การปฏิวัติเบลเยียม

การปฏิวัติเบลเยียม (ฝรั่งเศส: Révolution belge, ดัตช์: Belgische Revolutie/opstand/omwenteling, อังกฤษ: Belgian revolution) เป็นการปฏิวัติแบ่งแยกของจังหวัดแถบใต้ (ส่วนใหญ่มาจากอดีตดินแดนในเนเธอร์แลนด์ใต้) จากสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ จนนำไปสู่การก่อตั้งราชอาณาจักรเบลเยียม

การปฏิวัติเบลเยียม
ส่วนหนึ่งของ การปฏิวัติ ค.ศ. 1830

ภาพเขียน Episode of the Belgian Revolution of 1830 โดยกุสตาฟ วัปเปอร์ส (Gustaf Wappers)
วันที่25 สิงหาคม ค.ศ. 1830 – 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1831
สถานที่
ผล

พันธมิตรฝรั่งเศส-เบลเยียมได้รับชัยชนะ

คู่สงคราม
ผู้ก่อกบฎชาวเบลเยียม
ราชอาณาจักรแห่งชาวฝรั่งเศส
 รัสเซีย
 สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
พระเจ้าเลออปอลที่ 1
ชาร์ลส์ โรฌีเย
เอราสม์ หลุยส์ ซุร์เลต์ เดอ โชกีเย
พระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1
เอเตียน โมรีซ เฌราร์ด
พระเจ้าวิลเลิมที่ 1
เจ้าชายวิลเลิม
เจ้าชายเฟรเดอริก
กำลัง
60,000[1] 50,000[1]

ผู้คนในจังหวัดแถบใต้นั้นประกอบด้วยชาวเฟลมมิช และชาววัลลูน ซึ่งนับถือนิกายคาทอลิกมาแต่เดิม ตรงกันข้ามกับชาวดัตช์ทางเหนือที่นับถือนิกายโปรเตสแตนท์ (คริสตจักรปฏิรูปแห่งดัตช์) เป็นหลัก ทำให้เหล่าผู้คนหัวเสรีนิยมส่วนใหญ่ไม่พอใจกับการถูกกดขี่จากการปกครองในรัชสมัยของพระเจ้าวิลเลิมที่ 1 ซึ่งมีอัตราการว่างงานสูง และเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นในระหว่างชนชั้นแรงงานอยู่เสมอ[2]

เมื่อ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1830 ได้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบครั้งใหญ่ขึ้นในกรุงบรัสเซลส์ โดยมีแนวร่วมเป็นผู้นิยมอุปรากรเรื่อง ลา มูเอ็ต เดอ ปอร์ตีชี (La muette du Portici) ซึ่งเข้าร่วมก่อการ และต่อมาได้มีการชุมนุมเกิดขึ้นทั่วประเทศ โรงงานอุตสาหกรรมได้ถูกยึดครองและเครื่องจักรต่างๆ ถูกทำลาย ต่อมาพระเจ้าวิลเลิมที่ 1ได้ส่งกองทัพเข้าตรึงกำลังรักษาความสงบในจังหวัดแถบใต้แต่ก็ไม่สามารถทัดทานกลุ่มผู้ต่อต้านซึ่งนำโดยผู้นำหัวรุนแรงเริ่มพูดถึงการแบ่งแยกดินแดนขึ้น[3]

ในขณะนั้นกองทัพดัตช์ได้พบการหนีทหารครั้งใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยทหารจากจังหวัดแถบใต้ ซึ่งต่อมาสภาที่กรุงบรัสเซลส์ได้มีมติรับรองการแบ่งแยกดินแดน และประกาศอิสรภาพ โดยได้มีการจัดตั้งรัฐสภาแห่งชาติ (National Congress) ขึ้น ทำให้พระเจ้าวิลเลิมที่ 1ได้หยุดการดำเนินการทางทหาร และหันไปหามหาอำนาจเพื่อช่วยยุติความไม่สงบในครั้งนี้ ทว่าในการประชุมลอนดอน ค.ศ. 1830 ประเทศมหาอำนาจในยุโรปได้มีมติรับรองการแบ่งแยกดินแดนของเบลเยียม และรับรองสถานะความเป็นเอกราชของเบลเยียมโดยสมบูรณ์

