ซูเปอร์แมน

(เปลี่ยนทางจาก Superman)

ซูเปอร์แมน (อังกฤษ: Superman) เป็นตัวละครที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก[ต้องการอ้างอิง] จากหนังสือการ์ตูนซูเปอร์ฮีโร ผลงานของ suของอเมริกา[1][2][3][4] ออกแบบโดยเจอร์รี ชีเกล นักเขียนชาวอเมริกา และโจ ชูสเตอร์ นักวาดภาพชาวอเมริกาเชื้อสายแคนาดา ในปี ค.ศ. 1932 ขณะที่ทั้งคู่พักอาศัยอยู่ในเมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ จนกระทั่งในปี 1938 ทั้งคู่ได้ขายผลงานชิ้นนี้ให้แก่สำนักพิมพ์ ดีแทคทีฟ คอมิกส์ (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นดีซีคอมิกส์) ตัวละครนี้ได้ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือแอกชัน คอมิกส์ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน ค.ศ. 1938) และยังทำเป็นซีรีส์ทางวิทยุ, โทรทัศน์, ภาพยนตร์, การ์ตูนช่องในหนังสือพิมพ์, และวิดีโอเกม เรื่องราวของซูเปอร์แมนนั้นประสบความสำเร็จอย่างมาก ซูเปอร์แมนนั้นได้รับการจัดอันดับให้เป็นซูเปอร์ฮีโรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของหนังสือการ์ตูนอเมริกา.[1] ซูเปอร์แมนปรากฏตัวด้วยชุดที่โดดเด่นและมีเอกลักษณ์ประจำตัวด้วยชุด สีน้ำเงิน, แดงและเหลือง รวมถึง ผ้าคลุม, และเครื่องหมายตัว"S" บนหน้าอก[5][6] สัญลักษณ์ตัว S นี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวของซูเปอร์แมนที่นำไปใช้ในสื่อต่าง ๆ มาจนถึงปัจจุบัน[7]

ซูเปอร์แมน
รูปภาพจาก
ซูเปอร์แมน ฉบับที่ 204 (ตอนที่ 2-เมษายน 2547)
โดย จิม ลี และ สกอต์ต วิลเลี่ยมส์
ข้อมูลการจัดพิมพ์
ผู้จัดพิมพ์สหรัฐ ดีซีคอมิกส์
ปรากฏตัวครั้งแรกแอกชัน คอมิกส์ ฉบับที่ 1
(จัดพิมพ์ 18 เมษายน 2481
จัดจำหน่าย มิถุนายน)
สร้างสรรค์โดยเจอร์รี ชีเกล และ โจ ชูสเตอร์
ข้อมูลในเรื่อง
ชื่อจริงคาร์ล เอล/คลาร์ก เคนต์
นามแฝงแก๊งบัสเตอร์, จอร์แดน อีเลียธ, ไนท์วิง, โนวา, ซูเปอร์บอย
ถิ่นกำเนิดคริปตัน
สังกัดทีมจัสติซลีก
ลีเจียนออฟซูเปอร์ฮีโร
พลพรรคแบทแมน
วันเดอร์วูแมน
ความสามารถพลังเหนือมนุษย์, ความเร็ว, ความแข็งแกร่ง, พลังอมตะ, ลมหายใจเยือกแข็ง, โสตประสาทเหนือมนุษย์, ความสามารรอบด้านและดวงตาแห่งไฟ, อายุยืน, เหาะ, ฉลาด, และ พลังการฟื้นตัว.

จุดเริ่มต้นของซูเปอร์แมน กล่าวถึงการกำเนิดของซูเปอร์แมนในนามของ “คาร์ล-เอล” บนดวงดาวที่มีชื่อว่าคริปตัน ก่อนหน้าที่ดวงดาวจะถูกทำลาย จอร์-เอล พ่อบังเกิดเกล้าที่เป็นนักวิทยาศาสตร์แห่งดาวคริปตัน ส่งซูเปอร์แมนมายังโลกด้วยกระสวยอวกาศตั้งแต่ยังเป็นทารก จากนั้นคู่สามีภรรยาชาวไร่ในแคนซัสพบเข้าและนำไปเลี้ยงดู ซูเปอร์แมนได้เติบโตขึ้นมาพร้อมกับจิตใจที่ดีงามและมีชื่อบนโลกว่า “คลาร์ก เคนต์” ซูเปอร์แมนเริ่มแสดงความสามารถ ที่เหนือกว่าคนทั่ว ๆ ออกมาตามช่วงเวลาการเติบโตของตนเองและได้ใช้พลังเหล่านั้นเข้าช่วยเหลือผู้คนรอบข้าง ซูเปอร์แมนใช้ชีวิตและคอยปกป้องเมโทรโพลิส (เมืองที่สมมุติขึ้นมา) ของสหรัฐอเมริกา ในช่วงเวลาปกติ คลาร์ก เคนต์ จะทำงานเป็นนักข่าวของ เดลีย์ แพลเน็ท สื่อหนังสือพิมพ์ชื่อดังของเมโทรโพลิส ส่วนศัตรูคนสำคัญของซูเปอร์แมนได้แก่ สุดยอดวายร้าย เล็กซ์ ลูเธอร์.[8] ซูเปอร์แมนยังเป็นที่สนใจโดยนักวิชาการในอีกหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีทางด้านวัฒนธรรม, นักวิจารณ์ และได้รับการยอมรับว่าตัวละครนี้มีบทบาทและอิทธิพลอย่างมากต่อสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก อย่างไรก็ตามลิขสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของตัวละครซุปเปอร์แมนนั้นมีการโต้แย้งอยู่หลายครั้ง โดยชีเกลและชูสเตอร์ นั้นได้พยายามฟ้องร้อง 2 ครั้งเพื่อนำสิทธิ์ตัวละครนั้นกลับมาเป็นของพวกเขาอีกครั้ง ซูเปอร์แมนได้รับการจัดอันดับเป็นฮีโรจากหนังสือการ์ตูนอันดับ 1 จากการ์ตูนซูเปอร์ฮีโรยอดเยี่ยมทั้งหมด 100 เรื่อง โดยไอจีเอ็น (IGN) ในเดือนพฤษภาคม 2011[9]

เฮนรี แควิลล์ สวมบทเป็นซูเปอร์แมนปรากฏตัวในจักรวาลขยายดีซีในภาพยนตร์ได้แก่บุรุษเหล็กซูเปอร์แมน, แบทแมน ปะทะ ซูเปอร์แมน แสงอรุณแห่งยุติธรรม, จัสติซ ลีก

ประวัติการตีพิมพ์

แก้

การออกแบบ

แก้
 
"เดอะ เรนจ์ออฟเดอะ ซูเปอร์-แมน"แฟนซีน โดยเจอร์รี่ ซีเกล (ม.ค. 1933)

เจอรี ชีเกล และ โจ ชูสเตอร์ ได้ออกแบบตัวละครฝ่ายอธรรมที่มีลักษณะหัวล้าน ผู้ที่มีความสามารถใช้ พลังจิต เพื่อคุกคามโลก ในผลงานเรื่องสั้นที่ชื่อว่า "เดอะ เรนจ์ออฟเดอะ ซูเปอร์-แมน" ตีพิมพ์ในนิตยสาร "ไซน์ ฟิคชัน" ฉบับที่ 3 โดยเป็นผลงานในรูปแบบแฟนซีน ออกจัดจำหน่ายในปี ค.ศ. 1933[10] ซีเกลได้ออกแบบตัวละครอีกตัวในปีถัดมา มีรูปแบบเป็นฮีโรที่มีลักษณะ อุปนิสัย เป็นผู้ผดุงความยุติธรรม ว่ากันว่าต้นแบบของซูเปอร์แมนนั้นคือ ดั๊กลาส แฟร์แบ๊งส์ ส่วนต้นแบบของ คลาร์ก เคนต์ บุคลิกของซูเปอร์แมนตอนใช้ชีวิตแบบคนทั่ว ๆ ไปนั้นก็คือ แฮโรลด์ ลอยด์.[11][12] กำกับดูแลเรื่องภาพวาดและลายเส้นโดยลี แอล แอบเนอร์และดิ๊ค เทรซี่ ทั้งชีเกลและชูสเตอร์ต้องใช้เวลาถึง 6 ปี ในการหาสำนักพิมพ์เพื่อจัดพิมพ์เรื่อง เดอะ ซูเปอร์แมน ชีเกลและชูสเตอร์นั้นได้รับข้อเสนอจากคอนโซลิเดท บุ๊ค พับลิชชิ่งในการเป็นผู้จัดพิมพ์ โดยจะจัดพิมพ์ในรูปแบบของหนังสือการ์ตูนขาว-ดำจำนวน 48 หน้า ในนิตยสารดีแทคทิฟ แดน: ซีเคร็ท โอเปอเรทิฟ ฉบับที่ 48 แม้ว่าผลงานของทั้งคู่จะเป็นที่ชื่นชอบของผู้อ่าน แต่ผลพวงของปัญหาด้านการเงินทำให้ผลงานของทั้งคู่ต้องหยุดพิมพ์ ทำให้ชูสเตอร์เครียดและเผาผลงานของตัวเองทุกหน้า ยกเว้นหน้าปกเท่านั้นที่รอดจากการเผาเนื่องจากชีเกลได้หยิบออกมาจากกองไฟได้ทันเวลา หลังจากนั้นชีเกลและชูสเตอร์ได้สร้างสรรค์ตัวละครชื่อ สแลม แบรดลีย์และได้นำผลงานเรื่องนี้ลงในนิตยสาร ดีแทคทิฟ คอมิกส์ ฉบับที่ 1 (มีนาคม ค.ศ. 1937).[13]

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานชีเกลได้ติดต่อจ้างบรรดานักวาดภาพเพิ่มเช่น เจอร์ราร์ด โจนส์ ซึ่งตัวเจอร์ราร์ดเองนั้นเคยกล่าวว่า "ซูเปอร์แมนนั้นตามติดโจไปตลอดเวลา"[14] รวมถึง โทนี่ สโตร์บ, เมล เกรฟฟ์ และ รัซเซลล์ คีตัน ก็ได้รับการติดต่อเช่นกัน[14] โดยคีตันจะทำหน้าที่ดูแลเรื่องภาพวาดและลายเส้น ส่วนเนื้อเรื่องนั้นเป็นผลงานของชีเกลโดยมีเรื่องราวว่า ซูเปอร์แมนคือทารกผู้รอดชีวิตคนสุดท้ายของโลกและได้รับการส่งตัวมาในช่วงเวลาปัจจุบัน โดยมี แซม และ มอลลี่ เคนต์ เป็นผู้พบเจอและเลี้ยงดู[15] อย่างไรก็ตาม คีตันก็มีปัญหาในการทำงานร่วมกับกับชีเกล และหลังจากนั้นไม่นาน เจอร์รี ชีเกลกับโจ ชูสเตอร์ ก็ได้กลับมาสร้างสรรค์ตัวละครตัวนี้ร่วมกันอีกครั้ง[14]

