ขอบทวีปทางตะวันออกของทะเลญี่ปุ่น

ขอบทวีปทางตะวันออกของทะเลญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本海東縁変動帯) เป็นแนวเขตที่มีความเครียดทางธรณีวิทยาสูงมาก มีแนวอาณาเขตขยายออกไปหลายร้อยกิโลเมตร ทอดตัวไปทางเหนือ-ใต้ในด้านตะวันออกของขอบทวีปทะเลญี่ปุ่น ขอบทวีปนี้เคลื่อนตัวมาบรรจบกันตั้งแต่ปลายยุคไพลโอซีน[1][2] เชื่อกันว่าเป็นเขตมุดตัวการแปรสัณฐานระหว่างแผ่นอามูร์กับแผ่นโอค็อตสค์พื้นที่ทางธรณีวิทยานี้มีการเกิดแผ่นดินไหวและเป็นแหล่งกำเนิดคลื่นสึนามิที่ก่อความเสียหายแก่ชายฝั่งทะเลญี่ปุ่น ขอบทวีปนี้ทอดยาวจากชายฝั่งตะวันตกของเกาะฮนชูไปทางตะวันตกของคาบสมุทรชาโกตันบนจังหวัดฮกไกโดไปยังเกาะเกาะซาฮาลิน

ขอบทวีปทางตะวันออกของทะเลญี่ปุ่น

การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก แก้

 
แผนที่ภูมิประเทศของทะเลญี่ปุ่น

ทะเลญี่ปุ่นเป็นแอ่งหลังแนวภูเขาไฟก่อตัวขึ้นจากการแตกแยกทางธรณีวิทยาในเปลือกโลกตั้งแต่สมัยโอลิโกซีนตอนปลายจนถึงสมัยไมโอซีนตอนกลาง เมื่อประมาณ 28-13 ล้านปีก่อน [3] ทะเลญี่ปุ่นสามารถแบ่งแอ่งต่าง ๆ ได้แก่ แอ่งญี่ปุ่น แอ่งยามาโตะ และแอ่งสึชิมะ พื้นมหาสมุทรขยายตัวในทะเลญี่ปุ่นจนถึงแอ่งญี่ปุ่นจะหยุดลงในสมัยไมโอซีนตอนกลาง [4]

หลังจากการแผ่ขยายของก้นทะเลหยุดลงขอบทวีปทางตะวันออกของทะเลญี่ปุ่นประสบกับแรงอัดขนาดเล็กระหว่าง 10 ถึง 3.5 ล้านปีก่อน ทำให้แผ่นเปลือกโลกบริเวณดังกล่าวสั้นลงตั้งแต่ 3.5 ล้านปีที่แล้ว การเปลี่ยนรูปเกิดจากแรงอัดจากฝั่งตะวันออกและตะวันตก ทำให้เกิดแนวหินคดโค้งตามแนวขอบทวีปด้านตะวันออก ขอบทวีปด้านใต้ถูกบีบอัดจากทางเหนือ ใต้ ตะวันตกเฉียงเหนือ และตะวันออกเฉียงใต้เมื่อประมาณ 8-5 ล้านปีก่อน ในปัจจุบันขอบทวีปทางตอนใต้ส่วนใหญ่เป็นรอยเลื่อนจาการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก [4]

ขอบทวีปตั้งอยู่บริเวณรอยต่อของแผ่นอามูร์และแผ่นโอค็อตสค์ มี Wadati–Benioff zone เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญว่าไม่มีการมุดตัวในขอบทวีปฝั่งนี้ ดังนั้นการมุดตัวจึงเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ แต่อย่างไรก็ตามอาจจะมีการมุดตัวเกิดขึ้นบริเวณทางทิศตะวันออก [5] ใน ค.ศ. 1983 มีการเสนอว่าการมุดตัวตามแนวขอบทวีปแห่งนี้เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 1–2 ล้านปีที่แล้ว [6]

