กรณีพิพาทชื่ออินเดีย

กรณีพิพาทชื่ออินเดีย ใน ค.ศ. 1947 เป็นการโต้แย้งเรื่องการใช้ชื่อ "อินเดีย" ที่เกิดขึ้นในระหว่างและภายหลังการแบ่งบริติชราช ระหว่างประเทศปากีสถานกับสาธารณรัฐอินเดีย[1] โดยมีบุคคลสำคัญจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทนี้ เช่น ลอร์ดเมานต์แบ็ตเทน อุปราชองค์สุดท้ายของบริติชราช และมูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ ผู้นำสันนิบาตมุสลิมและผู้ก่อตั้งประเทศปากีสถาน[หมายเหตุ 1] ภายในปี ค.ศ. 1947 บริติชราชได้แบ่งออกเป็นสองรัฐชาติใหม่ ได้แก่ ฮินดูสถานและปากีสถาน[หมายเหตุ 2][4] ในตอนแรก จินนาห์เชื่อมั่นว่าฮินดูสถานจะไม่ใช้ชื่อ "อินเดีย" ตั้งแต่ฮินดูสถานมิได้เป็นที่ตั้งของพื้นเพเดิมของชื่ออีกต่อไป เนื่องจากคำว่า "อินเดีย" ในทางนิรุกติศาสตร์และประวัติศาสตร์ หมายถึง หุบเขาสินธุ (ประเทศปากีสถานสมัยใหม่)[หมายเหตุ 3][5] เขายังคัดค้านการใช้ชื่อ "อินเดีย" ของสาธารณรัฐอินเดียใหม่[หมายเหตุ 4] เพราะจะทําให้เกิดความสับสนทางประวัติศาสตร์[6] ข้อพิพาทนี้มีความหมายอย่างมีนัยสําคัญต่อเอกลักษณ์ประจําชาติและการรับรองระหว่างประเทศ[7][8]

ลอร์ดเมานต์แบ็ตเทน อุปราชแห่งอินเดีย พร้อมด้วยภริยา เข้าพบมูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ หนึ่งในบิดาผู้ก่อตั้งประเทศปากีสถาน

ที่มาของชื่อ

แก้

ชื่อ "อินเดีย" มีที่มาจากคำกรีกโบราณว่า Ἰνδική (Indikē) หรือ Ἰνδία (Indía) โดยทับศัพท์เป็นอักษรละตินได้เป็น India[9] โดยในอดีตชื่อนี้มีความหมายว่าดินแดนแห่งแม่น้ำสินธุ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศปากีสถานและเป็นแม่น้ำประจำชาติ[10][11][12]

 
ชื่อ Hindūš (𐏃𐎡𐎯𐎢𐏁) ในอักษรรูปลิ่มเปอร์เซียโบราณบนจารึกของดาไรอัสมหาราช (ประมาณ 490 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งหมายถึงหุบเขาสินธุตอนล่าง (แคว้นสินธ์) ในปากีสถานโบราณ

ชื่อ "อินเดีย" ในท้ายที่สุดมาจากศัพท์ในภาษาสันสกฤต คือ Sindhu ซึ่งใช้เรียกแม่น้ำสินธุและที่ราบลุ่มน้ําสินธุตอนล่าง (แคว้นสินธ์ ประเทศปากีสถาน)[10][13] ส่วนในภาษาเปอร์เซียเก่ามีศัพท์ที่ใช้เรียก Síndhu ว่า Hindu[14] ในช่วงที่ดาไรอัสมหาราชทรงพิชิตแคว้นสินธ์เมื่อราว 516 ปีก่อนคริสต์ศักราช คำว่า Hinduš ในภาษาเปอร์เซียจึงถูกใช้เพื่อเรียกพื้นที่ราบลุ่มน้ำสินธุตอนล่างในปากีสถานโบราณ[15] ซกือลักซ์แห่งการ์ยันดา (Scylax of Caryanda) ผู้ที่สำรวจแม่น้ำสินธุให้จักรพรรดิเปอร์เซีย ได้ใช้ชื่อในภาษาเปอร์เซีย Hinduš สำหรับเรียกดินแดนบริเวณนี้ และได้ส่งผ่านศัพท์สู่ภาษากรีก[16] โดยคำว่า Indos (Ἰνδός) ที่ใช้เรียกแม่น้ำสินธุ และคำว่า Indian มีการค้นพบในนิพนธ์ของเฮอกาเทริอุสแห่งมีลีทัส (Hecataeus of Miletus) และในภูมิศาสตร์ของเฮอรอโดทัส[17] ซึ่งการหายไปของเสียง /h/ อาจเกิดจากภาษาย่อยกรีกที่พูดกันในเอเชียไมเนอร์[5][18] เฮอกาเทริอุสใช้คำศัพท์ "India" และ "Indians" ในการเรียกกลุ่มผู้อยู่อาศัยในแคว้นสินธ์ (ปากีสถานโบราณ) เท่านั้น[19] และเฮอรอโดทัสได้ขยายความและใช้คำว่า "Indian" ในการเรียกผู้คนบริเวณลุ่มน้ำสินธุตอนล่าง (ปากีสถานสมัยใหม่) และประชากรทั้งหมดที่อาศัยอยู่ทางตะวันออกของเปอร์เซีย แม้ว่าเขาจะไม่รู้ภูมิศาสตร์ของดินแดนแห่งนั้นเลยก็ตาม[17]