ต่อมาในปีค.ศ. 1831 ภายหลังจากการสถาปนาพระเจ้าเลออปอลที่ 1 ขึ้นเป็น "พระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียม" พระเจ้าวิลเลิมที่ 1ได้มีความพยายามทำปฏิบัติการทางการทหารเพื่อยึดดินแดนคืน หรือรู้จักกันในชื่อ "ยุทธการสิบวัน" (Ten Days' Campaign) ซึ่งล้มเหลวโดยสิ้นเชิงจากการเข้าแทรกแทรงช่วยเหลือจากกองทัพฝรั่งเศสในขณะนั้น และต่อมาในที่สุดก็ยอมรับรองอิสรภาพให้เบลเยียมในปีค.ศ. 1839 ภายหลังจากการลงนามในสนธิสัญญาลอนดอน

สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ แก้

 
เนเธอร์แลนด์, เบลเยียม, ลักเซมเบิร์ก และลิมเบิร์ก ในค.ศ. 1839
1, 2 and 3 หราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (จนกระทั่งค.ศ. 1830)
1 and 2 ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (หลังค.ศ. 1830)
2 ดัชชีลิมเบิร์ก (1839–1867) (ตกเป็นของสมาพันธรัฐเยอรมันตั้งแต่ค.ศ. 1839 เพื่อแลกเปลี่ยนกับ Waals-Luxemburg)
3 and 4 ราชอาณาจักรเบลเยียม (หลังค.ศ. 1830)
4 and 5 ราชรัฐลักเซมเบิร์ก (จนถึงค.ศ. 1830)
4 มณฑลลักเซมเบิร์ก (Waals-Luxemburg ผนึกเข้ากับเบลเยียมในปีค.ศ. 1839)
5 ราชรัฐลักเซมเบิร์ก (German Luxemburg แบ่งในปีค.ศ. 1839)
สีฟ้าเปนเส้นพรมแดนกับสมาพันธรัฐเยอรมัน

ภายหลังจากการพ่ายแพ้ของนโปเลียนในยุทธการที่วอเตอร์ลูในปีค.ศ. 1815 มติการประชุมใหญ่แห่งเวียนนาทำให้มีการก่อตั้งราชอาณาจักรของราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซาโดยรวมดินแดนของสาธารณรัฐดัตช์เข้ากับดินแดนเก่าของออสเตรียนเนเธอร์แลนด์โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นรัฐกันชนทางตอนเหนือของฝรั่งเศส

มูลเหตุในการปฏิวัติ แก้

มูลเหตุในการปฏิวัตินั้นมาจากหลายเหตุการณ์ ส่วนสำคัญได้แก่ความแตกต่างทางศาสนา (โรมันคาทอลิกในเบลเยียม และโปรเตสแตนท์ในเนเธอร์แลนด์) รวมถึงการขาดการแบ่งแยกอำนาจที่สมดุลเพื่อปกครองตนเองของจังหวัดแถบใต้