ลักษณะพื้นฐานเพื่อกำหนดขอบเขตการมีอยู่ของขอบทวีปนี้คือการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่มากกว่า 7 ตามแนวนอกชายฝั่งจังหวัดนีงาตะไปจนถึงนอกชายฝั่งตะวันตกของเกาะฮกไกโด [7] หลังจากแผ่นดินไหวในทะเลญี่ปุ่น ค.ศ. 1983 มีการเสนอแนวคิดเกี่ยวกับขอบเขตของแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็ก แต่ไม่ทราบกลไกของมัน ได้รับการเสนอให้เป็นรอยเลื่อนแปรสภาพขนาดใหญ่หรือเขตการชนกัน [8]

ที่ตั้ง แก้

ขอบทวีปจะวางตัวไปทางเหนือและใต้ผ่านคาบสมุทรชาโกตัน คาบสมุทรโอชิมะ และภาคโทโฮกุ มันเชื่อมกับเขตธรณีสัณฐานโคเบะ-นีงาตะและเส้นธรณีสัณฐานอิโตอิกาวะ-ชิซูโอกะ ระหว่างเกาะซาโดะและคาบสมุทรโนโตะ[9] และจากทางทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดฟูกูชิมะไปจนถึงจังหวัดนางาโนะและจังหวัดโทยามะ บางส่วนอยู่บริเวณทะเลสาบบิวะไปจนถึงจังหวัดชิมาเนะ ส่วนในทะเลญี่ปุ่นยังมีรอยเลื่อนมีพลังที่เกิดจากการก่อตัวของทะเล[10]

แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ แก้

ขอบทวีปทางตะวันออกของทะเลญี่ปุ่นเป็นแหล่งกำเนิดของแผ่นดินไหวและสึนามิที่สร้างความเสียหายครั้งประวัติศาสตร์ได้ เหตุการณ์เหล่านี้ถือเป็นแผ่นดินไหวที่เกิดภายในแผ่นเปลือกโลก จนกระทั้ง ค.ศ. 1983 เมื่อมีการเสนอทฤษฎีขอบเขตแผ่นเปลือกโลก[11] แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1833, 1940, 1964, 1983 และ 1993 เป็นผลมาจากรอยเลื่อนย้อนกลับที่เกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนรูปในปัจจุบัน ทะเลญี่ปุ่นถือเป็นหนึ่งในแอ่งหลังแนวภูเขาไฟที่มีแผ่นดินไหวมากที่สุดในโลก [12]

