กองทัพปลดปล่อยชาติกะเหรี่ยง

กองทัพปลดปล่อยชาติกะเหรี่ยง (อังกฤษ: Karen National Liberation Army; พม่า: ကေအင်အယ်လ်အေ ငြိမ်းချမ်းရေးကောင်စီ) เป็นหน่วยงานทางทหารของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง หลังจากที่พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1948 ได้เกิดความตึงเครียดระหว่างชาวกะเหรี่ยงกับพม่า ชาวกะเหรี่ยงส่วนหนึ่งต้องการเอกราช อีกส่วนหนึ่งต้องการอยู่กับพม่าต่อไป ความตึงเครียดนี้นำไปสู่สงครามประชาชนในรัฐกะเหรี่ยง รัฐบาลพม่าปราบปรามกลุ่มต่อต้านด้วยความรุนแรง ผู้นำกองกำลังทหารของกะเหรี่ยงถูกจับกุมและแทนที่ด้วยนายทหารพม่าที่มีแนวคิดหัวรุนแรงในการต่อต้านกะเหรี่ยงคือนายพลเน วิน ผลของการปราบปรามนี้ทำให้ชาวกะเหรี่ยงหันมาต่อต้านรัฐบาลพม่า และนำไปสู่การรวมตัวจัดตั้งกลุ่มการเมืองเพื่อเรียกร้องเอกราชในที่สุด

กองทัพปลดปล่อยชาติกะเหรี่ยง
มีส่วนร่วมในความขัดแย้งภายในพม่า
ธงกองทัพปลดปล่อยชาติกะเหรี่ยง
ปฏิบัติการพ.ศ. 2492 – ปัจจุบัน
แนวคิดชาตินิยมกะเหรี่ยง
การกำหนดการปกครองด้วยตนเอง
ระบอบสหพันธรัฐ
ผู้นำพลเอก Saw Johnny
พลโท Saw Baw Kyaw Heh
กองพลน้อยที่ 1 - พลจัตวา Saw Soe Myit Htway
กองพลน้อยที่ 2 - พลจัตวา Saw Augustin
กองพลน้อยที่ 3 - พลจัตวา Saw Lay Traw
กองพลน้อยที่ 4 - พลจัตวา Saw
กองพลน้อยที่ 5 - พลจัตวา Saw Gee Nwee
กองพลน้อยที่ 6 - พลจัตวา Saw Ner Dah Htoo
กองพลน้อยที่ 7 - พลจัตวา Saw Dee Kweh
กองบัญชาการเลย์วา
มาเนอปลอว์ (จนถึง 2538)
พื้นที่ปฏิบัติการรัฐกะยา
รัฐกะเหรี่ยง
ภาคตะนาวศรี
ภาคพะโค
รัฐมอญ[1]
ชายแดนพม่า–ไทย
ส่วนหนึ่งของ สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง
พันธมิตร
ปรปักษ์ระดับรัฐ

ไม่ใช่รัฐ

การสู้รบและสงครามความขัดแย้งภายในพม่า

ในการต่อสู้ช่วงแรก ๆ กองทัพกะเหรี่ยงมีชัยชนะในทางภาคเหนือของพม่า เข้ายึดครองเมืองมัณฑะเลย์ได้ แต่ผลจากการที่ไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างพอเพียง จึงต้องถอนกำลังกลับไปยังภาคตะวันออกเฉียงใต้ของพม่า นับจากเวลานั้น กองทัพปลดปล่อยชาติกะเหรี่ยงยังคงต่อสู้เพื่อเอกราชของรัฐกะเหรี่ยงต่อไป โดยมีฐานที่มั่นอยู่ทางตะวันออกของพม่าใกล้แนวชายแดนไทย ซึ่งเป็นบริเวณที่มีชาวกะเหรี่ยงอยู่เป็นจำนวนมาก

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "KNU and NMSP agree to temporary ceasefire". The Myanmar Times (ภาษาอังกฤษ). 14 มีนาคม 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 เมษายน 2021. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2018.
  2. "Intense clash in Mese, Karenni State". Democratic Voice of Burma (ภาษาพม่า). 20 มิถุนายน 2023.
  3. "The 4K, the clash in Mese, and the military movement of Karenni State". People's Spring (ภาษาพม่า). 20 มิถุนายน 2023.
  4. "The Emergence of the ULA/AA and Question of the Rohingya Crisis". Transnational Institute. 26 มกราคม 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2023. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2023.
  5. "Message from Lieutenant General Bao Jue Hai, Deputy Commander of the Karen National Liberation Army, to the Graduation Ceremony of the Burmese People's Liberation Army". iNEWS. 8 เมษายน 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2022.
  6. "PRA Magway". IPS Myanmar Peace Desk. 22 มีนาคม 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กรกฎาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2022.
  7. "Pyusawhti militia". Myanmar NOW. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 พฤษภาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้