การประท้วงกรณีแมฮ์ซอ แอมีนี

การประท้วงกรณีแมฮ์ซอ แอมีนี (เปอร์เซีย: مهسا امینی) เป็นชุดการประท้วงและการก่อความไม่สงบที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศอิหร่านตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2022 หลังการเสียชีวิตของแมฮ์ซอ แอมีนี ระหว่างที่เธอถูกตำรวจคุมขัง กล่าวกันว่าเธอถูกสายตรวจศีลธรรมของอิหร่านทุบตีหลังจากถูกกล่าวหาว่าละเมิดรูปแบบการสวมฮิญาบมาตรฐานตามกฎหมายในที่สาธารณะ[5] การประท้วงเริ่มต้นในเมืองใหญ่อย่างแซกเกซ, แซแนนแดจ, ดีวอนแดร์เร, บอเน และบีจอร์ในจังหวัดเคอร์ดิสถาน ต่อมาจึงได้กระจายไปตามเมืองใหญ่อื่น ๆ ในประเทศอิหร่าน รวมถึงในกรุงเตหะราน รวมทั้งมีการชุมนุมชาวอิหร่านในอาศัยในต่างประเทศเช่น ทวีปยุโรป แคนาดา สหรัฐฯ และตุรกี[6][7]

การประท้วงกรณี แมฮ์ซอ แอมีนี
ส่วนหนึ่งของ การประท้วงในอิหร่าน ปี 2021–2022, ขบวนการประชาธิปไตยอิหร่าน, การประท้วงกฎหมายบังคับสวมฮิญาบในประเทศอิหร่าน และการเสียชีวิตของแมฮ์ซอ แอมีนี
วันที่16 กันยายน ค.ศ. 2022 – ปัจจุบัน
สถานที่ประเทศอิหร่าน
สาเหตุ
เป้าหมาย
วิธีการการประท้วง, การเดินขบวน, การจลาจล, การปิดถนน, การตั้งสิ่งกีดขวาง, การนัดหยุดงาน, การนัดหยุดเรียน และการดื้อแพ่งต่อกฎหมายสวมฮิญาบในที่สาธารณะ
สถานะดำเนินอยู่
คู่ขัดแย้ง
ผู้ประท้วง
ผู้นำ
ไม่มีศูนย์กลาง
ความเสียหาย
เสียชีวิตมากกว่า 319 คน[2][3][4]
บาดเจ็บ1160 คน [1]

ข้อมูลเมื่อ 22 กันยายน ค.ศ. 2022 (2022 -09-22) มีผู้ประท้วงอย่างน้อย 31 รายที่เสียชีวิตจากการปราบปรามผู้ชุมนุม ถือเป็นการประท้วงที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดนับตั้งแต่การประท้วงในปี 2019–2020 ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 1,500 ราย[2]

นอกจากจะพยายามสลายการชุมนุมแล้ว รัฐบาลอิหร่านยังจำกัดการเข้าถึงแอปพลิเคชันอย่างอินสตาแกรมและวอตแซปส์ ไปจนถึงการจำกัดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เพื่อให้การจัดการประท้วงเป็นไปอย่างยากลำบาก ถือเป็นการจำกัดอินเทอร์เน็ตครั้งที่หนักที่สุดนับตั้งแต่การประท้วงในปี 2019 ที่ตัดขาดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์[8]การโจมตีผู้ชุมนุมได้นำไปสู่การที่ผู้ชุมนุมบุกทำลายสถานที่ราชการ, ฐานทัพของรัฐบาล, ศูนย์ศาสนา, เผารถตำรวจ ยังมีการฉีกทำลายป้ายโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านอเมริกา, โปสเตอร์และรูปปั้นของผู้นำสูงสุด แอลี ฆอเมเนอี และอดีตผู้นำสูงสุด รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี โดยการชุมนุมของกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยเตหะรานและมีการชุมนุมนักศึกษาในสถานศึกษาทั่วในประเทศเพื่อต้องการความยุติธรรม ต่อมาตำรวจควบุมฝูงชนได้เอาแก๊สน้ำตา รถควบคุมฝูงชน หนังสติ๊กยิง ทำให้กลุ่มผู้ชุนนุมได้รับบาดเจ็บ

กลุ่มสิทธิมนุษยชน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยโดยอ้างเอกสารของทางการอิหร่านที่หลุดออกมาว่า อิหร่านมีคำสั่งให้กองกำลัง “จัดการอย่างรุนแรง” กับผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลที่ออกมาประท้วงการเสียชีวิตของ มาห์ซา อะมินี ในระหว่างการถูกควบคุมตัวโดยตำรวจศีลธรรม แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล รายงานว่า กองกำลังของอิหร่านได้ใช้กำลังจนทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 52 คน ตั้งแต่เกิดการชุมนุมประท้วงเมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยการยิงกระสุนจริงเข้าใส่ฝูงชนและการทุบตีผู้ชุมนุมด้วยกระบอง

