ทางด่วนโฮกูริกุ

ทางด่วนจากจังหวัดนีงาตะไปจังหวัดชิงะ ประเทศญี่ปุ่น

ทางด่วนโฮกูริกุ (ญี่ปุ่น: 北陸自動車道โรมาจิHokuriku Jidōsha-dō) หรือชื่อย่อ โฮกูริกุโด (ญี่ปุ่น: 北陸道โรมาจิHokurikudō) เป็นทางด่วนแห่งชาติขนาด 4 ช่องจราจรในประเทศญี่ปุ่น เป็นเจ้าของและบำรุงรักษาโดยบริษัททางด่วนญี่ปุ่นตะวันออกและบริษัททางด่วนญี่ปุ่นกลาง

โฮกูริกุ Expressway sign
ทางด่วนโฮกูริกุ
E8 北陸自動車道
แผนที่
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว476.5 กิโลเมตร[2] (296.1 ไมล์)
มีขึ้นเมื่อค.ศ. 1972[1]–ปัจจุบัน
ทางแยกที่สำคัญ
จากชุมทางต่างระดับนีงาตะชูโอ ในนีงาตะ จ.นีงาตะ
ทางด่วนบังเอ็ตสึ
ทางด่วนนิฮงไกโทโฮกุ
ถึงชุมทางต่างระดับไมบาระ ในไมบาระ จ.ชิงะ
ทางด่วนเมชิง
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศญี่ปุ่น
เมืองสำคัญนางาโอกะ, โจเอ็ตสึ, อูโอซุ, โทยามะ, คานาซาวะ, โคมัตสึ, ฟูกูอิ, ซาบาเอะ, เอจิเซ็ง, สึรูงะ, นางาฮามะ
ระบบทางหลวง
ทางหลวงในประเทศญี่ปุ่น
ทางด่วนในประเทศญี่ปุ่น

ภาพรวม แก้

ทางด่วนโฮกูริกุเปิดให้บริการช่วงแรกเมื่อ ค.ศ. 1972 โดยบริษัท ทางหลวงญี่ปุ่น จำกัด (มหาชน) จากนั้นการก่อสร้างดำเนินไปเป็นระยะ ๆ จนกระทั่งแล้วเสร็จตลอดสายเมื่อ ค.ศ. 1988[3] เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2005 ทางด่วนแห่งชาติทั้งหมดได้รับการโอนกิจการจากของรัฐไปเป็นของเอกชน[4] และทางด่วนโฮกูริกุก็ถูกแบ่งการบริหารจัดการออกเป็นสองส่วนระหว่างบริษัททางด่วนญี่ปุ่นตะวันออกและบริษัททางด่วนญี่ปุ่นกลาง[5]

เส้นทางนี้ให้บริการในภูมิภาคโฮกูริกุ บนชายฝั่งทางตอนกลางของเกาะฮนชู ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ระยะทางส่วนใหญ่ของทางด่วนขนานไปกับทางหลวงแผ่นดินญี่ปุ่นหมายเลข 8 และทางรถไฟสายหลักโฮกูริกุของบริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันตก

ถึงแม้ว่าเส้นทางจะมีจุดเริ่มต้นในนีงาตะและสิ้นสุดที่ไมบาระ แต่หมายเลขทางออกและการนับกิโลเมตรเริ่มต้นจากไมบาระ

ลักษณะเส้นทาง แก้

 
ภาพเส้นทางในโอยาชิราซุ นครอิโตอิงาวะ จังหวัดนีงาตะ
ซ้าย: ทางด่วนโฮกูริกุ
กลาง:ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 8 และทางรถไฟสายหลักโฮกูริกุของ JR
ขวา: ทางหลวงจังหวัดนีงาตะหมายเลข 525

บริเวณทางแยกต่างระดับสึรูกะ (敦賀IC) ฝั่งที่มุ่งหน้าไปทางใต้และฝั่งที่มุ่งหน้าไปทางเหนือจะไขว้สลับกันและแยกห่างออกจากกัน และไขว้กลับมาตามปกติที่บริเวณใกล้กับจุดพักรถซูอิซุ (杉津PA)

ช่วงระหว่างทางแยกต่างระดับคิโนโมโตะ (木之本IC) กับทางแยกต่างระดับทาเกฟุ (武生IC) มีอุโมงค์จำนวน 14 แห่ง โดยมี 2 แห่งที่มีความยาวมากกว่า 2,000 เมตร (6,600 ฟุต) และช่วงระหว่างทางแยกต่างระดับอาซาฮิ (朝日IC) กับทางแยกต่างระดับโจเอ็ตสึ (上越IC) มีอุโมงค์จำนวน 26 แห่ง โดยมี 8 แห่งที่มีความยาวมากกว่า 2,000 เมตร (6,600 ฟุต)

อ้างอิง แก้

  1. "Expressway Opening Dates" (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2008-04-16.
  2. Ministry of Land, Infrastructure and Transport, Kinki Regional Development Bureau. "Road Timetable" (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2008-04-16.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. Ministry of Land, Infrastructure and Transport, Hokuriku Regional Development Bureau. "Oyashirazu Pia Park Profile" (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2008-04-16.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. Mizutani, Fumitoshi; Uranishi, Shuji (2006). Privatization of the Japan Highway Public Corporation: Policy Assessment (PDF). 46th Congress for the European Regional Science Association. Volos, Greece. สืบค้นเมื่อ 2008-04-11.
  5. "NEXCO-Central Business Outline" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2008-04-13.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น แก้