แผ่นดินไหวในชูเอ็ตสึ จังหวัดนีงาตะ พ.ศ. 2547
แผ่นดินไหวในชูเอ็ตสึ จังหวัดนีงาตะ พ.ศ. 2547 (ญี่ปุ่น: 新潟県中越地震; โรมาจิ: Niigata-ken Chūetsu jishin) เกิดขึ้นเมื่อเวลา 17:56 นาฬิกา (ตามเวลาท้องถิ่น) ในวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2547 สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ตั้งชื่อว่า แผ่นดินไหวชูเอ็ตสึ จังหวัดนีงาตะ ปีเฮเซที่ 16 (ญี่ปุ่น: 平成16年新潟県中越地震; โรมาจิ: Heisei ju-roku-nen Niigata-ken Chuetsu Jishin) [2][3] จังหวัดนีงาตะตั้งอยู่ในภูมิภาคโฮกูริกุบนเกาะฮนชู ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น แผ่นดินไหวครั้งนี้สามารถรับรู้แรงสะเทือนได้จากพื้นที่เกือบครึ่งหนึ่งของเกาะฮนชู ได้แก่บางส่วนของภูมิภาคโทโฮกุ โฮกูริกุ ชูบุ และคันโต
新潟県中越地震 | |
รถไฟชิงกันเซ็งตกรางครั้งแรก | |
เวลาสากลเชิงพิกัด | 2004-10-23 08:56:00 |
---|---|
รหัสเหตุการณ์ ISC | 7421058 |
USGS-ANSS | ComCat |
วันที่ท้องถิ่น | 23 ตุลาคม พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) |
เวลาท้องถิ่น | 17:56 เวลามาตรฐานญี่ปุ่น |
ขนาด | 6.8 Mw[1] |
ความลึก | 13 กิโลเมตร |
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ | จังหวัดนีงาตะ ประเทศญี่ปุ่น |
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้ | IX (ร้ายแรง)
[1] ชินโดะ 7 (ความรุนแรงที่วัดโดยเครื่องมือ 6.5) |
ค่าความเร่งสูงสุดของพื้นดิน | 2.56 g |
ผู้ประสบภัย | เสียชีวิต 68 คน, บาดเจ็บ 4,805 คน |
รายละเอียดของแผ่นดินไหว
แก้การไหวครั้งแรกสร้างแรงสั่นสะเทือนในพื้นที่ชูเอ็ตสึในจังหวัดนีงาตะ อ่านค่าความรุนแรงของแผ่นดินไหวในมาตราชินโดะที่เมืองคาวางูจิ จังหวัดนีงาตะ[2] ได้ที่ระดับ 7 และอ่านขนาดของแผ่นดินไหวได้ที่แมกนิจูด 6.8[1] (เพื่อการเปรียบเทียบ แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิงที่ทำลายพื้นที่หลายส่วนในโคเบะ วัดค่าความรุนแรงตามาตราชินโดะได้ระดับ 7 และวัดขนาดได้ที่แมกนิจูด 7.3[4]) แผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ความลึก 15.8 กิโลเมตร JMA ได้ให้พิกัดของแผ่นดินไหวที่ 37°18′N 138°48′E / 37.3°N 138.8°E
การไหวครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อเวลา 18:11[5] (16 นาทีหลังจากครั้งแรก) ครั้งนี้เกิดขึ้นที่ความลึกน้อยกว่าครั้งแรกมาก วัดความรุนแรงได้ชินโดะ 6+ และวัดขนาดได้ที่แมกนิจูก 5.9 ครั้งที่สามเกิดขึ้นเมื่อเวลา 18:34 ระดับความรุนแรงวัดได้ที่ชินโดะ 6- เวลา 19:45[6] เกิดแผ่นดินไหวระดับความรุนแรงชินโดะ 6- ขึ้นอีกครั้ง และยังมีแผ่นดินไหวย่อยที่รุนแรงน้อยกว่าเกิดขึ้นเป็นระยะในภูมิภาค ใน 66 ชั่วโมงแรก มีแผ่นดินไหวระดับความรุนแรงชินโดะ 5- หรือสูงกว่าเกิดขึ้น 15 ครั้งในภูมิภาคชูเอ็ตสึ[7]