กองกำลังอิหร่านยังได้ทุบตีและถึงเนื้อถึงตัวผู้ชุมนุมที่เป็นผู้หญิง ที่ออกมาประท้วงโดยการถอดผ้าคลุมฮิญาบเพื่อประท้วงการปฏิบัติต่อสตรีของระบบการปกครองเทวาธิปไตยการเสียชีวิตของมาห์ซา อะมินี หลังจากที่เธอถูกควบคุมตัวด้วยข้อหาว่าเธอสวมใส่ฮิญาบที่หลวมเกินไปนั้น ได้ทำให้ชาวอิหร่านออกมาแสดงความโกรธแค้นอย่างมากต่อกลุ่มผู้นำทางศาสนาซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศ ครอบครัวของอะมินีเปิดเผยว่า พวกเขาได้รับแจ้งว่าอะมินีถูกทำร้ายจนเสียชีวิตในระหว่างการถูกควบคุมตัว แต่ตำรวจกล่าวว่าอะมินีในวัย 22 ปีเสียชีวิตเพราะอาการหัวใจวาย และปฏิเสธว่าไม่มีการทำร้ายร่างกายของเธอ ในขณะที่เจ้าหน้าที่อิหร่านกล่าวว่ากำลังสืบสวนสาเหตุการเสียชีวิตของหญิงสาวผู้นี้

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่าได้รับสำเนาเอกสารของรัฐบาลที่มีการเผยแพร่ออกมาแผยแพร่อย่างลับ ๆ โดยกล่าวว่า สำนักงานใหญ่ของกองกำลังอิหร่านได้ออกคำสั่งในวันที่ 21 กันยายน ให้ผู้บังคับบัญชา “จัดการอย่างรุนแรงกับพวกที่สร้างปัญหาและผู้ที่ต่อต้านการปฏิวัติอิหร่าน กลุ่มสิทธิมนุษยชนดังกล่าวยังระบุว่า เอกสารดังกล่าวทำให้มีการใช้กำลังจนถึงขั้นทำให้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นในเย็นวันนั้น และทำให้มีผู้เสียชีวิตในคืนนั้นเพียงคืนเดียวอย่างน้อย 34 คน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ยังกล่าวด้วยว่า เอกสารทางการที่หลุดออกมาอีกฉบับหนึ่งยังแสดงให้เห็นว่า เพียง 2 วันถัดมาผู้บังคับบัญชาในเมือง มาซานดราน ยังได้สั่งให้กองกำลัง “จัดการกับผู้ชุมนุมอย่างไม่ต้องปราณี และสามารถเอาให้ถึงตาย โดยเฉพาะกับผู้ที่ก่อการจลาจลและผู้ที่ต่อต้านการปฏิวัติอิหร่าน” ซึ่งหมายถึงชาวอิหร่านที่ต่อต้านการปฏิวัติอิสลามใน ค.ศ. 1979 ที่ทำให้กลุ่มผู้นำศาสนาก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศ

นายแอกเนส คาลลามาร์ด เลขาธิการของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า “ทางการอิหร่านตัดสินใจทำร้ายและฆ่าประชาชนที่ออกมาแสดงความโกรธเกรี้ยวจากการถูกกดขี่ข่มเหง และหมดความทนอยู่ภายใต้ความอยุติธรรมมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ” ก่อนหน้านี้ ผู้นำของอิหร่านกล่าวหาว่ามีหน่วยงานหรือองค์กรของต่างชาติที่มุ่งร้ายต่ออิหร่าน ที่ฉวยโอกาสนี้เพื่อสร้างความปั่นป่วนภายในประเทศ และกล่าวว่าผู้ที่ออกมาชุมนุมนั้นเป็นพวกก่อการจลาจล โดยกล่าวว่ากองกำลังของอิหร่านก็เสียชีวิตเช่นกัน[9]

การประท้วงซึ่งแพร่กระจายไปยังหลายเมืองส่วนใหญ่ใน 31 จังหวัดของอิหร่าน สะท้อนถึงท่าทีผู้ชุมนุมที่ไม่หวาดกลัวคำเตือนจากทางการ โดยก่อนหน้านี้อิบราฮิม ไรซี ประธานาธิบดีอิหร่าน ประกาศจะดำเนินการอย่างเด็ดขาดต่อกลุ่มผู้ประท้วง ในขณะที่โกลัมฮอสเซน โมเซนี เอเจอี หัวหน้าฝ่ายตุลาการ ประกาศย้ำถึงความจำเป็นในการดำเนินการอย่างเด็ดขาดโดยไม่ผ่อนปรนกับผู้ยุยงให้เกิดการจลาจล

ด้านสหภาพครูอิหร่านออกแถลงการณ์ผ่านโซเชียลมีเดีย เรียกร้องให้ครูและนักเรียนนักศึกษาทั่วประเทศหยุดการเรียนการสอนเพื่อประท้วง โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้ (26 กันยายน) ไปถึงวันพุธ (28 กันยายน) พร้อมเรียกร้องประชาชน สหภาพการค้า นักกีฬา ทหาร ทหารผ่านศึก ตำรวจ และเหล่าศิลปิน ร่วมการประท้วงเรียกร้องความเป็นธรรมทั้งนี้ รัฐบาลเตหะรานยังแสดงความไม่พอใจต่อท่าทีของชาติตะวันตกและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่แทรกแซงและสนับสนุนการประท้วงในอิหร่าน