ทั้งคู่ได้เริ่มออกแบบตัวละครใหม่อีกครั้ง ตัวละครที่ภายหลังจะกลายมาเป็นฮีโรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งได้รับแรงบัลดาลใจในการออกแบบมาจากตัวละครในเทพนิยายอย่าง แซมชัน และ เฮอร์คิวลิส,[16] ผู้ซึ่งต่อสู้เพื่อความยุติธรรมและต้องเผชิญหน้ากับเหล่าทรราชทั้งหลาย ในการออกแบบเครื่องแต่งกายให้แก่ตัวละครนั้น ชีเกลได้กำหนดการออกแบบในครั้งนี้ไว้ว่า "ชุดของตัวละครนั้นน่าจะมีตัว S ใหญ่ ๆ บนหน้าอกและเป็นรูปทรงแหลม เราจะทำให้ตัวละครตัวนี้โดดเด่นและมีความสง่างามเท่าที่เราจะทำได้"[17] การออกแบบชุดของซูเปอร์แมนได้เค้าโครงมาจากตัวละครในนิตยสารที่มีชื่อว่า พัลพ์ แม็กกาซีน ซึ่งตัวละครนั้นคือ แฟลช กอร์ดอน,[18] ชายผู้แข็งแกร่งจากคณะละครสัตว์ที่ปรากฏตัวในชุดกางเกงขาสั้นแบบรัดรูป[17][19] อย่าไรก็ตามในการออกแบบรูปทรงแหลมในชุดของตัวละคร ถือว่าเป็นการออกแบบที่แตกต่างออกไปจากยุคสมัยแฟชัน วิคตอเรีย ชุดแต่งกายของฮีโรจากคณะละครสัตว์ผู้ซึ่งใส่เพียกางเกงรัดรูปเพียงตัวเดียวนั้นถือว่าเป็นต้นแบบชุดแต่งกายให้แก่ชุดฮีโรมากมายในยุคต่อ ๆ มา

ชื่อสถานที่และตัวละครในซูเปอร์แมนได้รับแรงบัลดาลใจมาจากภาพยนตร์หลาย ๆ เรื่อง ชูสเตอร์กล่าวไว้ในปี ค.ศ. 1983 ไว้ว่า "เจอร์รี่เป็นคนคิดชื่อเหล่านั้นทั้งหมด พวกเราเป็นแฟนพันธุ์แท้ของภาพยนตร์เลยละและเราได้นำชื่อพวกนักแสดง ๆ ต่างที่ผ่านตาพวกเรามาใช้ในเนื้อเรื่องของเรา อย่างเช่น คลาร์ก เคนต์ ชื่อนี้มาจากชื่อของ คลาร์ก เกเบิล และ เคนต์ เทย์เลอร์และก็เมโทรโปลิสชื่อเมืองในซูเปอร์แมนที่ใช้การดำเนินเรื่องนั้น ก็มาจากภาพยนตร์ของ ฟริท์ส แลง[Metropolis, 1927] ที่พวกเรา2คนชื่นชอบ".[20]

พวกเขาได้ขายผลงานให้แก่สำนักพิมพ์ชื่อดังหลายสำนักพิมพ์เช่น เนชันแนล อัลไลน์ พับลิชชิ่งสำนักพิมพ์ในเครือของ มัลค่อม วีลเลอร์-นิโคลสัน ทั้งคู่ได้ออกแบบตัวละครเพื่อนำไปใช้ในรูปแบบของหนังสือการ์ตูนที่มีขนาดความยาวของเรื่องมากกว่าการ์ตูนเรื่องใด ๆ ในสมัยนั้น พวกเขาได้เสนอผลงานให้แก่ แม็ก เกนส์ ซึ่งได้ยอมรับผลงานของพวกเขาทั้งสองและ ยูไนเต็ด ฟีเจอร์ ซินดิเคทก็ดูเหมือนว่าจะให้ความสนใจต่อผลงานชิ้นนี้แต่สุดท้ายก็ได้ส่งจดหมายมาเพื่อปฏิเสธไปในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1937 อย่างไรก็ตามนักประวัติศาสตร์อย่าง เลส แดเนี่ยลส์ได้แสดงความคิดเห็นว่า "แทบไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดเรื่องที่พลิกความคาดหมายแบบนี้ขึ้น" แม็ก เกนส์ได้ยุติบทบาทในตำแหน่งหัวหน้าด้านกำกับศิลป์ของสำนักพิมพ์ วีลเลอร์-นิโคลสันในนิตยสารชุดใหม่ของสำนักพิมพ์ซึ่งก็คือ แอกชัน คอมิกส์ วิน ซัลลิแวน บรรณาธิการของนิตยสารนั้นต้องการให้นำช่องการ์ตูนแบบเก่านำกลับมาใช้อีกครั้ง จึงได้ขอให้ทั้งคู่ออกแบบช่องการ์ตูนเป็น 8 ช่องต่อ 1 หน้ากระดาษ ถึงอย่างนั้น ชีเกล และ ชูสเตอร์ ก็ไม่ได้สนใจต่อคำพูดของวิน ซัลลิแวนทั้งคู่ยังคงใช้ความคิดและประสบการณ์ของตัวเองในการออกแบบ หน้ากระดาษ โดยชีเกลจะเป็นคนกำหนดรูปภาพที่ใช้ในการขึ้นปกของนิตยสาร แอกชัน คอมิกส์ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน1938) ซึ่งเป็นการปรากฏตัวเป็นครั้งแรกของซูเปอร์แมน[21] และในเดือนกุมภาพันธ์ปี ค.ศ. 2010 ได้มีการจัดประมูลนิตยสาร แอกชัน คอมิกส์ ฉบับที่ 1 ขึ้น ซึ่งได้รับการประมูลไปด้วยราคา $1,000,000.[22]

ชีเกลอาจจะได้รับแรงบัลดาลใจในการออกแบบตัวละคร ซูเปอร์แมน ว่ามาจากการเสียชีวิตของพ่อเขา มิทเชล ชีเกลย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำธุรกิจเสื้อผ้า ในเมืองคลีฟส์แลนด์ ใกล้กับฝั่งตะวันออก เขาเสียชีวิตด้วยฝีมือของโจรที่เข้ามาปล้นร้านของเขาในปี ค.ศ. 1932 หนึ่งปีก่อนที่ซูเปอร์แมนจะถือกำเนิดขึ้นมา แม้ว่าชีเกลจะไม่เคยพูดถึงการตายของพ่อเขาในการให้สัมภาษณ์ แต่ เจอร์ราร์ด โจนส์ และ แบรด เมลท์เซอร์ เชื่อว่าเหตุการณ์นี้ต้องมีผลต่อผลงานของชีเกล โจนส์ได้กล่าวว่า "มันต้องมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างแน่นอน" ส่วนเมลท์เซอร์ ก็ได้แสดงความคิดเห็นว่า "มันต้องมีส่วนที่เชื่อมโยงกันแน่ เฉกเช่นการสูญเสียพ่อบังเกิดเกล้าของซูเปอร์แมน" "พ่อของคุณต้องตายเพราะการก่ออาชากรรม และคุณได้สร้างยอดมนุษย์ที่สุดยอดขึ้นมาเพื่อปกป้องโลก ผมรู้สึกเศร้าใจกับชีเกลแต่นี่แหละที่มาของซูเปอร์แมน "[23]

การจัดพิมพ์

แก้
 
ซูเปอร์แมนได้เปิดตัวเป็นครั้งแรกในนิตยสาร แอกชัน คอมิกส์ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน ค.ศ. 1938) ; วาดภาพปก โดย โจ ชูสเตอร์

ซูเปอร์แมนปรากฏตัวครั้งแรกในนิตยสาร แอกชัน คอมิกส์ เล่มที่ 1 จัดพิมพ์วันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1938 (จัดจำหน่าย มิถุนายน ค.ศ. 1938)[24] ในปี ค.ศ. 1939 ได้มีการเปิดตัว ซูเปอร์แมนฉบับรวมเล่ม โดยเป็นการรวบรวมตอนที่ตีพิมพ์จากนิตยสาร "แอกชัน คอมิกส์" ส่งผลให้ยอดขายของหนังสือนั้นถือได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก[25] จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1939 ซูเปอร์แมนได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสาร นิว ยอร์ค เวิลด์ แฟร์ คอมิกส์ ที่ภายหลังในหน้าร้อนในปี ค.ศ. 1942 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น เวิลด์ ฟินเนท คอมิกส์ รวมถึงในฉบับที่ 7 ของ ออล สตาร์ คอมิกส์ นอกจากนั้นซูเปอร์แมนยังออกมาปรากฏตัวเป็นครั้งแรกในบทบาทของสมาชิกกิตติมศักดิ์แห่งกลุ่มจัสทิส โซไซตี้ออฟอเมริกาอีกด้วย

ในเริ่มแรก เจอร์รี ชีเกลและโจ ชูสเตอร์ จะเป็นคนจัดการและดูแลเนื้อเรื่องและภาพวาดก่อนนำไปตีพิมพ์ทั้งหมด อย่างไรก็ตามชูสเตอร์เริ่มมีอาการผิดปกติทางสายตาและประกอบกับการที่ตัวละครในเนื้อเรื่องที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การทำงานต้องหนักขึ้นไปด้วย สิ่งนี้ทำให้ชูสเตอร์ตัดสินใจสร้างสตูดิโอขึ้นมา เพื่อใช้ผลิตผลงานทางด้านศิลป์โดยเฉพาะ[25] และเขายังยืนยันว่าจะใช้สตูดิโอแห่งนี้วาดใบหน้าทุก ๆ หน้าของซูเปอร์แมน ส่วนภายนอกสตูดิโอนั้น แจ๊ค เบิร์นลีย์ เริ่มเข้ามาช่วยในการทำหน้าปกและเนื้อเรื่อง[26] จนถึงปี ค.ศ. 1941 นักวาดภาพที่มีชื่อว่า เฟร็ด เรย์ ก็ได้เข้ามาร่วมในการออกแบบหน้าปกของซูเปอร์แมนในบางฉบับ เช่น ซูเปอร์แมน ฉบับที่ 14 (กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942) ที่ภายหลังกลายเป็นฉบับที่ทรงคุณค่าและมีการพิมพ์ซ้ำอยู่บ่อยครั้ง ต่อมาเวย์ บอร์ริ่งจึงได้เข้ามาทำงานในสตูดิโอของชูสเตอร์เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมของสตูดิโอที่จะต้องร่วมงานกับดีซีในปี ค.ศ. 1942 โดยจะต้องจัดพิมพ์ผลงานลงในนิตยสาร ซูเปอร์แมน และ แอกชัน คอมิกส์[27] หลังจากนั้นอัล พลาสติโน่ ได้รับจ้างให้ทำงานต่อจากลายเส้นของ เวย์ บอร์ริ่ง แต่ท้ายที่สุดแล้วพลาสติโน่ได้สร้างลายเส้นในแบบของตัวเองขึ้นมาและกลายมาเป็นหนึ่งในนักวาดที่ดีที่สุดในยุค โกลด์ แอนด์ ซิลเวอร์ เอจ คอมิกส์[28]

