ในวิชาภูมิศาสตร์ ที่ราบ หรือ พื้นราบ เป็นแผ่นดินเรียบกว้างใหญ่ซึ่งปกติมีการเปลี่ยนแปลงระดับความสูงไม่มาก ที่ราบเกิดเป็นที่ลุ่มตามก้นของหุบเขาหรือเป็นประตูสู่ภูเขา เป็นที่ราบชายฝั่ง และที่ราบสูงหรือที่ดอน[1]

ภูเขาอารารัตในคอเคซัส โดยมีที่ราบอารารัตอยู่ด้านหน้า

ในหุบเขาที่ราบจะถูกขนาบทั้งสองด้าน แต่บางทีที่ราบอาจแสดงขอบเขตโดยวงแหวนเขาครบวงหรือไม่ครบวง โดยภูเขาหรือหน้าผา เมื่อบริเวณภูมิศาสตร์หนึ่งมีที่ราบมากกว่าหนึ่งแห่ง ที่ราบทั้งหลายอาจเชื่อมกันโดยช่องเขา (pass หรือ gap) ที่ราบชายฝั่งส่วนใหญ่สูงกว่าระดับน้ำทะเลจนไปบรรจบภูเขาหรือที่ราบสูง[2]

ที่ราบเป็นธรณีสัณฐานหลักอย่างหนึ่งของโลก โดยปรากฏอยู่ในทุกทวีป และกินอาณาบริเวณกว่าหนึ่งในสามของพื้นที่ดินของโลก[3] ที่ราบอาจเกิดขึ้นระหว่างลาวาไหล มีการทับถมโดยน้ำ น้ำแข็งหรือลม หรือเกิดจากการกร่อนด้วยตัวการดังกล่าวจากเขาและภูเขา ปกติที่ราบอยู่ภายใต้ชีวนิเวศทุ่งหญ้า (เขตอบอุ่นหรือกึ่งเขตร้อน) สเตปป์ (กึ่งแห้งแล้งจัด) สะวันนา (เขตร้อน) หรือทันดรา (ขั้วโลก) ในบางกรณี บริเวณแห้งแล้งและป่าฝนก็เป็นที่ราบได้[4]

ที่ราบในหลายพื้นที่มีความสำคัญต่อเกษตรกรรมเพราะดินมีการทับถมเป็นตะกอนที่อาจลึกและอุดมสมบูรณ์ และความราบช่วยเอื้อต่อการผลิตพืชผลโดยใช้เครื่องจักร หรือเพราะเอื้อต่อทุ่งหญ้าซึ่งเป็นแหล่งอาหารอย่างดีสำหรับปศุสัตว์[5]

อ้างอิง แก้

  1. Rood, Stewart B.; Pan, Jason; Gill, Karen M.; Franks, Carmen G.; Samuelson, Glenda M.; Shepherd, Anita (2008-02-01). "Declining summer flows of Rocky Mountain rivers: Changing seasonal hydrology and probable impacts on floodplain forests". Journal of Hydrology. 349 (3–4): 397–410. doi:10.1016/j.jhydrol.2007.11.012.
  2. Whittow, John (1984). Dictionary of Physical Geography. London: Penguin, 1984, p. 467. ISBN 0-14-051094-X.
  3. Geoff C. Brown; C. J. Hawkesworth; R. C. L. Wilson (1992). Understanding the Earth (2nd ed.). Cambridge University Press. p. 93. ISBN 0-521-42740-1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-16. สืบค้นเมื่อ 2018-04-21.{{cite book}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  4. Gornitz, Vivien (ed.). 2009. Encyclopedia of Paleoclimatology And Ancient Environments. Springer: Dordrecht, p. 665.
  5. Powell, W. Gabe. 2009. Identifying Land Use/Land Cover (LULC) Using National Agriculture Imagery Program (NAIP) Data as a Hydrologic Model Input for Local Flood Plain Management. Applied Research Project, Texas State University.