คุกลับ
คุกลับ[1] (อังกฤษ: Black site) เป็นศูนย์กักกันลับที่ดำเนินการโดยรัฐ โดยนักโทษซึ่งไม่เคยถูกตั้งข้อหาก่ออาชญากรรมจะถูกจำคุกโดยไม่ได้รับกระบวนการยุติธรรมหรือคำสั่งศาล มักถูกปฏิบัติอย่างทารุณกรรมและถูกสังหาร โดยไม่มีสิทธิ์ในการประกันตัว[2][3][4]
อาร์เจนตินา
แก้ศูนย์กักขังลับหลายแห่งเปิดดำเนินการในอาร์เจนตินาระหว่างการปกครองแบบเผด็จการทหาร ซึ่งปกครองประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 ถึง 2526 นักโทษหลายคน "หายตัวไป" ถูกทรมานและสังหาร รวมถึงสตรีมีครรภ์ที่ถูกฆ่าหลังคลอดและให้ทารกแก่ครอบครัวทหาร[5]
จีน
แก้คุกลับแพร่หลายในประเทศจีน และคุกลับของจีนถูกกล่าวหาว่ามีตั้งอยู่ในดูไบโดยอดีตผู้ถูกคุมขัง[3] คุกลับในจีนมีอีกชื่อหนึ่งว่า "คุกดำ" (black jail)[6]
อียิปต์
แก้คุกลับถูกใช้อย่างกว้างขวางโดยหน่วยรักษาความปลอดภัยอียิปต์ ในช่วงวิกฤตการณ์อียิปต์ (พ.ศ. 2554-2557) ผู้ประท้วงหลายร้อยคนกล่าวหาว่ามีการทรมานในคุกลับเหล่านี้ หน่วยรักษาความปลอดภัยอียิปต์ยังดำเนินการคุกลับที่เกี่ยวข้องกับโครงการคุกลับเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายของซีไอเอ[7]
อิหร่าน
แก้กลุ่มสิทธิได้บันทึกการละเมิดในศูนย์กักกันลับ แหล่งข่าวที่ซีเอ็นเอ็นอ้างถึงตั้งข้อสังเกตในปี พ.ศ. 2566 ว่าการทรมานในคุกลับดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นในระหว่างการประท้วงกรณีแมฮ์ซอ แอมีนี[8]
อิสราเอล
แก้ในช่วงสงครามอิสราเอล-ฮามาส มีรายงานว่าผู้ต้องขังชาวกาซานถูกส่งตัวจากฉนวนกาซาไปยังสเดเตมาน ซึ่งเป็นฐานทัพทหารที่ใช้เป็นคุกลับ มีการรายงานความรุนแรง การละเมิด และในบางกรณีมีผู้เสียชีวิต[9]
รัสเซีย
แก้ในเชชเนีย ชายเกย์อ้างว่าถูกทรมานในคุกลับโดยกองกำลังความมั่นคงเชเชน[10] เกย์ในพื้นที่อื่น ๆ ของรัสเซียถูกลักพาตัวและถูกส่งตัวไปยังสถานที่ในเชชเนีย ซึ่งมีผู้ถูกทรมานมากกว่า 100 ราย และบางส่วนเสียชีวิต[11] เจ้าหน้าที่ชาวเชเชนได้ขัดขวางความพยายามของเครือข่ายแอลจีบีทีรัสเซียในการช่วยชาวเกย์ในเชชเนียหลบหนีไปยังสถานที่ปลอดภัยในรัสเซีย และขัดขวางการสืบสวนของทัตยานา มอสคัลโควา กรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเครมลิน แม้จะมีการประท้วงในเมืองใหญ่ ๆ ของรัสเซียเพื่อต่อต้านสถานการณ์ในเชชเนีย แต่วลาดิมีร์ ปูติน ซึ่งต้องการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับคาดีรอฟ ก็ได้ปฏิเสธว่ามีการใช้การละเมิดกลุ่มรักร่วมเพศในเชชเนีย เชชเนียถือเป็นพื้นที่ที่มีการเกลียดชังกลุ่มรักร่วมเพศมากที่สุดในรัสเซีย โดยประชากร 95% นับถือศาสนาอิสลามนิกายออร์โธดอกซ์ (สุหนี่) ยังคงเป็นเขตเดียวของรัสเซียที่การรักร่วมเพศเป็นสิ่งผิดกฎหมายและมีโทษจำคุก[12][13]
สหรัฐ
แก้รัฐบาลสหรัฐใช้คุกลับที่ควบคุมโดยซีไอเอในสงครามต่อต้านการก่อการร้ายเพื่อกักขังนักรบของศัตรู[4] ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ของสหรัฐยอมรับการมีอยู่ของเรือนจำลับที่ดำเนินการโดยซีไอเอในระหว่างการปราศรัยเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2549 คำกล่าวอ้างว่ามีคุกลับเกิดขึ้นโดย เดอะวอชิงตันโพสต์ ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 และก่อนหน้านี้โดยองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน[14]
รายงานของสหภาพยุโรป (EU) ที่รับรองเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 โดยเสียงข้างมากของรัฐสภายุโรป (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 382 คนลงคะแนนเห็นชอบ 256 คนคัดค้าน และงดออกเสียง 74 คน) ระบุว่าซีไอเอดำเนินการเที่ยวบิน 1,245 เที่ยว และไม่สามารถโต้แย้งหลักฐานหรือ ข้อเสนอแนะว่าศูนย์กักขังลับที่นักโทษถูกทรมานนั้นดำเนินการในโปแลนด์และโรมาเนีย[4][15] หลังจากปฏิเสธข้อเท็จจริงนี้มานานหลายปี โปแลนด์ก็ยืนยันในปี พ.ศ. 2557 ว่าได้เป็นเจ้าของพื้นที่คุกลับดังกล่าว[16]
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 สำนักงานอัยการสูงสุดของโปแลนด์ได้เริ่มดำเนินคดีสืบสวนสอบสวนซบิกเนียว เซียเมียทโคว์สกี้ อดีตหัวหน้าหน่วยข่าวกรองของโปแลนด์ เซียเมียทโคว์สกี้ถูกตั้งข้อหาอำนวยความสะดวกในการดำเนินการกักขังของซีไอเอที่ถูกกล่าวหาว่าตั้งอยู่ในโปแลนด์ ซึ่งผู้ต้องสงสัยชาวต่างชาติอาจถูกทรมานในบริบทของสงครามต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งเป็นไปได้ว่า เลสเซ็ค มิลเลอร์ นายกรัฐมนตรีโปแลนด์ระหว่างปี พ.ศ. 2544 ถึง พ.ศ. 2547 ก็อาจจะมีส่วนร่วมและรับรู้ด้วย[17][18]
