คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 23

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 23 ของไทย (29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 - 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494)

คณะรัฐมนตรีแปลก 5
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 23 แห่งราชอาณาจักรไทย
พฤศจิกายน - ธันวาคม พ.ศ. 2494
Field Marshal Plaek Phibunsongkhram.jpg
วันแต่งตั้ง 29 พฤศจิกายน​ 2494
วันสิ้นสุด 6 ธันวาคม​ 2494
(0 ปี 7 วัน)
บุคคลและองค์กร
ประมุขแห่งรัฐ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
หัวหน้าคณะรัฐมนตรี แปลก พิบูลสงคราม
ประวัติ
ก่อนหน้า คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 22
ถัดไป คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 24

จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศและแต่งตั้งรัฐมนตรีชั่วคราว ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 คณะบริหารประเทศชั่วคราว เป็นผู้ลงนามในประกาศ[1]

รายชื่อคณะรัฐมนตรีคณะที่ 23 ของไทยแก้ไข

  1. พลโท สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  2. จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  3. หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  4. นายวรการบัญชา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  5. พลตรีเภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
  6. พลโท สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  7. พลอากาศตรี มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  8. พลตรีบัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  9. พลเอกมังกร พรหมโยธี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  10. นายเขมชาติ บุณยรัตพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  11. พระยาบริรักษ์เวชชการ (ไล่ฮวด ติตติรานนท์) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  12. นายสุกิจ นิมมานเหมินท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  13. พลตรี ประยูร ภมรมนตรี เป็นรัฐมนตรี
  14. พลเรือตรี หลวงสุนาวินวิวัฒน์ (พิศาล สุนาวินวิวัฒน์) เป็นรัฐมนตรี
  15. นายเลื่อน พงษ์โสภณ เป็นรัฐมนตรี
  16. พระนิติธารณ์พิเศษ (ชุบ มัธยมจันทร์) เป็นรัฐมนตรี

การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีคณะที่ 23 ของไทยแก้ไข

คณะรัฐมนตรีคณะนี้ไม่ได้แถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎร

การปรับคณะรัฐมนตรีแก้ไข

  • วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2494 พลเรือตรี หลวงสุนาวินวิวัฒ (พิศาล สุนาวิน) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม[2]

การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรีคณะที่ 23 ของไทยแก้ไข

คณะรัฐมนตรีชั่วคราวได้แจ้งไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎร ขอให้ดำเนินการจัดตั้งนายกรัฐมนตรีต่อไป และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้ง จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี บริหารราชการแผ่นดิน เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494

อ้างอิงแก้ไข

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข