สาธารณรัฐเชเชน
เชชเนีย (อังกฤษ: Chechnya; รัสเซีย: Чечня́, อักษรโรมัน: Chechnyá, สัทอักษรสากล: [tɕɪtɕˈnʲa]; เชเชน: Нохчийчоь, อักษรโรมัน: Noxçiyçö) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเชเชน (อังกฤษ: Chechen Republic; รัสเซีย: Чече́нская Респу́блика, อักษรโรมัน: Chechenskaya Respublika; เชเชน: Нохчийн Республика, อักษรโรมัน: Noxçiyn Respublika) เป็นสาธารณรัฐหนึ่งของประเทศรัสเซีย
สาธารณรัฐเชเชน | |
---|---|
Чеченская Республика / Chechenskaya Respublika | |
การถอดเสียงอื่น | |
• เชเชน | Нохчийн Республика / Noxçiyn Respublika |
เพลง: Шатлакхан Илли Şatlaqan İlli "เพลงแห่งชัตลัก" [1] | |
พิกัด: 43°24′N 45°43′E / 43.400°N 45.717°E | |
ประเทศ | รัสเซีย |
เขตสหพันธ์ | คอเคซัสเหนือ[2] |
เขตเศรษฐกิจ | คอเคซัสเหนือ[3] |
สถาปนา | 10 มกราคม ค.ศ. 1993[4] |
เมืองหลัก | กรอซนืย |
การปกครอง | |
• องค์กร | รัฐสภา[5] |
• หัวหน้า[5] | รัมซาน คาดือรอฟ[6] |
พื้นที่[7] | |
• ทั้งหมด | 17,300 ตร.กม. (6,700 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | ที่ 76 |
เขตเวลา | UTC+3 (เวลามอสโก [8]) |
รหัส ISO 3166 | RU-CE |
ทะเบียนรถ | 95 |
รหัส OKTMO | 96000000 |
ภาษาราชการ | รัสเซีย;[9] เชเชน[10] |
เชชเนียตั้งอยู่ในคอเคซัสเหนือ ตั้งอยู่ส่วนใต้สุดของยุโรปตะวันออก และอยู่ในรัศมี 100 กิโลเมตรจากทะเลแคสเปียน[11] เมืองหลวงของสาธารณรัฐคือกรอซนืย ตามสำมะโน พ.ศ. 2553 สาธารณรัฐมีประชากร 1,268,989 คน[12]
หลังสหภาพโซเวียตล่มสลายใน พ.ศ. 2534 สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตปกครองตนเองเชเชน-อินกุช (Chechen-Ingush ASSR) แบ่งออกเป็นสองสาธารณรัฐ คือ สาธารณรัฐอินกูเชเตียและสาธารณรัฐเชเชน สาธารณรัฐเชเชนได้รับการประกาศเป็นสาธารณรัฐเชเชนแห่งอิชเคเรีย ซึ่งแสวงเอกราช หลังสงครามเชเชนครั้งที่หนึ่งกับประเทศรัสเซีย เชชเนียได้รับเอกราชโดยพฤตินัยเป็นสาธารณรัฐเชเชนแห่งอิชเคเรีย การควบคุมจากส่วนกลางของรัสเซียได้รับการฟื้นฟูระหว่างสงครามเชชเนียครั้งที่สอง นับแต่นั้น มีกระบวนการบูรณะและสร้างใหม่อย่างเป็นระบบ แม้การสู้รบประปรายยังดำเนินต่อไปในเขตภูเขาและทางใต้ของสาธารณรัฐ
ปัญหาความขัดแย้งของเชชเนีย
แก้เชชเนียเป็นสาธารณรัฐของสหพันธรัฐรัสเซีย มีประชากรก่อนสงคราม 1.2 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมนิกายสุหนี่ ตั้งอยู่ทางทิศ ตะวันตกเฉียงใต้ของรัสเซียบริเวณเทือกเขาคอเคซัส มีอาณาเขตติดต่อกับจอร์เจีย ในปี 2534 หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ขบวนการชาตินิยมกลุ่มมุสลิมหัวใหม่ในรัสเซียต้องการที่จะผนวกดินแดน 4 สาธารณรัฐคือ สาธารณรัฐอิงกูเชเตีย, คาร์บาดีโน-บัลคาเรีย, ดาเกสถาน และนอร์ทออสซีเชีย เข้าด้วยกันเรียกว่า "สหพันธรัฐอิสลามคาลีฟัด" ภายใต้การสนับสนุนจากประเทศในตะวันออกกลาง ปัญหาของเชชเนียเกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2535 นายพลดูดาเยฟ ประธานาธิบดีเชชเนียประกาศให้สาธารณรัฐเป็นเอกราช แต่รัสเซียยอมไม่ได้ที่จะปล่อยให้ดินแดนในปกครองเป็นอิสระ นอกจากนี้กรุงกรอซนืยเมืองหลวงของเชชเนีย ยังเป็นแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของรัสเซียอีกด้วย
