จักรพรรดิหงอู่

(เปลี่ยนทางจาก จักรพรรดิหมิงไท่จู่)

สมเด็จพระจักรพรรดิหงอู่ หรือ จูหยวนจาง(จีน: 洪武帝; พินอิน: Hóngwǔ;จีน:朱元璋 21 ตุลาคม ค.ศ. 1328– 24 มิถุนายน ค.ศ. 1398) จักรพรรดิพระองค์แรกแห่งราชวงศ์หมิงของจีน

จักรพรรดิหงอู่
จักรพรรดิจีน
จักรพรรดิหงอู่
จักรพรรดิราชวงศ์หมิง
ครองราชย์23 มกราคม 1368 – 24 มิถุนายน 1398
ก่อนหน้าไม่มี (ก่อตั้งราชวงศ์)
ถัดไปจักรพรรดิเจี้ยนเหวิน
จักรพรรดิจีน
ครองราชย์23 มกราคม 1368– 24 มิถุนายน 1398
ก่อนหน้าจักรพรรดิหยวนฮุ่ยจง
ถัดไปจักรพรรดิเจี้ยนเหวิน
พระราชสมภพ29 ตุลาคม ค.ศ. 1328(1328-10-29) ปฏิทินกริกอเรียน
เหาโจว, Anhui, ราชวงศ์หยวน
สวรรคต24 มิถุนายน ค.ศ. 1398(1398-06-24) (69 ปี)
นานจิง, มณฑลเจียงซู, ราชวงศ์หมิง
ฝังพระศพMing Xiaoling Mausoleum, Nanjing
จักรพรรดินีจักรพรรดินีหม่า
พระราชบุตรจูเปียว
Zhu Shuang, Prince Min of Qin
Zhu Gang, Prince Gong of Jin
จูตี้
Zhu Xiao, Prince Ding of Zhou
Zhu Zhen, Prince Zhao of Chu
Zhu Fu, Prince of Qi
Zhu Zi, Prince of Tan
Zhu Qi, Prince of Zhao
Zhu Tan, Prince Huang of Lu
Zhu Chun, Prince Xian of Shu
Zhu Bai, Prince Xian of Xiang
Zhu Gui, Prince Jian of Dai
Zhu Ying, Prince Zhuang of Su
Zhu Zhi, Prince Jian of Liao
Zhu Zhan, Prince Jing of Qing
Zhu Quan, Prince Xian of Ning
Zhu Pian, Prince Zhuang of Min
Zhu Hui, Prince of Gu
Zhu Song, Prince Xian of Han
Zhu Mo, Prince Jian of Shen
Zhu Yin, Prince Hui of An
Zhu Jing, Prince Ding of Tang
Zhu Dong, Prince Jing of Ying
Zhu Yi, Prince Li of Yi
Zhu Nan
and 18 daughters
พระนามเต็ม
Family name: Zhū (朱)
Birth name: Chóngbā (重八)
Given name: Xingzong (興宗), later Yuánzhāng (元璋)
Courtesy name: Guóruì (國瑞)
รัชศก
หงอู่ (洪武) 23 January 1328 - 5 February 1398
พระนามเดิม
洪武帝
พระสมัญญานาม
จักรพรรดิ ไคเทียนสิงเต้าจ้าวจี้ลี่จี๋ต้าเชิ่งจื่อเสินเหรินเหวินอี้อู่จวิ้นเต๋อเฉิงกง เกา
開天行道肇紀立極大聖至神仁文義武俊德成功高皇帝
พระอารามนาม
หมิง ไทจู่
太祖
ราชวงศ์ราชวงศ์หมิง
พระราชบิดาสมเด็จพระจักรพรรดิฉุน
พระราชมารดาสมเด็จพระจักรพรรดินีฉุน

พระราชประวัติ

แก้

วัยเยาว์

แก้

จูหยวนจาง (朱元璋) เป็นพระนามเดิมของ จักรพรรดิหงอู่ ผู้สถาปนาราชวงศ์หมิงของจีน เกิดในครอบครัวชาวนาที่หมู่บ้านกูจวง ตำบลจงหลี อำเภอเหาโจว มณฑลอันฮุย เมื่อ พ.ศ. 1871 (ค.ศ. 1328) บิดามีชื่อว่า จูซื่อเจิน มารดามีชื่อว่า เฉินสี ในวันที่เขาเกิดนั้นมีเรื่องเล่าว่าพ่อไปตักน้ำได้พบผ้าแพรแดงผืนหนึ่งซึ่งคนในหมู่บ้านต่างเห็นว่าเป็นมงคลนิมิต จูซื่อเจินจึงตั้งชื่อบุตรชายคนนี้ให้มีชื่อว่า "จูหยวนจาง" แปลว่า "แผ่นหยกชั้นเลิศ" และยังมีชื่อรองอีก คือ "จูฉงปา" แปลว่า "แปดซ้ำสอง" หรือ "จูปาปา" แปลว่า "แปดแปด"[1]