ในปี ค.ศ. 1939 ได้มีทีมงานเข้ามาช่วยแต่งเนื้อเรื่องการผจญภัยให้แก่ซูเปอร์แมนได้แก่ วิทนีย์ เอลล์เวิร์ธ, มอร์ท ไวซิงเกอร์ และ แจ๊ค ชิฟฟ์ ซึ่งทั้งหมดได้รับการว่าจ้างจากวิน ซัลลิแวน พร้อมกับกองบรรณาธิการชุดใหม่ได้แก่ เอ็ดมอน แฮมิลตัน, แมนลี่ เวด เวล์แมน และ อัลเฟรด เบสเตอร์ โดยผู้คนเหล่านี้ล้วนเป็นนักเขียนนิยายเชิงวิทยาศาสตร์[29]

ในปี ค.ศ. 1943 เจอร์รี ชีเกล ได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานเฉลิมฉลองกองทัพอยู่บ่อยครั้งส่งผลให้ผลงานของชีเกลนั้นมีจำนวนลดลง ดอน คาร์เมร่อน และ อัลวิน ชวาร์ท จึงได้เข้าร่วมสู่ทีมเขียนบทโดยชวาร์ทนั้นจะทำงานร่วมกับ เวย์ บอร์ริ่งในการผลิต ซูเปอร์แมน ในหนังสือพิมพ์ ซึ่งได้จัดทำมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1939 โดยชีเกลและชูสเตอร์[27]

ในปี ค.ศ. 1945, ซูเปอร์บอย ได้ปรากฏตัวครั้งแรกในนิตยสาร มอร์ ฟัน คอมิกส์ ฉบับที่ 101 หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1946 ได้ย้ายมาตีพิมพ์ในนิตยสาร แอดเวนเจอร์ คอมิกส์ โดยใช้ชื่อเรื่องว่า ซูเปอร์บอยและได้รวมเล่มในปี ค.ศ. 1949 จนกระทั่งในช่วงปี ค.ศ. 1950 ได้มีการเปิดตัวผลงานชุดใหม่ของซูเปอร์แมนเรื่องซูเปอร์แมน พอล จิมมี่ โอลเซ่น (ในปี ค.ศ. 1954) และ ซูเปอร์แมน เกิร์ลเฟรนด์ ลูอิส เลน (ในปี ค.ศ. 1958) ต่อมาในปี ค.ศ. 1974 ทั้งสองเรื่องได้รวมเข้าไปอยู่ในชุดซีรีส์ของ ซูเปอร์แมน แฟมิลี่ อย่างไรก็ตามซีรีส์ชุดนี้ถูกยกเลิกไปในปี ค.ศ. 1982 ส่วนนิตยสาร ดีซีคอมิกส์ พรีเซนท์ ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1978 ถึงปี ค.ศ. 1986 จะเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการรวมตัวของซูเปอร์แมนและตัวละครอื่น ๆ ใน ดีซี ยูนิเวอร์ส.

ในปี ค.ศ. 1986 มีการตัดสินใจเพื่อสร้างเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างซูเปอร์แมนกับตัวละครอื่น ๆ ของดีซีในซีรีส์เรื่องสั่นที่มีชื่อว่า คริซิส ออน อินฟิไนท์เค้าโครงมาจากผลงานเรื่อง "วอทเอเวอร์ แฮพเพ่น ทู เดอะ แมนออฟทูมอร์โรว์"ซึ่งมีจำนวน 2 ตอนเขียนบทโดย อลัน มัวร์ ภาพประกอบโดยเคิร์ท สวอน, จอร์จ เปเรส และ เคิร์ท ชาฟเฟนเบอร์เกอร์.เรื่องราวชุดนี้ได้ตีพิมพ์ในนิตยสาร ซูเปอร์แมน ฉบับที่ 423 และนิตยสารแอกชัน คอมิกส์ ฉบับที่ 583 ซึ่งเลส แดเนี่ยลส์ได้ให้ความเห็นว่า "แฟน ๆ ของซูเปอร์แมนที่พลาดผลงานชิ้นนี้ ความรู้สึกของพวกเขาจะรู้สึกเหมือนกับว่าตัวเองพลาดผลงานชิ้นสุดท้ายของซูเปอร์แมนก็เป็นได้ "[30]

ซูเปอร์แมนได้นำกลับมาทำใหม่อีกครั้งโดยนักเขียนและนักวาดภาพที่ชื่อว่า จอห์น ไบรอัน ในเนื้อเรื่องที่ชื่อว่าเดอะ แมน ออน สตีล (ค.ศ. 1986) ในปี ค.ศ. 1986 ได้ยกเลิกการจัดพิมพ์นิตยสาร เวิลด์ ไฟเนท คอมิกส์ และ ได้เปลี่ยนชื่อนิตยสารของซูเปอร์แมนเป็น เดอะ แอดเวนเจอร์ออฟซูเปอร์แมน นิตยสารซูเปอร์แมนในรูปแบบที่ 2 โดยได้เริ่มจัดจำหน่ายในปี ค.ศ. 1987 เรื่อยมาจนกระทั่งสิ้นสุดในปี ค.ศ. 2006 หลังจากที่จบลง เดอะ แอดเวนเจอร์ออฟซูเปอร์แมน ได้กลับมาตีพิมพ์อีกครั้งในนิตยสาร ซูเปอร์แมน ที่มีชื่อว่า ซูเปอร์แมน: เดอะ แมน ออน สตีล ที่เริ่มจัดจำหน่ายในปี ค.ศ. 1991 จนถึงปี ค.ศ. 2003 ในขณะที่นิตยสารไตรมาสอย่าง ซูเปอร์แมน: เดอะ แมนออฟทูมอร์โรว์ นั้นจัดจำหน่ายในปี ค.ศ. 1995 จนถึงปี ค.ศ. 1999 และในปี ค.ศ. 2003 นิตยสาร ซูเปอร์แมน/แบทแมน จึงเริ่มจัดจำหน่ายและสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 2011 เช่นเดียวกับซีรีส์หายากที่มีชื่อว่า ซูเปอร์แมน: เบิร์ธไรท์ ส่วนเรื่อง ออล-สตาร์ ซูเปอร์แมน นั้นเริ่มจัดพิมพ์ในปี ค.ศ. 2005 และเรื่อง ซูเปอร์แมน คอนฟิเดนเชี่ยล ก็ได้เริ่มตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2006 (ภายหลังยกเลิกไปในปี ค.ศ. 2008) ซูเปอร์แมนยังได้ทำเป็นซีรีส์การ์ตูนทางโทรทัศน์ที่ดัดแปลงเนื้อเรื่องมาจากหนังสือการ์ตูนในชื่อเรื่องว่า ซูเปอร์แมน แอดเวนเจอร์ (ค.ศ. 1996–ค.ศ. 2002), จัสติสลีก แอดเวนเจอร์, จัสติสลีก อันลิมิต (ยกเลิกในปี ค.ศ. 2008) และ เดอะ ลีเจียนออฟซูเปอร์-ฮีโร อิน เดอะ 31 เซนจูรี่ (ยกเลิกในปี ค.ศ. 2008)

ในปี ค.ศ 2011 ดีซีคอมิกส์ได้มีการนำซูเปอร์แมนกลับมาทำใหม่อีกครั้ง โดยใช้เรื่องมาจาก เรื่องราวทั้งหมด.[31] ที่เคยจัดทำในนิตยสารซูเปอร์แมน และ แอกชัน คอมิกส์ 2 นิตยสารที่ถูกยกเลิกไปได้นำกลับมาทำใหม่อีกครั้งโดยเริ่มตั้งแต่เล่มที่1[32] เครื่องแต่งกายของซูเปอร์แมนได้รับการออกแบบใหม่ให้ดูแข็งแกร่งขึ้นและยกเลิกกางเกงสีแดงที่สวมไว้นอกเครื่องแบบ

ในปัจจุบัน นิตยสารที่เกี่ยวกับซูเปอร์แมนที่จัดพิมพ์อยู่นั้นได้แก่ นิตยสาร ซูเปอร์แมน, แอกชัน คอมิกส์ และ จัสติสลีกนอกจากนี้ซูเปอร์แมนยังได้ไปปรากฏตัวบ่อย ๆ ในบทดารารับเชิญในนิตยสารเรื่องอื่น ๆ ของดีซีอีกด้วย

อิทธิพล

แก้

เรื่องราวของซูเปอร์แมนได้รับอิทธิพลมาจากสภาพของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ของสังคมอเมริกา จะเห็นได้ชัดเจนจากจากมุมของของผู้สร้างตัวละครทั้ง 2 คน ชูสเตอร์และชีเกลที่ได้สะท้อนออกมาจากเนื้อเรื่องช่วงต่าง ๆ ของซูเปอร์แมน ซูเปอร์แมนนั้นจะมีบทบาทเหมือนตัวแทนของผู้คนในสังคมที่ต้องเผชิญกับพวกนักธุรกิจที่เห็นแก่ตัวและนักการเมืองจอมปลอมที่พยายามจะเข้ามาเอาเปรียบประชาชนด้วยวิธีต่าง ๆ [33] ทฤษฎีนี้ได้รับความเห็นชอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านหนังสือการ์ตูนอย่าง โรเจอร์ ซาบิน ซึ่งมันคือสิ่งที่เห็นได้จาก "อุดมการณ์เสรีนิยมของ แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ที่เรียกว่า นโยบายเศรษฐกิจใหม่" โดย ชูสเตอร์และชีเกลเริ่มทำให้ให้ซูเปอร์แมนเหมือนกับวีรบุรุษที่สามารถเผชิญหน้ากับปัญหาทุก ๆ อย่างที่เกิดขึ้นมาบนโลกใบนี้[34] โดยเรื่องราวของซูเปอร์แมนในรายการวิทยุนั้นตัวซูเปอร์แมนต้องประสบกับอุปสรรคต่าง ๆ และเผชิญหน้ากับองค์กรที่คล้าย ๆ กับ เค.เค.เค (องค์กรเหยียดสีผิว) ในซีรีส์เรื่อง เดอะ แอดเวนเจอร์ออฟซูเปอร์แมน ออกอากาศในปี ค.ศ. 1946.[35][36] ชีเกลและชูสเตอร์ได้นำรูปแบบความเป็นอยู่ของเด็กผู้อพยพชาวยิวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในเนื้อเรื่องด้วย แต่ทิโมธี, แอรอน และ พีวีย์ ได้แย้งขึ้นมาว่า "เรื่องของพวกผู้อพยพนั้นควรจะจำกัดขอบเขตการออกแบบให้อยู่ในเฉพาะประวัติศาสตร์ของอเมริกาเท่านั้นเพราะนี่คือเรื่องราวของคนอเมริกา" พีวีย์รู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญที่จะบ่งบอกถึงตัวตนของชาวอเมริกัน[37]