ตัวแปรอื่นๆ ซึ่งมีความสำคัญอันเป็นมูลเหตุในการปฏิวัติ ได้แก่

  • สัดส่วนที่ไม่สมดุลของชาวเบลเยียมในสภาผู้แทน (ประชากรเบลเยียมคิดเป็น 62% แต่ได้ถูกจำกัดที่นั่งเพียง 50%)[4]
  • ส่วนราชการต่างๆ ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือ มีเพียงรัฐมนตรีคนเดียวจากสี่คนที่เป็นชาวเบลเยียม และในฝ่ายบริหารก็มีชาวดัตช์มากกว่าเบลเยียมกว่าสี่เท่าตัว[5] ภาคเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองส่วนใหญ่ของประเทศทั้งหมดถูกขับเคลื่อนโดยชาวดัตช์เป็นหลัก
  • หนี้สาธารณะของภาคเหนือ (ซึ่งสูงกว่าภาคใต้) ซึ่งจะต้องรับผิดชอบโดยภาคใต้เท่าๆ กัน[5] โดยจำนวนหนี้แรกเริ่มนั้นมีประมาณ 1.25 ล้านกิลเดอร์สำหรับภาคเหนือ และเพียง 100 ล้านกิลเดอร์สำหรับภาคใต้
  • การที่พระเจ้าวิลเลิมที่ 1ได้จัดการการศึกษา รวมถึงการก่อสร้างโรงเรียน การควบคุมความสามารถของครูและอาจารย์ รวมทั้งการสร้างมหาวิทยาลัยรัฐอีกสามแห่ง โดยให้ปกครองโดยขึ้นกับรัฐอย่างเบ็ดเสร็จ ซึ่งทำให้เหล่าชาวคาทอลิกไม่พึงพอใจ[6]
  • จำนวนทหารชั้นประทวนมีสัดส่วนของชาวเบลเยียมมากเกิน ตรงกันข้ามกับจำนวนนายทหารที่เป็นชาวเบลเยียม ส่วนใหญ่เป็นนายทหารที่เคยสังกัดกองทัพฝรั่งเศส หรือกองทัพอังกฤษ โดยมีเพียงหนึ่งในหกคนของนายทหารจะมาจากภาคใต้ จึงทำให้กำลังทหารเบลเยียมส่วนใหญ่ถูกกำกับและบัญชาการโดยนายทหารที่ไม่ได้มาจากเนเธอร์แลนด์ใต้ นอกจากนั้น ได้มีการบังคับภาษาดัตช์เป็นภาษาราชการที่ใช้ทางการทหารตั้งแต่ปีค.ศ. 1823 ซึ่งเป็นการเพิ่มการถูกแบ่งแยกของชาววัลลูนซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นหลัก
  • ความไม่พึงพอใจจากการไม่เท่าเทียมกันในเสรีภาพของสื่อ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมชาวใต้
  • ความไม่พึงพอใจของเจ้าของกิจการ และธุรกิจชาวเบลเยียมต่อนโยบายการค้าเสรีในช่วงปีค.ศ. 1827 เป็นต้นมา การแบ่งแยกฝรั่งเศสทำให้อุตสาหกรรมทางแถบใต้เสียโอกาสจำนวนมาก ในขณะที่ประเทศอาณานิคมในอินเดียตะวันออกซึ่งกำลังเข้าสู่สภาวะกบฎอย่างต่อเนื่อง และมีการแข่งขันของสินค้าที่ผลิตจากอังกฤษเป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อมาผลิตภัณฑ์ของอังกฤษซึ่งมีราคาถูกกว่าได้เข้ามาทดแทนผลิตผลทางการเกษตรของชาวใต้ อีกทั้งยังได้รับความนิยมจากชาวเหนือเป็นอย่างมาก
  • การปฏิรูปทางภาษาในปีค.ศ. 1823 ทำให้ภาษาดัตช์กลายเป็นภาษาราชการในเขตเฟลมิช ซึ่งการปฏิรูปครั้งนี้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงและได้รับการต่อต้านจากชนชั้นสูงซึ่งส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศสถึงแม้จะอยู่ในแฟลนเดอส์ หรือวัลลูน รวมถึงชาวเฟลมิชเองซึ่งในขณะนั้นไม่ได้ใช้ภาษาดัตช์กลางในการสื่อสาร ในที่สุดเมื่อ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1830 การปฏิรูปภาษาในครั้งนี้ได้ถูกยุติลง
  • ชาวอนุรักษ์นิยมทางเนเธอร์แลนด์เหนือได้ทำการผลักดันให้นิกายโปรเตสแตนท์เป็นศาสนาประจำเนเธอร์แลนด์ ในขณะที่ชาวเบลเยียมต้องการผลักดันนิกายโรมันคาทอลิกให้เป็นศาสนาประจำชาติแทน ในขณะนั้นทั้งสองนิกายได้แสดงความไม่พอใจต่ออีกนิกายหนึ่งอย่างมาก จนกระทั่งปีค.ศ. 1821 รัฐบาลได้แสดงการยกเว้นชาวคาทอลิกในกฎหมายพื้นฐาน (Basic Law) เพื่อที่จะคงความเป็นโปรเตสแตนท์ไว้โดยเฉพาะในประเด็นของการคัดเลือกข้าราชการเข้าทำงาน อนึ่ง พระเจ้าวิลเลิมที่ 1ซึ่งเชื่อมั่นในนิกายเยอรมันลูเทอแรน ซึ่งให้กษัตริย์เป็นผู้นำทางศาสนา โดยพระองค์ต้องการท้าทายอำนาจของพระสันตะปาปาต่อนิกายโรมันคาทอลิก ผ่านทางการแต่งตั้งบิชอป


อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 A Global Chronology of Conflict: From the Ancient World to the Modern Middle East, by Spencer C. Tucker, 2009, p. 1156
  2. E.H. Kossmann, The Low Countries 1780-1940 (1978) pp 151-54
  3. Paul W. Schroeder, The Transformation of European Politics 1763-1848 (1994) pp 671-91
  4. Jacques Logie, De la régionalisation à l'indépendance, 1830, Paris-Gembloux, éditions Duculot, 1980, 248 p. (ISBN 2-8011-0332-2), p. 13
  5. 5.0 5.1 Jacques Logie, op. cit., p. 12
  6. Jacques Logie, op. cit., p. 14-15.