ในปี พ.ศ. 1881 (ค.ศ. 1338) เกิดโรคระบาดซ้ำเติมความแห้งแล้งที่มีติดต่อกันนานหลายปี จูซื่อเจินกับนางเฉินสีและพี่ชายคนโตจูจ้งซื่อได้เสียชีวิตลง เพื่อนบ้านที่พอมีฐานะเกิดความสงสารจึงแบ่งที่ดินให้ใช้ฝังศพคนทั้งสาม จากนั้นบุตรที่เหลือจึงแยกย้ายเร่ร่อนไปรับจ้างหาเลี้ยงชีพ จูหยวนจางจำต้องไปบวชเป็นเณรที่วัดหวางเจวี๋ยซื่อ แต่ภัยแล้งที่มีติดต่อกันอย่างยาวนานทำให้วัดเองประสบปัญหาไม่น้อย พระและเณรในวัดต่างต้องออกธุดงค์ไปเที่ยวภิกขาจารต่างถิ่นซึ่งรวมถึงเณรจูหยวนจางด้วยเช่นกัน จนถึง พ.ศ. 1891 จึงได้บวชเป็นพระแต่บวชได้เพียงสี่ปีก็สึกออกมาเนื่องจากในขณะนั้นเกิดขบวนการหลายกลุ่มขับไล่จักรวรรดิมองโกลออกไปจากแผ่นดินจีน จูหยวนจางจึงไปร่วมกับสาวกลัทธิบัวขาว ของกัวจื่อซิง (郭子兴) ซึ่งใช้เมืองเหาโจวเป็นที่มั่นก่อ กบฏโพกผ้าแดงโค่นล้มราชวงศ์หยวน

เริ่มการโจมตี

แก้

กัวจื่อซิงเห็นแววความสามารถของเขาจึงได้ยกหม่าชิวเซียงธิดาบุญธรรมให้เป็นภรรยา ในปี พ.ศ. 1895 จูหยวนจางปฏิบัติงานอย่างเข้มแข็งมีผลงานโดดเด่นกว่าผู้อื่นจึงได้รับเลื่อนตำแหน่งอย่างรวดเร็ว แต่ทำให้ถูกกัวจื่อซิงกับบุตรชายระแวงอยู่เสมอ ครั้งหนึ่งกัวจื่อซิงจับเขาไปขังแต่หม่าชิงเซียงกับมารดาไปอ้อนวอนขอจึงได้รับการปล่อยตัว จูหยวนจางจึงตัดสินใจพาภรรยากลับไปอยู่ที่ตำบลจงหลีบ้านเกิดและได้ชักชวนเพื่อนในวัยเยาว์กับคนอื่น ๆ จัดตั้งกองกำลังเป็นของตนเอง จาก 700 คนก็เพิ่มจำนวนมากกว่า 20,000 คนภายในระยะเวลา 2 ปี

  • พ.ศ. 1898 (ค.ศ. 1355) ฉีโจวหวางหรือกัวจื่อซิงพ่อตาของเขาสิ้นพระชนม์ลง บุตรชายทั้งสองไม่มีความสามารถพอ จูหยวนจางจึงได้ขึ้นเป็นผู้นำกองกำลังแทน
  • พ.ศ. 1899 (ค.ศ. 1356) จูหยวนจางยกกำลังบุกเมืองจี้ซิงเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองอิ้งเทียน (ปัจจุบันคือเมืองหนานจิง) ใช้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการทยอยกำจัดกลุ่มอำนาจอื่น ๆ ที่ตั้งตัวเป็นอิสระเช่นกัน พร้อมกับใช้คำสั่ง "สามไม่" คือ ไม่เผาบ้าน ไม่ฆ่าคน ไม่ปล้นชิง ทำให้ชาวเมืองอื่น ๆ ต่างพากันยินยอมอย่างง่ายดาย
  • พ.ศ. 1906 (ค.ศ. 1363) ทำยุทธนาวีทะเลสาบโผหยาง (鄱陽湖之戰) กับกองกำลังแคว้นฮั่นของเฉินโหย่วเลี่ยง(陳友諒) สามารถเอาชนะสังหารเฉินโหยวเลี่ยง ทำให้แคว้นหมิงของจูหยวนจางกลายเป็นกลุ่มกำลังชาวฮั่นที่แข็งแกร่งที่สุด
  • พ.ศ. 1907 (ค.ศ. 1364) สถาปนาตนเองขึ้นเป็นอู่หวาง ปกครองดินแดนแถบใต้แม่น้ำฉางเจียง

