มาตราความรุนแรงคลื่นไหวสะเทือนของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น

มาตราความรุนแรงคลื่นไหวสะเทือนของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น คือมาตราส่วนคลื่นไหวสะเทือนที่ใช้ในญี่ปุ่นและไต้หวันเพื่อวัดระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว โดยใช้หน่วยวัดเป็น ญี่ปุ่น: 震度ทับศัพท์ชินโดะ; ความรุนแรงคลื่นไหวสะเทือน, แปลตามความหมายคือ "ระดับของการสั่นสะเทือน" ซึ่งต่างจากมาตราส่วนขนาดโมเมนต์ (ก่อนริกเตอร์) ซึ่งเป็นมาตราที่วัดพลังงานที่ถูกปล่อยออกมาจากการเกิดแผ่นดินไหว

มาตราความรุนแรงคลื่นไหวสะเทือนของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น

มาตราส่วนนี้อธิบายระดับของการสั่นที่จุดบนผิวโลก ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับมาตราเมร์กัลลี ซึ่งความรุนแรงของแผ่นดินไหวจะไม่ได้พิจารณาจากขนาดของแผ่นดินไหว และต่างกันไปตามสถานที่; ตัวอย่างเช่น การสั่นสะเทือนอาจจะอธิบายว่า "ขนาด 4 ชินโดะในโตเกียว, ขนาด 3 ชินโดะในโยะโกะฮะมะ, ขนาด 2 ชินโดะในชิซุโอะกะ"

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นมีเครือข่ายเครื่องวัดความไหวสะเทือน 180 แห่งและ 627 เครื่องวัดความรุนแรงคลื่นไหวสะเทือน[1][2] และมีการรายงานการเกิดแผ่นดินไหวแบบเรียลไทม์กับสื่อและอินเทอร์เน็ต[3]

ประวัติ

แก้

ประเทศญี่ปุ่นประสบกับแผ่นดินไหวกว่า 400 ครั้งในทุกวัน[4] แม้ว่าส่วนใหญ่จะอยู่ในขนาด "0" ชินโดะหรือน้อยกว่านั้นและสามารถตรวจจับได้เฉพาะเครื่องตรวจเท่านั้น

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้เริ่มกำหนดสี่ขั้นตอนชินโดะครั้งแรกใน ค.ศ. 1884 ด้วยสี่ระดับคือ: 微 (เงียบ), 弱 (อ่อน), 強 (แรง), และ 烈 (รุนแรง)

ใน ค.ศ. 1898 ระบบมาตราได้เปลี่ยนเป็นระบบตัวเลข โดยกำหนดระดับการเกิดแผ่นดินไหวเป็นระดับ 0 – 7

ใน ค.ศ. 1908 ระดับของมาตรานี้ได้รับการอธิบายให้ละเอียดขึ้น และการระบุระดับจะขึ้นอยู่กับผลกระทบกับผู้คน โดยสเกลนี้เป็นที่นิยมแพร่หลายในสมัยเมจิ และได้รับการแก้ไขในสมัยโชวะโดยมีการแก้ไขคำอธิบายใหม่ทั้งหมด

หลังจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง ค.ศ. 1995 ระดับ "5" และ "6" ถูกแบ่งออกเป็นสองระดับ ทำให้กลายเป็น 10 ระดับแผ่นดินไหวโดย: 0–4, อ่อน/แรง 5 (5弱、5強), อ่อน/แรง 6 (6弱、6強) และ 7

โดย ชินโดะ ได้มีการนำมาใช้ในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ ค.ศ. 1996 โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรอีกเลย[5][6]

เปลี่ยนจากวัดด้วยความรู้สึกเป็นวัดด้วยเครื่องจักร

แก้

ในอดีตเจ้าหน้าที่หอสังเกตการณ์อุตุนิยมวิทยาจะกำหนดความรุนแรงของแผ่นดินไหวโดยใช้ประสบการณ์ของตนเองและความเสียหายที่เกิดต่ออาคารเป็นตารางมาตราส่วน แม้ว่าจะมีแนวปฏิบัติแต่ก็ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ ในช่วงต้นยุคเฮเซหอสังเกตการณ์อุตุนิยมวิทยาประจำภูมิภาคใช้เวลานานมากกว่า 10 นาที ในการรวบรวมข้อมูลความรุนแรงของแผ่นดินไหวจากหอสังเกตการณ์อุตุนิยมวิทยาแต่ละแห่งแล้วจึงมาประกาศพร้อมกับขนาดของแผ่นดินไหว [7]