สมัยประธานาธิบดีเยลต์ซินของรัสเซีย
แก้ได้มีการส่งทหารจำนวน 40,000 นาย เข้าไปยังเชชเนีย เพื่อปราบปรามการแบ่งแยกดินแดน ทำให้เกิดการสู้รบยืดเยื้อเป็นเวลาเกือบ 2 ปี (พ.ศ. 2537–2539) แต่ได้สิ้นสุดลง เมื่อรัสเซียตกลงให้สิทธิปกครองตนเองชั่วคราวแก่กลุ่มกบฏและยอมถอนทหารออกจากเชชเนียทั้งหมด และสนับสนุนให้นายอัสลาน มาสคาดอฟ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเชชเนียในเดือนกรกฎาคม 2540 สืบแทนประธานาธิบดีโซคคาร์ ดูคาเยฟที่เสียชีวิตไปในช่วงสงคราม ต่อมาอำนาจของประธานาธิบดีมาสคาดอฟได้ลดลงเป็นลำดับ เนื่องจากอดีตหัวหน้ากลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดน ซึ่งกระจายอยู่ตามดินแดนส่วนต่าง ๆ ของเชชเนีย เริ่มตั้งตนขึ้นมามีอำนาจอย่างเป็นเอกเทศ และจากการที่ประธานาธิบดีมาสคาดอฟได้ดำเนินนโยบายแยกตัวเป็นเอกราชจากรัสเซียในภายหลัง ทำให้รัฐบาลรัสเซียต้องการจับกุมตัวประธานาธิบดีมาสคาดอฟ ในฐานะหัวหน้ากลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดน
สงครามเชชเนียครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2542)
แก้เริ่มขึ้นเมื่อนายพลชามิล บาซาเยฟ หัวหน้ากลุ่มกบฏเชชเนียซึ่งมีอำนาจมากที่สุด นำกำลังเข้ายึดสาธารณรัฐดาเกสถาน ทางตะวันออกของเชชเนีย พร้อมประกาศจะปลดปล่อยดินแดนทางตอนเหนือของเทือกเขาคอเคซัสออกจากรัสเซีย และเปลี่ยนให้เป็นรัฐอิสลามทั้งหมด ทำให้รัสเซียต้องส่งทหารเข้าโจมตีที่ตั้งของนายพลบาซาเยฟในเชชเนียตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม 2542 โดยสามารถยึดพื้นที่ไว้ได้ทั้งหมด รวมทั้งกรุงกรอซนืยเมืองหลวงของเชชเนีย เหลือแต่เพียงบริเวณเทือกเขาตามแนวชายแดนเท่านั้น ที่มักเกิดการสู้รบกับกลุ่มกบฏในลักษณะการซุ่มโจมตี ในการนี้ รัสเซียได้แต่งตั้งนายอัคมัด คาดีรอฟ ขึ้นเป็นผู้นำเชชเนียคนใหม่
การเสียชีวิตของนายอัสลัน มาสคาดอฟ เมื่อ 8 มีนาคม 2548
แก้ระหว่างการล้อมจับของกองกำลังรัสเซียในเมืองตอลสตอยยุร์ต (Tolstoi Yurt) ของเชชเนีย หลายฝ่ายมองว่า เป็นการสิ้นสุดกระบวนการเจรจาเพื่อสันติภาพระหว่างเชชเนียกับรัสเซีย เนื่องจากนายมาสคาดอฟ ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มกบฏเชชเนียสายกลาง กำลังต้องการเจรจาสันติภาพกับรัสเซีย โดยเป็นฝ่ายเสนอการหยุดยิงฝ่ายเดียวในเชชเนีย ขณะที่รัสเซียกลับมองว่า เป็นการสิ้นสุดผู้นำสูงสุดของกลุ่มกบฏเชชเนียสายกลาง ซึ่งจะทำให้ไม่มีตัวเชื่อมโยงทางการเมือง รวมถึงการขอรับการสนับสนุนด้านอาวุธและการเงินจากต่างประเทศ การสังหารนายชามิล บาซาเยฟ ผู้นำกลุ่มกบฏเชชเนียสายหัวรุนแรง เมื่อ 10 กรกฎาคม 2549 ถือเป็นชัยชนะครั้งสำคัญของประธานาธิบดีปูตินที่ดำเนินนโยบายแข็งกร้าวในการแก้ไขปัญหาเชชเนียมาตลอด ซึ่งไม่เพียงส่งผลให้การแพร่กระแสเรียกร้องเอกราชไปยังดินแดนอื่น ๆ ของรัสเซียต้องหยุดชะงักลงบ้าง แม้จะไม่สามารถหยุดยั้งกระบวนการเรียกร้องเอกราชให้แก่เชชเนียได้ เพราะยังคงมีผู้นำกบฏคนใหม่ก้าวขึ้นมาแทนที่ แต่ยังจะช่วยให้การบริหารดินแดนเชชเนียโดยคณะบริหารที่รัฐบาลรัสเซียสนับสนุนอยู่เข้มแข็งขึ้น ปัจจุบันรัฐบาลรัสเซียได้ส่งกองกำลังและเจ้าหน้าที่เข้าไปประจำการอยู่ในเชชเนียประมาณ 40,000 นาย โดยไปจากกระทรวงกลาโหม หน่วยความมั่นคงกลาง (FSB) และกองกำลังของกระทรวงมหาดไทยเป็นหลัก
