การสืบเชื้อสายร่วมกัน

ในสาขาชีววิทยาวิวัฒนาการ การสืบเชื้อสายร่วมกัน หรือ การสืบสกุลร่วมกัน[1] (อังกฤษ: Common descent) เป็นทฤษฎีที่อธิบายว่ากลุ่มสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ ได้มีบรรพบุรุษร่วมกันใกล้สุด (most recent common ancestor, MRCA) อย่างไร มีหลักฐานว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลกสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษร่วมกัน[2][3] และในปี 2559 นักวิทยาศาสตร์ก็ได้ระบุยีน 355 ตัวจากบรรพบุรุษร่วมกันของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลก[4]

สิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กันจะมีบรรพบุรุษร่วมกันในช่วงการเกิดสปีชีส์ ที่สปีชีส์ต่าง ๆ จะกำเนิดจากกลุ่มบรรพบุรุษเดียวกัน โดยกลุ่มที่มีบรรพบุรุษร่วมกันใกล้กันกว่า ก็จะเป็นญาติใกล้ชิดกันมากกว่า และสิ่งมีชีวิตที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งหมดก็ได้มีบรรพบุรุษร่วมกันที่เรียกว่า บรรพบุรุษร่วมที่ใกล้กันที่สุดของสิ่งมีชีวิตบนโลก (LUCA)[2] ซึ่งมีชีวิตประมาณ 3,900 ล้านปีก่อน[5][6] (โดยโลกเกิดเมื่อ 4,450 ล้านปี ± 1% ก่อน[7][8]) หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของสิ่งมีชีวิตบนโลก 2 ชิ้นก็คือ

  • แกรไฟต์ซึ่งเป็นแร่ที่มีกำเนิดจากสิ่งมีชีวิต ในหินชั้นกึ่งหินแปร (metasedimentary rocks) อายุ 3,700 ล้านปีก่อนที่พบในกรีนแลนด์ตะวันตก[9]
  • และ "ซากของสิ่งมีชีวิตแบบชีวนะ (biotic life)" ที่รายงานในปี 2558 ในหินอายุ 4,100 ล้านปีก่อน ในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย[10][11]

ทฤษฎีการสืบเชื้อสายร่วมกันสากล (อังกฤษ: universal common descent) บ่งว่า สิ่งมีชีวิตที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งหมดบนโลกจะสืบยีนร่วมกัน โดยแต่ละชนิดล้วนแต่สืบเชื้อสายมาจากสปีชีส์ดั้งเดิมชนิดเดียว แม้อาจมี การถ่ายทอดยีนในแนวราบ (horizontal gene transfer) ในวิวัฒนาการยุคต้น ๆ ซึ่งสร้างปัญหาต่อแบบจำลอง monophyly ซึ่งแสดงว่าสิ่งมีชีวิตแตกสาขามาจากชาติพันธุ์เดียว[2] นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษชาลส์ ดาร์วิน ได้เสนอการสืบเชื้อสายร่วมกันทั้งหมดผ่านกระบวนการวิวัฒนาการเป็นคนแรกในหนังสือ กำเนิดสปีชีส์ (On the Origin of Species) ในปี พ.ศ. 2402 ซึ่งสรุปว่า

มีความสง่างามในมุมมองของชีวิตเช่นนี้ พร้อมกับอานุภาพหลายอย่างของมัน ซึ่งดั้งเดิมเกิดเป็นรูปแบบไม่กี่อย่างหรืออย่างเดียว และนั่น ในขณะที่โลกลูกนี้กำลังหมุนไปตามกฎความโน้มถ่วงที่ตายตัว จากจุดเริ่มต้นที่ง่าย ๆ เห็นปานนั้น รูปแบบหาที่สุดไม่ได้ ที่สวยงามที่สุดและมหัศจรรย์ที่สุด ได้วิวัฒนาการและกำลังวิวัฒนาการเกิดขึ้น