หลังจากนี้ จำนวนของสถานีสังเกตการณ์ความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่เคยมีมากกว่า 1,000 แห่ง ก็ค่อย ๆ ลดลงอย่างมากเนื่องจากมีการควบรวมและการยกเลิกสถานีสังเกตการณ์ความรุนแรงของแผ่นดินไหว ระหว่าง ค.ศ. 1958 ถึง ค.ศ. 1969 มารวมกับสถานีอุตุนิยมวิทยาเพียงแห่งเดียว [8] [7]

คำอธิบายมาตรา

แก้

โดยมาตรานี้จะทำงานจาก 0 ถึง 7 โดย 7 เป็นมาตราที่รุนแรงสุด โดยมาตราเมร์กัลลีบางครั้งจะใช้ร่วมกับชินโดะ; อย่างไรก็ตามไม่มีแนวปฏิบัติเรื่องนี้อย่างแน่นอนในญี่ปุ่น การรายงานแผ่นดินไหวแบบเรียลไทม์จะถูกคำนวณอัติโนมัติโดยเครื่องวัดความเร่งพื้นดิน โดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะรายงานระดับของแผ่นดินไหวอยู่กับการเร่งของพื้นดิน วัดโดยเครื่องวัดอัติโนมัตความรุนแรง

