and Housing Census 2015" (PDF). สืบค้นเมื่อ 8 January 2018.
  3. Askew, Marc; Long, Colin; Logan, William (2006). Vientiane: Transformations of a Lao Landscape (ภาษาอังกฤษ). Routledge. pp. 15, 46. ISBN 978-1-134-32365-4.
  4. Goscha, Christopher E.; Ivarsson, Søren (2003). Contesting Visions of the Lao Past: Laos Historiography at the Crossroads. NIAS Press. pp. 34 n.62, 204 n.18. ISBN 978-87-91114-02-1.
  5. "ກ່ອນຈະມາເປັນນະຄອນຫຼວງວຽງຈັນ ແລະ ພະທາດຫຼວງທີ່ປວງຊົນລາວສັກກາລະບູຊາ". muan.sanook.com (ภาษาอังกฤษ).
  6. "World Meteorological Organization Climate Normals for 1981–2010". World Meteorological Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2021. สืบค้นเมื่อ 16 July 2021.
  7. "Klimatafel von Vientiane (Viangchan) / Laos" (PDF). Baseline climate means (1961–1990) from stations all over the world (ภาษาเยอรมัน). Deutscher Wetterdienst. สืบค้นเมื่อ 23 January 2016.
  8. "Vientiane Climate Normals 1961–1990". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 29 November 2013.
  9. "Timetables". Vientiane Capital State Bus Enterprise. VCSBE. สืบค้นเมื่อ 8 December 2014.
  10. Matthias Gasnier (13 August 2012). "Laos 2012 Update: Chinese models keep spreading". bestsellingcarsblog.com. สืบค้นเมื่อ 10 November 2013.
  11. "Inaugural train begins Laos royal visit". Railway Gazette International. 5 March 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-22. สืบค้นเมื่อ 2021-11-07.
  12. Andrew Spooner (27 February 2009). "First train to Laos". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 13 March 2011.
  13. Rapeepat Mantanarat (9 November 2010). "Laos rethinks rail project". TTR Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2011. สืบค้นเมื่อ 13 March 2011.
  14. "New China-Laos link". Railways Africa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2014. สืบค้นเมื่อ 7 December 2010.
  15. "Boten Vientiane Railway Link". Laos-Travel-Guide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2011. สืบค้นเมื่อ 18 January 2011.
  16. "中国铁路考察团对中老铁路进行全线考察 | China Railway Erju Group Corporation (中铁二局集团公司)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 July 2011. สืบค้นเมื่อ 25 December 2010.
  17. "Kunming-Singapore High-Speed Railway begins construction". People's Daily. 25 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 April 2011. สืบค้นเมื่อ 26 April 2011.
  18. "Route Map". Lao Airlines. Lao Airlines. สืบค้นเมื่อ 8 December 2014.
  19. "National University of Laos (NUOL)". National University of Laos (NUOL). NUOL. สืบค้นเมื่อ 8 December 2014.
  20. Work begins on major new Vientiane shopping centre | Lao Voices เก็บถาวร 3 พฤษภาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  21. "Laos stocks soar on debut – yes, both of them". Financial Times.

อ่านเพิ่ม

แก้
  • Askew, Marc, William Stewart Logan, and Colin Long. Vientiane: Transformations of a Lao Landscape. London: Routledge, 2007. ISBN 978-0-415-33141-8
  • Sharifi et al., Can master planning control and regulate urban growth in Vientiane, Laos?. Landscape and Urban Planning, 2014. DOI: 10.1016/j.landurbplan.2014.07.014
  • Flores, Penelope V. Good-Bye, Vientiane: Untold Stories of Filipinos in Laos. San Francisco, CA: Philippine American Writers and Artists, Inc, 2005. ISBN 978-0-9763316-1-2
  • Renaut, Thomas, and Arnaud Dubus. Eternal Vientiane. City heritage. Hong Kong: Published by Fortune Image Ltd. for Les Editions d'Indochine, 1995.
  • Schrama, Ilse, and Birgit Schrama. Buddhist Temple Life in Laos: Wat Sok Pa Luang. Bangkok: Orchid Press, 2006. ISBN 978-974-524-073-5
  • Women's International Group Laos. Vientiane Guide. Vientiane: Women's International Group, 1993.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  •   คู่มือการท่องเที่ยว เวียงจันทน์ จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)