ประวัติ

แก้

ในคริสต์ทศวรรษ 1740 นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสปีแยร์ หลุยส์ โมเพร์ทุยส์ ได้เสนอเป็นครั้งแรกเท่าที่รู้ ว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหมดอาจมีบรรพบุรุษร่วมกัน และได้แปรต่างจากกันผ่านความต่าง ๆ กันแบบสุ่มและการคัดเลือกโดยธรรมชาติ[13][14] ในบทความปี พ.ศ. 2293 เขาได้ให้ข้อสังเกตว่า

ในการผสมกันแบบบังเอิญอันเป็นกระบวนการผลิต (สิ่งมีชีวิต) ตามธรรมชาติ เพราะสัตว์จะสามารถรอดชีวิตในระบบที่มีการปรับตัวเข้าได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น เราไม่สามารถกล่าวได้หรือว่า มันไม่มีอะไรพิเศษในความจริงว่า การปรับตัวเช่นนี้มีอย่างแน่ ๆ ในสปีชีส์ทั้งหมดที่ยังมีอยู่ เราอาจกล่าวได้ว่า ความบังเอิญได้สร้างหน่วยสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ส่วนน้อยส่วนหนึ่งจากสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ ได้จัดระเบียบโดยที่อวัยวะของสัตว์สามารถสนองความจำเป็นของตน (ในขณะที่) สัตว์มากกว่านั้นมากไม่แสดงทั้งการปรับตัวหรือการจัดระเบียบ สัตว์พวกหลังนี้ได้สูญสิ้นไปหมดแล้ว ดังนั้น สปีชีส์ที่เราเห็นทุกวันนี้ เป็นเพียงแค่ส่วนน้อยที่โชคชะตาแบบไม่เลือกได้ผลิตขึ้น

— Pierre Louis Maupertuis, ค.ศ. 1750, บทความเรื่องจักรวาล (Essai de cosmologie)[15]

ต่อมาในปี 2333 อิมมานูเอล คานต์จึงได้เขียนว่า ความคล้ายคลึงกันของสัตว์แสดงนัยถึงรูปแบบดั้งเดิมที่เหมือนกัน และดังนั้น ถึงบรรพบุรุษที่มีร่วมกัน

แม้จะมีรูปแบบหลายหลาก พวกมันดูเหมือนจะสร้างขึ้นตามต้นแบบร่วมกันอย่างหนึ่ง และความคล้ายคลึงเช่นนี้ในสัตว์เหล่านี้ เสริมความสงสัยของเราว่า พวกมันจริง ๆ เป็นญาติกัน เกิดจากแม่แรกเริ่มร่วมกัน

— อิมมานูเอล คานต์, ค.ศ. 1790, ข้อวิจารณ์การพิจารณา (Kritik der Urteilskraft)[16]

และปู่ของดาร์วินได้เขียนในปี 2337 ไว้ว่า

มันกล้าเกินไปหรือไม่ที่จะจินตนาการว่า ในระยะเวลาอันยาวนานเช่นนี้ ตั้งแต่โลกได้เริ่มมี อาจนับอายุขัยเป็นล้าน ๆ ชั่วยุคก่อนเริ่มประวัติศาสตร์มนุษย์ มันกล้าเกินไปหรือไม่ที่จะจินตนาการว่า สัตว์เลือดอุ่นทั้งหมดได้เกิดมาจากใยชีวิตเพียงเส้นเดียว ที่กำเนิดจักรวาล (the great First Cause) ได้ประสิทธิ์ประสาทความเป็นสัตว์ให้ พร้อมกับอำนาจในการได้ส่วนใหม่ ๆ พร้อมกับสมรรถภาพใหม่ ๆ ที่ระบุทิศทางโดยความขัดเคือง ความรู้สึก ความตั้งใจ และความสัมพันธ์ และดังนั้น จึงมีศักยภาพในการปรับปรุงตนต่อไปโดยกิจกรรมตามธรรมชาติของตน และในการสืบทอดข้อปรับปรุงเหล่านี้ตามรุ่นไปยังลูกหลาน ไปกับโลกอย่างไม่ที่สิ้นสุด