มาตราชินโดะ[9]
ขนาด-หมายเลขชินโดะ (หมายเลขชินโดะในภาษาญี่ปุ่น) ความรุนแรงที่วัดโดยเครื่องมือ ผลกับทบกับคน สถานการณ์ภายใน สถานการณ์ภายนอก ที่พักอาศัย สิ่งก่อสร้างอื่นๆ ผลกระทบกับสิ่งจำเป็น พื้นดินและทางลาด อัตราเร่งสูงสุดของพื้นดิน[10] เทียบเท่ามาตราเมร์กัลลี
0 0–0.4 ผู้คนส่วนใหญ่ไม่รู้สึกถึงผลกระทบ วัตถุภายในไม่สั่นสะเทือน สิ่งก่อสร้างไม่ได้รับความเสียหายใดๆ น้อยกว่า 0.008 ม/ว² I
1 0.5–1.4 ผู้คนที่อยู่ในบ้านบางคนรู้สึกได้ วัตถุอาจแกว่ง / สั่นเล็กน้อย ส่วนบนของอาคารที่มีหลายชั้นรู้สึกเกิดได้ว่าเกิดแผ่นดินไหว 0.008–0.025 ม/ว² I–II
2 1.5–2.4 รู้สึกได้หลายคนในบ้าน บางคนที่หลับอาจสะดุ้งตื่น วัตถุที่แขวนอยู่ เช่นโคมไฟ แกว่งไปมาเล็กน้อย บ้านและอพาร์ทเมนต์จะสั่น แต่ไม่ได้รับความเสียหาย ไม่มีอาคารที่ได้รับความเสียหาย 0.025–0.08 ม/ว² II–III
3 2.5–3.4 ทุกคนในบ้านส่วนใหญ่รู้สึกได้ บางคนมีอาการกลัว วัตถุในบ้านสั่นอย่างเห็นได้ชัด และสามารถตกจากโต๊ะได้ สายไฟแกว่งเล็กน้อย, คนที่อยู่ข้างนอกรู้สึกได้ บ้านอาจสั่นคลอนอย่างรุนแรง, บ้านที่ไม่รองรับการเกิดแผ่นดินไหวจะเสียหาย หากอาคารไม่รองรับการเกิดแผ่นดินไหวจะมีความเสียหาย, ไม่มีความเสียหายใดที่เกิดขึ้นกับอาคารที่รองรับการเกิดแผ่นดินไหว ไม่มีการบริการที่ได้รับผลกระทบ 0.08–0.25 ม/ว² III–IV
4 3.5–4.4 หลายคนกลัว, บางคนพยายามที่จะหนีจากภัยอันตราย, คนที่นอนอยู่ส่วนใหญ่ตื่น วัตถุที่แขวนอยู่แกว่งมาก, จานในตู้สั่น, เครื่องประดับที่ไม่เสถียรตกบางครั้งบางคราว มีเสียงดังมาก สายไฟฟ้าแกว่งมาก, คนที่อยู่ภายนอกเห็นถึงการสั่นสะเทือน บ้านที่ทนต่อการเกิดแผ่นดินไหวเสียหายเล็กน้อย, บ้านส่วนใหญ่จะเขย่าอย่างรุนแรงและปรากฏรอยแตกเล็กๆที่ผนัง, อพาร์ตเมนต์จะสั่น อาคารอื่นๆได้รับความเสียหาย, โครงสร้างที่ทนแผ่นดินไหวจะอยู่รอดมากที่สุดโดยไม่เกิดความเสียหาย ระบบไฟฟ้าอาจจะหยุดเป็นช่วงสั้น ๆ ไม่มีแผ่นดินถล่มหรือรอยแตกเกิดขึ้น 0.25-0.80 ม/ว² IV–VI
5- (5弱) 4.5–4.9 คนส่วนใหญ่พยายามที่จะหนีให้พ้นจากอันตรายโดยออกไปข้างนอก, บางคนพบว่าเคลื่นย้ายที่ลำบาก วัตถุที่แขวนแกว่งอย่างรุนแรง, วัตถุที่ไม่เสถียรส่วนใหญ่ตกลงมา, จานและหนังสือล่วงลงมา, เฟอร์นิเจอร์เคลื่อนจากที่เดิม คนสังเกตได้ว่าเสาไฟฟ้าแกว่งเป็นครั้งๆ, หน้าต่างแตก, อิฐบล็อกถล่ม ผนังและถนนได้รับความเสียหาย บ้านที่ทนต่อแผ่นดินไหวได้น้อยและอพาร์ทเมนท์ได้รับความเสียหายที่ผนังและเสา เกิดรอยแตกที่ผนังของอาคารที่ทนแผ่นดินไหวได้น้อย, โครงสร้างที่ทนต่อแผ่นดินไหวได้ เสียหายเล็กน้อย อุปกรณ์รักณาความปลอดภัยตัดก๊าซในที่อยู่อาศัยบางส่วน, ท่อน้ำได้รับความเสียหายและการให้บริการน้ำถูกหยุดลง, ไฟฟ้าดับ ปรากฏรอยแตกบนพื้นดินที่อ่อนนุ่ม 0.80–1.40 ม/ว² V–VIII