ชีเกลได้นำเอาเหล่าวีรบุรุษในเทพนิยายจากหลาย ๆ เรื่องเป็นแนวทางในการออกแบบตัวละคร เช่น เฮอร์คิวลิสและแซมซั่น[17] สก็อต บูแคทมันได้ให้ความเห็นว่าตัวละครตัวนี้คือ "มีบุคลิกส่วนหนึ่งเป็นของบุคคลที่ยิ่งใหญ่อย่าง ลินด์เบิร์ก ... (และ) อาจรวมถึง เบ๊บ รูทธ" ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตัวละครตัวนี้คือตัวแทนของชาวอเมริกันที่จะมาสร้างเรื่องราวอันยิ่งใหญ่ผ่านร่างกายที่ทรงพลัง ... ที่ไม่เคยเกิดขึ้นที่ไหนบนโลกนี้มาก่อน[38] นอกจากนี้ชีเกลและชูสเตอร์ยังได้จดบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ มาเป็นแนวทางในการสร้างผลงานจากนิยายแนววิทยาศาสตร์ที่ทั้งคู่ชื่นชอบ[10] บางทีสิ่งที่มีผลต่อการทำงานของทั้งคู่นั้นอาจจะเป็นตัวละครที่ชื่อว่า ฮิวโก้ แดนเนอร์ ซึ่งเป็นตัวละครเอกใน แกลดิเอเตอร์ นวนิยายในปี ค.ศ. 1930 แต่งโดย ฟิลลิป ไวลี ผู้ซึ่งมีพลังคล้าย ๆ กับซูเปอร์แมนในช่วงแรก[39]

ผู้ออกแบบและเชี่ยวชาญด้านการ์ตูน จิม สเตอรันโก ได้กล่าวถึงวีรบุรุษจากนิยายอย่าง ด๊อค ซาเวจ ตัวละครอีกตัวที่ใช้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างซูเปอร์แมนโดยสังเกตจากความคล้ายกันระหว่างลายเส้นของชูสเตอร์กับรูปภาพของด๊อค ซาเวจ จนอาจกล่าวได้ว่า" ซูเปอร์แมนนั้นมีความคล้ายคลึงับวีรบุรุษร่างยักษ์อย่างด๊อค ซาเวจ".[40] แต่ สเตอรันโกก็ยังสรุปไม่ได้ว่ารูปแบบตัวละครจากในนิยายนั้นจะใช้เป็นประเด็นหลักในการออกแบบซูเปอร์แมน "การออกแบบซูเปอร์แมนของชีเกลนั้นได้กำหนดรูปแบบไว้อยู่ 3 รูปแบบที่แตกต่างกันนั่นคือ เป็นสิ่งมีชีวิตจากนอกโลก, เป็นยอดมนุษย์หรือไม่ก็เป็นทั้งสองสิ่งนี้ ชีเกลได้กำหนดความสามารถพิเศษโดยใช้องค์ประกอบจากรูปแบบทั้ง 3 รูปแบบและนำแนวคิดเหล่านี้มาใช้รวมกันในการผลิตผลงาน ส่วนแรงบัลดาลใจของชีเกลนะหรือ แน่นอน!ต้องมาจากนิยายอยู่แล้ว ",[40] ส่วนนิยายเรื่องอื่น ๆ ที่น่าจะมีอิทธิพลต่อซูเปอร์แมนนั้นเป็นผลงานของ "จอห์น ดับเบิ้ลยู แคมป์เบล ชื่อเรื่องว่า อาร์น มุนโร ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชายผู้สืบเชื้อสายของมนุษย์โลกผู้ที่เติบโตบนดาวพฤหัส แต่เนื่องจากแรงโน้มถ่วงที่แตกต่างกันระหว่างทั้งสองดวงดาวส่งผลให้ อาร์น มุนโร มีพละกำลังมหาศาล และได้สร้างวีรกรรมอันยิ่งใหญ่บนดาวพฤหัสซึ่งสิ่งนี้คือสิ่งที่เหมือนกับซูเปอร์แมนบนโลก

เนื่องจากชีเกลและชูสเตอร์ต่างก็เป็นชาวยิว ผู้เขียนบทความทางศาสนาและนักวิชาการชื่อดังบางคนอย่างเช่น แรบบิ ซิมชา เวนสไตน์และนักเขียนนิยายชาวอังกฤษ ฮาวเวอร์ด จาค๊อบสัน ต่างเห็นพ้องว่า ซูเปอร์แมนนั้นได้รับอิทธิพลในการออกแบบมาจาก โมเสส,[41][42] และองค์ประกอบอื่น ๆ ของชาวยิว เช่น ชื่อภาษาคริปตอนของซูเปอร์แมนนั้นคือ "คาล์-เอล" นั้นคล้ายกับคำใน ภาษาฮีบรู קל-אל, ซึ่งมีความหมายว่า "เสียงแห่งพระเจ้า".[43] คำลงท้าย "เอล", หมายความว่า "(แห่ง) พระเจ้า"[44] ซึ่งจะพบได้จากชื่อของเหล่าทวยเทพ (ยกตัวอย่างเช่น Gabriel, Ariel) เหล่าเทพผู้คอยช่วยเหลือมวลมนุษย์ด้วยพลังแห่งความดี ส่วนในตำนานของชาวยิวที่เกี่ยวข้องกับ โกเลม ก็มีการกล่าวถึงในแง่ดี[45] โกเลม หนึ่งในตำนานที่ถูสร้างขึ้นมาเพื่อปกป้องและดูแลชาวยิวที่โดนกดขี่ในยุคศตวรรษที่ 16 ณ กรุงปราก ที่ภายหลังได้กลายมาเป็นเมืองแห่งวัฒนธรรมที่สำคัญของยุโรปหลังจากต้องทนทุกข์ทรมานจากการกระทำของพวก นาซี ในช่วงปี ค.ศ. 1930 และ 1940 ซูเปอร์แมนมักได้รับการเปรียบเทียบกับพระเยซู ผู้ที่ได้ช่วยเหลือมนุษย์ชาติ[34][42][45][46] นอกจากนี้ชื่อสกุล เคนต์ นั้นในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 เป็นที่ฟังดูล้าสมัยไม่เหมือนกับชื่อ "โคเชน" ซึ่งจะพบบ่อยในสังคมอเมริกา

เรื่องราวของซูเปอร์แมนนั้นได้รับการยกย่องเป็นครั้งแรกจากฟรีดริช นีทเชอแต่ก็ยังไม่มีสิ่งใดยืนยันได้ว่านีทเชอนั้นมีบทบาทสำคัญในการให้แนวคิดแก่ชีเกลและชูสเตอร์[42] เลส แดเนียลส์ได้ให้ข้อสันนิษฐานว่า "ชีเกลได้นำเอาส่วนหนึ่งของเรื่องราวมาจากนิยายแนววิทยาศาสตร์หลาย ๆ เรื่องมันเหมือนกับว่าเขาได้จ้างนักเขียนมาจำนวนมากโดยที่เขาไม่ต้องกังวลกับค่าจ้างของพวกนักเขียนเหล่านั้น คุณจะสังเกตได้ว่าเรื่องราวของเขาจะเป็นที่จดจำของผู้คนหลายร้อยล้านคนแต่ในจำนวนนั้นแทบจะไม่มีคนที่จะจะรู้จักนีทเชอเลย"[17] ส่วนข้อโต้แย้งอื่น ๆ เกี่ยวกับแนวคิดของชีเกลและชูสเตอร์ บ้างก็ว่า "คุณอาจจะไม่ทราบมาก่อนว่าแนวความคิดของพวกเขานั้นมาจากพรรคแรงงานสังคมนิยมแห่งชาติของฮิตเลอร์ แต่แนวความคิดนี้ก็เป็นแค่เรื่องที่พูดคุยกันลอย ๆ เท่านั้น"[47] เย็ท จาค๊อบสันและคนอื่น ๆ ชี้ไปที่ความเป็นไปได้หลาย ๆ อย่างที่ซูเปอร์แมนและวีรบุรุษอย่างอูเบอร์เมนเชอร์ ที่อยู่กันคนละฟากของโลกจะมีความเกี่ยวข้องกัน[41] นีทเชอได้สร้างสรรค์ตัวละคร อูเบอร์เมนเชอร์ ผู้ซึ่งมีความสามารถเหนือคนธรรมดาทั่วไป,มีคุณธรรม และมีชีวิตอย่างปกติสุขในขณะที่อยู่กับผู้คนทั่วไป ซูเปอร์แมนนั้นได้ความสามารถมาจากพลังอันแข็งแกร่งของเผ่าพันธุ์จากนอกโลกและเลือกที่จะมาใช้ชีวิตอย่างมนุษย์โลก นีทเชอได้ใช้จินตนาการในการสร้างตัวละครที่ดีที่สุดของตัวเองและกลายมาเป็นแนวทางให้แก่ตัวละครที่ดีที่สุดของชีเกลและชูสเตอร์ซึ่งมีความสมบูรณ์แบบยิ่งกว่า[48]