— อีราสมัส ดาร์วิน - ปู่ของชาลส์ ดาร์วิน, ค.ศ. 1794[17]

มุมมองของชาลส์ ดาร์วินตามผลงานปี 2402 เกี่ยวกับการสืบเชื้อสายร่วมกันก็คือ มันเป็นไปได้ว่ามีบรรพบุรุษเพียงแค่หนึ่งเดียวสำหรับสิ่งมีชีวิตทุกรูปแบบ

ดังนั้น ผมจึงต้องอนุมานจากความคล้ายคลึงกันว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่เคยมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ น่าจะสืบสายมาจากรูปแบบรุ่นต้นกำเนิดโลกอย่างหนึ่ง ที่ได้เกิดมีชีวิตเป็นครั้งแรก

หลักฐานการสืบเชื้อสายร่วมกัน

แก้

รหัสทางพันธุกรรมและทางชีวเคมีที่มีร่วมกัน

แก้

สิ่งมีชีวิตที่รู้จักทั้งหมดมีมูลฐานจากกระบวนการทางชีวเคมีพื้นฐานที่เหมือนกัน คือ ข้อมูลทางพันธุกรรมที่เข้ารหัสอยู่ในดีเอ็นเอ คัดลอกเป็นอาร์เอ็นเอผ่านปฏิกิริยาของโปรตีนและเอนไซม์ (RNA polymerase) แล้วแปลงเป็นโปรตีนโดยไรโบโซม โดยมี ATP, NADPH, และโมเลกุลอื่น ๆ เป็นแหล่งพลังงาน เป็นต้น อนึ่ง รหัสพันธุกรรม (คือข้อมูลดีเอ็นเอที่ใช้แปลงเป็นโปรตีน) ยังแทบเหมือนกันในสิ่งมีชีวิตที่รู้จักทั้งหมด ตั้งแต่แบคทีเรีย อาร์เคีย สัตว์ ตลอดจนถึงพืช นักชีววิทยาทั่วไปมองความสากลของรหัสเช่นนี้ว่า เป็นหลักฐานให้น้ำหนักแก่ทฤษฎีการสืบเชื้อสายร่วมกันสากล (universal common descent)

การวิเคราะห์รหัสทางพันธุกรรมที่ต่างกันเล็กน้อย ยังให้หลักฐานกับทฤษฎีอีกด้วย ตัวอย่างหนึ่งก็คือ Cytochrome c ซึ่งเป็น hemeprotein ที่สิ่งมีชีวิตโดยมากมีเหมือนกัน[19] อนึ่ง การเปรียบเทียบทางสถิติของสมมติฐานต่าง ๆ แสดงว่า การมีบรรพบุรุษร่วมกันอย่างสากลเป็นไปได้สูงกว่าสมมติฐานที่กำหนดว่ามีแหล่งกำเนิดต่าง ๆ กัน[2][20]

ความคล้ายคลึงกันที่ไม่ได้คัดเลือก

แก้

ความคล้ายคลึงกันของสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่การปรับตัว ไม่สามารถอธิบายด้วยปรากฏการณ์วิวัฒนาการเบนเข้า และดังนั้น จึงเป็นตัวสนับสนุนที่น่าเชื่อถือสำหรับทฤษฎีการสืบเชื้อสายร่วมกันสากล หลักฐานเช่นนี้มาจากกรดอะมิโนและลำดับดีเอ็นเอ คือโปรตีนที่มีโครงสร้างสามมิติเช่นเดียวกันไม่จำเป็นต้องมีลำดับกรดอะมิโนที่เหมือนกัน ดังนั้น ความคล้ายคลึงกันที่ไม่จำเป็นของลำดับจึงเป็นหลักฐานว่าสืบทอดเชื้อสายมาร่วมกัน

อนึ่ง ในบางกรณี ยังมีโคดอน (เป็นลำดับนิวคลีโอไทด์ 3 ลำดับ) หลายชุดที่เข้ารหัสกรดอะมิโนอันเดียวกัน ดังนั้น ถ้าสปีชีส์ 2 ชนิดใช้โคดอนที่ตำแหน่งเดียวกันเพื่อแปลงเป็นกรดอะมิโน แม้จะทำได้จากโคดอนในตำแหน่งอื่น ๆ ด้วย นี่ก็เป็นหลักฐานว่าสืบทอดเชื้อสายมาร่วมกันเร็ว ๆ นี้

ความคล้ายคลึงกันอื่น ๆ

แก้

ความสากลทางวัฏจักรชีวิตของเซลล์ในด้านต่าง ๆ ก็สนับสนุนหลักฐานอื่นซึ่งน่าเชื่อถือกว่าดังที่กล่าวมาแล้วอีกด้วย ความคล้ายคลึงกันรวมทั้งสารพลังงานคือ อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (ATP) และความจริงว่า กรดอะมิโนที่พบทั้งหมดในโปรตีนมี Chirality แบบ "มือซ้าย"

อย่างไรก็ดี ก็ยังเป็นไปได้ว่าความคล้ายคลึงกันเช่นนี้มีผลจากกฎทางฟิสิกส์หรือทางเคมี ไม่ใช่การสืบทอดเชื้อสายร่วมกันสากล และดังนั้น ความเหมือนกันจึงอาจมาจากวิวัฒนาการเบนเข้า

ต้นไม้วิวัฒนาการชาติพันธุ์

แก้
 BacteriaArchaeaEucaryotaAquifexThermotogaCytophagaBacteroidesBacteroides-CytophagaPlanctomycesCyanobacteriaProteobacteriaSpirochetesGram-positive bacteriaGreen filantous bacteriaPyrodicticumThermoproteusThermococcus celerMethanococcusMethanobacteriumMethanosarcinaHalophilesEntamoebaeSlime moldAnimalFungusPlantCiliateFlagellateTrichomonadMicrosporidiaDiplomonad
ต้นไม้วิวัฒนาการชาติพันธุ์ (phylogenetic tree) ตามยีนไรโบโซมอล อาร์เอ็นเอ

หลักฐานสำคัญอีกอย่างก็คือมันเป็นไปได้ที่จะสร้างต้นไม้วิวัฒนาการชาติพันธุ์ (phylogenetic trees) หรือ "พงศาวลี" ของสปีชีส์อย่างละเอียดลออ ที่แสดงหมวดหมู่และบรรพบุรุษร่วมกันของสปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งหมด เช่น งานศึกษาปี 2553 วิเคราะห์ข้อมูลพันธุกรรมที่มีอยู่โดยใช้สถิติ[2] แล้วสร้างต้นไม้วิวัฒนาการชาติพันธุ์ ซึ่งแสดง "หลักฐานเชิงปริมาณที่เข้มแข็ง โดยการทดสอบแบบรูปนัย สำหรับความเป็นเอกภาพของชีวิต"[3] อย่างไรก็ดี มีนักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างว่าเป็น "การทดสอบแบบรูปนัย"[21] เพราะไม่พิจารณาวิวัฒนาการเบนเข้า แม้เจ้าของงานจะได้ตอบโต้ข้อคัดค้านการใช้คำนี้[22][23]

ทั่วไปแล้ว ต้นไม้เยี่ยงนี้จะสร้างโดยใช้การเปรียบเทียบทางสัณฐานวิทยา เช่น รูปร่างที่ปรากฏ สภาพของเอ็มบริโอ เป็นต้น แต่เร็ว ๆ นี้ ก็ยังสามารถสร้างต้นไม้ด้วยข้อมูลโมเลกุล คือเทียบความคล้ายความต่างของลำดับยีนและลำดับโปรตีน วิธีการเหล่านี้ทั้งหมดแสดงผลที่คล้ายกันถึงแม้ความแตกต่างของยีนจะไม่มีผลต่อสัณฐานรูปร่างภายนอก ความเข้ากันได้ของต้นไม้ที่สร้างโดยข้อมูลต่าง ๆ จึงเป็นหลักฐานที่เข้มแข็งของการสืบทอดเชื้อสายร่วมกันที่เป็นมูล[24]

