ความรุนแรงแผ่นดินไหว 7

ความรุนแรงแผ่นดินไหว 7 (ญี่ปุ่น: 震度7ทับศัพท์: ชินโดะนานะ) เป็นขนาดวัดความรุนแรงและการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว บทความนี้จะอธิบายถึงความรุนแรงของแผ่นดินไหวระดับ 7 ที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น

ภาพรวม แก้

ความรุนแรงแผ่นดินไหว 7 เป็นระดับสูงสุดในขนาดทั้งหมดในมาตราความรุนแรงคลื่นไหวสะเทือนของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ซึ่งมีทั้งหมด 10 ระดับ ที่กำหนดโดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น[1] ในครั้งแรกในปี ค.ศ. 1949 หลังแผ่นดินไหวในจังหวัดฟูกูอิ ค.ศ. 1948 [2]

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นอธิบายคำจำกัดความของความรุนแรงแผ่นดินไหว 7 ไว้ว่า "คุณจะไม่สามารถยืนหรือเคลื่อนไหวได้เว้นแต่คุณจะจับอะไรบางอย่างไว้ และคุณจะถูกเขย่าโยกด้วยความรุนแรง" [3]

ภาพรวมของความรุนแรงแผ่นดินไหว 7 (โดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น)[4]
อยู่ในร่ม อยู่กลางแจ้ง อยู่ในอาคาร โครงสร้างพื้นฐาน ภูมิประเทศ
วัตถุถูกโยนไปมา วัตถุจะเคลื่อนที่ไปอย่างไม่มีจุดหมาย เครื่องใช้ในครัวเรือนที่มีน้ำหนักหลายกิโลกรัมอาจเด้งหรือบินไปในอากาศ ป้ายสุสานที่มีน้ำหนักหลายสิบกิโลกรัมหักโค่นลง ต้นไม้ขนาดกลางอาจหักลง กระเบื้องบุผนังของอาคารส่วนใหญ่หลุดลอกออกแทบทั้งหมด กระจกหน้าต่างแตกและร่วงลงสู่พื้น บ้านและอาคารที่ทนต่อแผ่นดินไหวสูงก็อาจอาจเอนเอียงหรือพังทลายได้ ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานจะได้รับความเสียหายอย่างหนัก ถนนหลายสายพังเสียหายทำให้สัญจรไปมาลำบาก การคมนาคมในบริเวณกว้าง เช่นรถไฟและทางหลวงจะถูกทำลาย เกิดรอยร้าวบนแผ่นดินขนาดใหญ่ เกิดดินถล่ม ลักษณะภูมิประเทศผิดรูปอันเนื่องมาจากการยกตัวและการทรุดตัวของพื้นดิน

โดยทั่วไปบริเวณที่มีความรุนแรงแผ่นดินไหว 7 มักกระจายไปตามที่ราบ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ และในพื้นที่ภูเขามีแนวโน้มกระจายน้อยกว่า นอกจากนี้เมื่อความลึกของรอยเลื่อนจากแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวอยู่ที่ 20 กม. หรือลึกกว่านั้น จะทำให้ความรุนแรงแผ่นดินไหว 7 เกิดขึ้นได้ยากแม้ในพื้นที่ราบ ทิศทางการสั่นสะเทือนที่สำคัญใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหวจะกระจายความรุนแรงไปตามรอยเลื่อนที่ผาดพ่าน [5] [6]

อ้างอิง แก้

  1. "気象庁 | 震度について". www.jma.go.jp. สืบค้นเมื่อ 24 May 2023.
  2. 島村(2004), p138.
  3. "気象庁震度階級関連解説表". 気象庁. 2009-03-31. สืบค้นเมื่อ 2016-04-20.
  4. "気象庁震度階級関連解説表". www.jma.go.jp. 気象庁. สืบค้นเมื่อ 2021-12-02.
  5. 武村雅之, 諸井孝文, 八代和彦(1998): 明治以後の内陸浅発地震の被害から見た強震動の特徴 ―震度VIIの発生条件― 地震 第2輯, 1998年 50巻 4号 p.485-505
  6. 宇津(2001), p125.