ไทเป

เมืองหลวงของไต้หวัน
(เปลี่ยนทางจาก กรุงไทเป)

ไทเป หรือ ไถเป่ย์ (จีน: 臺北; พินอิน: Táiběi) เป็นเมืองหลวง[a]ของสาธารณรัฐจีนหรือประเทศไต้หวัน มีฐานะเป็นนครภายใต้การปกครองโดยตรงของรัฐบาลกลาง ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของไต้หวัน อยู่ห่างจากเมืองท่าที่อยู่ทางเหนือ ซึ่งคือนครจีหลง ไปประมาณ 25 กิโลเมตร (16 ไมล์) อาณาเขตของนครไทเปถูกล้อมรอบด้วยนครซินเป่ย์ (นครไทเปใหม่) พื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองตั้งอยู่บนแอ่งไทเป ซึ่งเป็นก้นทะเลสาบโบราณ แอ่งไทเปล้อมรอบด้วยหุบเขาที่ค่อนข้างแคบของแม่น้ำจีหลงและแม่น้ำซินเตี้ยน ซึ่งรวมกันเป็นแม่น้ำตั้นฉุ่ยที่ไหลไปตามแนวพรมแดนด้านตะวันตกของเมือง[7]

นครไทเป


ไถเป่ย์, ไทโฮกุ, ไต่ปั่ก
ตามเข็มนาฬิกาจากภาพบนสุด: วิวทิวทัศน์ของเมืองไทเปพร้อมด้วยตึกไทเป 101, โรงแรมแกรนด์โฮเต็ล, สถานีรถไฟฟ้าเจี้ยนถัน, พิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติไต้หวัน, อนุสรณ์สถานเจียงไคเชก, ทำเนียบประธานาธิบดี
ธงของนครไทเป
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของนครไทเป
โลโก้
ที่มาของชื่อ: เวด-ไจลส์: Tʻai²-pei³; แปลตรงตัว: "ทิศเหนือของไต้หวัน"
สมญา: 
แผนที่
ที่ตั้งของนครไทเป
นครไทเปตั้งอยู่ในไต้หวัน
นครไทเป
นครไทเป
นครไทเปตั้งอยู่ในทวีปเอเชีย
นครไทเป
นครไทเป
นครไทเปตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก
นครไทเป
นครไทเป
พิกัด: 25°04′N 121°31′E / 25.067°N 121.517°E / 25.067; 121.517พิกัดภูมิศาสตร์: 25°04′N 121°31′E / 25.067°N 121.517°E / 25.067; 121.517
ประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
ตั้งถิ่นฐานเมื่อ1709
ศูนย์กลางเขตซิ่นอี้
เขต
การปกครอง
 • องค์กร
  • องค์การบริหารนครไทเป
  • สภานครไทเป
 • นายกเทศมนตรีเจี่ยง วั่นอัน (ก๊กมินตั๋ง)
พื้นที่[1][2]
 • นครปกครองโดยตรง271.80 ตร.กม. (104.94 ตร.ไมล์)
 • พื้นน้ำ2.7 ตร.กม. (1.0 ตร.ไมล์)  1.0%
 • เขตเมือง1,140 ตร.กม. (440 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่16 จาก 22
ประชากร
 (ตุลาคม 2019)
 • นครปกครองโดยตรง2,646,204 คน
 • อันดับ4 จาก 22
 • ความหนาแน่น9,700 คน/ตร.กม. (25,000 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง[3]8,535,000 คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง7,500 คน/ตร.กม. (19,000 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+8 (มาตรฐานไต้หวัน)
รหัสไปรษณีย์100–116
รหัสพื้นที่(0)2
รหัส ISO 3166TW-TPE
สัญลักษณ์ 
นกขุนแผนไต้หวัน[4] (Urocissa caerulea)
ดอกไม้กุหลาบพันปี (Rhododendron nudiflorum)
ต้นไม้บันยัน (India laurel fig, Ficus microcarpa)
เว็บไซต์english.gov.taipei แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ (ในภาษาอังกฤษ)
นครไทเป
"ไทเป" เขียนด้วยอักษรจีนตัวเต็ม (บน) และตัวย่อ (ล่าง)
อักษรจีนตัวเต็ม臺北
อักษรจีนตัวย่อ台北
ความหมายตามตัวอักษร"ทิศเหนือของไถ[วาน]"
ตึกไทเป 101

ไทเปมีประชากรประมาณ 2,646,204 คน (2019)[8] เป็นศูนย์กลางของเขตมหานครไทเป–จีหลง ซึ่งประกอบกับเมืองข้างเคียง ได้แก่ นครซินเป่ย์ (นครไทเปใหม่) และนครจีหลง ประชากรรวมทั้งสิ้น 7,047,559 คน[8][9] ซึ่งเป็นพื้นที่เมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 40 ในโลก โดยประมาณหนึ่งในสามของพลเมืองไต้หวันอาศัยอยู่ในเขตเมืองใหญ่ คำว่า "ไทเป" อาจหมายถึงเขตมหานครทั้งหมดหรือเฉพาะตัวเมืองก็ได้

ไทเปเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา และวัฒนธรรมของไต้หวัน นอกจากนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของเขตอุตสาหกรรมไฮเทคที่สำคัญอีกด้วย[10] ไทเปมีสนามบินให้บริการสองแห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานไทเปซงชาน และท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถา-ยฺเหวียน ไทเปเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมต่าง ๆ เช่น ไทเป 101, หอรำลึกเจียงไคเช็ก, วัดต้าหลงตง เป่าอัน, วัดซิงเทียน, วัดหลงซาน, พิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติ, อาคารทำเนียบประธานาธิบดี, ไทเปเกสต์เฮาส์, ย่านการค้าซีเหมินติง และตลาดกลางคืนอีกหลายแห่งที่ตั้งอยู่กระจัดกระจายไปทั่วเมือง และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น เมาคง, หยานหมิงชาน, และพุน้ำร้อน

ในรายงานข่าว คำว่า ไทเป มักทำหน้าที่เป็นคำเปรียบเทียบซึ่งหมายถึงรัฐบาลกลางของไต้หวัน ซึ่งคล้ายกับคำว่า ปักกิ่ง เมื่อกล่าวถึงรัฐบาลกลางบนจีนแผ่นดินใหญ่ เนื่องจากสถานะทางการเมืองที่ไม่ชัดเจนของไต้หวันในระดับสากล คำว่า จีนไทเป จึงมักถูกใช้เป็นคำพ้องความหมายในการเรียกไต้หวันทั้งประเทศ อย่างในกรณีเมื่อผู้แทนรัฐบาลของไต้หวันเข้าร่วมในองค์การระหว่างประเทศ หรือนักกีฬาของไต้หวันเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ

ที่มาของชื่อ แก้

การสะกดคำว่าไทเปในอักษรโรมัน Taipei และ Tʻai-pei ได้รับมาจากการถอดเป็นอักษรโรมันแบบเวด-ไจลส์ Tʻai²-pei³[11] ซึ่งในภาษาจีนหมายถึง ทิศเหนือของไต้หวัน ชื่อนี้ยังสามารถสะกดด้วยอักษรโรมันเป็น Táiběi ตามระบบฮั่นยฺหวี่พินอินและทงย่งพินอิน[12][13][14]

จักรวรรดิญี่ปุ่นเข้ายึดครองไต้หวันในปี 1895 ภายใต้สนธิสัญญาชิโมโนเซกิหลังสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง ทำให้ไต้หวันกลายเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยมี Taihoku [ไทโฮกุ] (เดิมเรียก Taipeh-fu [ไทเป-ฟุ]) เป็นเมืองหลวง

เมืองนี้ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ Tai-pak [ไถปัก][15][16] (มาจากภาษาฮกเกี้ยนไต้หวัน) และ Taipeh[17][18]

เขตการปกครอง แก้

นครไทเปแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 เขต (; ; ชวี)[19] แต่ละเขตแบ่งย่อยออกเป็น หมู่บ้านในเมือง หรือ ชุมชน (; ; หลี่) ซึ่งแบ่งย่อยลงไปอีกเป็น ละแวก หรือ ย่าน (; lín; หลิน) เขตที่เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของเทศบาลนครไทเป คือ เขตซิ่นอี้

แผนที่
ชื่อเขต ประชากร
(ม.ค. 2016)
พื้นที่
(ตร.กม.)
รหัส
ไปรษณีย์
ทับศัพท์
อักษรไทย
อักษรจีน[20] พินอิน เวด-ไจลส์ เป่อ่วยจี
เขตเป่ย์โถว 北投區 Běitóu Pei-t'ou Pak-tâu 257,922 56.8216 112
เขตต้าอาน 大安區 Dà'ān Ta-an Tāi-an 312,909 11.3614 106
เขตต้าถง 大同區 Dàtóng Ta-t'ung Tāi-tông 131,029 5.6815 103
เขตหนานก่าง 南港區 Nángǎng Nan-kang Lâm-káng 122,296 21.8424 115
เขตเน่ย์หู 內湖區 Nèihú Nei-hu Lāi-ô͘ 287,726 31.5787 114
เขตชื่อหลิน 士林區 Shìlín Shih-lin Sū-lîm 290,682 62.3682 111
เขตซงชาน 松山區 Sōngshān Sung-shan Siông-san 209,689 9.2878 105
เขตว่านหัว 萬華區 Wànhuá Wan-hua Báng-kah 194,314 8.8522 108
เขตเหวินชาน 文山區 Wénshān Wen-shan Bûn-san 275,433 31.5090 116
เขตซิ่นอี้ 信義區 Xìnyì Hsin-yi Sìn-gī 229,139 11.2077 110
เขตจงชาน 中山區 Zhōngshān Chung-shan Tiong-san 231,286 13.6821 104
เขตจงเจิ้ง 中正區 Zhōngzhèng Chung-cheng Tiong-chèng 162,549 7.6071 100

หมายเหตุ แก้

คำในภาษาพื้นเมือง แก้

อื่น ๆ แก้

  1. รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐจีนไม่มีบทบัญญัติในการกำหนดให้เมืองใด ๆ รวมถึงไทเป เป็นเมืองหลวงโดยนิตินัย อย่างไรก็ตาม ไทเปได้ถูกกำหนดโดยรัฐกฤษฎีกาให้เป็นที่ตั้งอย่างเป็นทางการของรัฐบาลกลาง ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ไทเปเป็นเมืองหลวงโดยพฤตินัยของสาธารณรัฐจีน[5][6]

อ้างอิง แก้

  1. 《中華民國統計資訊網》縣市重要統計指標查詢系統網 (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2016. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016.
  2. "Demographia World Urban Areas PDF" (PDF). Demographia. April 2016. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2018. สืบค้นเมื่อ 6 June 2016.
  3. "Demographia World Urban Areas PDF" (PDF). Demographia. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2018. สืบค้นเมื่อ 2019-11-30.
  4. "ขุนแผนไต้หวัน". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. Tseng Ying-yu, Sofia Wu (4 December 2013). "Taipei is Republic of China's capital, minister said". Central News Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 October 2021. สืบค้นเมื่อ 13 October 2021.
  6. "Since the implementation of the Act Governing Principles for Editing Geographical Educational Texts (地理敎科書編審原則) in 1997, the guiding principle for all maps in geographical textbooks was that Taipei was to be marked as the capital with a label stating: "Location of the Central Government"". 4 December 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2019. สืบค้นเมื่อ 1 November 2019.
  7. "Taipei City Government: Home – I. Geographic Overview". Taipei City Government. 23 October 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2013. สืบค้นเมื่อ 4 August 2009.
  8. 8.0 8.1 鄉鎮市區人口及按都會區統計. Taiwan Ministry of Interior. December 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2013. สืบค้นเมื่อ 11 December 2016.
  9. "Methods and Term Definitions". Directorate General of Budget, Accounting and Statistics. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2018. สืบค้นเมื่อ 4 August 2009.
  10. "Taiwan tech industry faces up to South Korea's Samsung". The Seattle Times. April 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2017. สืบค้นเมื่อ 25 August 2017.
  11. Skinner, G. William (1973). Modern Chinese society:an analytical bibliography. Stanford University Press. p. 55. ISBN 0-8047-0753-7.
  12. "Taiwan place names". Pīnyīn.info (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน และ อังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 15 September 2020.
    鄉鎮市區別 Hanyu Pinyin (recommended) Hanyu Pinyin (with tones) Tongyong Pinyin old forms
    ...
    台北市 Taibei Táiběi Taibei Taipei
  13. Eryk Smith (27 November 2017). "OPINION: Hanyu Pinyin Should Not Be Political, Kaohsiung". สืบค้นเมื่อ 15 September 2020. The capital will not see its name re-christened "Taibei" anytime soon and that's fine
  14. Elana Shohamy, Durk Gorter, บ.ก. (2009). Linguistic Landscape: Expanding the Scenery. Routledge. p. [1]. ISBN 978-0-203-93096-0. However, I do use the commonly rendered "Taipei," instead of "Taibei" (Táiběi).
  15. William Campbell (1915). Sketches from Formosa. p. 82 – โดยทาง Internet Archive. No sooner had the Governor-General at Tai-pak received telegraphic information of the magnitude of the calamity, than instruction were issued for a large company of surgeons, nurses, and assistants to proceed at once to Ka-gi.
  16. "Tai-pak". The Free Dictionary. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2015. สืบค้นเมื่อ 23 November 2019. Taipei (redirected from Tai-pak)
  17. Alice Ballantine Kirjassoff (March 1920). "FORMOSA THE BEAUTIFUL". National Geographic Magazine. Vol. 37 no. 3. pp. 257, 262. I boarded a train for Taihoku, the capital city, which on most maps still bears its old Chinese name of Taipeh.{...}Taihoku (Taipeh)
  18. "Taipeh". The Free Dictionary. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2019. สืบค้นเมื่อ 23 November 2019. Noun 1. Taipeh - the capital of Nationalist ChinaTaipeh - the capital of Nationalist China; located in northern Taiwan
  19. "Administrative Districts". Taipei City Government. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 July 2010. สืบค้นเมื่อ 11 July 2010.
  20. 臺北行政區 [Taipei Administrative Divisions] (ภาษาจีนตัวเต็ม). 臺北市政府全球資訊網. 20 February 2019. สืบค้นเมื่อ 30 March 2019. 現劃分12行政區,{...}北投區公所 士林區公所 中山區公所 內湖區公所 大同區公所 松山區公所 萬華區公所 中正區公所 大安區公所 信義區公所 南港區公所 文山區公所

แหล่งข้อมูลอื่น แก้