สี่งที่แสดงการสืบเชื้อสายร่วมกัน

แก้

การคัดเลือกพันธุ์โดยทำขึ้น

แก้

การคัดเลือกพันธุ์โดยทำขึ้น (Artificial selection) แสดงความหลายหลากที่สามารถมีในสิ่งมีชีวิตที่มีบรรพบุรุษร่วมกันเร็ว ๆ นี้ ในกระบวนการนี้ มนุษย์เป็นผู้คัดเลือกการสืบทอดพันธุ์ของสปีชีส์ในแต่ละรุ่น ๆ โดยให้สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะที่ต้องการสืบพันธุ์ต่อไป โดยลักษณะที่ต้องการจะเด่นขึ้นเรื่อย ๆ ในรุ่นต่อ ๆ มา เป็นกรรมวิธีที่ใช้อย่างได้ผลมานานก่อนที่วิทยาศาสตร์จะค้นพบมูลฐานทางพันธุกรรม

 
สุนัขพันธุ์ชีวาวาและเกรตเดน มีบรรพบุรุษร่วมกันคือหมาป่า แต่ความแตกต่างที่เห็นแสดงอำนาจของการคัดเลือกพันธุ์โดยทำขึ้น ที่สามารถสร้างความหลายหลากในระยะเวลาสั้น ๆ โดยเปรียบเทียบ (กับกระบวนการตามธรรมชาติ)

การคัดเลือกพันธุ์สุนัข

แก้

ความหลากหลายของสุนัขเลี้ยง เป็นตัวอย่างแสดงอำนาจของการคัดเลือกพันธุ์โดยทำขึ้น คือ สุนัขหมดทุกพันธ์มีบรรพบุรุษเดียวกัน คือสืบทอดเชื้อสายมาจากหมาป่า มนุษย์คัดเลือกพันธุ์ของมันเพื่อให้ได้ลักษณะโดยเฉพาะบางอย่าง เช่น สี หรือตัวยาว ตัวใหญ่ ซึ่งสร้างสุนัขพันธุ์ต่าง ๆ รวมทั้งชีวาวา เกรตเดน แบสซิตฮาวนด์ ปั๊ก และพูเดิล เทียบกับหมาป่าที่ไม่ได้คัดเลือกพันธุ์โดยทำขึ้น ซึ่งค่อนข้างจะเหมือน ๆ กัน

กะหล่ำป่า

แก้

เกษตรกรในยุคต้น ๆ ได้เพาะพันธุ์ผักหลายชนิดจากพืชวงศ์ผักกาด (Brassicaceae) สปีชีส์ Brassica oleracea (กะหล่ำป่า) โดยคัดเลือกลักษณะโดยเฉพาะ ๆ ผักสามัญเช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอกอิตาลี (บรอกโคลี) คะน้า กะหล่ำดอก (cauliflower) กะหล่ำปม (kohlrabi) และกะหล่ำดาว (Brussels sprout) ล้วนแต่เป็นลูกหลานของกะหล่ำป่า[25] กะหล่ำดาวสร้างขึ้นโดยคัดเลือกตา/หน่อที่ใหญ่ บรอกโคลีโดยคัดก้านดอกที่ใหญ่ กะหล่ำปลีโดยคัดก้านใบสั้น ๆ และคะน้าโดยคัดใบใหญ่

การคัดเลือกโดยธรรมชาติ

แก้
 
นกกระจาบปีกอ่อนของดาร์วิน

การคัดเลือกโดยธรรมชาติเป็นกระบวนการวิวัฒนาการ ที่ลักษณะสืบสายพันธุ์ซึ่งเพิ่มความเหมาะสมของสิ่งมีชีวิตจะสามัญมากขึ้น และที่ลักษณะซึ่งลดความเหมาะสมจะสามัญน้อยลง