ปี สถานที่ เหตุการณ์ อธิบาย
1741 เกาะโอชิมะ จังหวัดฮกไกโด ภูเขาไฟปะทุ [13][14] สึนามิก่อให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 2,000 คนตามชายฝั่งตะวันตกของญี่ปุ่น สึนามิยังส่งผลกระทบไปยังเกาหลี[15] [16]
1792 กิ่งจังหวัดชิริเบชิ แผ่นดินไหว (M 7.1) มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 5 คน [17]
1793 (ja) จังหวัดอาโอโมริ แผ่นดินไหว (Muk  6.9) ทำให้เกิดคลื่นสึนามิพัดทำลายคาบสมุทรสึงารุ.[18]มีผู้เสียชีวิต 12 คน และบ้านเรือน 164 หลังพังเสียหาย แผ่นดินไหวและสึนามิสร้าง ความเสียหายอย่างมากในอาจิงาซาวะ[19][20]
1802 (ja) ซาโดะ แผ่นดินไหว (Muk  6.6) มีผู้เสียชีวิต 19 คน บ้านเรือน 732 หลังพังเสียหาย กว่า 1,423 หลังได้ความเสียหายบางส่วน[21] เกิดการยกขึ้นของแผ่นดิน 2 ม. (6 ฟุต 7 นิ้ว) บนคาบสมุทรโองิ [22]
1804 (ja) คิซากาตะ จังหวัดอากิตะ แผ่นดินไหว (Mw  7.1[23]) มีผู้เสียชีวิต 450 ราย บ้านเรือนพังเสียหาย 10,810 หลัง [21] A 1 m (3 ft 3 in)เกิดสึนามิสูง 1 เมตร ทำความเสียหายแก่บ้าน 300 หลัง [24]
1828 (ja) ซันโจ จังหวัดนีงาตะ แผ่นดินไหว (Muk  6.9[25]) มีผู้เสียชีวิต 1,443 ราย บ้านเรือนพังเสียหาย 11,750 หลัง[26] ไม่เกิดสึนามิขึ้น[24]
1833 จังหวัดยามางาตะ แผ่นดินไหว (MJMA  7.5–7.7[27]) มีผู้เสียชีวิต 150 คน[27] สึนามิสูงสุด 8 ม. (26 ฟุต) ที่เมืองคาโมะ[16]
1939 จังหวัดอากิตะ แผ่นดินไหว (MJMA  7.0[28]) มีผู้เสียชีวิต 27 ราย บาดเจ็บ 52 ราย [29]
1940 คาบสมุทรชาโกตัน จังหวัดฮกไกโด แผ่นดินไหว (Mw  7.5[28]) มีผู้เสียชีวิต 10 คน บาดเจ็บ 24 คน บ้านและเรือประมงเสียหายจากสึนามิอย่างมากในจังหวัดฮกไกโด เกาหลีเหนือ และรัสเซีย สึนามิสูงสุด 5 ม. (16 ฟุต) [30][31]
1947 ชาโกตัน จังหวัดฮกไกโด แผ่นดินไหว (Mw  7.1[28]) สึนามิสูงสุด 2 ม. (6 ฟุต 7 นิ้ว) เกิดความเสียหายเพียงเล็กน้อย[32][33]
1964 นอกชายฝั่งจังหวัดอากิตะ แผ่นดินไหว (Mw  7.0[28]) คลื่นสึนามิจากแผ่นดินไหวมีขนาดเล็กบันทึกได้ 20 ซม. (0.66 ฟุต) ตามแนวจังหวัดนีงาตะและฮกไกโด[30]
1964 จังหวัดนีงาตะ แผ่นดินไหว (Mw  7.6[28]) มีผู้เสียชีวิต 36 คน บาดเจ็บกว่า 300 คน สึนามิสูงสุด 6 ม. (20 ฟุต) ในเมืองมูรากามิ [34]
1971 เกาะโมเนรอน ประเทศรัสเซีย แผ่นดินไหว (Mw  7.3[28]) สึนามิสูงสุด 2 ม. (6 ฟุต 7 นิ้ว) แผ่นดินไหวก่อให้เกิดดินถล่มบนเกาะ [35][36]