ฮอสเซน อามีร์อับดุลลาฮีอาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศอิหร่าน วิจารณ์สหรัฐฯ ว่าให้การสนับสนุนผู้ก่อจลาจล และพยายามบั่นทอนเสถียรภาพของอิหร่าน ซึ่งถือเป็นจุดยืนที่ขัดแย้งกับท่าทีของสหรัฐฯ ที่พยายามเรียกร้องเสถียรภาพในภูมิภาค และฟื้นข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่าน ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศอิหร่านได้เรียกเอกอัครราชทูตอังกฤษเข้าพบ เพื่อประท้วงการรายงานข่าวในลักษณะที่ไม่เป็นมิตรของสื่อภาษาเปอร์เซียในลอนดอน ซึ่งทางกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษยืนยันว่าพวกเขาปกป้องเสรีภาพสื่อ และประณาม ‘การปราบปรามผู้ประท้วง นักศึกษา นักข่าว และเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตของอิหร่าน’ เช่นเดียวกับเอกอัครราชทูตนอร์เวย์ที่ถูกกระทรวงการต่างประเทศอิหร่านเรียกพบ เพื่อขอคำอธิบายต่อท่าทีในการแทรกแซงสถานการณ์ของ มาซูด การัคนี ประธานรัฐสภานอร์เวย์ ที่มีเชื้อสายอิหร่านและเกิดในเตหะราน หลังจากที่เขาออกมาแสดงความเห็นและสนับสนุนกลุ่มผู้ประท้วงผ่านทางทวิตเตอร์[10][11]

ส่วนกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยและสถานศึกษาทั่วประเทศในอิหร่านมีการนัดหยุดเรียนประท้วง เช่น ผ้า คลุมผมออกมาโบกไปมา พร้อมกับที่มีเสียงตะโกนว่า “อย่ากลัว เราอยู่เคียงข้างกัน” “ผู้หญิง ชีวิต เสรีภาพ” และมีการปรบมือ มีกลุ่มนักศึกษาผู้หญิงการชูนิ้วกลางใส่รูปผู้นำสูงสุด ปลดรูปภาพและมีการฉีกรูปภาพผู้นำสูงสุด แอลี ฆอเมเนอี และอดีตผู้นำสูงสุด รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี[12]

อ้างอิง แก้

  1. "Hengaw Report No. 7 on the Kurdistan protests, 18 dead and 898 injured". Hengaw (ภาษาKurdish (Arabic script)). สืบค้นเมื่อ 28 September 2022.
  2. 2.0 2.1 "Eʿterāżāt dar Irān; Afzāyeš-e Āmār-e Koštešodegān beh biš az 30 Hamzamān bā Eḫtelāl dar Internet" اعتراضات در ایران؛ افزایش آمار کشته‌شدگان به بیش از ۳۰ نفر همزمان با اختلال در اینترنت [Protests in Iran; The Number of Those Killed has Increased to over 30 People Simultaneously With Internet Blackout]. Iran Human Rights (ภาษาเปอร์เซีย). สืบค้นเมื่อ 2022-09-22.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "31 Killed In Iran Crackdown On Anti-Hijab Protesters After Custody Death". NDTV. 22 September 2022.
  4. "At least 36 killed as Iran protests over Mahsa Amini's death rage: NGO". Al Arabiya News. 23 September 2022.
  5. Strzyżyńska, Weronika (16 September 2022). "Iranian woman dies 'after being beaten by morality police' over hijab law". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 22 September 2022.
  6. Mahsa Amini: EU concern over woman who died after being stopped by morality police , euronews, 2022
  7. Reuters (2022-09-20). "Protests flare across Iran in violent unrest over woman's death". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-09-23.
  8. "Iran restricts access to WhatsApp and Instagram in response to Mahsa Amini protests". 21 September 2022.
  9. "'แอมเนสตี้' ชี้ อิหร่านสั่งให้กองกำลัง "จัดการอย่างรุนแรง" กับผู้ชุมนุม". VOA.
  10. matichon (2022-09-26). "เตหะรานซัด สหรัฐใช้การประท้วงเหตุหญิงทำผิดกฎสวมฮิญาบดับ ทำลายอิหร่าน". มติชนออนไลน์.
  11. "ประท้วงใหญ่อิหร่านเสียชีวิตพุ่งเฉียด 60 ราย เตหะรานโวยท่าทีชาติตะวันตก แทรกแซง-รายงานข่าวไม่เป็นมิตร". THE STANDARD. 2022-09-26.
  12. "นักเรียนหญิงอิหร่าน ถอดฮิญาบ-ปลดรูปผู้นำ". pptvhd36.com.