นกกระจาบปีกอ่อนของดาร์วิน

แก้

เมื่อเขาศึกษาอยู่ที่หมู่เกาะกาลาปาโกส ชาลส์ ดาร์วินได้สังเกตเห็นนกกระจาบปีกอ่อน 13 พันธุ์ที่เป็นญาติใกล้ชิดกัน แต่ต่างกันมากที่จะงอยปาก จะงอยปากของแต่ละสปีชีส์จะเหมาะกับอาหารที่มีในสิ่งแวดล้อมของนกนั้น ๆ ซึ่งแสดงว่า รูปร่างจะงอยปากได้วิวัฒนาการผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาติ จะงอยปากใหญ่จะพบในเกาะที่แหล่งอาหารหลักของนกก็คือผลไม้เปลือกแข็ง และดังนั้น จึงช่วยให้นกเปิดเปลือกแล้วกินเนื้อข้างใน ปากเรียวยาวจะพบกับนกที่แมลงเป็นแหล่งอาหารที่ดีที่สุดในเกาะที่ตนอยู่ ซึ่งช่วยให้นกดึงแมลงออกจากซอกเล็ก ๆ ที่มันซ่อนอยู่ นกก็พบด้วยในแผ่นดินใหญ่ โดยเชื่อว่านกได้อพยพไปยังหมู่เกาะแล้วเริ่มปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมผ่านกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