ตามรายงานของสื่อ Geographical Survey Institute (GSI) ในสังกัดรัฐบาลญี่ปุ่น ได้ประเมินขึ้นต้นว่า รอยเลื่อนที่ยาว 22 กิโลเมตร และกว้าง 17 กิโลเมตร ได้เคลื่อนที่ไป 1.4 เมตร
แผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นครั้งที่ร้ายแรงที่สุดในญี่ปุ่นนับตั้งแต่แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิงเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2538
แผ่นดินไหวตาม
แก้จุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ลึก 13 กิโลเมตร แผ่นดินไหวตาม (อาฟเตอร์ช็อก) ที่เกิดขึ้นตามมานั้นก็ลึกประมาณ 20 กิโลเมตรเช่นกัน หลังเกิดแผ่นดินไหวหลักก็ยังมีแผ่นดินไหวตามขนาดใหญ่เกิดขึ้นตามมา ในพื้นที่จังหวัดนีงาตะเกิดแผ่นดินไหวตามรุนแรงระดับ 6 ถึงสามครั้ง (6- หนึ่งครั้ง 6+ สองครั้ง) แผ่นดินไหวตามเหล่านี้เกิดขึ้น 2 ชั่วโมงหลังเกิดแผ่นดินไหวหลัก มีการบันทึกแผ่นดินไหวที่มนุษย์สามารถรู้สึกได้ถึง 600 ครั้งภายในวันที่ 31 ตุลาคม และ 825 ครั้งภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน หลังจากวันที่ 25 ตุลาคม ทีมวิจัยร่วมของ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์โลก ได้ติดตั้งเครื่องวัดแผ่นดินไหวชั่วคราวจำนวน 149 เครื่อง เครื่องวัดแผ่นดินไหวแบบ GPS 17 เครื่อง และอุปกรณ์สังเกตการณ์แบบแม่เหล็กไฟฟ้า 9 เครื่อง ซึ่งสามารถใช้ในการบันทึกกิจกรรมการเกิดแผ่นดินไหวตาม และวิเคราะห์โครงสร้างใต้ผิวดิน [8] อุปกรณ์เหล่านี้ถูกพัฒนาขึ้นหลังจากเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง จะเห็นได้ว่าสามารถบันทึกกิจกรรมแผ่นดินไหวตามได้มากกว่าแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิงเป็นสองเท่า [9] ในปี ค.ศ. 2011 แม้ผ่านไป 7 ปีนับแต่แผ่นดินไหวใหญ่ก็ยังมีอาฟเตอร์ช็อกขนาดเล็กถึงกลางเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว[10]
มาตราส่วนความรุนแรง (กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น)
แก้ความรุนแรง | จังหวัด | ที่ตั้ง[11] |
---|---|---|
7 | นีงาตะ | คาวางูจิ |
6+ | นีงาตะ | โอจิยะ, ยามาโกชิ, โองูนิ |
6- | นีงาตะ | นางาโอกะ, โทกามาจิ, โทจิโอะ, โคชิจิ, มิชิมะ, โฮริโนอูจิ, ฮิโรกามิ, ซูมง, อิริฮิโรเซะ, คาวานิชิ, นากาซาโตะ, คาริวะ |
รายการแผ่นดินไหวตาม
แก้วันที่ | เวลามาตรฐานญี่ปุ่น | ความลึก | ความรุนแรงสูงสุด | ขนาด | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
2004-10-23 | 17:56 | 13 กม. | ชินโดะ 7 | 6.8 | แผ่นดินไหวหลัก |
17:59 | 16 กม. | ชินโดะ 5+ | 5.3 | แผ่นดินไหวตาม | |
18:03 | 9 กม. | ชินโดะ 5+ | 6.3 | ||
18:07 | 15 กม. | ชินโดะ 5+ | 5.7 | ||
18:11 | 12 กม. | ชินโดะ 6+ | 6.0 | ||
18:34 | 14 กม. | ชินโดะ 6+ | 6.5 | ||
18:36 | 7 กม. | ชินโดะ 5− | 5.1 | ||
