อักษรรูปลิ่ม (อังกฤษ: cuneiform script) เป็นระบบการเขียนที่หลากหลาย เป็นได้ทั้งอักษรพยางค์ อักษรคำ และอักษรที่มีระบบสระ-พยัญชนะ คำว่า “cuneiform” ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาละติน “cuneus” แปลว่าลิ่ม ดังนั้นอักษรรูปลิ่มจึงรวมอักษรที่มีรูปร่างคล้ายลิ่มทั้งหมด ภาษาหลายตระกูล ทั้งตระกูลเซมิติก ตระกูลอินโด-ยูโรเปียน และอื่น ๆ ที่เขียนด้วยอักษรนี้ เช่น

อักษรรูปลิ่ม
อักษรรูปลิ่มที่กล่าวถึงเซอร์ซีสที่ 1 ในป้อมแวน ที่ประเทศตุรกี, ซึ่งมีทั้งภาษาเปอร์เซียโบราณ, แอกแคด และอีลาไมต์
ชนิดที่มีพยางค์ภาพ
ภาษาพูดแอกแคด, เอ็บลาไอต์, อีลาไมต์, ฮัตติก, ฮิตไทต์, ฮูร์เรีย, ลูเวีย, ซูเมอร์, ยูราร์เทีย, เปอร์เซียโบราณ
ผู้ประดิษฐ์ประมาณ 3200 ปีก่อนคริสตกาล[1]
ช่วงยุคประมาณศตวรรษที่ 31 ก่อนคริสตกาล ถึง ศตวรรษที่ 1
ระบบแม่
(Proto-writing)
  • {{{name}}}
ระบบลูกไม่มี
ช่วงยูนิโคด
ISO 15924Xsux
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด
อักษรยูการิติก อักษรรูปลิ่มที่เป็นระบบพยัญชนะ

แผ่นดินเหนียว ตัวกลางของอักษรรูปลิ่ม แก้

 
อักษรรูปลิ่มบนดินเหนียว

ตัวอย่างเก่าสุดของอักษรในเมโสโปเตเมีย เริ่มราว 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช พบในบริเวณอูรุก (Uruk) นิปปูร์ ซูซา และอูร์ (Ur) ส่วนใหญ่เป็นบันทึกเกี่ยวกับการค้าขาย บันทึกเหล่านี้พัฒนามาจากระบบการนับที่ใช้มาตั้งแต่ 5,000 ปี ก่อนหน้านั้น แผ่นดินเหนียวเริ่มใช้ตั้งแต่ 8,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชในเมโสโปเตเมียโดยทั่วไป เป็นรูปทรง 3 มิติ มี 2 ชนิดคือ แบบแผ่นแบนและแผ่นซ้อน

  • แบบแผ่นแบน เป็นรูปแบบโบราณ พบตั้งแต่ 8,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในบริเวณกว้าง ตั้งแต่ ตุรกี ซีเรีย อิสราเอล จอร์แดน อิหร่าน และอิรัก เป็นแบบที่แพร่หลายกว่า คล้ายกับว่าเป็นแบบที่ใช้ในการนับทางเกษตรกรรม เช่น การนับธัญพืช
  • แบบแผ่นซ้อน เป็นแบบที่ตกแต่งด้วยเครื่องหมาย เริ่มพบในช่วง 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ทางภาคใต้ของเมโสโปเตเมีย ใช้บันทึกเกี่ยวกับสินค้าแปรรูป ซึ่งพบในบริเวณที่มีการขยายตัวของอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว เช่น ซูเมอร์ ตัวอย่างที่เก่าสุดพบในวิหารเทพีอินันนา เทพีแห่งความรักและความอุดมสมบูรณ์ของชาวซูเมอร์ในเมืองอูรุก ซึ่งทางวิหารใช้บันทึกเกี่ยวกับการแปรรูปสินค้าของวิหาร

จากแผ่นดินเหนียวสู่ตัวอักษร แก้

แผ่นดินเหนียวถูกเขียนให้เป็นเรื่องราว โดยใช้วัตถุที่เป็นของแข็งและแหลม แล้วถูกเก็บในห่อที่แข็งแรงทำด้วยดินเหนียว เรียกว่าบุลลา (bulla) เพื่อป้องกันการสูญหาย เนื่องจากการนับแผ่นดินเหนียวภายในบุลลาหลังการผนึกทำได้ยาก การแก้ปัญหาจึงใช้การกดแผ่นดินเหนียวลงบนผิวนอกของบุลลาในขณะที่ดินเหนียวยังอ่อนตัวอยู่ แล้วจึงใส่แผ่นดินเหนียวเข้าไปข้างในและปิดผนึก การนับจำนวนแผ่นดินเหนียวอีกครั้งใช้การนับรอยกดบนผิวด้านนอก จากรอยกดนี้ ชาวซูเมอร์ได้พัฒนามาเป็นสัญลักษณ์รูปลิ่ม เพื่อใช้บอกความหมายและจำนวน เช่น รูปลิ่ม 1 อัน หมายถึง 1 รูปวงกลม หมายถึง 10 การบันทึกว่า “แกะ 5 ตัว” ใช้การกดลงบนดินเหนียวเป็นรูปลิ่ม 5 อัน แล้วตามด้วยสัญลักษณ์ของแกะ

ยูนิโคด แก้

อักษรรูปลิ่มบนยูนิโคดมีหลายช่วง แต่อักษรแบบหลักอยู่ที่

  • U+12000–U+1236E (879 ตัวอักษร) อักษรรูปลิ่มสำหรับอักษรซูเมอร์และอักษรแอกแคด[2]
  • U+12400–U+12473 (103 ตัวอักษร) อักษรรูปลิ่มแทนจำนวนและเครื่องหมายวรรคตอน[3]

อ้างอิง แก้

  1. "...The Mesopotamians invented writing around 3200 bc without any precedent to guide them, as did the Egyptians, independently as far as we know, at approxi- mately the same time" The Oxford History of Historical Writing. Vol. 1. To AD 600, page 5
  2. Cuneiform Unicode chart
  3. Cuneiform Numbers and Punctuation Unicode chart

ดูเพิ่ม แก้