ชีเกลและชูสเตอร์เลือกต้นแบบของตัวละครที่จะนำมาใช้ในผลงานของพวกเขา ทั้งคู่ได้อ่านหนังสือจำนวนมาก และพวกเขายังชอบนิยายแนววิทยาศาสตร์เหมือนกันซึ่งมันช่วยให้ทั้งคู่สนิทกันยิ่งขึ้นไปอีก ชีเกลใช้ตัวละคร จอห์น คาร์เตอร์ เข้ามาเป็นต้นแบบในการดำเนินเรื่อง "คาร์เตอร์นั้นมีความสามารถในการพุ่งทะยานด้วยความเร็วสูงเนื่องจากดาวอังคารนั้นมีขนาดเล็กกว่าโลกและเขายังมีความแข็งแกร่งอย่างมาก ผมจึงออกแบบให้ดาวคริปตันนั้นเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่ใหญ่กว่าโลกมาก ๆ [20] ผลงานชิ้นนี้ยังมีเค้าโครงมาจากการ์ตูนในวัยเด็กที่พวกเขาชอบตัดเก็บออกมาจากหนังสือพิมพ์ เรื่อง ลิตเติ้ล นีโม แต่งโดย วินเซอร์ แม็คเคย์ การ์ตูนที่ทั้งสองใช้เป็นแหล่งกำเนิดของจินตนาการ[49] ชูสเตอร์ได้ดูผลงานจากนักวาดภาพที่มีชื่อเสียงจำนวนมากเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาลายเส้นของตัวเอง แต่ไม่มีใครจะมีอิทธิพลต่อลายเส้นของชูสเตอร์ไปมากกว่า "อเล็กซ์ เรย์มอนด์ และ เบิร์น โฮกราธ ซึ่งเป็นคนที่ผมยกย่อง อาจรวมถึง มิลท์ คานิฟฟ์, ฮัล ฟอสเตอร์, และ รอย เครน แต่ถ้าเป็นผลงานทางภาพยนตร์ที่มีอิทธิพลต่องานของเรามากที่สุดก็ต้องเป็นภาพยนตร์ของ ดั๊กลาส แฟร์แบงส์ ซีเนียร์"[50] โดยแฟร์แบงส์รับบทเป็น โรบิน ฮู้ด ซึ่งเราใช้เรื่องนี้เป็นแบบอย่างในการทำให้ซูเปอร์แมนได้ปรากฏตัวในแบบฉบับภาพยนตร์[51] ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังใช้เป็นแบบในการดำเนินเรื่องและการจัดวางหน้ากระดาษอีกด้วย[52] ในขณะที่ชื่อเมือง เมโทรโพลิสนั้นได้ชื่อนี้มาจากภาพยนตร์ของ ฟริท์ซ แลง โมชัน พิคเจอร์ เรื่อง เมโทรโพลิส.[20]

ลิขสิทธิ์การครอบครอง

แก้

แต่เดิมนั้นผลงานของซูเปอร์แมนนั้นเป็นของนิตยสาร แอกชัน คอมิกส์ โดยชีเกลและชูสเตอร์ได้ตกลงทำสัญญาการจัดพิมพ์เรื่องราว ตัวละคร และสิ่งของต่างภายใต้แบรนด์ของซูเปอร์แมน โดยทั้งคู่ได้ค่าทำสัญญาเป็นเงิน $130[53][54] หนังสือพิมพ์ เดอะ แซทเทอร์เดย์ อีฟนิ่ง โพสท์ ได้รายงานในปี ค.ศ. 1940 เอาไว้ว่าทั้งคู่ได้ค่าตอบแทนประมาณ $75,000 ต่อปี ซึ่งถือว่าเป็นเงินจำนวนที่น้อยมากถ้าเทียบกับรายได้ของนิตยสารที่มีจำนวนผู้อ่านเป็นล้านคนที่ติดตามอ่านเรื่องซูเปอร์แมน[55] ชีเกลและชูสเตอร์จึงได้ต่อรองเรื่องรายได้ในสัญญาฉบับใหม่แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าจนในปี ค.ศ. 1947 ชีเกลและชูสเตอร์ ได้ยื่นฟ้องร้องเพื่อที่จะทำให้สัญญาที่พวกเขาเคยทำไว้ในปี ค.ศ. 1938 กลายเป็นโมฆะ และทำสัญญาลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ให้แก่ผลงานเรื่องซูเปอร์แมน นอกจากนั้นทั้งคู่ยังยื่นฟ้องต่อสำนักพิมพ์ในปีเดียวกันเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ของซูเปอร์บอย ซึ่งพวกเขาให้เหตุผลว่าเป็นตัวละครที่พวกเขาสร้างแยกออกมาซึ่งสำนักพิมพ์นำไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต หลังจากเหตุการณ์นั้นทั้งคู่ถูกสำนักพิมพ์ไล่ออกทันทีแต่ทางสำนักพิมพ์ก็ยังเก็บผลงานต่าง ๆ ของทั้งคู่เอาไว้ ในที่สุดการต่อสู้ทางกฎหมายก็จบลงในปี ค.ศ. 1948 เมื่อศาลแห่งนิวยอร์กได้ตัดสินให้ยึดถือสัญญาที่เคยทำไว้ในปี ค.ศ. 1938 อย่างไรก็ตามการพิจารณาคดีจากผู้พิพากษา เจ แอดดิสัน ยัง ทั้งคู่ก็ยังได้รับข่าวดีอยู่บ้างในลิขสิทธิ์การครอบครองซูเปอร์บอย หลังจาก 1เดือนในการตัดสินคดีการครอบครองลิขสิทธิ์ในซูเปอร์บอยทั้งสองฝ่ายก็หาข้อยุติได้ โดยสำนักพิมพ์จะจ่ายเงินให้แก่ชีเกลและชูสเตอร์เป็นจำนวนราว $94,000 สำหรับค่าลิขสิทธิ์ที่ถือครองผลงานเรื่อง ซูเปอร์บอย ส่วนสถานะของทั้งคู่ในสำนักพิมพ์ยังคงเป็นที่ยอมรับในฐานะนักเขียนผู้สร้างผลงานเรื่องซูเปอร์แมน แต่ทางดีซีนั้นก็ปฏิเสธที่จะรับทั้งคู่กลับเข้าไปทำงานอีกครั้ง[56]

 
เจอร์รี่ ซีเกล พร้อมกับ โจแอนนา (ภรรยา) และ ลอร์ร่า (ลูกสาว) ในปี ค.ศ. 1976 โดยโจแอนนาและลอร์ร่า ซีเกล ได้ทำสัญญาในการรักษาผลประโยชน์ของซีเกลในการครอบครองลิขสิทธิ์ของซูเปอร์แมนในปี ค.ศ. 1999

ในปี ค.ศ. 1973 ชีเกลและชูสเตอร์ ต้องมีเรื่องในการฟ้องร้องลิขสิทธิ์เกี่ยวกับเครื่องแต่งกายของซูเปอร์แมน ซึ่งครั้งนี้เป็นผลมาจาก กฎหมายลิขสิทธิ์ที่ชื่อว่า กฎหมายว่าด้วยการครอบครองลิขสิทธิ์ ฉบับปี ค.ศ. 1909 กฎหมายที่ทำให้มีสิทธิ์ในการครอบครองผลงานได้ 28 ปี แต่สามารถขยายสัญญาได้ในกรณีพิเศษออกไปอีก 28 ปี ซึ่งข้อโต้แย้งของทั้งคู่นั้นต้องการให้ดีซีถือลิขสิทธิ์นี้ได้แค่ 28 ปีเท่านั้น ซึ่งครั้งนี้ทั้งคู่แพ้คดีทั้ง 2 ศาลไม่ว่าจะเป็น ศาลแขวง ได้พิจารณาคดีเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1973 และ ศาลอุทธรณ์ ได้พิจารณาคดีเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1974[57][58]

ในปี ค.ศ. 1975 หลังจากมีข่าวรายงานว่าทั้งคู่มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างยากลำบากองค์กรวอร์เนอร์ คอมมูนิเคชันจึงได้มอบเงินบำนาญตลอดชีพให้แก่ชีเกลและชูสเตอร์เป็นจำนวนเงิน $20,000 ต่อปีรวมถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ เจย์ เอ็มเม็ทท์ ซึ่งหลังจากนั้นกลายมาเป็นประธานของวอร์เนอร์ บราเธอร์สได้ให้สัมภาษณ์ผ่านหนังสือพิมพ์ นิว ยอร์ค ไทม์ ว่า "แม้กฎหมายจะไม่ได้มาสั่งให้เราทำสิ่งเหล่านี้ แต่ผมรู้สึกได้ถึงด้านจริยธรรมที่ผลักดันให้ผมทำสิ่งเหล่านี้ "[55] ไฮดิ แม็คโดนัลด์ ได้เขียนบทความให้แก่ นิตยสาร พับลิเชอร์ วีคลีย์ โดยได้บันทึกไว้ว่า นอกจากเรื่องของเงินบำนาญนั้น "วอร์เนอร์ตกลงที่จะใส่ชื่อทั้งชีเกลและชูสเตอร์ในฐานะผู้สร้างและออกแบบซูเปอร์แมนในผลงานหนังสือ, ซีรีส์ และภาพยนตร์ ทุก ๆ เรื่อง ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ".[54]

หลังจากที่เรื่องราวการถือครองลิขสิทธิ์สงบลงได้เพียง 1 ปี ในปี ค.ศ. 1976 ปัญหาการถือครองลิขสิทธิ์ก็ได้เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งซึ่งครั้งนี้เป็นปัญหาการครอบครองในช่วงเวลา 19 ปีที่เหลือจากทั้งหมด 75 ปี อย่างไรก็ตาม ประเด็นในครั้งนี้คือการยินยอมให้นักเขียนคนอื่น ๆ เข้ามาดัดแปลงผลงานของพวกเขาจากผลงานดั้งเดิมที่ชีเกลและชูสเตอร์ช่วยกันสร้างขึ้นมาในปี ค.ศ. 1973 กฎหมาย กฎหมายว่าด้วยการครอบครองลิขสิทธิ์ ฉบับปี ค.ศ. 1976 เริ่มมีผลในปี ค.ศ. 1978 และยินยอมให้มีการปรับปรุงสัญญาในหัวข้อที่ว่าด้วยการครอบครองลิขสิทธิ์ก่อนหน้านี้เป็นเวลา 56 ปี ซึ่งนั่นหมายความว่าลิขสิทธิ์การถือครองซูเปอร์แมนนั้นจะกลับมาเป็นของทั้งคู่ในช่วงปี ค.ศ. 1994 ถึง ค.ศ. 1999 โดยยึดตามวันเริ่มจำหน่ายในปี ค.ศ. 1938 เจอร์รี่ ชีเกลนั้นได้เสียชีวิตลงในเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1996 ดังนั้นภรรยาและลูกสาวของเขาจึงกลายเป็นผู้ได้รับสิทธิ์นั้นในปี ค.ศ. 1999 ส่วนโจ ชูสเตอร์ถึงแม้ว่าเขาจะเสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1992 แต่จนถึงปัจจุบันก็ไม่ได้มีการทำสัญญาสิทธิ์การครอบครองให้เป็น ทรัพย์สิน[59]ของชูสเตอร์แต่อย่างใด