ทั้งนี้ นายบาซาเยฟเป็นผู้นำกลุ่มกบฏเชชเนียที่ทางการรัสเซียต้องการตัวมากที่สุด และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ความรุนแรงหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการจับตัวประกันในโรงละครใจกลางกรุงมอสโก การก่อวินาศกรรมเครื่องบินโดยสารของรัสเซีย การลอบวางระเบิดสถานีรถไฟใต้ดินในกรุงมอสโก รวมถึงเหตุการณ์ครั้งรุนแรงที่สุด คือ การจับนักเรียนและครูเป็นตัวประกันที่โรงเรียนในเมืองเบสลันในปี พ.ศ. 2547 ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 335 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็ก และก่อนที่นายบาซาเยฟจะถูกสังหารนั้น หน่วย FSB สืบทราบว่า นายบาซาเยฟมีแผนที่จะก่อการร้ายครั้งใหญ่ในช่วงที่รัสเซียจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (G-8) ที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ในระหว่าง 15-17กรกฎาคม 2549 ด้วย
การแก้ไขปัญหาเชชเนียของรัสเซียถูกประณามจากชาติตะวันตกว่า ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เนื่องจากใช้วิธีการกวาดล้างแบบราบคาบ ไม่เลือกเฉพาะพื้นที่ตั้งของฝ่ายกบฏ โดยเน้นการโจมตีทางอากาศเป็นหลัก แม้กระนั้น การก่อการร้ายในรัสเซียยังคงเกิดขึ้นและขยายตัวทั้งในแง่ของพื้นที่ปฏิบัติการและความรุนแรง ทำให้ประธานาธิบดีปูตินดำเนินนโยบายที่แข็งกร้าวมากขึ้น โดยประกาศจะใช้นโยบายชิงโจมตีก่อนต่อผู้ก่อการร้าย ด้านสภาดูมาได้เสนอร่างกฎหมายเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านการก่อการร้ายเพื่อสนับสนุนนโยบายดังกล่าว โดยอนุญาตให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้มาตรการฉุกเฉินในการสืบสวน แม้จะยังไม่มีการยืนยันว่า กำลังจะมีการก่อการร้ายก็ตาม ซึ่งมาตรการดังกล่าวครอบคลุมการดักฟังโทรศัพท์ การตรวจสอบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์และเอกสาร การจำกัดการจราจรและการเดินทาง รวมถึงการจำกัดเสรีภาพของสื่อมวลชนในการเสนอข่าวในพื้นที่ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย
ปัญหาการก่อการร้ายในประเทศ
แก้สร้างความชอบธรรมให้กับประธานาธิบดีปูตินในการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเป็นการรวมศูนย์อำนาจ โดยเปลี่ยนวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากทั้งแบบแบ่งเขตและแบบสัดส่วน เป็นการเลือกตั้งแบบสัดส่วนทั้งหมด พร้อมกับเปลี่ยนวิธีการเลือกตั้งผู้ปกครองสาธารณรัฐและเขตปกครองตนเองทั้ง 89 แห่ง เป็นการเสนอชื่อโดยประธานาธิบดีและขอความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติท้องถิ่นแทน ซึ่งวิธีการดังกล่าวถูกชาติตะวันตกโจมตีอย่างหนักว่า จะทำให้การพัฒนาประชาธิปไตยในรัสเซียไม่คืบหน้า
อ้างอิง
แก้- ↑ Decree #164
- ↑ Президент Российской Федерации. Указ №849 от 13 мая 2000 г. «О полномочном представителе Президента Российской Федерации в федеральном округе». Вступил в силу 13 мая 2000 г. Опубликован: "Собрание законодательства РФ", No. 20, ст. 2112, 15 мая 2000 г. (President of the Russian Federation. Decree #849 of May 13, 2000 On the Plenipotentiary Representative of the President of the Russian Federation in a Federal District. Effective as of May 13, 2000.).