ในรัชสมัยอเล็กซานเดอร์มหาราช ศัพท์ Indía ในภาษากรีกคอยนี หมายถึง ภูมิภาคที่อยู่ไกลจากแม่น้ำสินธุขึ้นไป ผู้ร่วมสมัยกับอเล็กซานเดอร์ใช้อินเดียสำหรับเรียกที่ราบลุ่มน้ำสินธุ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของปากีสถาน ต่อมามีแกสธีนีส (Megasthenes) ได้รวมพื้นที่นอกลุ่มน้ำสินธุเข้าไปในอินเดีย ซึ่งรวมถึงที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคาด้วย[20] เมื่ออังกฤษเข้ามาในเอเชียใต้ พวกเขานำศัพท์ India มาใช้ในการเรียกอนุทวีปทั้งหมด โดยสิ่งนี้นําไปสู่ความสับสนของชื่อ "อินเดีย" เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับอาณานิคมอังกฤษที่รวมทั้งปากีสถานและสาธารณรัฐอินเดียสมัยใหม่[21] ภายหลังการแบ่งอินเดีย สาธารณรัฐอินเดียสมัยใหม่ได้นำชื่ออาณานิคมซึ่งเดิมเกี่ยวข้องประเทศปากีสถานปัจจุบัน (หุบเขาสินธุ)[22][23][24]

หมายเหตุ

แก้
  1. ผู้นำทางการเมืองและรัฐบุรุษที่มีส่วนในความสำเร็จของขบวนการทางการเมืองหลังจากการลงนามในข้อมติปากีสถาน ซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งและสถาปนาเอกราชของปากีสถานในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1947 ถือว่าเป็น ผู้ก่อตั้งปากีสถาน (Bāniyān-e-Pākistān). มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ ได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งชาติ และถือว่าเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่สุดของประเทศ[2]
  2. ภารตะ เป็นหนึ่งในสองชื่ออย่างเป็นทางการของสาธารณรัฐอินเดียสมัยใหม่ ส่วน ฮินดูสถาน เป็นคำอย่างไม่เป็นทางการที่ใช้กันภายในประเทศ ซึ่งฮินดูสถานในที่นี้ระวังสับสนกับภูมิภาคทางประวัติศาสตร์ "ฮินดูสถาน" ซึ่งเป็นคำที่ผู้ปกครองมุสลิมใช้เรียกพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย สำหรับจินนาห์และสมัชชาฮินดู (Hindu Mahasabha) ฮินดูสถานเพียงสื่อถึงแค่ "ดินแดนของชาวฮินดู" เนื่องจากอินเดียก่อตั้งขึ้นในฐานะประเทศที่มีชาวฮินดูเป็นส่วนใหญ่[3]
  3. สำหรับจินนาห์แล้ว การที่ 'ฮินดูสถาน' จะใช้ชื่อ 'อินเดีย' นั้นเป็น “การสร้างความเข้าใจผิดและมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความสับสน”
  4. หมายถึงประเทศอินเดียสมัยใหม่