เรื่องราวของ United Press International ในปี พ.ศ. 2565 อ้างถึงอดีตประธานาธิบดีโปแลนด์ อาแล็กซันแดร์ กฟัชแญฟสกี โดยยอมรับในปี พ.ศ. 2557 ว่าประเทศของเขาได้จัดเตรียม "สถานที่เงียบสงบ" ให้ซีไอเอดำเนินการคุกลับเพื่อทรมานผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้ายในเหตุการณ์ 9/11[19]
ในประเทศไทยมีการกล่าวหาว่าเคยมีคุกลับของซีไอเอตั้งอยู่ในพื้นที่ของรัฐบาลไทยที่เคยให้กองทัพสหรัฐใช้งานในจังหวัดอุดรธานี ซึ่งเกี่ยวข้องกับจีนา แฮสเปล ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐซึ่งเคยเป็นผู้อำนวยการคุกลับในไทย[1]ที่มีชื่อว่า สถานกักกันเขียว (Detention Site Green) จากการเปิดเผยของคณะกรรมาธิการวิสามัญด้านข่าวกรองของวุฒิสภาสหรัฐ (SSCI) ซึ่งคาดว่าอยู่ในฐานทัพหลักของสหรัฐในอดีตในจังหวัดอุดรธานี[20] แต่ไม่ระบุชัดเจน เช่น ฐานบินอุดรธานี[20] ค่ายรามสูร[21]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "จับโป๊ะโฆษกทูตอเมริกา ปากบอกไม่เคยแทรกแซง แต่มีคุกลับ CIA ในไทย". mgronline.com. 2023-06-04.
- ↑ "black site". Collins English Dictionary.
- ↑ 3.0 3.1 "Detainee says China has secret jail in Dubai, holds Uyghurs". Taiwan News. Associated Press. August 16, 2021.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "EU endorses damning report on CIA". BBC News. February 14, 2007.
- ↑ Tondo, Lorenzo; Basso, Elena; Jones, Sam (16 January 2023). "Adopted by their parents' enemies: tracing the stolen children of Argentina's 'dirty war'". The Guardian.
- ↑ LANGFITT, FRANK. "For Complainers, A Stint In China's 'Black Jails'". NPR.org. NPR. สืบค้นเมื่อ 16 August 2021.
- ↑ Rosenfeld, Jesse (June 19, 2014). "Egypt's Black Site Torture Camps". The Daily Beast. สืบค้นเมื่อ 16 August 2021.
- ↑ "How Iran used a network of secret torture centers to crush an uprising". www.cnn.com. 2023. สืบค้นเมื่อ 20 March 2023.
- ↑ https://archive.today/newest/https://www.nytimes.com/2024/06/06/world/middleeast/israel-gaza-detention-base.html.
{{cite news}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ Krupkin, Taly. "Gay Men in Chechnya Tell of Black Sites Where They're Tortured, Some to Death". Haaretz. สืบค้นเมื่อ 16 August 2021.
- ↑ "Chechen police 'kidnap and torture gay men' - LGBT activists". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2017-04-11. สืบค้นเมื่อ 2022-02-06.
- ↑ De Bruyn, Piet (8 June 2018). "Persecution of LGBTI people in the Chechen Republic (Russian Federation)" (PDF). Doc. 14572 Report. Council of Europe (Committee on Equality and Non-Discrimination). 1: 15 – โดยทาง ECOI.
- ↑ "Russia: New Anti-Gay Crackdown in Chechnya". Human Rights Watch (ภาษาอังกฤษ). 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2022-02-06.
- ↑ Priest, Dana (2005-11-02). "CIA Holds Terror Suspects in Secret Prisons". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2007-02-19.
- ↑ Key excerpts of the February 2007 report adopted by the European Parliament
- ↑ Williams, Carol (2015-05-10). "Poland feels sting of betrayal over CIA 'black site'". Los Angeles Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-01-16.
- ↑ Matthew Day (2012-03-27). "Poland ex-spy boss 'charged over alleged CIA secret prison'". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 12, 2022. สืบค้นเมื่อ 2012-03-28.
- ↑ Joanna Berendt, Nicholas Kulish (2012-03-27). "Polish Ex-Official Charged With Aiding the C.I.A." The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2012-03-28.
- ↑ "Supreme Court rejects Guantánamo prisoner's request to interview torturers". www.upi.com. United Press International. March 3, 2022. สืบค้นเมื่อ 2 February 2022.
- ↑ 20.0 20.1 "คุกลับสหรัฐฯ ในไทย : อดีตซีไอเอหญิง กับฉายา "ราชินีแห่งการซ้อมทรมาน"". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2024-06-12.
- ↑ "คุกลับกับ "ค่ายรามสูร"". bangkokbiznews. 2014-12-12.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Black sites