ในปี ค.ศ. 1998 ได้มีการขยายเวลาในการครอบครองลิขสิทธิ์อีกครั้งตามกฎหมายที่ชื่อว่าSonny Bono Copyright Term Extension Act ซึ่งสัญญาการครอบครองฉบับนี้จะขยายออกไปมากกว่าเดิมถึง 95 ปี สัญญาฉบับนี้ถือเป็นสัญญาลิขสิทธิ์ของซูเปอร์แมนที่มีระยะเวลาที่ยาวนานกว่าสัญญาในอดีตที่เคยทำมาทั้งหมด ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2004 มาร์ค เพียรี่ย์ หลานชายและผู้ครอบครองมรดกตามกฎหมายของ โจ ชูสเตอร์ ได้ออกมากำหนดสิทธิ์ในการครอบครองโดยตัวเขาจะถือครองลิขสิทธิ์ผลงานครึ่งหนึ่งของชูสเตอร์โดยจะมีผลตั้งแต่ปี ค.ศ 2013[59] เรื่องราวของการแบ่งลิชสิทธิ์การครอบครองกลายมาเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันในศาลระหว่างวอร์เนอร์ บราเธอร์สกับเหล่าทายาทของชูสเตอร์ โดยหัวข้อที่ถกเถียงกันนั้นคือเรื่องสัญญาที่ทางเหล่าทายาทของชูสเตอร์ต้องการให้ยกเลิกสัญญาฉบับบเก่าและเขียนสัญญาฉบับใหม่ขึ้นมา ซึ่งในครั้งนี้ศาลตัดสินให้เหล่าทายาทของชูสเตอร์เป็นผู้ชนะคดี ต่อมาใน เดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 2004 พวกเขาได้ยื่นฟ้องวอร์เนอร์ บราเธอร์สอีกครั้งในเรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์ ทางวอร์เนอร์ บราเธอร์สจึงได้ฟ้องกลับโดยอ้างว่าพวกเขาได้ปฏิบัติตามสัญญาทุก ๆ อย่างโดย วอร์เนอร์ บราเธอร์สนั้นได้อาศัยช่องว่างทางกฎหมายที่ไม่ครอบคลุมในสัญญาทำให้ชนะคดีมาได้ในที่สุด[60][61] ในวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 2008 ผู้พิพากษา ลาร์สัน แห่ง ศาลแขวงอเมริกาแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้ออกกฎหมายให้ทรัพย์สินของชูสเตอร์นั้นได้รับสิทธิ์จดทะเบียนในกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของอเมริกา ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ไม่เกี่ยวข้องกับกฎหมายลิขสิทธิ์นานาชาติที่ ไทม์ วอร์เนอร์ ถือครองลิขสิทธิ์ของตัวละครผ่านทางดีซี ส่วนประเด็นที่ยังคงเป็นปัญหาก็คือจำนวนเงินค่าตอบแทนของชีเกลที่สมควรจะได้ และได้มีการเรียกร้องสิทธิ์ในผลงานที่ต่อยอดออกมา เช่น ภาพยนตร์ ซึ่งจะมีการตัดสินในภายภาคหน้า อย่างไรก็ตามผลงานทุกอย่างของซูเปอร์แมนตั้งแต่ปี ค.ศ 1999 รายได้ทั้งหมดนั้นจะตกเป็นของไทม์ วอร์เนอร์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย[62][63] คำตัดสินนี้ประกาศออกมาในรัฐแคลิฟอร์เนียโดย ศาลรัฐบาลกลางแห่งอเมริกา ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2008[64]

ส่วนลิขสิทธิ์การครอบครองซูเปอร์บอยที่เป็นของภรรยาและลูกสาวของชีเกลนั้นได้หมดลงในปี 2002 ศาลได้มีการตัดสินให้ทั้งคู่ได้ลิขสิทธิ์การครอบครองออกไปอีกในวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 2006[65] อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 ศาลแห่งเดียวกันก็ได้แก้ไขคำตัดสิน[66] ผลการตัดสินของวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 2006 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงผลการตัดสินในครั้งนี้เป็นผลมาจากการยื่นฟ้องของไทม์ วอร์เนอร์ซึ่งในปัจจุบันก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้[62]

ในวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 ครอบครัวของชีเกลไม่ยอมรับต่อคำตัดสินของศาลในเรื่องของค่าลิขสิทธิ์ ผู้พิพากษา จี ลาร์สัน ผู้พิพากษาของศาลแขวงแห่งอเมริกาจึงได้ตัดสินให้ วอร์เนอร์ บราเธอร์ส และ ดีซีคอมิกส์ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ครอบครัวของชีเกลโดยคิดเป็นค่าชดเชยจากรายได้ของภาพยนตร์ในปี ค.ศ. 2006 ที่มีชื่อว่า ซูเปอร์แมน รีเทิร์น และซีรีส์จากสถานีโทรทัศน์ ซี ดับเบิ้ลยู เรื่อง สมอลล์วิลล์ นอกจากนั้นศาลยังมีคำสั่งให้ระงับการถ่ายทำภาพยนตร์ชุดใหม่ของซูเปอร์แมนที่มีกำหนดการเปิดกล้องในปี ค.ศ. 2011 จนกว่าครอบครัวของชีเกลจะได้รับค่าชดเชยที่สมเหตุสมผล[67]

ประวัติตัวละคร

แก้

ในโลกแห่งหนังสือการ์ตูน ซูเปอร์แมนนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน อีกทั้งยังสามารถพัฒนาความสามารถของตัวเองตามเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ได้เผชิญ[68]รูปแบบดั้งเดิมของซูเปอร์แมนนั้น สังเกตได้ว่าพลังความสามารถและอุปนิสัยใจคอจะเป็นไปในลักษณะรูปแบบตัวละครในยุค โกลเด้น เอจออฟคอมิกส์ บุ๊ค จนถึงยุค โมเดิร์น เอจส่วนเหล่าวายร้ายที่มาต่อกรกับซูเปอร์แมนนั้นก็มีการพัฒนาความสามารถอย่างต่อเนื่องจนถึงปีช่วงหลังปี ค.ศ. 1940 จึงมีการการพัฒนาความสามารถของซูเปอร์แมนให้บินได้ ส่งผลให้มีการสร้างตัวละครฝ่ายอธรรมชุดใหม่ในปี ค.ศ. 1941.[69] ซูเปอร์แมนนั้นต้องเรียนรู้ถึงการใช้ชีวิตในรูปแบบของมนุษย์โลกหลังจากที่เดินทางมาจากดาวคริปตันในปี ค.ศ. 1949 ส่วนรูปแบบการดำเนินเนื้อเรื่องยังคงยึดตามรูปแบบเดิมในปี ค.ศ. 1939 ที่เคยจัดทำเป็นการ์ตูนในหนังสือพิมพ์[70]

ในช่วงค.ศ. 1960 มีการเปิดตัว ซูเปอร์แมนตัวที่สอง โดยดีซีได้สร้างผลงาน จักรวาลคู่ขนาน ซึ่งเป็นการรวมตัวละครของดีซีโดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องหลัก และมีการตีพิมพ์ในช่วงปี ค.ศ. 1940 จนถึงช่วงปี ค.ศ. 1960 จึงได้มีการพิมพ์ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มนักอ่านนั้นเข้าใจถึงการมีตัวตน 2 รูปแบบของซูเปอร์แมนที่เป็นเหมือน จักรวาลคู่ขนานของกันและกัน ซูเปอร์แมนตัวที่สองนั้นได้รับบทบาทให้เป็นผู้นำของ 2 กลุ่มซูเปอร์ฮีโร คือ ในช่วงปี ค.ศ. 1940 คือกลุ่ม จัสทิส โซไซตี้ออฟอเมริกา และในช่วงปี ค.ศ. 1960 ได้แก่กลุ่ม จัสทิส ลีกออฟอเมริกา

 
ซูเปอร์แมนเสียชีวิตภายในอ้อมกอดของ ลูอิส เลน ใน: ซูเปอร์แมน ฉบับที่ 75 (ตอนที่ 2 จัดพิมพ์ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1993) ; วาดภาพ โดย แดน เจอร์เก้นส์ และ เบรทท์ บรีดดิ้ง

ในช่วงปี ค.ศ. 1980 มีการออกแบบรูปแบบใหม่ให้ซูเปอร์แมนโดยเพิ่มความรุนแรงเข้าไปในเนื้อเรื่อง ทาง ดีซี จึงได้ตัดสินใจถอดเรื่องจักรวาลคู่ขนานออกไปเพื่อปรับให้เนื้อเรื่องให้มีความเข้าใจง่ายกว่าเดิม สิ่งนี้ส่งผลให้ต้องมีการแต่ง เบื้องหลัง ความเป็นมาของตัวละครของ ดีซี ใหม่ทั้งหมดรวมถึงซูเปอร์แมนด้วย จอห์น ไบรอันจึงได้แต่งเรื่องซูเปอร์แมนใหม่โดยได้ถอดบทบาทหลาย ๆ บทที่สร้างขึ้นมาในช่วงแรกออก เช่น ซูเปอร์บอย และ ซูเปอร์เกิร์ล นอกจากนั้นไบรอันยังได้นำตัวละครดั้งเดิมอย่างพ่อ-แม่ บุญธรรมของซูเปอร์แมนกลับมาตีความใหม่[71] บทบาทเดิมของทั้งคู่นั้นได้รับการกำหนดให้เสียชีวิตในช่วงต้นเรื่องของซูเปอร์แมน (ช่วงเวลาที่คลาร์ก เคนต์จบการศึกษาในระดับมัธยมปลาย)

ในปี ค.ศ. 1993 ซูเปอร์แมนนั้นได้เสียชีวิตลงจากฝีมือของอาชญากรในนิตยสาร ดูมส์เดย์,[72] แต่หลังจากนั้นไม่นานก็มีการแต่งเรื่องให้ซูเปอร์แมนฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง[73] ซูเปอร์แมนได้แต่งงานกับลูอิส เลน ในปี ค.ศ. 1996 และมีทายาทด้วยกันในปี ค.ศ. 2004[74] ในปี ค.ศ. 2006 ซูเปอร์แมนได้สละพลังความสามารถทั้งหมดออกจากร่างกาย[75] อย่างไรก็ตาม1ปีให้หลังพลังเหล่านั้นก็กลับคืนมาสู่ซูเปอร์แมนอีกครั้ง[76]

หลังจากเผชิญหน้ากับ ไบรนิแอค ศัตรูผู้สังหารบิดาบังเกิดเกล้า ซูเปอร์แมนได้ค้นพบเมืองที่สาบสูญไปอย่าง กันดอร์ สถานที่ซึ่งมีชาวคริปตันอพยพมาอาศัยอยู่ 10,000 คน นอกจากนั้นชาวคริปตันยังได้พยายามสร้างดาวคริปตันดวงใหม่ โดยภายหลังชาวคริปตันเหล่านั้นได้มีการทำสงครามกับมนุษย์โลกส่งผลทั้งสองฝ่ายมีผู้บาดเจ็บล้มตายไปเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะชาวคริปตัน ดังนั้นภารกิจครั้งใหม่ของซูเปอร์แมนคือหาวิธีกลับมายังโลกอีกครั้งหนึ่ง

