ประเทศอินเดียในเครือจักรภพ

ประเทศอินเดียในเครือจักรภพ (อังกฤษ: Dominion of India) หรือ ภารตะอธิราชยะ (ฮินดี: भारत अधिराज्य) หรือ สหภาพอินเดีย (Union of India) เป็นประเทศอินเดียภายหลังได้รับอิสรภาพจากสหราชอาณาจักรและก่อนสถาปนาเป็นสาธารณรัฐอินเดีย ตั้งแต่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1947 ถึง 26 มกราคม ค.ศ. 1950 ในยุคนี้อินเดียถือเป็นรัฐอิสระ มีอำนาจในการปกครองตนเองแต่ยังยึดถือพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรเป็นประมุขผ่านผู้สำเร็จราชการ ต่อมาหลังมีการสถาปนารัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐอินเดียขึ้นในปี ค.ศ. 1950[1] ประเทศอินเดียก็ล้มเลิกระบอบกษัตริย์และเปลี่ยนประมุขแห่งรัฐเป็นประธานาธิบดีแทน และประเทศอินเดียก็กลายเป็นประเทศแรกที่เป็นสมาชิกในเครือจักรภพแห่งประชาชาติ

สหภาพอินเดีย

Union of India
ค.ศ. 1947–1950
เมืองหลวงนิวเดลี
การปกครองสหพันธรัฐ
พระมหากษัตริย์ 
• 1947–1950
จอร์จที่ 6
ผู้สำเร็จราชการ 
• 1947–1948
หลุยส์ เมานต์แบ็ทแตน
• 1948–1950
จักรวรรติ ราชโกปละชารี
นายกรัฐมนตรี 
• 1947–1950
ชวาหระลาล เนห์รู
สภานิติบัญญัติสภานิติบัญญัติแห่งอินเดีย
ยุคประวัติศาสตร์สงครามเย็น
15 สิงหาคม ค.ศ. 1950 ค.ศ. 1947
22 ตุลาคม 1947
• สถาปนารัฐธรรมนูญ
26 มกราคม ค.ศ. 1950 1950
พื้นที่
19503,287,263 ตารางกิโลเมตร (1,269,219 ตารางไมล์)
สกุลเงินรูปี
รหัส ISO 3166IN
ก่อนหน้า
ถัดไป
บริติชราช
ประเทศอินเดีย

ผู้สำเร็จราชการ แก้

ในยุคนี้ มีผู้สำเร็จราชการอินเดียอยู่สองคน คือ:

ชื่อ ภาพ เริ่มดำรงตำแหน่ง ออกจากตำแหน่ง ผู้แต่งตั้ง
ผู้สำเร็จราชการอินเดียในเครือจักรภพ (ค.ศ. 1947–1950)
ไวเคานต์เมานต์แบ็ทแตนแห่งพม่า[2]
(1900–1979)
  15 สิงหาคม 1947 21 มิถุนายน 1948 พระเจ้าจอร์จที่ 6
จักรวรรติ ราชโกปละชารี
  21 มิถุนายน 1948 26 มกราคม 1950

อ้างอิง แก้

  1. Winegard, Timothy C. (2011), Indigenous Peoples of the British Dominions and the First World War, Cambridge University Press, pp. 2–, ISBN 978-1-107-01493-0
  2. ได้รับโปรดเกล้าเป็น "เอิร์ลเมานต์แบ็ทแตนแห่งพม่า" เมื่อ 28 ตุลาคม 1947