การทัพสิบวัน

(เปลี่ยนทางจาก ยุทธการสิบวัน)

การทัพสิบวัน (ดัตช์: Tiendaagse veldtocht; ฝรั่งเศส: campagne des Dix-Jours) เป็นความล้มเหลวทางการทหารของฝ่ายกองทัพสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ต่อกองกำลังแบ่งแยกดินแดนชาวเบลเยียม เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 2–12 สิงหาคม ค.ศ. 1831[1] การทัพนี้เป็นความพยายามของพระเจ้าวิลเลิมที่ 1 แห่งเนเธอร์แลนด์ที่จะหยุดการปฏิวัติเบลเยียมที่เกิดขึ้นในปีก่อนหน้า (ค.ศ. 1830)

การทัพสิบวัน
ส่วนหนึ่งของ เหตุการณ์สืบเนื่องจากการปฏิวัติเบลเยียม

ภาพเขียนแสดงเจ้าชายแห่งออเรนจ์นำกองทัพดัตช์ในยุทธการที่ราเฟิลส์ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1831
วันที่2–12 สิงหาคม ค.ศ. 1830
สถานที่
ผล

กองทัพเบลเยียมได้รับชัยชนะ

  • ความพ่ายแพ้ของกองทัพเบลเยียม แต่กองทัพดัตช์ต้องถอนทหารเนื่องจากกองทัพฝรั่งเศสเข้าร่วมสงครามกับเบลเยียม
  • การยอมรับในสนธิสัญญาสิบแปดข้อโดยพฤตินัย
  • การสู้รบในยุทธการที่แอนต์เวิร์ปต่อมาใน ค.ศ. 1832
  • เนเธอร์แลนด์สามารถยึดดินแดนคืนได้ แต่ไม่สามารถหยุดยั้งคลื่นการปฏิวัติได้
คู่สงคราม

เบลเยียม

สมทบโดย:
ฝรั่งเศส
 สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
พระเจ้าเลออปอลที่ 1
เอเตียน มอริส เฌราร์
พระเจ้าวิลเลิมที่ 1
เจ้าชายวิลเลิม
กำลัง
เบลเยียม: 24,000 คน[1]
ฝรั่งเศส: 70,000 คน[2]
50,000 คน
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 91 คน และ
บาดเจ็บ 453 คน[3]
เสียชีวิต 112 คน และ
บาดเจ็บ 457 คน[3]

กองทัพดัตช์ได้เข้ารุกรานเบลเยียมในวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1831 และได้มีชัยชนะเหนือกองกำลังเบลเยียมในหลายยุทธการในไม่กี่วันต่อ มา โดยสามารถรุกคืบเข้าไปในดินแดนของเบลเยียมได้พอสมควร ต่อมาในวันที่ 8 สิงหาคม รัฐบาลเบลเยียมได้ยื่นขอความช่วยเหลือทางการทหารจากรัฐบาลฝรั่งเศส กองทัพฝรั่งเศสซึ่งนำโดยจอมพลเอเตียน มอริส เฌราร์ ได้ส่งกองทัพเข้ามาช่วย เมื่อกองทัพดัตช์รู้ข่าวความช่วยเหลือของฝรั่งเศสก็ถอนทัพออกไปทันที ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1832 ในยุทธการแอนต์เวิร์ป กองทัพฝรั่งเศสได้เข้าปิดล้อมและยึดเมืองแอนต์เวิร์ปซึ่งเป็นศูนย์สั่งสมกำลังของกองทัพดัตช์แห่งสุดท้ายในเบลเยียม จึงเป็นการสิ้นสุดของสงครามระหว่างสองประเทศลงโดยปริยาย

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Pirenne 1948, p. 32.
  2. "1830-1831 The Belgian Revolution". Timeline Dutch History. Rijksmuseum. สืบค้นเมื่อ 3 August 2016.
  3. 3.0 3.1 Pirenne 1948, p. 34.