18:57 | 8 กม. | ชินโดะ 5+ | 5.3 | ||
19:36 | 11 กม. | ชินโดะ 5− | 5.3 | ||
19:45 | 12 กม. | ชินโดะ 6− | 5.7 | ||
2004-10-24 | 14:21 | 11 กม. | ชินโดะ 5+ | 5.0 | |
2004-10-25 | 0:28 | 10 กม. | ชินโดะ 5− | 5.3 | |
6:04 | 15 กม. | ชินโดะ 5+ | 5.8 | ||
2004-10-27 | 10:40 | 12 กม. | ชินโดะ 6− | 6.1 | |
2004-11-4 | 8:57 | 18 กม. | ชินโดะ 5+ | 5.2 | |
2004-11-8 | 11:15 | 0 กม. | ชินโดะ 5+ | 5.9 | |
2004-11-10 | 3:43 | 5 กม. | ชินโดะ 5− | 5.3 | |
2004-12-28 | 18:30 | 8 กม. | ชินโดะ 5− | 5.0 |
ความเสียหาย
แก้ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พบผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวรายที่ 39 ขณะที่ยังคงมีแผ่นดินไหวตามเกิดขึ้นในระดับที่รู้สึกได้ มีรายงานว่าในจังหวัดนีงาตะมีผู้บาดเจ็บมากกว่า 3,000 คน คนมากกว่าหนึ่งหมื่นคนต้องละทิ้งบ้าน แผ่นดินไหวทำให้บ้านหลายหลังในเมืองโอจิยะพังถล่ม
เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่รถไฟชิงกันเซ็งตกรางขณะให้บริการ ตู้ของ Toki 35 (ชิงกันเซ็ง 200 series) แปดตู้จากสิบตู้ตกรางบนโจเอ็ตสึชิงกันเซ็งระหว่างสถานีนางาโอกะในเมืองนางาโอกะ กับสถานีอูราซะในเมืองยามาโตะ มีผู้โดยสาร 155 คน แต่ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ ทั้ง Railbeds สะพาน และอุโมงค์ล้วนแต่ได้รับผลกระทบ บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก ได้หยุดรถไฟทุกขบวนในจังหวัดนีงาตะ ซึ่งสายที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักได้แก่ สายโจเอ็ตสึ สายหลักชิงเอ็ตสึ สายอียามะ สายทาดามิ และสายเอจิโงะ ส่วนหนึ่งของสถานีนางาโอกะพร้อมจะพังถล่มได้ทุกเมื่อจากแผ่นดินไหวตาม แต่หลังจากปิดชั่วคราวก็เปิดให้บริการอีกครั้ง
เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2547 รถไฟสายโจเอ็ตสึและอียามะส่วนที่ยังคงเหลืออยู่ได้เปิดให้บริการอีกครั้ง ต่อมาวันที่ 28 ธันวาคม ชิงกันเซ็งสายโจเอ็ตสึกลับมาเปิดให้บริการ Japan Highways ได้ปิดทางด่วนทั้งหมดในจังหวัดนีงาตะ ซึ่งมีผลให้ทางด่วนสายคังเอ็ตสึและสายโฮกูริกุต้องปิดด้วยเช่นกัน ในวันที่ 4 พฤศจิกายน ทางด่วนสายคังเอ็ตสึยังคงปิดให้บริการในช่วงระหว่าง Nagaoka Interchange กับ Koide Interchange ซึ่งส่วนนี้กลับมาเปิดในวันที่ 5 พฤศจิกายน
เหตุแผ่นดินถล่มและปัญหาอื่น ๆ ทำให้ต้องปิดทางหลวงสองสาย คือ หมายเลข 8 และหมายเลข 17 รวมทั้งถนนในจังหวัดอีกหลายเส้นทาง ทำให้ท้องถิ่นหลายส่วนถูกตัดขาด อย่างเช่นหมู่บ้านยามาโกชิเกือบทั้งหมู่บ้าน ซึ่งเคยเป็นหมู่บ้านในเขตโคชิ แต่ต่อมาถูกผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของเมืองนางาโอกะ ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 รัฐบาลได้ยกเลิกคำสั่งอพยพประชาชนที่มีมานานเก้าเดือน โดยมีผลต่อ 528 ครัวเรือนจากที่ได้รับผลกระทบ 690 ครัวเรือน