1983 นอกชายฝั่งจังหวัดอากิตะ แผ่นดินไหว (Mw  7.7[28]) เกิดขึ้นในทะเลญี่ปุ่นทางตะวันตกของเมืองโนชิโระ จังหวัดอากิตะ ห่างจากแผ่นดินประมาณ 100 กม. มีผู้เสียชีวิต 104 ราย แผ่นดินไหวครั้งนี้ทำให้เกิดสึนามิซัดตามแนวชายฝั่งโดยเฉพาะจังหวัดอาโอโมริและจังหวัดอากิตะและชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรโนโตะ คลื่นสึนามิที่สูงกว่า 10 เมตร พัดทำลายท่าเรือประมงเมืองวาจิมะบนคาบสมุทรโนโตะ [37] มีผู้เสียชีวิตสามคนในเกาหลีใต้
1993 โอกูชิริ จังหวัดฮกไกโด แผ่นดินไหว (Mw  7.7[28]) มีผู้เสียชีวิต 230 คน บนเกาะโอกูชิริ 165 คน สึนามิสูงสุด 30.6 ม. (100 ฟุต) บนชายฝั่งทางตอนใต้ของโอคุชิริ และตามแนวชายฝั่งฮกไกโดสึนามิสูงสุด 10 ม. (33 ฟุต) มีผู้สูญหาย 3 คนตามชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของรัสเซีย
1995 เนฟเทกอร์สค์ แคว้นซาฮาลิน ประเทศรัสเซีย แผ่นดินไหว (Mw  7.0[28]) มีผู้เสียชีวิตประมาณ 2,000 คนในเนฟเตกอร์สค์ [38]
2000 อูเกลกอร์สค์ แคว้นซาฮาลิน แผ่นดินไหว (Mw  6.8[28]) มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 8 ราย อาคารหลายแห่งได้รับความเสียหาย[39]
2004 จังหวัดนีงาตะ แผ่นดินไหว (Mw  6.8[28]) มีผู้เสียชีวิต 68 คน บาดเจ็บ 4,805 คน มีความรุนแรงสูงสุด 7 ในมาตราความรุนแรงคลื่นไหวสะเทือนของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น[40][41]
2007 จังหวัดนีงาตะ แผ่นดินไหว (Mw  6.6[28]) มีผู้เสียชีวิต 11 คน บาดเจ็บ 1,000 คน บ้านเรือน 342 หลังพังเสียหายรุนแรง [42][43][44]
2007 (ru) เนเวลสค์ แคว้นซาฮาลิน ประเทศรัสเซีย แผ่นดินไหว (Mw  6.2[28]) เกิดขึ้นจากรอยเลื่อนย้อนกลับทางตะวันตก ซึ่งตรงข้ามกับรอยเลื่อนด้านตะวันออกที่ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวในทะเลญี่ปุ่นเป็นหลัก แผ่นดินไหวก่อในเกิดสึนามิสูง 3.2 ม. (10 ฟุต) [45] มีผู้เสียชีวิต 2 คน บาดเจ็บ 10 คน เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงในเนเวลสค์ ประชากรกว่า 11,000 คนต้องพลัดถิ่น แผ่นดินไหวมีความรุนแรงสูงสุด VIII [46]
2011 จังหวัดนางาโนะ แผ่นดินไหว (Mw  6.3[28]) มีผู้เสียชีวิตสามคนและบาดเจ็บเก้าคน [47]
2014 จังหวัดนางาโนะ แผ่นดินไหว (Mw  6.3[28]) มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 41 คน บ้านเรือน 50 หลังพังถล่ม [48] แผ่นดินไหวครั้งนี้มีการสังเกตเห็นรอยแตกบนพื้นดินอย่างมีนัยสำคัญ[49]
2019 จังหวัดยามางาตะ แผ่นดินไหว (Mw  6.4) มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 26 คน บ้านเรือนเสียหาย 149 หลัง [50][51]
2023 จังหวัดอิชิกาวะ แผ่นดินไหว (Mw  6.5) เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 33 ราย [52]
2024 จังหวัดอิชิกาวะ แผ่นดินไหว (Mw  7.6) เสียชีวิต 241 ราย บาดเจ็บ 1,000+ ราย

