ความสัมพันธ์ไทย–พม่า

(เปลี่ยนทางจาก ความสัมพันธ์พม่า–ไทย)

ความสัมพันธ์ไทย–พม่า หมายถึงความสัมพันธ์ของสองประเทศตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน พม่ามีสถานทูตประจำประเทศไทยที่กรุงเทพมหานคร ส่วนประเทศไทยมีสถานทูตประจำประเทศพม่าที่ย่างกุ้ง[1][2] ความสัมพันธ์พม่า–ไทยมักดำเนินไปในเรื่องของเศรษฐกิจและการค้า นอกจากนี้ก็มีความขัดแย้งเป็นระยะ ๆ เช่นกรณีพิพาทเกาะหลาม เกาะคัน และเกาะขี้นก[3]

ความสัมพันธ์ไทย–พม่า
Map indicating location of พม่า and ไทย

พม่า

ไทย
สถานทูตพม่าประจำประเทศไทย กรุงเทพมหานคร

การเปรียบเทียบ

แก้
  สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา   ราชอาณาจักรไทย
ตราแผ่นดิน    
ธงชาติ    
ประชากร 53,582,855 คน 68,863,514 คน
พื้นที่ 676,578 ตร.กม. (261,228 ตร.ไมล์) 513,120 ตร.กม. (198,120 ตร.ไมล์)
ความหนาแน่น 76 คน/ตร.กม. (196.8 คน/ตร.ไมล์) 132.1 คน/ตร.กม. (342.1 คน/ตร.ไมล์)
เมืองหลวง เนปยีดอ กรุงเทพมหานคร
เมืองที่ใหญ่ที่สุด ย่างกุ้ง​ – 5,160,512 คน (เขตปริมณฑล 7,360,703 คน) กรุงเทพมหานคร – 8,305,218 คน (เขตปริมณฑล 10,624,700 คน)
การปกครอง เผด็จการทหาร ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประมุขแห่งรัฐ ประธานาธิบดี: มหยิ่นซเว (รักษาการ) พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
หัวหน้ารัฐบาล นายกรัฐมนตรี: มี่นอองไลง์ นายกรัฐมนตรี: แพทองธาร ชินวัตร
ภาษาราชการ ภาษาพม่า ภาษาไทย
ศาสนาหลัก
กลุ่มชาติพันธุ์
จีดีพี (ราคาตลาด) 71.543 พันล้านดอลลาร์ (ต่อหัว 1,354 ดอลลาร์) 516 พันล้านดอลลาร์ (ต่อหัว 7,607 ดอลลาร์)
ค่าใช้จ่ายทางทหาร 2.43 พันล้านดอลลาร์ 5.69 พันล้านดอลลาร์

ประวัติศาสตร์

แก้

สมัยอยุธยา

แก้

สมัยอยุธยาการความสัมพันธ์เต็มไปด้วยความขัดแย้งจากสงครามนับแต่ครั้งอดีต โดยทั้งไทยและพม่าต่างชิงความเป็นใหญ่ในภูมิภาคเพื่อขยายอำนาจทางการเมือง การปกครอง และเป็นการควบคุมจุดยุทธศาสตร์ทางการค้าภายในแผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังพม่าได้เป็นใหญ่เหนือดินแดนมอญและไทใหญ่แล้ว พยายามขยายอำนาจเข้ามายังอาณาจักรอยุธยา โดยเดินทัพผ่านดินแดนมอญทางด้านตะวันตกหรือผ่านลงมาทางล้านนาทางด้านเหนือ การที่พม่ายกทัพมารบกับอยุธยาหลายครั้งแสดงให้เห็นถึงความต้องการเป็นใหญ่ในดินแดนแถบนี้ และพม่าต้องการสร้างความเป็นเอกภาพในดินแดนพม่าโดยการรวบรวมชนกลุ่มน้อยให้เป็นหนึ่งอันเดียวกัน แต่อุปสรรคสำคัญของพม่าคืออาณาจักรอยุธยาซึ่งมักสนับสนุนชนกลุ่มน้อยให้ต่อต้านอำนาจของพม่าเสมอ การยึดครองอยุธยาจึงเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเป็นเอกภาพของพม่าด้วย ซึ่ง นำไปสู้การสูญเสียเอกราชของอยุธยา 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2112 และปี พ.ศ. 2310 ซึ่งอาณาจักรอยุธยาก็สามารถกอบกู้อิสรภาพได้ทั้งสองครั้ง

สมัยธนบุรี

แก้

ส่วนใหญ่ไทยกับพม่าจะทำสงครามกันเกือบตลอดรัชกาลในสมัยกรุงธนบุรี ทั้งในด้านการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพจากพม่าของพระเจ้าตากสิน โดยไทยเป็นฝ่ายตั้งรับการรุกรานของพม่า หลังจากได้รับเอกราช ต้องทำสงครามกับพม่าถึง 9 ครั้ง และแย่งชิงความเป็นใหญ่ในอาณาจักรล้านนา บริเวณภาคเหนือของประเทศไทยในปัจจุบัน

