ประเทศปากีสถานในเครือจักรภพ
ประเทศปากีสถาน (เบงกอล: পাকিস্তান অধিরাজ্য อูรดู: مملکتِ پاکستان) ระหว่างปี ค.ศ. 1947–1956 หรือเรียกอย่างเข้าใจว่า ประเทศปากีสถานในเครือจักรภพ (อังกฤษ: Dominion of Pakistan) เป็นประเทศในเครือจักรภพในทวีปเอเชียใต้ จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1947 เมื่อรัฐสภาอังกฤษได้ตราพระราชบัญญัติอิสรภาพของอินเดีย ค.ศ. 1947 ขึ้น ซึ่งตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้แบ่งจักรวรรดิอินเดียออกเป็นสองประเทศเอกราชคือ อินเดีย และ ปากีสถาน โดยทั้งสองประเทศต่างมีเอกราชเป็นของตนเองโดยยอมรับกษัตริย์อังกฤษเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
สหพันธรัฐปากีสถาน[1] | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1947–1956[2] | |||||||||
คำขวัญ: ایمان ، اتحاد ، تنظیم "ศรัทธา, เอกภาพ, พระวินัย" | |||||||||
ประเทศปากีสถานในเครือจักรภพ ค.ศ. 1956 | |||||||||
สถานะ | ประเทศในเครือจักรภพ | ||||||||
เมืองหลวง | การาจี | ||||||||
ภาษาทั่วไป | อังกฤษก, อูรดูข, เบงกาลีค, | ||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ในระบบสภาเดี่ยว | ||||||||
พระเจ้าแผ่นดิน | |||||||||
• ค.ศ. 1947 – 1952 | พระเจ้าจอร์จที่ 6 | ||||||||
• ค.ศ. 1952 – 1956 | เอลิซาเบธที่ 2 | ||||||||
ข้าหลวงต่างพระองค์ | |||||||||
• ค.ศ. 1947 – 1948 | มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ | ||||||||
• ค.ศ. 1948 – 1951 | คาวาจา นาซิมุดดิน | ||||||||
• ค.ศ. 1951 – 1955 | มาลิก กูลัม มูฮัมหมัด | ||||||||
• ค.ศ. 1955 – 1956 | อิสกานเดอร์ เมียร์ซา (สุดท้าย) | ||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||
• ค.ศ. 1947 – 1951 | ลีอาคัต อาลี คาน | ||||||||
• ค.ศ. 1951 – 1953 | คาวาจา นาซิมุดดิน | ||||||||
• ค.ศ. 1953 – 1955 | มูฮัมหมัด อาลี โบกรา | ||||||||
• ค.ศ. 1955 – 1956 | เชาดรีห์ มูฮัมหมัด อาลี | ||||||||
สภานิติบัญญัติ | สภานิติบัญญัติ | ||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||
• เอกราชของอินเดีย | 14 สิงหาคม ค.ศ. 1947[3] | ||||||||
22 ตุลาคม ค.ศ. 1947 | |||||||||
• สถาปนารัฐธรรมนูญ | 23 มีนาคม ค.ศ. 1956 | ||||||||
พื้นที่ | |||||||||
ค.ศ. 1956 | 943,665 ตารางกิโลเมตร (364,351 ตารางไมล์) | ||||||||
สกุลเงิน | รูปีปากีสถาน | ||||||||
รหัส ISO 3166 | PK | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ปากีสถาน บังกลาเทศ | ||||||||
ก. ภาษาราชการ ข. ภาษาหลัก ค. ภาษาที่สอง |
ประเทศปากีสถานในเครือจักรภพกินพื้นที่ในส่วนที่เป็นประเทศปากีสถานและประเทศบังกลาเทศในปัจจุบัน โดยส่วนที่เป็นประเทศปากีสถานในปัจจุบันนั้นเรียกว่า ปากีสถานตะวันตก และส่วนที่เป็นประเทศบังกลาเทศในปัจจุบันนั้นเรียกว่า เบงกอลตะวันออก สาเหตุที่อังกฤษแยกปากีสถานออกมาจากอินเดียก็เพื่อต้องการให้ปากีสถานและบังกลาเทศเป็นรัฐที่อยู่ของชาวมุสลิมในอดีตบริติชราชจากผลของทฤษฎีสองชาติ
ประเทศปากีสถานในเครือจักรภพสิ้นสุดลงในวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1956 เมื่อได้มีการสถาปนารัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐปากีสถานขึ้นโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ และถือเป็นชาติสมาชิกในเครือจักรภพแห่งประชาชาติ
อ้างอิง
แก้- ↑ มาตรา 1 แห่งพระราชบัญญติอิสรภาพของอินเดีย ค.ศ. 1947 บัญญัติไว้ว่า และตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 1947 เป็นต้นไป ทั้งสองประเทศในเครือจักรภพ จะถูกตั้งขึ้นในอินเดีย ซึ่งจะเป็นที่รู้จักในชื่อ "อินเดีย" และ "ปากีสถาน" ตามลำดับ
- ↑ Timothy C. Winegard (29 December 2011). Indigenous Peoples of the British Dominions and the First World War (1st ed.). Cambridge University Press. p. 2. ISBN 978-1107014930. สืบค้นเมื่อ 11 August 2013.
- ↑ Singh Vipul (1 September 2009). Longman History & Civics Icse 10. Pearson Education India. pp. 132–. ISBN 978-81-317-2042-4.