แผ่นดินไหวนอกชายฝั่ง แก้

ในบริเวณนี้มักเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ซึ่งมีจุดศูนย์กลางอยู่ในทะเลทางตอนเหนือของคาบสมุทรโนโตะ ส่วนใหญ่มักมีคลื่นสึนามิตามมาด้วย เหตุการณ์เหล่านี้มีคาบอุบัติซ้ำ 1,000 ปี [53] เนื่องจากอยู่ใกล้แผ่นดินคลื่นสึนามิที่ตามมาใช้เวลาเพียงไม่นานก็สามารถพัดทำลายชายฝั่งได้แล้ว ถือว่าใช้เวลาสั้นกว่าเมื่อเทียบกับแผ่นดินไหวตามแนวชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของญี่ปุ่น [54] แผ่นดินไหวเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะสร้างคลื่นสึนามิขนาดใหญ่[55]

ความเป็นไปได้ที่จะเกิดแผ่นดินไหว แก้

นอกชายฝั่งของจังหวัดอากิตะมีเขตช่วงว่างแผ่นดินไหวยาว 75 กม. (47 ไมล์) เรียกว่า "เขตช่วงว่างแผ่นดินไหวนอกชายฝั่งอากิตะ" ในอดีตไม่มีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่เกิดในเขตนี้ เขตช่วงว่างแผ่นดินไหวนี้อยู่กลางระหว่างแผ่นดินไหวในปี ค.ศ. 1833 และ ค.ศ. 1983 มีช่องว่างแผ่นดินไหวอีกแห่งยาว 50 กม. (31 ไมล์) ประมาณว่าอยู่นอกชายฝั่งฮกไกโด เขตช่วงว่างแผ่นดินไหวนอกชายฝั่งอากิตะสามารถก่อแผ่นดินไหวขนาด 7.5 ได้ และคาดว่าจะเกิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 21 [11]