เชิงอรรถและอ้างอิง

แก้
  1. "descent", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (ประชากรศาสตร์) การสืบเชื้อสาย, การสืบสกุล
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Theobald, Douglas L. (2010-05-13). "A formal test of the theory of universal common ancestry". Nature. London: Nature Publishing Group. 465 (7295): 219–222. doi:10.1038/nature09014. ISSN 0028-0836. PMID 20463738.
  3. 3.0 3.1 Steel, Mike; Penny, David (2010-05-13). "Origins of life: Common ancestry put to the test". Nature. London: Nature Publishing Group. 465 (7295): 168–169. doi:10.1038/465168a. ISSN 0028-0836. PMID 20463725.
  4. Wade, Nicholas (2016-07-25). "Meet Luca, the Ancestor of All Living Things". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2016-07-25.
  5. Doolittle, W. Ford (2000-02). "Uprooting the Tree of Life" (PDF). Scientific American. Stuttgart: Georg von Holtzbrinck Publishing Group. 282 (2): 90–95. doi:10.1038/scientificamerican0200-90. ISSN 0036-8733. PMID 10710791. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-09-07. สืบค้นเมื่อ 2015-11-22. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  6. Glansdorff, Nicolas; Ying Xu; Labedan, Bernard (2008-07-09). "The Last Universal Common Ancestor: emergence, constitution and genetic legacy of an elusive forerunner". Biology Direct. London: BioMed Central. 3: 29. doi:10.1186/1745-6150-3-29. ISSN 1745-6150. PMC 2478661. PMID 18613974.
  7. "Age of the Earth". U.S. Geological Survey. 1997. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-12-023. สืบค้นเมื่อ 2006-01-10. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |archivedate= (help)
  8. Dalrymple, G. Brent (2001). "The age of the Earth in the twentieth century: a problem (mostly) solved". Special Publications, Geological Society of London. 190 (1): 205–221. Bibcode:2001GSLSP.190..205D. doi:10.1144/GSL.SP.2001.190.01.14.
  9. Ohtomo, Yoko; Kakegawa, Takeshi; Ishida, Akizumi; และคณะ (2014-01). "Evidence for biogenic graphite in early Archaean Isua metasedimentary rocks". Nature Geoscience. London: Nature Publishing Group. 7 (1): 25–28. Bibcode:2014NatGe...7...25O. doi:10.1038/ngeo2025. ISSN 1752-0894. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  10. Borenstein, Seth (2013-11-13). "Oldest fossil found: Meet your microbial mom". Excite. Yonkers, NY: Mindspark Interactive Network. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 2015-11-22.
  11. Noffke, Nora; Christian, Daniel; Wacey, David; Hazen, Robert M. (2013-12-016). "Microbially Induced Sedimentary Structures Recording an Ancient Ecosystem in the ca. 3.48 Billion-Year-Old Dresser Formation, Pilbara, Western Australia". Astrobiology. New Rochelle, NY: Mary Ann Liebert, Inc. 13 (12): 1103–1124. doi:10.1089/ast.2013.1030. ISSN 1531-1074. PMC 3870916. PMID 24205812. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  12. Darwin 1859, p. 490 : "There is grandeur in this view of life, with its several powers, having been originally breathed into a few forms or into one; and that, whilst this planet has gone cycling on according to the fixed law of gravity, from so simple a beginning endless forms most beautiful and most wonderful have been, and are being, evolved."
  13. Crombie & Hoskin 1970, pp. 62-63
  14. Treasure 1985, p. 142
  15. Harris 1981, p. 107: May we not say that, in the fortuitous combination of the productions of Nature, since only those creatures could survive in whose organizations a certain degree of adaptation was present, there is nothing extraordinary in the fact that such adaptation is actually found in all these species which now exist? Chance, one might say, turned out a vast number of individuals; a small proportion of these were organized in such a manner that the animals' organs could satisfy their needs. A much greater number showed neither adaptation nor order; these last have all perished.... Thus the species which we see today are but a small part of all those that a blind destiny has produced.
  16. Kant 1987, p. 304: "Despite all the variety among these forms, they seem to have been produced according to a common archetype, and this analogy among them reinforces our suspicion that they are actually akin, produced by a common original mother."
  17. Darwin 1818, p. 397 [§ 39.4.8]: [W]ould it be too bold to imagine, that in the great length of time, since the earth began to exist, perhaps millions of ages before the commencement of the history of mankind, would it be too bold to imagine, that all warm-blooded animals have arisen from one living filament, which the great First Cause endued with animality, with the power of acquiring new parts attended with new propensities, directed by irritations, sensations, volitions, and associations; and thus possessing the faculty of continuing to improve by its own inherent activity, and of delivering down those improvements by generation to its posterity, world without end?
  18. Darwin 1859, p. 484: Therefore I should infer from analogy that probably all the organic beings which have ever lived on this earth have descended from some one primordial form, into which life was first breathed.
  19. Knight, Robin; Freeland, Stephen J.; Landweber, Laura F. (2001-01). "Rewiring the keyboard: evolvability of the genetic code". Nature Reviews Genetics. London: Nature Publishing Group. 2 (1): 49–58. doi:10.1038/35047500. ISSN 1471-0056. PMID 11253070. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  20. Than, Ker (2010-05-14). "All Species Evolved From Single Cell, Study Finds". National Geographic News. Washington, D.C.: National Geographic Society. สืบค้นเมื่อ 2011-10-30.
  21. Yonezawa, Takahiro; Hasegawa, Masami (2010-12-016). "Was the universal common ancestry proved?". Nature. London: Nature Publishing Group. 468 (7326): E9. doi:10.1038/nature09482. ISSN 1476-4687. PMID 21164432. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  22. Theobald, Douglas L. (2010-12-016). "Theobald reply". Nature. London: Nature Publishing Group. 468 (7326): E10. doi:10.1038/nature09483. ISSN 1476-4687. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  23. Theobald, Douglas L. (2011-11-24). "On universal common ancestry, sequence similarity, and phylogenetic structure: The sins of P-values and the virtues of Bayesian evidence". Biology Direct. London: BioMed Central. 6 (1): 60. doi:10.1186/1745-6150-6-60. ISSN 1745-6150. PMC 3314578. PMID 22114984.
  24. Theobald, Douglas L. "Prediction 1.3: Consilience of independent phylogenies". 29+ Evidences for Macroevolution: The Scientific Case for Common Descent. Version 2.89. Houston, TX: The TalkOrigins Foundation, Inc. สืบค้นเมื่อ 2009-11-20.
  25. Raven, Evert & Eichhorn 2005, p. 200: "[These vegetables were] all produced from a single species of plant (Brassica oleracea), a member of the mustard family."

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้