5+ (5強) 5.0–5.4 ผู้คนกลัวมาก และเคลื่อนย้ายจากสถานที่ได้ลำบาก จานและหนังสือในตู้ส่วนใหญ่ตกลงจากชั้น, โทรทัศน์ที่ตั้งอยู่หล่นลง, เฟอร์นิเจอร์หนัก เช่นลิ้นชัก, ประตูบานเลื่อนเคลื่อนหลุดจากกรอบ ผนังคอนกรีตบล็อกที่ไม่แข็งแรงสามารถยุบลง หินคว่ำ รถยนต์หลายคนต้องหยุดวิ่งเนื่องจากบังคับยาก เครื่องจักรที่ติดตั้งไม่ดีร่วงลง บ้านที่ทนต่อแผ่นดินไหวได้น้อยและอพาร์ตเมนท์ได้รับความเสียหายหนัก/ที่ผนังและเสา รอยแตกขนาดใหญ่หรือปานกลางจะเกิดขึ้นที่ผนังและคานและเสา อาคารที่ทนต่อแผ่นดินไหวได้น้อยกระทั่งอาคารที่ทนต่อแผ่นดินไหวสูงยังมีรอยแตก ท่อก๊าซและท่อน้ำเสียหาย (แก๊สบริการสาธารณ / น้ำถูกหยุดจ่ายในบางภูมิภาค) ปรากฏรอยแตกบนพื้นดินที่อ่อนนุ่ม 1.40–2.50 ม/ว² VI–VIII
6- (6弱) 5.5–5.9 ยืนลำบาก วัตถุเขย่าอย่างรุนแรง, เปิดประตูลำบาก, เฟอร์นิเจอร์ทุกอย่างเคลื่อนย้ายออกจากที่เดิม รู้สึกรุนแรงมาก, เสาไฟฟ้าแกว่งไปมาและล้มลงทำให้เกิดอัคคีภัย แผ่นดินยุบแม้แต่ผนังและเสาหลักของบ้านมีความเสียหาย ชั้นของอพาร์ทเมนต์อาจยุบลงมา อาคารที่ไม่ทนกับแผ่นดินไหวหักโค่น, เสียหายหนักและถูกทำลาย แม้แต่อาคารที่ทนต่อแผ่นดินไหวยังเกิดรอยแตกร้าวขนาดใหญ่ กำแพงได้รับความเสียหายพอสมควร กระเบื้องบุผนังหลุดและเสื่อมลง ท่อก๊าซและ/หรือท่อน้ำได้รับความเสียหาย ก๊าซ น้ำและไฟฟ้าถูกตัด รอยแตกขนาดเล็กและขนาดกลางปรากฏอยู่บนพื้น และมีดินถล่มขนาดใหญ่ 2.50–3.15 ม/ว² VII–IX
6+ (6強) 6.0–6.4 ยืนและเคลื่อนย้ายที่ไม่ได้ เฟอร์นิเจอร์หนักๆเคลื่อนย้ายไปมา ต้นไม้สามารถล้มลงจากการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง สะพานและถนนได้รับความเสียหายอย่างปานกลางและรุนแรง บ้านที่ไม่ทนกับแผ่นดินไหวทรุดตัวหรือเสียหานอย่างรุนแรง, ในบางกรณีที่อยู่อาศัยที่ทนต่อแผ่นดินไหวได้รับความเสียหายหนัก อาคารอพาร์ทเมนต์ถล่มลง ผนังจำนวนมากถล่มลงหรืออย่างน้อยมีความเสียหายอย่างรุนแรง แม้อาคารสูงที่ทนกับแผ่นดินไหวได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง เป็นครั้งคราว, ท่อก๊าซและน้ำมีความเสียหาย (บริการไฟฟ้าถูกตัด, น้ำและก๊าซถูกตัดในพื้นที่ขนาดใหญ่) รอยแตกจะปรากฏอยู่บนพื้นดินและมีดินถล่มขึ้น 3.15–4.00 ม/ว² VIII–X
7 6.5 หรือมากกว่า ถูกโยนด้วยการเขย่าและเคลื่อนไหวไม่ได้ เฟอร์นิเจอร์ใหญ่ๆ กระเด็นไปมา ในอาคารส่วนใหญ่ กระเบื้องมุงผนังจะช่องหน้าต่างมีความเสื่อมและเสียหาย ในบางกรณีคอนกรีตเสริมเหล็กถล่มลง ที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่หรือทั้งหมดถล่มลงและได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะทนต่อแผ่นดินไหวเท่าไหร่ก็ตาม อาคารส่วนใหญ่หรือทั้งหมด (แม้แต่ที่ทนต่อแผ่นดินไหว) ได้รับความเสียหายรุนแรง ก๊าซ ไฟฟ้าและบริการน้ำถูกตัด พื้นดินบิดเบี้ยวไปมามีรอยแตก-แยกขนาดใหญ่ เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะภูมิประเทศ มากกว่า 4 ม/ว² X–XII