อ้างอิง แก้

  1. 過去にも繰り返し発生 新潟沖にのびる「ひずみ集中帯」の地震 เก็บถาวร 2019-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน FNN.jpプライムオンライン 記事:2019年6月19日
  2. 佐藤比呂志 ほか、「ひずみ集中帯地殻構造探査・三条-弥彦測線の成果 (総特集 日本海東縁ひずみ集中帯の構造とアクティブテクトニクス(2))」 『月刊地球』 32(7), 403–410, July 2010
  3. Matsuzaki, K.M.; Itaki, T.; Tada, R.; Kamikuri, S. (18 September 2018). "Paleoceanographic history of the Japan Sea over the last 9.5 million years inferred from radiolarian assemblages (IODP Expedition 346 Sites U1425 and U1430)". Progress in Earth and Planetary Science. 54 (5). doi:10.1186/s40645-018-0204-7. S2CID 59942556.
  4. 4.0 4.1 Sato, T.; No, T.; Arai, R.; Miura, S.; Kodaira, S. (9 January 2020). "Transition from continental rift to back-arc basin in the southern Japan Sea deduced from seismic velocity structures". Geophysical Journal International. 221 (1): 722–739. doi:10.1093/gji/ggaa006.
  5. Tamaki, Kensaku; Honza, Eiichi (20 October 1985). "Incipient subduction and deduction along the eastern margin of the Japan Sea". Tectonophysics. 119 (1–4): 381–406. Bibcode:1985Tectp.119..381T. doi:10.1016/0040-1951(85)90047-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 June 2022. สืบค้นเมื่อ 20 June 2022.
  6. Nakamura, K. (1983). "Possible nascent trench along the eastern Japan Sea as the convergent boundary between Eurasian and North American plates". Bull. Earthq. Res. Inst. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-12. สืบค้นเมื่อ 2023-01-11.
  7. 渡辺真人 ほか、日本海東縁,奥尻海嶺および周辺の大地震と海底変動 เก็บถาวร 2021-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 『JAMSTEC深海研究』 2000年 第16号
  8. Uda, Tsuyoshi; Hiramatsu, Yukiko; Azuma, Shinji. "新潟平野~信濃川構造帯の地震と活断層" [Earthquakes and Active Faults in the Niigata Plain-Shinanogawa Tectonic Zone] (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Niigata University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 February 2016. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  9. 相田勇、噴火により発生する津波の見積り : 1741年渡島大島の場合 『東京大学地震研究所彙報』 第59冊 第4号, 1985.3.30, pp.519-531
  10. 佐藤比呂志:日本列島のインバージョンテクトニクス เก็บถาวร 2023-01-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 『活断層研究』 1996年 1996巻 15号 p.128-132, doi:10.11462/afr1985.1996.15_128
  11. 11.0 11.1 Ohtake, M. (September 1995). "A seismic gap in the eastern margin of the Sea of Japan as inferred from the time-space distribution of past seismicity". Island Arc. 4 (3): 156–165. doi:10.1111/j.1440-1738.1995.tb00140.x.
  12. No, T.; Sato, T.; Kodaira, S.; Ishiyama, T.; Sato, H.; Takahashi, N.; Kaneda, Y. (15 August 2014). "The source fault of the 1983 Nihonkai–Chubu earthquake revealed by seismic imaging". Earth and Planetary Science Letters. 400: 14–25. doi:10.1016/j.epsl.2014.05.026.
  13. Satake, Kenji (19 January 2007). "Volcanic origin of the 1741 Oshima-Oshima tsunami in the Japan Sea" (PDF). Earth Planets Space. 59 (5): 381–390. Bibcode:2007EP&S...59..381S. doi:10.1186/BF03352698. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 24 August 2021. สืบค้นเมื่อ 30 March 2021.
  14. Yukinobu Okamura (1998). 日本海東縁海域の活構造およびその地震との関係 [Active structure in the eastern margin of the Sea of Japan and its relationship with earthquakes] (PDF). Geological Survey Monthly Report (ภาษาญี่ปุ่น). Geological Survey of Japan, National Institute of Advanced Industrial Science and Technology. 49 (1). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2022. สืบค้นเมื่อ 31 March 2021.
  15. Sang-Shin Byun; Kyeong Ok Kim (25 February 2021). "A study on the effects of the 1741 tsunami recorded in the Annals of the Joseon Dynasty". Journal of Korean Society of Coastal and Ocean Engineers. 33 (1): 30–37. doi:10.9765/KSCOE.2021.33.1.30. S2CID 233955868. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 August 2021. สืบค้นเมื่อ 30 March 2021.
  16. 16.0 16.1 Kawakami, Gentaro; Kase, Yoshihiro; Atsushi, Urabe; Takashimizu, Yasuhiro (2017). "Tsunamis and possible tsunamigenic deposits along the eastern margin of the Japan Sea". Journal of the Geological Society of Japan. 123 (10): 857–877. doi:10.5575/geosoc.2017.0054.
  17. National Geophysical Data Center / World Data Service (NGDC/WDS) (1972), Global Historical Tsunami Database (Data Set), National Geophysical Data Center, NOAA, doi:10.7289/V5PN93H7, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-12, สืบค้นเมื่อ 2023-01-11
  18. Okada, R.; Umeda, K.; Kamataki, T.; Sawai, Y.; Matsumoto, D.; Shimada, Y.; Ioki, K. (2022). "Geological record of 18th and 19th century tsunamis along the Japan Sea coast of Tsugaru Peninsula, northwestern Japan". Marine Geology. 453: 106905. doi:10.1016/j.margeo.2022.106905. S2CID 252657984.