บุคลิกภาพ

แก้

ในเรื่องราวแรกเริ่มของ ซีเกล และ ชูสเตอร์นั้น บุคลิกของซูเปอร์แมนนั้นจะมีอารมณ์รุนแรงและก้าวร้าว เห็นได้จากการที่ตัวละครเข้าไปต่อสู้อย่างรุนแรงต่อ ไวฟ์ บีทเตอร์, โปรฟิเทียร์, ลินช์ ม็อบ และ กลุ่มผู้มีอิทธิพลต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นการใช้ความรุนแรงข่มขู่คู่ศัตรูให้กลัวมากกว่าใช้เหตุผล[33] หลังจากนั้นบรรดานักเขียนจึงได้ปรับอารมณ์ของซูเปอร์แมนให้เย็นลงและเพิ่มจินตนาการทางความคิดกับจิตใจที่ดีงามเข้าไป ทำให้ซูเปอร์แมนไม่ได้มีลักษณะนิสัยเลือดเย็นเหมือ แบทแมนในช่วงแรก ๆ ซูเปอร์แมนที่ปรากฏตัวในหนังสือในยุค ค.ศ. 1930 นั้นไม่ใส่ใจต่อการใช้พลังของตัวเองที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายที่ตามมา ซูเปอร์แมนในยุคนั้นมักจะจัดการเหล่าร้ายด้วยความรุนแรงจนถึงขั้นปางตาย แม้ว่าการกระทำอันป่าเถื่อนนี้นาน ๆ จะเกิดขึ้นในเนื้อเรื่องก็ตาม แต่พฤติกรรมทั้งหมดนี้ก็หมดลงไปในปี ค.ศ. 1940 เมื่อผู้อำนวยการผลิตคนใหม่ วิทนีย์ เอลล์เวิร์ธ ได้กำหนดบุคลิกรูปแบบใหม่ให้แก่ซูเปอร์แมนนั่นคือซูเปอร์แมนนั้นจะมีหลักการณ์ที่จะไม่สังหารผู้คนไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม[70] หลักการณ์นี้มีผลสะท้อนต่อเนื้อเรื่องขึ้นมาทันที โดยในเนื้อเรื่องซูเปอร์แมนนั้นได้ปฏิญาณเอาไว้ว่าจะไม่สังหารผู้คนอย่างเด็ดขาด หากเขาผิดคำพูดเขาจะถอนตัวจากการเป็นซูเปอร์แมนทันที[ต้องการอ้างอิง]

ในปัจจุบัน ซูเปอร์แมนจะมีลักษณะเป็นวีรบุรุษที่กล้าหาญ มีจิตใจที่ดีงามใช้ รักความยุติธรรม และคอยช่วยเหลือผู้คนจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ซูเปอร์แมนสร้างชื่อเสียงจากการช่วยเหลือผู้คนใน แถบมิดเวสต์ ด้วยนิสัยที่ยึดมั่นต่อคุณธรรมและจิตใจที่ดีงาม ซูเปอร์แมนนั้นจะปฏิบัติตัวอยู่ในกรอบของกฎหมายซึ่งกลายเป็นตัวอย่างให้ซูเปอร์ฮีโรอื่น ๆ แต่ก็มีซูเปอร์ฮีโรบางคนที่หงุดหงิดกับการกระทำที่เถรตรงเกินไปของซูเปอร์แมนโดยมักจะล้อเลียนตัวเขาว่าเป็น "คุณลูกเสือสีฟ้า" ซูเปอร์แมนนั้นจะจริงจังต่อเรื่องคุณธรรมเป็นอย่างมากจนทำให้บางครั้งเกิดผิดใจกับเหล่าซูเปอร์ฮีโร เช่น วันเดอร์วูแมน (หนึ่งในเพื่อนสนิทของซูเปอร์แมน) โดยซูเปอร์แมนเคยตัดความสัมพันธ์กับวันเดอร์วูแมนหลังจากที่วันเดอร์วูแมน ได้สังหาร แม็กเวลล์ ลอร์ด, และ บูสเตอร์ โกลด์[77]

หลังจากดาวคริปตันอันเป็นบ้านเกิดถูกทำลายลง ซูเปอร์แมนได้อุทิศชีวิตตัวเองเพื่อปกป้องโลก โดยเฉพาะครอบครัวและเพื่อน ๆ ของเขา บางครั้งซูเปอร์แมนก็รู้สึกเหมือนว่าตัวเองนั้นโดดเดี่ยวบนโลกใบนี้ แม้ว่าเขาจะมีเพื่อนฝูง ภรรยา และพ่อแม่ แต่การที่มีพลังพิเศษซึ่งแตกต่างจากคนอื่นทำให้เขาต้องแบกรับหน้าที่อันยิ่งใหญ่เอาไว้ ในสมัยที่เป็นวัยรุ่นนั้นซูเปอร์แมนเคยคิดที่จะออกตามหาชาวคริปโตเนี่ยน จนได้พบเจอกับ พาวเวอร์ เกิร์ลl (ชาวคริปตันในเนื้อเรื่องซูเปอร์แมนฉบับ เอิร์ธ-ทู) และ มอน-เอลแต่ทั้งคู่นั้นกลับไม่ใช่ชาวคริปตันที่อาศัยอยู่บนดาวดวงเดียวกับซูเปอร์แมน จนกระทั่งการปรากฏตัวของ ซูเปอร์เกิร์ล ผู้ซึ่งทำให้ซูเปอร์แมนนั้นแน่ใจว่าตัวเองไม่ใช่ชาวคริปตันเพียงคนเดียวอีกต่อไป โดยซูเปอร์เกิร์ลนั้นเป็นลูกพี่ลูกน้องกับซูเปอร์แมน

ในนิตยสาร "ซูเปอร์แมน/แบทแมน" ฉบับที่ 3 (ธันวาคม ค.ศ. 2003) แบทแมน นั้นคิดว่า "คลาร์กนั้นมีพลังความสามารถที่เหนือกว่าพวกเราทุกคน เขาสามารถปล่อยพลังได้จากบนฟ้า มันจึงเป็นเรื่องยากในการที่พวกเราจะไม่คิดว่าเขานั้นมีพลังใกล้เคียงกับพระเจ้าและพวกเราจะดูดีกว่านี้มากหากพลังเหล่านั้นไม่ได้เป็นของ"คลาร์ก" รวมถึงในผลงานชุด อินฟิไนท์ คริซิส แบทแมนได้เตือนซูเปอร์แมนว่า "หน้าที่หลักของพวกเราคือช่วยเหลือและปกป้องผู้คนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ไม่ใช่มัวแต่หลงชื่นชมอยู่กับพลังความสามารถของตัวเอง"

บางครั้งซูเปอร์แมนก็ได้รับการนับรวมให้เป็นพวกมังสวิรัติ ในขณะที่ผู้คนอื่น ๆ นั้นเลือกที่จะรับประทานทั้งเนื้อสัตว์และผัก แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าซูเปอร์แมนนั้นจำเป็นต้องกินอาหารหรือไม่ เช่นในตอน ซูเปอร์แมน: พีซ ออน เอิร์ธ เนื้อหาแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ซูเปอร์แมนนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องทานอาหารเพราะไม่มีความรู้สึกหิวและจะทานก็ต่อเมื่อมีงานเลี้ยงที่สำคัญเท่านั้น ส่วนในตอน ซูเปอร์แมน: เบิร์ธไรท์ ซูเปอร์แมนแสดงท่าทางว่าตัวเองนั้นเป็นมังสวิรัติที่เข้มงวดมาก แต่ถึงอย่างนั้นในผลงานของสตราซินสกี้ที่มีชื่อตอนว่า "ซูเปอร์แมน: กราวด์" ซูเปอร์แมนได้สั่ง "ฟิลลี่ ชีส สเต็ค" และ แซนด์วิช มารับประทาน ในปี ค.ศ. 1966 ได้มีการแสดงบทละคร เรื่อง "ซูเปอร์แมน" ที่โรงละครบรอดเวย์ (บทเพลงที่ใช้ในการแสดง ประพันธ์โดยบ๊อบ ฮอลิเดย์) โดยเนื้อเพลงมีใจความว่า นั่นคือนก...นั่นคือเครื่องบิน...นั่นคือ "ซูเปอร์แมน" "โอ้ ฉันหิวเหลือเกิน...ฉันต้องการ ที-โบน สเต็ค"[78] นอกจากนั้นก็ยังมีฉากที่ซูเปอร์แมนกินทั้งเนื้อสัตว์และผักอยู่บ่อยครั้งในฉบับภาพยนตร์การ์ตูน เช่นฉากที่ไปปิกนิคกับลูอิสในเรื่อง จัสติสลีก อันลิมิต และฉากที่สั่งพายมารับประทานใน ยัง จัสทิส

รูปแบบต่าง ๆ

แก้

สำนักพิมพ์ได้เปิดตัวซูเปอร์แมนซึ่งมีการเปลี่ยนรูปแบบออกไปจากเดิมในผลงานชุด "จักรวาลคู่ขนาน" ทั้งสองจักรวาลซึ่งมีการจัดพิมพ์ในช่วงปี ค.ศ. 1960 และ ค.ศ. 1989 โดยฝีมือของนักเขียนการ์ตูนหลาย ๆ คน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้ ชาติกำเนิด ถิ่นที่อยู่ และ นิสัยใจคอ ของตัวละครเปลี่ยนแปลงไปด้วย มีผลงานมากมายที่ได้คิดบุคลิกขึ้นมาใหม่ให้แก่ซูเปอร์แมน ยกตัวอย่างเช่น ผลงานที่ชื่อว่า "เดอะ เดธออฟซูเปอร์แมน" ซึ่งซูเปอร์แมนได้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาหลังจากได้ตายไปแล้วในสภาพที่มีถึง 4 บุคลิก จากนั้นแต่ละบุคลิกได้ต่อสู้กันเพื่อพิสูจน์ว่าใครเหมาะสมที่จะได้เป็นซูเปอร์แมน[79] นอกเหนือจากนี้ ในกรณีของตัวละคร ไบซาร์โร่ ซึ่งสร้างขึ้นมาในปี ค.ศ. 1958 ก็เป็นตัวละครที่สร้างขึ้นมาเพื่อล้อเลียนซูเปอร์แมน[80] สมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัวของซูเปอร์แมนนั้นก็จะมีคำว่า "ซูเปอร์" นำหน้าชื่ออยู่เสมอ เช่น ซูเปอร์เกิร์ล, ซูเปอร์ด๊อก และ ซูเปอร์วูแมน นอกจากผลงานของสำนักพิมพ์ดีซี นักเขียนชาวเยอรมัน "อูเบอร์เมนไช" ก็โด่งดังจากผลงานที่นำบุคลิกของซูเปอรแมนมานำเสนอในรูปแบบใหม่ ซึ่งการนำแนวคิดเกี่ยวกับซูเปอร์แมนมาใช้ในผลงานต่าง ๆ ก็ยังมีเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ผลงานของ รอย โธมัส ที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ มาร์เวล คอมิกส์' ตัวละครที่ชื่อว่าไฮเพอร์เรี่ยน นั้นก็ได้แนวคิดมาจาก ซูเปอร์แมน[81][82][83][84]

