ติ๊กต็อก (อังกฤษ: TikTok) คือแอปพลิเคชันที่เป็นบริการเครือข่ายสังคมสัญชาติจีน ติ๊กต็อกเป็นบริการประเภทไมโครบล็อกกิง (micro-blogging) ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างเนื้อหาวิดีโอสั้น ๆ ความยาวไม่เกิน 15 วินาที เช่น การแสดงทักษะหรือท่าเต้น การแสดงมุกตลก การร้องตามด้วยริมฝีปาก (ลิปซิงก์) เป็นต้น โดยให้บริการทางไอโอเอสและแอนดรอยด์ ติ้กต็อกเริ่มต้นให้บริการในประเทศจีนเมื่อ พ.ศ. 2559 โดยใช้ชื่อว่า โต่วอิน (จีน: 抖音; พินอิน: Dǒuyīn แปล: เสียงสั่น) ต่อมาจึงเปิดให้บริการระหว่างประเทศใน พ.ศ. 2561 จนกลายเป็นแอปพลิเคชันที่นิยมใช้กันทั่วโลก ติ๊กต็อกได้รับความนิยมมากในกลุ่มวัยรุ่นทั่วโลก โดยมีจำนวนผู้ใช้แค่ในเฉพาะสหรัฐถึง 80 ล้านคนในปัจจุบัน
|
Douyin |
ภาษาจีน | 抖音 |
---|
ความหมายตามตัวอักษร | "Vibrating sound" |
---|
|
|
ไบต์แดนซ์ (ByteDance) เปิดตัวติ๊กต็อกในประเทศจีนเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2559[3] ติ๊กต็อกได้รับการพัฒนาใน 200 วัน และภายในหนึ่งปีมีผู้ใช้ 100 ล้านคน มีการดูวิดีโอมากกว่า 1 พันล้านวิดีโอทุกวัน[4][5] ติ๊กต็อกได้รับการเปิดตัวในตลาดต่างประเทศเมื่อกันยายน พ.ศ. 2560[6] ในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2561 ติ๊กต็อกเป็นแอปพลิเคชันอันดับ 1 จากการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันฟรีในแอปสโตร์ต่าง ๆ ในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ[7] ติ๊กต็อกมีการดาวน์โหลดประมาณ 80 ล้านครั้งในสหรัฐ และ 800 ล้านครั้งทั่วโลก ตามข้อมูลจากเซ็นเซอร์ทาวเวอร์ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยโทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่ไม่รวมผู้ใช้แอนดรอยด์ในประเทศจีน[8] คนดังรวมถึงจิมมี แฟลลอน และโทนี ฮอว์ก ได้เริ่มใช้แอปพลิเคชันเมื่อพฤศจิกายน พ.ศ. 2561[9][10] ในเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2562 ติ๊กต็อกและเนชันแนลฟุตบอลลีกประกาศความร่วมมือหลายปี ความร่วมมือดังกล่าวรวมถึงการเปิดตัวอย่างเป็นทางการบัญชีของเนชันฟุตบอลลีก ที่จะนำเนชันฟุตบอลลีกให้เนื้อหาให้กับแฟน ๆ ทั่วโลก[11]
- ↑ "TikTok – Make Your Day". iTunes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2019. สืบค้นเมื่อ 3 December 2019.
- ↑ "抖音". App Store. สืบค้นเมื่อ 15 March 2023.
- ↑ "Is Douyin the Right Social Video Platform for Luxury Brands? | Jing Daily". Jing Daily (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 11 March 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-15. สืบค้นเมื่อ 30 October 2018.
- ↑ Graziani, Thomas (30 July 2018). "How Douyin became China's top short-video App in 500 days". WalktheChat (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 3 January 2019.
- ↑ "8 Lessons from the rise of Douyin (Tik Tok) · TechNode". TechNode (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 15 June 2018. สืบค้นเมื่อ 3 January 2019.
- ↑ "Tik Tok, a Global Music Video Platform and Social Network, Launches in Indonesia" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 30 October 2018.
- ↑ "Tik Tok, Global Short Video Community launched in Thailand with the latest AI feature, GAGA Dance Machine The very first short video app with a new function based on AI technology". thailand.shafaqna.com. สืบค้นเมื่อ 15 March 2018.
- ↑ Yurieff, Kaya (21 November 2018). "TikTok is the latest social network sensation". Cnn.com.
- ↑ Alexander, Julia (15 November 2018). "TikTok surges past 6M downloads in the US as celebrities join the app". The Verge. สืบค้นเมื่อ 3 January 2019.
- ↑ Spangler, Todd; Spangler, Todd (20 November 2018). "TikTok App Nears 80 Million U.S. Downloads After Phasing Out Musical.ly, Lands Jimmy Fallon as Fan". Variety (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 3 January 2019.
- ↑ "The NFL joins TikTok in multi-year partnership". TechCrunch (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-22. สืบค้นเมื่อ 2019-09-05.
DEFAULTSORT