ภาษายูราร์เทีย เป็นภาษาที่ใช้พูดในราชอาณาจักรยูราร์ตู ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอนาโตเลีย (ปัจจุบันคือประเทศตุรกี) เป็นภาษารูปคำติดต่อซึ่งไม่อยู่ในภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียนและภาษากลุ่มเซมิติก แต่ถือว่าอยู่ในกลุ่มฮูร์โร-ยูราร์เทีย พบในจารึกจำนวนมากในบริเวณราชอาณาจักรยูราร์ตู เขียนด้วยอักษรรูปลิ่มของอัสซีเรีย มีรูปแบบที่เขียนด้วยไฮโรกลิฟด้วยซึ่งใช้ในทางศาสนา

ภาษายูราร์เทีย
ภูมิภาคยูราร์ตู, ที่ราบสูงอาร์เมเนีย
สูญหายประมาณ 57 ปีก่อนพุทธศักราช
ตระกูลภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-2mis
ISO 639-3xur

การจัดจำแนก แก้

ภาษายูร์ราเทียเป็นภาษารูปคำติดต่อและใช้การกเกี่ยวพันซึ่งไม่อยู่ในตระกูลภาษาเซมิติกหรือตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียนแต่อยู่ในตระกูลภาษาฮูร์โร-อูราเทีย ภาษานี้เหลือรอดในรูปของจารึกจำนวนมากที่พบในบริเวณอาณาจักรอูราตู เขียนด้วยอักษรรูปลิ่มอัสซีเรียแต่นักวิชาการบางกลุ่มจัดว่าภาษานี้อักษรภาพเป็นของตัวเองเรียกว่าเฮียโรกลิฟแบบยูร์ราเทีย

ภาษายูร์ราเทียใกล้เคียงกับภาษาฮูร์เรียซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในยุคก่อนหน้าและไม่คาบเกี่ยวกัน ในช่วง 1,457 ปี ถึง 657 ปีก่อนพุทธศักราช โดยเขียนด้วยผู้ที่พูดภาษานี้เป็นภาษาแม่ถึงประมาณ 807 ปีก่อนพุทธศักราช ทั้งสองภาษาพัฒนาอย่างเป็นอิสระแก่กัน[1][2] จนถึงประมาณ 1,457 ปีก่อนพุทธศักราช แม้ว่าภาษายูราร์เทียไม่ได้เป็นสำเนียงของภาษาฮูร์เรีย[3] แต่มีลักษณะบางอย่างที่พัฒนาการร่วมกับภาษาฮูร์เรีย ความใกล้ชิดนี้เป็นไปได้ว่าเกิดจากการมีผู้รู้ภาษายูราร์เทียและภาษาฮูร์เรียทั้งสองภาษา

การถอดความ แก้

 
จารึกภาษายูราร์เทียเขียนด้วยอักษรรูปลิ่มแสดงที่พิพิธภัณฑ์ในเยเรวาน จารึกอ่านได้ว่า: สำหรับเทพเจ้าคาลดี กระเจ้าอาร์กิสติสที่ 1 โอรสแห่งเมนัว สร้างวิหารและป้อมปราการนี้ ข้าป่าวประกาศอิรบูนี (เอเรบูนี) สำหรับความรุ่งเรืองของประเทศแห่งบีอาย (=อูร์ราตู) และสำหรับการยึดครองประเทศลูลุย (=ศัตรู)ด้วยความน่าเกรงขาม ด้วยความยิ่งใหญ่แห่งคาลดี นี่คืออาร์กิสติส โอรสแห่งเมนัว กษัตริย์แห่งบีอายผู้ปกครองเมืองตุชปา

นักวิชาการชาวเยอรมัน F. E. Schulz ผู้ค้นพบจารึกทะเลสาบวานและจารึกอูราร์ตูใน พ.ศ. 2369 ได้ทำสำเนาจารึกจำนวนมาก แต่ไม่ได้พยายามถอดความ หลังจากที่ถอดความอักษรรูปลิ่มอัสซีเรียได้ในราว พ.ศ. 2393 สำเนาของ Schulz กลายเป็นพื้นฐานสำหรับการถอดความภาษายูราร์เทีย ปัจจุบันเป็นที่แน่นอนว่าภาษานี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับภาษาที่รู้จักกันอยู่ และการพยายามถอดความโดยใช้ภาษาที่เป็นที่รู้จักกันแล้วในบริเวณนั้น ประสบความล้มเหลว จารึกเหล่านี้ถอดความได้ใน พ.ศ. 2425 โดย A. H. Sayce จารึกที่เก่าที่สุดมีอายุราวสมัยซาร์ดูรีที่ 1 แห่งอูราร์ตู

การถอดความได้ก้าวหน้ามากขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อมีการพบจารึกภาษายูราร์เทีย-อัสซีเรียที่ Kelišin และ Topzawä ใน พ.ศ. 2509 มีการตีพิมพ์ไวยากรณ์ภาษายูราร์เทียเขียนโดย G. A. Melikishvili ในรัสเซียและแปลเป็นภาษาเยอรมันใน พ.ศ. 2514 และในเวลาเดียวกันนี้มีการตีพิมพ์เกี่ยวกับความคล้ายคลึงกับภาษาฮูร์เรียโดย I. M. Diakonoff

จารึกที่เก่าที่สุดพบในสมัยซาร์ดูรีที่ 1 มีอายุราว 357 ปีก่อนพุทธศักราช[4]และมีจารึกต่อเนื่องมาจนถึงการล่มสลายของอาณาจักรอูราร์ตูในอีก 200 ปีต่อมา มีจารึกที่เขียนด้วยภาษายูราร์เทียมากกว่าสองพันชิ้นที่เขียนด้วยอักษรรูปลิ่มดัดแปลง[5]

การเขียน แก้

อักษรรูปลิ่ม แก้

อักษรรูปลิ่มของภาษายูราร์เทียมีมาตรฐานเช่นเดียวกับอักษรรูปลิ่มอัสซีเรียใหม่ แต่ที่ต่างจากของอัสซีเรียคือสัญลักษณ์ 1 ตัวแทนเสียงเดียว เช่น u-gi-iš-ti หมายถึง Uīšdi

เฮียโรกลิฟ แก้

ภาษายูราร์เทียบางส่วนเขียนด้วยเฮียโรกกลิฟแบบอนาโตเลียที่ใช้กับภาษาลูเวีย นอกจากนั้นยังมีเฮียโรกลิฟเป็นของตัวเองด้วย

อ้างอิง แก้

  1. Wilhelm 1982: 5
  2. Wilhelm, Gernot. 2008. Hurrian. In Woodard, Roger D. (ed.) The Ancient Languages of Asia Minor. P.105
  3. Academic American Encyclopedia - Page 198
  4. Urartu - Page 65 by Boris Borisovich Piotrovskiĭ
  5. The international standard Bible encyclopedia - Page 234 by Geoffrey William Bromiley