  19. National Geophysical Data Center / World Data Service (NGDC/WDS) (1972), Significant Earthquake Database (Data Set), National Geophysical Data Center, NOAA, doi:10.7289/V5TD9V7K, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-12, สืบค้นเมื่อ 2023-01-11
  20. National Geophysical Data Center / World Data Service (NGDC/WDS) (1972), Global Historical Tsunami Database (Data Set), National Geophysical Data Center, NOAA, doi:10.7289/V5PN93H7, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-12, สืบค้นเมื่อ 2023-01-11
  21. 21.0 21.1 National Geophysical Data Center / World Data Service (NGDC/WDS) (1972), Significant Earthquake Database (Data Set), National Geophysical Data Center, NOAA, doi:10.7289/V5TD9V7K, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-12, สืบค้นเมื่อ 2023-01-11
  22. Ota, Y.; Matsuda, T.; Naganuma, K. (1976). "佐渡小木地震 (1802年) による土地隆起量の分布とその意義" [Distribution and Significance of Land Uplift Due to the Sado Ogi Earthquake (1802)]. Earthquake Series 2. 29 (1): 55–70. doi:10.4294/zisin1948.29.1_55. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-13. สืบค้นเมื่อ 2023-01-11.
  23. Imai, K.; Okada, S.; Takahashi, N.; Ebina, Y.; Tsuji, Y. (2020). "Fault Model of the 1804 Kisakata Earthquake (Akita, Japan)". Seismological Research Letters. 91 (5): 2674–2684. doi:10.1785/0220200074. S2CID 225341072. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-23. สืบค้นเมื่อ 2023-01-11.
  24. 24.0 24.1 National Geophysical Data Center / World Data Service (NGDC/WDS) (1972), Global Historical Tsunami Database (Data Set), National Geophysical Data Center, NOAA, doi:10.7289/V5PN93H7, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-12, สืบค้นเมื่อ 2023-01-11
  25. Nishiyama, A.; Satake, K.; Yata, T.; Urabe, A. (2010). "Re-examination of the damage distribution and the source of the 1828 Sanjo Earthquake in central Japan". American Geophysical Union, Fall Meeting 2010, abstract id. T11B-2066. Bibcode:2010AGUFM.T11B2066N. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-12. สืบค้นเมื่อ 2023-01-11. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  26. National Geophysical Data Center / World Data Service (NGDC/WDS) (1972), Significant Earthquake Database (Data Set), National Geophysical Data Center, NOAA, doi:10.7289/V5TD9V7K, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-12, สืบค้นเมื่อ 2023-01-11
  27. 27.0 27.1 Hatori, Tokutaro (1990). "Magnitudes of the 1833 Yamagata-Oki Earthquake in the Japan Sea and its Tsunami". Zisin (Journal of the Seismological Society of Japan). Second Series (ภาษาญี่ปุ่น). 43 (2): 227–232. doi:10.4294/zisin1948.43.2_227. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-21. สืบค้นเมื่อ 2023-01-11.
  28. 28.00 28.01 28.02 28.03 28.04 28.05 28.06 28.07 28.08 28.09 28.10 28.11 28.12 28.13 28.14 ISC (2022), ISC-GEM Global Instrumental Earthquake Catalogue (1904–2018), Version 9.1, International Seismological Centre, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-25, สืบค้นเมื่อ 2023-01-11
  29. Mizuta, T.; Kagami, H. (2010). "1939.5.1男鹿地震の被害分布に関する文献調査" [Literature survey on the damage distribution of the 1939.5.1 Oga earthquake]. Architectural Institute of Japan Technical Report Collection. 16 (33): 817–820. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-21. สืบค้นเมื่อ 2023-01-11.
  30. 30.0 30.1 Murotani, S.; Satake, K.; Ishibe, T.; Harada, T. (12 April 2022). "Reexamination of tsunami source models for the twentieth century earthquakes off Hokkaido and Tohoku along the eastern margin of the Sea of Japan". Earth, Planets and Space. 74 (52). doi:10.1186/s40623-022-01607-4. S2CID 244598008.
  31. Kaistrenko, V.M.; Razjigaeva, N.G.; Ganzey, L.A.; Gorbunov, A.O.; Nishimura, Y. (2019). "The manifestation of tsunami of August 1, 1940 in the Kamenka settlement, Primorye (new data concerning the old tsunami)" (PDF). Geosystems of Transition Zones. 3 (4): 417–422. doi:10.30730/2541-8912.2019.3.4.417-422. S2CID 214341008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 March 2022. สืบค้นเมื่อ 9 January 2023.
  32. National Geophysical Data Center / World Data Service (NGDC/WDS) (1972), Global Historical Tsunami Database (Data Set), National Geophysical Data Center, NOAA, doi:10.7289/V5PN93H7, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-12, สืบค้นเมื่อ 2023-01-11
  33. Hatori, T. (1969). "A study of the wave source of the West Hokkaido Tsunami of 1940" (PDF). Bulletin of the Earthquake Research Institute. 47: 1, 063–1, 072. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-09. สืบค้นเมื่อ 2023-01-11.