นอกจากนี้แผ่นดินไหวยังทำให้เกิดแผ่นดินถล่มทับรถยนต์สามคัน เด็กชายคนหนึ่งถูกช่วยเหลือออกมาจากรถยนต์คันหนึ่งได้ แต่มารดาและพี่สาวเสียชีวิต (พายุไต้ฝุ่นที่เกิดขึ้นก่อนหน้าไม่นานทำให้ดินอุ้มน้ำ จึงถล่มได้ง่ายขึ้น)
แผ่นดินไหวทำให้ท่อส่งน้ำประปาเสียหาย และมีรายงานว่าไฟฟ้า โทรศัพท์ (รวมโทรศัพท์มือถือ) และอินเทอร์เน็ต ใช้งานไม่ได้เป็นพื้นที่วงกว้าง ระบบโทรศัพท์มือถือขัดข้องเนื่องจากสถานีถ่ายทอดสัญญาณได้รับความเสียหายโดยตรง อีกทั้งพลังงานสำรองก็ถูกใช้จนหมด
สรุปความเสียหายเป็นตาราง
แก้จำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ | จำนวนบ้านเรือนเสียหาย | จำนวนความเสียหายประเภทอื่น | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ภูมิภาค | เสียชีวิต | บาดเจ็บสาหัส | บาดเจ็บเล็กน้อย | เสียหายทั้งหมด | เสียหายปานกลาง | เสียหายเล็กน้อย | ไฟไหม้ | ความเสียหายต่ออาคารประเภทอื่น | ความเสียหายของถนน | ดินถล่ม | ความเสียหายต่อผนัง |
จังหวัดนีงาตะ | 68 | 632 | 4,172 | 3,174 | 13,810 | 104,619 | 9 | 41,738 | 6,064 | 442 | 15 |
จังหวัดฟูกูชิมะ | 1 | ||||||||||
จังหวัดกุมมะ | 6 | 1,055 | |||||||||
จังหวัดไซตามะ | 1 | ||||||||||
จังหวัดนางาโนะ | 1 | 2 | 7 | ||||||||
รวมทั้งสิ้น | 68 | 633 | 4,181 | 3,174 | 13,810 | 105,682 | 9 | 41,738 | 6,064 | 442 | 15 |
มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 68 คน ส่วนใหญ่อยู่ในเมืองโอจิยะ โทกามาจิ นางาโอกะ และมิสึเกะซึ่งมีแรงสั่นสะเทือนรุนแรง ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตโดยตรงจากการถล่มของอาคารเพียง 16 ราย แต่อีก 52 รายเสียชีวิตจากความเครียดระหว่างการอพยพและภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำอุดตัน [13] ซึ่งนำไปสู่การวิจัยกลุ่มอาการนี้อย่างกว้างขวาง
บ้านเรือนราว 17,000 หลังพังเสียหายแต่เกิดไฟไหม้ตามมาเพียง 9 หลังเท่านั้น [14] ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2544 หลังมีการบังคับใช้ "มาตรฐานพิเศษสำหรับบ้านบนพื้นสูงในจังหวัดนีงาตะ/พื้นที่หิมะตกหนักพิเศษ" (新潟県・特別豪雪地帯等における高床式住宅の特例基準) ความเสียหายจากแผ่นดินไหวบนพื้นที่สูงจึงน้อยเมื่อเทียบกับที่ต่ำ[15] เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีหิมะตกหนักมาตรฐานอาคารจึงจำเป็นต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรงเพื่อป้องกันน้ำหนักของหิมะ
ผลพวง
แก้ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2550 มีการยกเลิกคำสั่งอพยพชุมชนห้าแห่งที่เคยอยู่ในหมู่บ้านยามาโกชิ (ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของเมืองนางาโอกะ) ผู้พักอาศัยได้รับอนุญาตให้กลับบ้านหลังจากอพยพออกไปนานเกือบสองปีครึ่ง