- ↑ Госстандарт Российской Федерации. №ОК 024-95 27 декабря 1995 г. «Общероссийский классификатор экономических регионов. 2. Экономические районы», в ред. Изменения №5/2001 ОКЭР. (Gosstandart of the Russian Federation. #OK 024-95 December 27, 1995 Russian Classification of Economic Regions. 2. Economic Regions, as amended by the Amendment #5/2001 OKER. ).
- ↑ Law #4071-1
- ↑ 5.0 5.1 Constitution, Article 5.1
- ↑ Official website of the Chechen Republic. Ramzan Akhmatovich Kadyrov เก็บถาวร 11 สิงหาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษารัสเซีย)
- ↑ Федеральная служба государственной статистики (Federal State Statistics Service) (2004-05-21). "Территория, число районов, населённых пунктов и сельских администраций по субъектам Российской Федерации (Territory, Number of Districts, Inhabited Localities, and Rural Administration by Federal Subjects of the Russian Federation)". Всероссийская перепись населения 2002 года (All-Russia Population Census of 2002) (ภาษารัสเซีย). Federal State Statistics Service. สืบค้นเมื่อ 2011-11-01.
- ↑ "Об исчислении времени". Официальный интернет-портал правовой информации (ภาษารัสเซีย). 3 June 2011. สืบค้นเมื่อ 19 January 2019.
- ↑ ภาษาอย่างเป็นทางการของสหพันธ์ตามมาตรา 68.1 ของรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย
- ↑ Constitution of the Chechen Republic, Article 10.1
- ↑ Chechnya: The World Atlas Retrieved on April 24, 2013
- ↑ Russian Federal State Statistics Service (2011). "Всероссийская перепись населения 2010 года. Том 1" [2010 All-Russian Population Census, vol. 1]. Всероссийская перепись населения 2010 года (2010 All-Russia Population Census) (ภาษารัสเซีย). Federal State Statistics Service. สืบค้นเมื่อ June 29, 2012.
ข้อมูล
แก้- Президент Чеченской Республики. Указ №164 от 15 июля 2004 г. «О государственном гимне Чеченской Республики». Вступил в силу после одобрения Государственным Советом Чеченской Республики и официального опубликования. Опубликован: БД "Консультант-Плюс". (President of the Chechen Republic. Decree #164 of 15 July 2004 On the State Anthem of the Chechen Republic. Effective as of after the ratification by the State Council of the Chechen Republic and subsequent official publication.).
- แม่แบบ:RussiaBasicLawRef/ce
- Вступил в силу 10 января 1993 г.. Опубликован: "Ведомости СНД и ВС РФ", №52, ст. 3051, 31 декабря 1992 г. President of the Russian Federation. Law #4071-1 of 10 December 1992 On Amending Article 71 of the Constitution (Basic Law) of the Russian Federation–Russia. Effective as of 10 January 1993..
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษารัสเซีย)
- สาธารณรัฐเชเชน ที่เว็บไซต์ Curlie