กำเนิดราชวงศ์หมิง

แก้

เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 1910 (ค.ศ. 1367) จูหยวนจางยกทัพบุกถึงนครต้าตูเมืองหลวงของราชวงศ์หยวน จักรพรรดิซุ่นตี้เห็นเหลือกำลังที่จะรับมือจึงพาเหล่าพระญาติพระวงศ์และชาวมองโกลหนีออกนอกด่านไปอยู่ที่เมืองซ่างตู วันที่ 2 เดือน 8 จึงได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นเป่ยผิง ประกาศตั้งราชวงศ์ต้าหมิง สถาปนาตนเองขึ้นเป็นฮ่องเต้ทรงพระนามว่าหมิงไท่จู่ (明太祖)ใช้ศักราชประจำพระองค์ว่าหงอู่ หรือหงอู่(洪武) และใช้ตลอดชื่อรัชสมัยนี้ตลอดพระชนม์ชีพ ถือว่าเป็นจักรพรรดิจีนพระองค์แรกทีไม่เปลี่ยนชื่อศักราชทุกปีตามแบบจักรพรรดิ์สมัยก่อน ๆ จนเป็นธรรมเนียมให้จักรพรรดิสมัยถัด ๆ มาปฏิบัติตามจนถึงล้มล้างระบอบจักรพรรดิไป เปลี่ยนชื่อเมืองอิ้งเทียนเป็นหนานจิงใช้เป็นเมืองหลวง นอกจากนั้นโปรดให้โอรสเป็นหวาง (อ๋อง) ไปครองเมืองต่าง ๆ เพื่อความมั่นคงของราชวงศ์ คือ ตั้งองค์ชายจูเพียวเป็นไท่จือ องค์ชายจูตี้เป็นเยียนหวางครองเมืองเป่ยผิง องค์ชายจูเฉวียนเป็นหนิงหวางครองเมืองต้าหนิง องค์ชายจูกุ้ยเป็นไต้หวางครองเมืองต้าถง องค์ชายจูกังเป็นจิ้นหวางครองเมืองไท่หยวน องค์ชายฝู่เป็นฉีหวางครองเมืองชิงโจว องค์ชายจูส่วงเป็นฉินหวางครองเมืองซีอาน องค์ชายจูอิงเป็นซู่หวางครองเมืองกานซู

หมิงไท่จู่ได้ดำเนินการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสังคม ด้วยความประหยัดมัธยัสถ์ ผ่อนปรน แก่ประชากรส่วนใหญ่ และทรงศึกษาถึงความล้มเหลวของราชวงศ์ต่าง ๆ ในอดีตเห็นว่าภัยสำคัญเกิดจากการที่ขันทีเข้าแทรกแซงการบริหารราชการ จึงมีพระราชโองการให้จารึกแผ่นเหล็กประกาศห้ามขันทีเข้ายุ่งเกี่ยวกับการบริหารราชการ ผู้ฝ่าฝืนกำหนดโทษประหารสถานเดียว นอกจากนั้นยังได้ลดบทบาทของอัครเสนาบดีรวบอำนาจไว้ที่พระองค์ฎีกาและข้อราชการต่าง ๆ ต้องถวายถึงพระองค์โดยตรง อัครเสนาบดีเป็นเพียงผู้รับราชโองการไปดำเนินการ ในด้านทหารการเลื่อนลดปลดย้ายแม่ทัพนายกองก็ต้องผ่านการพิจารณาจากพระองค์โดยตรง นอกจากนั้นพระองค์ยังได้จัดตั้งจินอีเว่ย (กองกำลังทหารเกราะทอง)ให้เป็นกองกำลังพิเศษคอยถวายอารักขาและสอดแนมความเคลื่อนไหวของขุนนางและราษฎร เรียกได้ว่าพระองค์กุมอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดอย่างแท้จริง

ในรัชกาลของพระองค์กล่าวกันว่าทรงประหารขุนนางทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนรวมทั้งผู้เกี่ยวข้องหากสงสัยว่าจะเป็นภัยต่อราชบัลลังก์กว่าห้าหมื่นคน โดยเฉพาะปลายรัชกาลหลังจากที่สถาปนาองค์ชายจูหยุนเหวิน(朱 允文)พระราชนัดดาเป็นไท่จือแทนองค์ชายจูเพียว (朱標) พระบิดาที่สิ้นพระชนม์ไปก่อน แม่ทัพหลายคนต้องถูกประหารเนื่องจากเกรงจะเป็นภัยในอนาคต ไม่เว้นแม้แต่แม่ทัพสีต๋าหรือฉีต๊ะผู้เคยออกรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับพระองค์แต่การตัดสินพระทัยของพระองค์กลับส่งผลร้ายมาให้ความมั่นคงของพระราชนัดดาอย่างแรงในภายหลัง

สวรรคต

แก้

จักรพรรดิหงอู่ทรงครองราชย์สมบัติเป็นเวลายาวนานถึง 30 ปี เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1941 (ค.ศ. 1398) สิริพระชนมพรรษา 70 พรรษา พระบรมศพได้รับการเชิญไปประดิษฐานไว้ที่สุสานหลวงหมิงเซี่ยว เชิงเขาจื่อจินซาน ชานกรุงหนานจิง

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  1. หน้า 3, องครักษ์เสื้อแพร. "ชักธงรบ" โดย กิเลน ประลองเชิง. ไทยรัฐปีที่ 68 ฉบับที่ 21640: วันศุกร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2560 แรม 10 ค่ำ เดือน 5 ปีระกา
ก่อนหน้า จักรพรรดิหงอู่ ถัดไป
จักรพรรดิหยวนฮุ่ยจง
ราชวงศ์หยวน
  จักรพรรดิจีน
(พ.ศ. 1911 - พ.ศ. 1941)
  จักรพรรดิเจี้ยนเหวิน