ประวัติศาสตร์
แก้ตามที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ จังหวัดนีงาตะประสบเหตุแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง ครั้งใหญ่ที่ผ่านมาไม่นานคือเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2507 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.5 มีผู้เสียชีวิต 28 คน อีกทั้งยังทำให้เกิดแผ่นดินเหลวครั้งใหญ่และเกิดคลื่นสึนามิพัดเข้าทำลายท่าเรือของเมืองนีงาตะ แผ่นดินไหวครั้งนั้นเป็นครั้งแรกที่วิศวกรเริ่มศึกษาปรากฏการณ์แผ่นดินเหลวอย่างจริงจัง
นอกจากนั้น ยังมีเหตุแผ่นดินไหวในจังหวัดนีงาตะ พ.ศ. 2550 ที่เกิดขึ้นหลังจากพายุไต้ฝุ่นพัดผ่านไม่นาน
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 "M 6.6 - 8 กม. SSW of Ojiya, Japan". earthquake.usgs.gov. USGS. สืบค้นเมื่อ 8 July 2021.
- ↑ 2.0 2.1 震度データベース検索(地震別検索結果) เก็บถาวร 2020-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Japan Meteorological Agency(Japanese) Retrieval 2018/04/03
- ↑ 平成16年10月23日 17時56分ころ発生した地震の命名について PDF File. Japan Meteorological Agency(Japanese)Retrieval 2018/04/03
- ↑ 震度データベース検索(地震別検索結果) เก็บถาวร 2017-10-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Japan Meteorological Agency(Japanese)Retrieval 2018/04/03
- ↑ 震度データベース検索(地震別検索結果) เก็บถาวร 2018-04-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Japan Meteorological Agency(Japanese)Retrieval 2018/04/03
- ↑ 震度データベース検索(地震別検索結果)[ลิงก์เสีย] Japan Meteorological Agency(Japanese)Retrieval 2018/04/03
- ↑ 平成16年(2004年)新潟県中越地震について(第15報)[ลิงก์เสีย] PDF File. Japan Meteorological Agency Date 2004/10/29, Retrieval 2018/04/03
- ↑ 能久, 飯尾; 聡, 松本; 健, 松島; 賢司, 植平; 浩, 片尾; 士朗, 大見; 拓郎, 澁谷; 文朗, 竹内; 欽也, 西上; 一聖, 廣瀬; 靖之, 加納; 豊, 儘田; 理稔, 宮澤; 賢一, 辰己; 博夫, 和田; 裕希, 河野; 将宏, 是永; 友岳, 上野; 洋平, 行竹; Enescu, Bogdan (2006). "2004年新潟県中越地震の発生過程". 地震 第2輯. pp. 463–475. doi:10.4294/zisin1948.58.4_463. สืบค้นเมื่อ 21 April 2023.
- ↑ "新潟県中越大震災の記録 - 新潟県ホームページ". www.pref.niigata.lg.jp. สืบค้นเมื่อ 21 April 2023.
- ↑ 細野耕、司西政樹、吉田明夫 (2006). "内陸大地震の余震活動域の深さの時間変化". 地震 第2輯. 59 (1): 29–37. doi:10.4294/zisin.59.29.
- ↑ "震度データベース検索". www.data.jma.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
- ↑ 平成16年(2004年)新潟県中越地震(確定報) - 消防庁.2009年10月日付 - WARPによるアーカイブ
- ↑ "新潟県中越地震から15年 今も生きる地震の教訓". ウェザーニュース (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 25 April 2023.
- ↑ 岡田 2014, p. 101.
- ↑ 槌本敬大「平成16年新潟県中越地震の特徴と木材家屋の被害状況」『新潟県中越地震における木造建築物の被害』日本木材学会・木材強度・木質構造研究会 p.6