กีฬายุวชนโลก (อังกฤษ: International Children’s Games) หรือตัวย่อว่า ICG เป็นการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติของบรรดาเด็กนักเรียนทั้งชายและหญิงจากทั่วทุกมุมโลกที่มีอายุระหว่าง 12-15 ปี โดยจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีตามเมืองสำคัญของประเทศต่างๆที่เป็นเจ้าภาพ การแข่งขันกีฬายุวชนโลกถือกำเนิดขึ้นมาจากการที่ชาวยุโรปได้ร่วมมือกันจัดตั้งเทศกาลการแข่งกีฬาและวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการมีมิตรภาพระหว่างประเทศ ซึ่งหวังว่าการมีมิตรภาพระหว่างประเทศ จะทำให้เกิดสันติภาพไม่มีสงครามหรือความรุนแรงเกิดขึ้น

โดยจัดขึ้นเป็นครั้งแรกที่เมืองเซเลีย ประเทศสโลวีเนีย เมื่อปี 1968 (พ.ศ. 2511) เป็นการชิงชัยของเด็กนักเรียนชายหญิงวัยอายุ 12-15 ปี โดยทีมที่เข้าร่วมแข่งขันจะให้ส่งในนามของเมือง ไม่ใช่ส่งในนามของประเทศ ฉะนั้นประเทศหนึ่งอาจจะส่งหลายเมืองก็ได้ ในครั้งแรกนั้นมีทีมที่เข้าร่วมแข่งขันจาก 9 ประเทศ[1]

การแข่งขันมีจุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา และจิตใจของเด็ก และที่สำคัญที่สุดคือ เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์การได้รู้จักกัน จะได้สร้างมิตรภาพโดยการติดต่อต่อเนื่องกันต่อไปเมื่อทุกคนกลับไปถึงบ้าน ซึ่งจะขยายผลไปถึงเพื่อนคนอื่นๆที่จะได้ร่วมกันติดต่อด้วย เพราะเด็กในวัยนี้เป็นช่วงวัยที่ชอบติดต่อกับเพื่อนเพศเดียวกัน จะได้แลกแปลี่ยนข้อมูล แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ฝึกฝนภาษา และช่วยเหลือต่อกันเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่

สำหรับการแข่งขันกีฬา เด็กในวัยนี้ยังไม่ควรจะต้องมีการแข่งขันแบบโหมหนักเอาเป็นเอาตาย เช่น แข่งกันครั้งละหลายๆเกมหรือหลายๆเซ็ทหรือหลายๆวัน แต่เด็กต้องการจะได้ท่องเที่ยว ต้องการได้รับความสนุกสนาน ได้รู้จักกันและสร้างมิตรภาพต่อกันมากกว่า

การจัดการแข่งขัน

แก้
ครั้งที่ ปี เมืองเจ้าภาพ ประเทศ
1st 1968 เซเลีย   ยูโกสลาเวีย
2nd 1970 อูดิเน   อิตาลี
3rd 1972 กราซ   ออสเตรีย
4th 1974 มูร์สกาโซบอตา   ยูโกสลาเวีย
5th 1974 ดาร์มชตัท   เยอรมนีตะวันตก
6th 1976 มูร์สกาโซบอตา   ยูโกสลาเวีย
7th 1976 เจนีวา   สวิตเซอร์แลนด์
8th 1978 ราวเนนาคอโรชเคม   ยูโกสลาเวีย
9th 1980 โลซาน   สวิตเซอร์แลนด์
10th 1982 ดาร์มชตัท   เยอรมนีตะวันตก
11th 1983 ทรัว   ฝรั่งเศส
12th 1983 มูร์สกาโซบอตา   ยูโกสลาเวีย
13th 1984 เจนีวา   สวิตเซอร์แลนด์
14th 1985 Granollers   สเปน
15th 1986 โลซาน   สวิตเซอร์แลนด์
16th 1987 กราซ   ออสเตรีย
17th 1988 โซมบอตเฮ   ฮังการี
18th 1989 อันดอร์รา   อันดอร์รา
19th 1990 Uzgorod   สหภาพโซเวียต
20th 1991 Bratislava   สโลวาเกีย
21st 1992 เจนีวา   สวิตเซอร์แลนด์
22nd 1993 ดาร์มชตัท   เยอรมนี
23rd 1994 แฮมิลตัน   แคนาดา
24th 1994 สลอเวนกราเดิตส์   สโลวีเนีย
25th 1995 เซเลีย   สโลวีเนีย
26th 1996 Sopron   ฮังการี
27th 1997 สปาร์ตา   กรีซ
28th 1998 โลโกรโญ   สเปน
29th 1999 เมดีอาช   โรมาเนีย
30th 1999 เวเลเน   สโลวีเนีย
31st 1999 เชสกีกรุมลอฟ   เช็กเกีย
32nd 2000 แฮมิลตัน   แคนาดา
33rd 2001 โซมบอตเฮ   ฮังการี
34th 2002 ปวอตส์ก   โปแลนด์
35th 2002 ไทเป   ไต้หวัน
36th 2003 กราซ   ออสเตรีย
37th 2003 Patras   กรีซ
38th 2004 คลีฟแลนด์   สหรัฐ
39th 2005 คอเวนทรี   อังกฤษ
40th 2006 กรุงเทพมหานคร   ไทย
41st 2007 เรคยาวิก   ไอซ์แลนด์
42nd 2008 ซานฟรานซิสโก   สหรัฐ
43rd 2009 เอเธนส์   กรีซ
44th 2010 มานามา   บาห์เรน
45th 2011 Lanarkshire   สกอตแลนด์
46th 2012 แทกู   เกาหลีใต้
47th 2013 Windsor, Ontario   แคนาดา
48th 2014 Lake Macquarie   ออสเตรเลีย
49th 2015 อาลค์มาร์   เนเธอร์แลนด์
50th 2016 ซินเป่ย์   ไต้หวัน
51st 2017 เคานัส   ลิทัวเนีย
52nd 2018 เยรูซาเลม   อิสราเอล
53rd 2019 อูฟา   รัสเซีย
54th 2020 แก็ชแกเมต   ฮังการี

ฤดูหนาว

แก้
ครั้งที่ ปี เมืองเจ้าภาพ ประเทศ
1st 1994 ราวเนนาคอโรชเคม   สโลวีเนีย
2nd 1995 Prakovce-Helcmanovc   สโลวาเกีย
3rd 1999 มารีบอร์   สโลวีเนีย
4th 2009 มงเทรอ และ เวอแว   สวิตเซอร์แลนด์
5th 2011 คีโลว์นา   แคนาดา
6th 2013 อูฟา   รัสเซีย
7th 2016 อินส์บรุค   ออสเตรีย
8th 2019 Lake Placid   สหรัฐ

อ้างอิง

แก้