  34. "Niigata earthquake of 1964" (PDF). Japan National Committee on Earthquake Engineering. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2021. สืบค้นเมื่อ 11 January 2023.
  35. National Geophysical Data Center / World Data Service (NGDC/WDS) (1972), Significant Earthquake Database (Data Set), National Geophysical Data Center, NOAA, doi:10.7289/V5TD9V7K, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-12, สืบค้นเมื่อ 2023-01-11
  36. Kostenko, I.S.; Zaytsev, A.I.; Minaev, D.D.; Kurkin, A. (January 2018). "The Moneron Tsunami of September 5, 1971, and Its Manifestation on the Sakhalin Island Coast: Numerical Simulation Results". Izvestiya Atmospheric and Oceanic Physics. 54 (1): 1–9. doi:10.1134/S0001433818010085. S2CID 126297727.
  37. Japan Sea Central Region Tsunami of May 26, 1983: A Reconnaissance Report เก็บถาวร มกราคม 12, 2023 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Washington, DC: The National Academies Press. doi:10.17226/18402
  38. Arefiev, S.; Rogozhin, E.; Tatevossian, R.; Rivera, L.; Cisternas, A. (1 December 2000). "The Neftegorsk (Sakhalin Island) 1995 earthquake: a rare interplate event". Geophysical Journal International. 143 (3): 595–607. doi:10.1046/j.1365-246X.2000.00234.x. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2023. สืบค้นเมื่อ 11 January 2023.
  39. National Earthquake Information Center (4 August 2000). "M 6.8 - 35 km SSE of Uglegorsk, Russia". United States Geological Survey. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 June 2022. สืบค้นเมื่อ 11 January 2023.
  40. 平成16年(2004年)新潟県中越地震(確定報) เก็บถาวร 2011-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Fire and Disaster Management Agency(Japanese)Data 2009/10/21 Retrieval 2018/04/03
  41. "震度データベース検索". www.data.jma.go.jp. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-15. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
  42. "Powerful earthquake strikes Niigata, causes leak at nuclear power plant". Japan News Review. July 16, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 17, 2011. สืบค้นเมื่อ July 16, 2007.
  43. Niigata earthquake death toll rises to eleven เก็บถาวร กรกฎาคม 29, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Japan News Review เก็บถาวร ตุลาคม 19, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, July 23
  44. "Japanese nuke plant leaked after earthquake". Associated Press. July 16, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 10, 2007. สืบค้นเมื่อ July 16, 2007.
  45. Konovalov, A. V.; Nagornykh, T. V.; Safonov, D. A.; Lomtev, V. L. (5 December 2015). "Nevelsk earthquakes of August 2, 2007 and seismic setting in the southeastern margin of Sakhalin Island". Russian Journal of Pacific Geology. 9 (6): 451–466. doi:10.1134/S1819714015060056. S2CID 130563216.
  46. Tikhonov, Ivan N.; Kim, Chun U. (2009). "Confirmed prediction of the 2 August 2007 MW 6.2 Nevelsk earthquake (Sakhalin Island, Russia)". Tectonophysics. 485 (1–4): 85–93. doi:10.1016/j.tecto.2009.12.002. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2021. สืบค้นเมื่อ 11 January 2023.
  47. "日本付近で発生した主な被害地震(平成8年以降)" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2021. สืบค้นเมื่อ 11 January 2023.
  48. "M 6.2 - 6 km SSE of Hakuba, Japan". earthquake.usgs.gov. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-20. สืบค้นเมื่อ 2021-10-05.
  49. Suzuki, Yasuhiro; Hirouchi, Daisuke; Watanabe, Mitsuhisa (2015). "Issues raised by the 2014 Kamishiro Fault Earthquake, central Japan". Proceedings of the General Meeting of the Association of Japanese Geographers. 2015s: 100262. doi:10.14866/ajg.2015s.0_100262.
  50. "山形県沖を震源とする地震による被害及び消防機関等の対応状況(第11報)" (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). 24 June 2019. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2019. สืบค้นเมื่อ 29 June 2019.
  51. "At least 26 injured in earthquake in Japan's northwest". The Japan Times Online (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-06-19. ISSN 0447-5763. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-19. สืบค้นเมื่อ 2019-06-19.
  52. ""石川県能登地方を震源とする地震による被害及び消防機関等の対応状況(第19報)" (PDF). สืบค้นเมื่อ 4 January 2024.
  53. 日本海東縁の古津波堆積物(北海道大) เก็บถาวร 2022-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 地震予知連絡会 会報第90巻
  54. ኱䛝䛔⿕ᐖ䛾ὠἼ (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น), 第199回地震予知連絡会(30 May 2013)議事資料, 2013, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-07-07
  55. 日本海沿岸での過去の津波災害 เก็บถาวร 2022-07-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 地震予知連絡会 会報第90巻

อ้างอิง แก้