การวัดความรุนแรงแผ่นดินไหว

แก้
ความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของแผ่นดินไหวและความรุนแรงที่วัดโดยเครื่องมือ[11]
ความรุนแรงของแผ่นดินไหว (ชินโดะ) ความรุนแรงที่วัดโดยเครื่องมือ
0 0–0.4
  1
0.5–1.4
  2
1.5–2.4
  3
2.5–3.4
  4
3.5–4.4
  5-
4.5–4.9
  5+
5.0–5.4
  6-
5.5–5.9
  6+
6.0–6.4
  7
6.5 หรือมากกว่า

ตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 1997 มาตราความรุนแรงคลื่นไหวสะเทือนของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้รับการวัดและถูกแจ้งโดยระบบเครื่องมือวัดอัตโนมัติที่เรียกว่า "เครื่องวัดความรุนแรงของคลื่นไหวสะเทือน" ที่นำมาติดตั้งทั่วประเทศญี่ปุ่น แทนที่แบบเดิมที่ตัดสินความรุนแรงแผ่นดินไหวโดยพิจารณาจากความรู้สึกทางกายภาพและสภาพความเสียหายที่มีอยู่

ใน ค.ศ. 1991 มีการติดตั้งเครื่องวัดความรุนแรงของคลื่นไหวสะเทือนเป็นครั้งแรก โดยเป็นเครื่องขนาด 90 นิ้ว ซึ่งยังไม่มีความสามารถในการบันทึกรูปคลื่น จากนั้นใน ค.ศ. 1994 เครื่องวัดความรุนแรงของคลื่นไหวสะเทือนแบบ 93-type ได้รับการปรับปรุงและมีฟังก์ชันการบันทึกรูปคลื่นรูปแบบดิจิทัลในการ์ดหน่วยความจำ ต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้เครื่องวัดความรุนแรงของคลื่นไหวสะเทือนแบบ 95 ซึ่งถูกใช้มาจนถึงปัจจุบัน[12][13] [14]

ใน ค.ศ. 2009 จำนวนเครื่องวัดความรุนแรงของคลื่นไหวสะเทือนของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นมีทั้งหมด 4,200 เครื่อง และในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2012 มีจำนวนมากถึง 4,313 เครื่อง สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าเครือข่ายการสังเกตการณ์ความรุนแรงของคลื่นไหวสะเทือนของญี่ปุ่นนั้นหนาแน่นกว่าที่ใดในโลก ในจำนวนนี้ ประมาณ 600 เครื่องถูกจัดการโดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ประมาณ 800 เครื่องได้รับการจัดการโดสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันภัยพิบัติ และและประมาณ 800 เครื่องถูกจัดการโดยหน่วยงานเทศบาลและจังหวัด[15][16]

อ้างอิง

แก้
  1. "気象庁 | 震度観測点(全国)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-09. สืบค้นเมื่อ 2013-04-05.
  2. The Daily Yomiuri, August 23, 2009, p. 2
  3. Japan Meteorological Agency | Earthquake Information
  4. http://www.hinet.bosai.go.jp/about_earthquake/part1.htm Japanese web site; official data of Shindo 1–7 in 1997 to 2006 is 32,244 times, and Shindo 1–3 is 4 to 5 times in a day. Web site of 防災科学技術研究所;National Research Institute for Earth Science and Disaster Prevention=NIED/ Although none of web site is available for basis of 400 times in a day, but 400 times is well told and well assumable number with this data.
  5. 気象庁震度階級(明治17年~昭和23年) เก็บถาวร 2009-04-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน in Japanese
  6. 震度 เก็บถาวร 2008-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน in Japanese
  7. 7.0 7.1 気象庁、2009年、13(I-10)、23(II-1)-26(II-4)、29(II-8)、31(II-10)-32(II-11)、51(II-29)頁
  8. 気象庁, 地震観測点一覧, 気象官署(特別地域気象観測所を含む)計測震度計, 地震観測点一覧
  9. JMA seismic intensity scale
  10. "Relations between Magnitude and peak ground acceleration". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-09. สืบค้นเมื่อ 2006-09-09.
  11. 計測震度の算出方法(気象庁)
  12. 強震観測について」気象庁、「気象庁の強震観測の概要」節参照、2013年5月26日閲覧
  13. 「地震災害の基礎知識 3 観測と地震予知 เก็บถาวร 2013-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน」消防防災博物館(消防科学総合センター)、2013年5月26日閲覧
  14. 川上徹人「強震観測の最新情報(2) 気象庁における強震波形観測・収録と提供 เก็บถาวร 2008-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน」、日本地震学会ニュースレター、9巻、6号、1998年、7-9頁
  15. 震度に関する検討会報告書 気象庁・消防庁、2009年3月。
  16. 地震・津波 気象庁、2014年3月18日閲覧(「利用にあたって」節(1)参照)。