อ้างอิง

แก้
  1. "Why Pakistan's founder Jinnah was opposed to the name India for the independent Indian nation". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). 2023-09-06. สืบค้นเมื่อ 2024-06-19.
  2. Dani, Ahmad Hasan, บ.ก. (1998). Founding fathers of Pakistan. Lahore: Sang-e-Meel Publications. ISBN 9693508300.
  3. Qalb-i-Abid, Massarrat Abid (2008). "Muslim League, Jinnah And The Hindu Mahasabha" (PDF). A Study In Speeches And Statements Of Quaid-I-Azam. 45. Their leaders like Dr. Moonje were preaching the message that “as England is the land of the English, Germany that of the Germans, similarly, Hindustan is the land of the Hindus.”
  4. Moore, R. J. (1983). "Jinnah and the Pakistan Demand". Modern Asian Studies. 17 (4): 529–561. ISSN 0026-749X.
  5. 5.0 5.1 Mukherjee, Bratindra Nath (2001). Nationhood and Statehood in India: A Historical Survey (ภาษาอังกฤษ). Regency Publications. ISBN 978-81-87498-26-1. Apparently the same territory was referred to as Hi(n)du(sh) in the Naqsh‐i‐Rustam inscription of Darius I as one of the countries in his empire. The terms Hindu and India ('Indoi) indicate an original indigenous expression like Sindhu. The name Sindhu could have been pronounced by the Persians as Hindu (replacing s by h and dh by d) and the Greeks would have transformed the latter as Indo‐ (Indoi, Latin Indica, India) with h dropped...
  6. "It was Jinnah who objected to the name 'India': Shashi Tharoor amid G20 invite row". India Today (ภาษาอังกฤษ). 2023-09-06. สืบค้นเมื่อ 2024-06-19.
  7. Daniyal, Shoaib (2018-06-19). "Why Jinnah objected to the name 'India'". Scroll.in (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-06-19.
  8. Singh, Jaswant (2010-03-04). Jinnah: India, Partition, Independence (ภาษาอังกฤษ). OUP India. ISBN 978-0-19-547927-0.
  9. Harris, J. (2012-05-07). Indography: Writing the "Indian" in Early Modern England (ภาษาอังกฤษ). Springer. ISBN 978-1-137-09076-8.
  10. 10.0 10.1 Sanujit. "Etymology of the Name India". World History Encyclopedia (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-06-19.
  11. Geoffray, Ally (2019-05-23). "Indus River". editions.covecollective.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-06-19.
  12. Eggermont, Pierre Herman Leonard (1975). Alexander's Campaigns in Sind and Baluchistan and the Siege of the Brahmin Town of Harmatelia (ภาษาอังกฤษ). Peeters Publishers. ISBN 978-90-6186-037-2. Sindhu means a stream, a river, and in particular the Indus river, but likewise it denotes the territory of the lower Indus valley, or modern Sind. Therefore, the appellation Saindhavah, means "inhabitants of the lower Indus valley"... In this respect Sindhu is no tribal name at all. It denotes a geographical unit to which different tribes may belong.
  13. Mukherjee, Bratindra Nath (2001). Nationhood and Statehood in India: A Historical Survey (ภาษาอังกฤษ). Regency Publications. ISBN 978-81-87498-26-1. In early Indian sources Sindhu denoted the mighty Indus river and also a territory on the lower Indus.
  14. Henning, Walter Bruno (1970). W. B. Henning Memorial Volume (ภาษาอังกฤษ). Lund Humphries. ISBN 978-0-85331-255-0.
  15. Dandamaev, M. A. (1989). A Political History of the Achaemenid Empire (ภาษาอังกฤษ). BRILL. ISBN 978-90-04-09172-6. The new satrapy, which received the name of Hindush, extended from the centre to the lower part of the Indus Valley, in present-day Pakistan.
  16. Mouton, Alice; Rutherford, Ian; Yakubovich, Ilya (2013-06-03). Luwian Identities: Culture, Language and Religion Between Anatolia and the Aegean (ภาษาอังกฤษ). BRILL. ISBN 978-90-04-25341-4.
  17. 17.0 17.1 Herodotus; Godley, A. D. (Alfred Denis) (1921–25). Herodotus. With an English translation by A.D. Godley. Robarts - University of Toronto. London Heinemann.{{cite book}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)
  18. Christidēs, Anastasios-Phoivos; Arapopoulou, Maria; Chritē, Maria (2007-01-11). A History of Ancient Greek: From the Beginnings to Late Antiquity (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-83307-3. The early loss of aspiration is mainly a characteristic of Asia Minor (and also of the Aeolic and Doric of Asia Minor)... In Attica, however (and in some cases in Euboea, its colonies, and in the Ionic-speaking islands of the Aegean), the aspiration survived until later... During the second half of the fifth century BC, however, orthographic variation perhaps indicates that 'a change in the phonetic quality of [h] was taking place' too.
  19. Habib, Irfan (2005). India-studies in the History of an Idea (ภาษาอังกฤษ). Munshiram Manoharlal Publishers. ISBN 978-81-215-1152-0. The term 'Indians' was used by Herodotus as a collective name for all the peoples living east of Persia. This was also a significant development over Hekataios, who had used this term in a strict sense for the groups dwelling in Sindh only
  20. Mukherjee, Bratindra Nath (2001). Nationhood and Statehood in India: A Historical Survey (ภาษาอังกฤษ). Regency Publications. ISBN 978-81-87498-26-1.
  21. "When and how did Bharat became India?". The Times of India. 2023-09-05. ISSN 0971-8257. สืบค้นเมื่อ 2024-07-03. During British colonial rule (approximately 1757-1947), the British referred to the Indian subcontinent as "India." This term was derived from the river Indus, which marked the western boundary of British India. The British colonial administration used "India" as the official name.
  22. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ auto2
  23. Habib, Irfan (2005). India-studies in the History of an Idea (ภาษาอังกฤษ). Munshiram Manoharlal Publishers. ISBN 978-81-215-1152-0. The term 'Indians' was used by Herodotus as a collective name for all the peoples living east of Persia. This was also a significant development over Hekataios, who had used this term in a strict sense for the groups dwelling in Sindh only.
  24. "Pakistan May Exploit The Situation If India's Name Is Changed. Here's How". IndiaTimes (ภาษาIndian English). 2023-09-06. สืบค้นเมื่อ 2024-07-03.