สมัยรัตนโกสินทร์

แก้

สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

แก้

อยู่ในลักษณะทำสงครามสู้รบกัน โดยไทยทำสงครามกับพม่ารวมทั้งสิ้น 10 ครั้ง สงครามครั้งที่มีความสำคัญที่สุดคือ สงครามเก้าทัพ ใน พ.ศ. 2328 แต่เมื่อพม่าเผชิญหน้ากับการคุกคามของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก คือ สหราชอาณาจักร ในเวลาต่อมาก็ไม่ได้ยกทัพมาสู้รบกับไทยอีก

สมัยใหม่

แก้

ในปี พ.ศ. 2415 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้เสด็จเยือนประเทศอาณานิคมอังกฤษ 2 ประเทศ คือประเทศอินเดีย และประเทศพม่า (บริติชราช) ทำให้ทรงได้ทอดพระเนตรความเจริญที่อังกฤษนำมาพัฒนาอาณานิคมทั้งสอง สิ่งเหล่านี้พระองค์ท่านได้นำมาพัฒนาบ้านเมืองให้เกิดความเจริญขึ้น

ในปี พ.ศ. 2478 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อครั้งที่ทรงลี้ภัยการเมืองไปประทับอยู่ที่ปีนัง ได้ทรงเสด็จไปเยือนพม่าและได้ทรงบันทึกเรื่องราวขณะเสด็จเยือน ได้ทรงนำมานิพนธ์เป็นหนังสือเรื่องเที่ยวเมืองพม่า

วันที่ 2-5 มีนาคม พ.ศ. 2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหภาพพม่า เพิ่มพูนสัมพันธไมตรีกับพม่า การเสด็จเยือนครั้งดังกล่าวทำให้ความสัมพันธ์ไทยกับพม่าดีขึ้นอย่างมาก

ปัญหาความไม่สงบด้านชายแดน

แก้

วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ทหารพม่ารบกับกะเหรี่ยงดีเคบีเอโดยได้มีระเบิดจากพม่าตกที่จังหวัดตากจำนวน 2 ลูก ส่งผลให้คนไทยได้รับบาดเจ็บจำนวน 8 ราย

วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554 ทหารหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 4 อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ได้ปิดเส้นทางถนนบ้านห้วยน้ำนัก , บ้านห้วยแห้ง ตำบลช่องแคบ อำเภอพบพระ ไปยังบ้านช่องแคบ เนื่องจากการสู้รบระหว่างทหารรัฐบาลพม่ากับฝ่ายกะเหรี่ยงดีเคบีเอและกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง เคเอ็นยูเกิดขึ้นบริเวณตรงข้ามบ้านห้วยน้ำนัก และก่อนหน้านี้มีลูกกระสุนปืนล้ำเข้ามาตกในเขตไทย

วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ถึง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 พลตรีนะคะมวย ผู้บัญชาการทหารกองกำลังติดอาวุธชาวกะเหรี่ยงกองพลน้อยโกะทูบลอ สั่งทหารปิดช่องทางเข้าออกตามแนวชายแดนไทย-พม่า เพื่อตอบโต้ทางการไทยที่ขึ้นบัญชีดำเป็นพ่อค้ายาเสพติด และตอบโต้ที่ถูก ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ประกาศว่าเป็นหนึ่งใน 25 คนที่มีหมายจับคดีค้ายาเสพติดมีค่าหัว 1 ล้านบาท

ความร่วมมือในด้านต่าง ๆ

แก้

ด้านการค้า

แก้
 
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ เต็ง เส่ง

ในปี พ.ศ. 2558 การค้ารวมคิดเป็นมูลค่า 261,975.12 ล้านบาท (ลดลงร้อยละ 0.6 จากปี พ.ศ. 2557) ไทยส่งออก 140,789.55 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.32) นำเข้า 121,185 ล้านบาท (ลดลงร้อยละ 4.79 เนื่องจากมูลค่าการนำก๊าซธรรมชาติจากพม่าเข้าประเทศไทยลดลงจากการลดลงของราคาเชื้อเพลิงธรรมชาติในตลาดโลก) ได้ดุลการค้า 19,603.97 ล้านบาท เป็นการค้าชายแดนมูลค่า 214,694.38 ล้านบาท หรือร้อยละ 81.95 ของมูลค่าการค้ารวม

ด้านการลงทุน

แก้

ไทยมีการลงทุนสะสมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 – มกราคม พ.ศ. 2559 มูลค่า 114,804.37 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.54 ของการลงทุนจากต่างชาติ เป็นอันดับ 6 รองจากจีน สิงคโปร์ ฮ่องกง สหราชอาณาจักร และเกาหลีใต้ สาขาการลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ พลังงาน การผลิต ประมง และปศุสัตว์ ผู้ลงทุนรายใหญ่ อาทิ ปตท.สผ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย (กฟผ.) อิตาเลียนไทย ซีพี และเครือซิเมนต์ไทย ทั้งนี้ รัฐบาลไทยส่งเสริมการลงทุนและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคเอกชนไทยในพม่าอย่างมีความรับผิดชอบ

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Burmese embassy in Bangkok เก็บถาวร 2011-01-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. Thai embassy in Burma เก็บถาวร 2011-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. Sophal, Sek (13 January 2020). "New subs sign of troubles to come?" (Opinion). Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 13 January 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้