พลังและความสามารถ

แก้

พลังและความสามารถของซูเปอร์แมนนั้นเป็นต้นแบบให้แก่ซูเปอร์ฮีโรต่าง ๆ มากมาย ซูเปอร์แมนนั้นมีความสามารถหลายอย่าง จะเห็นได้จากประโยคที่เจย์ มอร์ตัน กล่าวว่า "รวดเร็วกว่ากระสุนปืน ทรงพลังยิ่งกว่าหัวรถจักร และสามารถกระโดดข้ามตึกสูงระฟ้าได้อย่างสบาย" ซึ่งได้รับการใช้ครั้งแรกใน ซูเปอร์แมน โดยเป็นการออกอากาศทางวิทยุ และ ภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องสั้นของ แมกซ์ เฟล๊ชเชอร์ ในช่วง ค.ศ. 1940[85] รวมถึงละครโทรทัศน์ในช่วง ค.ศ 1950 ซูเปอร์แมนจะปรากฏตัวพร้อมกับพลังต่าง ๆ ซึ่งมีมากมาย เช่น การบิน, ความแข็งแกร่งขั้นสุดยอด, ร่างกายคงกระพัน ซึ่งไม่มีเวทมนตร์ใด ๆ สามารถทำร้ายได้, ความเร็วเหนือเสียง, พลังจากดวงตา (เช่น เอกซ์-เรย์, การปล่อยรังสีความร้อน, สามารถมองเห็นจากระยะไกล, ยิงเลเซอร์สีแดง, และสามารถมองเห็นสิ่งที่มีขนาดเล็กมาก ๆ),พลังแห่งการฟัง, และ พลังการหายใจ ที่สามารถทำให้สภาพอากาศเยือกแข็งได้ รวมถึง สามารถเป่าสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยลมที่มีความเร็วสูง[86]

ตามเนื้อเรื่องนั้นซูเปอร์แมนจะมีนิยามจำกัดความในพลังของตัวเอง เช่น มีพละกำลังเหนือมนุษย์ที่สามารถยกรถขึ้นมาได้, สามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงและกระโดดได้ไกลถึง 8 ไมล์ และ มีสภาพร่างกายที่แข็งแกร่งที่แม้แต่ลูกปืนใหญ่ก็ไม่สามารถทำอันตรายได้[86] โดยชีเกล และ ชูสเตอร์ได้เปรียบเทียบความแข็งแกร่งและการกระโดดของซูเปอร์แมนว่าเหมือนกับมดและตั๊กแตน ในตอนที่ซูเปอร์แมนได้รับการทำเป็นตัวการ์ตูน สองพี่น้อง เฟลิสเชอร์ บราส์เธอร์ เจอปัญหาออกแบบท่าเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการกระโดดไกลของซูเปอร์แมนในการทำภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องสั้นจึงได้ร้องขอไปยัง ดีซีคอมิกส์ ว่าให้เปลี่ยนความสามารถนี้เป็นการบินแทน ซึ่งน่าจะเป็นอีกทางเลือกให้แก่ คลาร์ก เค้นท์ ตัวเอกของเรื่องสามารถเคลื่อนย้ายไปยังที่ต่าง ๆ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น[87] ในยุค ซิลเวอร์ เอจ นักเขียนหลาย ๆ คน พยายามเพิ่มความสามารถต่าง ๆ เข้าไปให้แก่ซูเปอร์แมน เช่น ซูเปอร์แมนนั้นสามารถบินออกไปนอกโลก เพื่อติดต่อไปยังดวงดาวที่อยู่ต่างกาแลคซี่ออกไปได้[86] ซูเปอร์แมนนั้นบินออกไปในชั้นบรรยากาศอยู่บ่อยครั้งเพื่อปกป้องโลกจากการพุ่งชนของดาวตก หรือไม่ก็เป็นการผ่อนคลายตัวเองจากความเครียด นักเขียนหลาย ๆ คนพบว่ามันเป็นเรื่องยากที่จะวาดเรื่องราวของซูเปอร์แมนโดยให้ตัวละครนั้นสามารถพัฒนาความสามารถได้อยู่ตลอดเวลา[88] ดังนั้นทาง ดีซี จึงได้ทดลองจัดทำเนื้อเรื่องที่กำหนดความสามารถที่แน่นอนของซูเปอร์แมนไว้ โดยเริ่มจากผลงานของผลงานที่นำกลับมาทำใหม่ ในปี ค.ศ. 1986 ของ จอห์น ไบรอัน ที่ได้กำหนดความสามารถที่แน่นอนของซูเปอร์แมนเอาไว้ โดยซูเปอร์แมนนั้นสามารถทนทานต่อนิวเคลียร์ต่าง ๆ และการบินในอวกาศนั้นกำหนดโดยความสามารถในการกลั้นหายใจของซูเปอร์แมน[89] หลังจากนั้นไม่นานพลังความสามารถของซูเปอร์แมนก็ได้รับการเพิ่มเติมเข้าไปอีกครั้ง โดยครั้งนี้ซูเปอร์แมนนั้นสามารถย้ายภูเขาทั้งลูกได้, สามารถต้านทานพลังนิวเคลียร์ได้, สามารถบินไปยังดวงอาทิตย์โดยไม่ได้รับอันตรายใด ๆ, และสามารถอยู่ในห้วงจักรวาลได้โดยไม่จำเป็นต้องหายใจ

สาเหตุที่ทำให้ซูเปอร์แมนนั้นมีพลังอันมหาศาล ได้มีการแก้ไขอยู่หลายครั้ง จากเรื่องราวดั้งเดิมความสามารถทั้งหมดของซูเปอร์แมนนั้นได้รับการถ่ายทอดมาจากชาวคริปตันซึ่งมีความแข็งแกร่งมากกว่ามนุษย์โลก[70] ซึ่งภายหลังได้มีการแก้ไขให้เป็น เพราะแรงโน้มถ่วงของดาวคริปตันที่มีมากกว่าโลกจึงส่งผลให้ซูเปอร์แมนนั้นมีพลังมหาศาลเมื่ออยู่บนโลก ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเนื้อเรื่องของ จอห์น คาร์เตอร์ผลงานของเอ็ดการ์ ไรซ์ เบอร์โรส์ ถ้าซูเปอร์แมนนั้นมีพลังอันมหาศาลนั่นก็หมายความว่าชาวคริปตันคนอื่น ๆ ก็จะมีพลังเช่นเดียวกันกับซูเปอร์แมน ส่งผลให้นักเขียนหลาย ๆ คนประสบปัญหาในการดำเนินเนื้อเรื่อง จึงได้แต่งเนื้อเรื่องเพิ่มเข้าไปว่าซูเปอร์แมนนั้นคือผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียวจากการระเบิดของดาวคริปตัน จากเนื้อเรื่องดังกล่าวทำให้นักเขียนได้กำหนดให้ชาวคริปตัน คือ ผู้ซึ่งมีพลังอันมหาศาลภายใต้แสงสาดส่องจากดวงอาทิตย์ โดยอาศัยอยู่บนดวงดาวที่เปล่งประกายสีแดง[90]

ซูเปอร์แมนนั้นจะมีอาการแพ้ต่อหิน คริปโตไนท์ สีเขียวอย่างรุนแรง คริปโตไนท์นั้นก็คือสะเก็ดหินที่แปรสภาพมาจากกัมมันตรังสีของขุมพลังที่เข้าทำลายดาว คริปตัน ดาวบ้านเกิดของซูเปอร์แมน คริปโตไนท์สีเขียวจะทำให้ซูเปอร์แมนนั้นรู้สึกเจ็บปวด หมดเรี่ยวแรง วิงเวียน และ ไม่สามารถใช้พลังได้ ซึ่งถ้าได้รับในปริมาณที่มากอาจส่งผลถึงขั้นเสียชีวิต สิ่งเดียวบนโลกที่สามารถปกป้องซูเปอร์แมนจากรังสีคริปโตไนท์สีเขียวนั่นก็ คือ แผ่นตะกั่ว ซึ่งตะกั่วยังเป็นสิ่งเดียวที่สายตาเอกซ์-เรย์ของซูเปอร์แมนไม่สามารถมองทะลุผ่านได้ คริปโตไนท์ได้รับการกล่าวถึงเป็นครั้งแรกปี ค.ศ. 1943 ใน[เนื้อเรื่อง]]ของซีรีส์ทางวิทยุโดย บัด คอลล์เยอร์[68] แม้เนื้อเรื่องในภายหลังเหล่านักเขียนจะสร้างหินคริปโตไนท์สีต่าง ๆ ขึ้นมามากมาย เช่น แดง, ทอง, น้ำเงิน, ขาว และ ดำ โดยแต่ละสีก็มีผลที่แตกต่างกันออกไป แต่หินคริปโตไนท์สีเขียวก็ยังคงเป็นหินที่มีความสำคัญมากที่สุดในเนื้อเรื่องของซูเปอร์แมน[91]

ตัวละครสมทบ

แก้

คลาร์ก เคนต์ คือชื่อของซูเปอร์แมนเมื่อใช้ชีวิตแบบคนทั่ว ๆ ไป ได้รับอิทธิพลทางด้านบุคลิกมาจาก แฮโรลด์ ลอยด์ และใช้ชื่อของ คลาร์ก เกเบิล และ เคนต์ เทย์เลอร์ เป็นต้นแบบในการตั้งชื่อ[11][12] ทางทีมงานผู้สร้างได้ปรึกษาหารือกันอยู่นานเกี่ยวกับเรื่องของซูเปอร์แมนที่จะต้องปิดบังตัวเองโดยการใช้ชื่อคลาร์ก เคนต์เพื่อใช้ดำเนินชีวิตบนโลก จนในที่สุดทางทีมงานก็ได้กำหนดให้ซูเปอร์แมนได้ชื่อนี้มาจากการอุปการะจากครอบครัวเคนต์[92][93] คลาร์ก เคนต์ จะมีงานประจำเป็นนักข่าวของหนังสือพิมพ์ เดลี่ แพลเน็ท ซึ่งในช่วงปี ค.ศ. 1970 คลาร์ก เคนต์ เคยออกไปทำงานที่สถานีโทรทัศน์อยู่ชั่วขณะหนึ่ง[93] ในผลงานของจอห์น ไบรอันที่ได้มีการนำเนื้อเรื่องมาปรับปรุงใหม่ ในช่วงปี ค.ศ. 1980 จะเห็นได้ว่าบางครั้งซูเปอร์แมนนั้นจะมีอารมณ์ที่ก้าวร้าวขึ้นกว่าเดิม[89] โดยความก้าวร้าวของตัวละครนั้นจะค่อย ๆ ปรากฏขึ้นมาอย่างช้า ๆ

ตัวละครอีกตัวที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในเรื่องซูเปอร์แมนนั่นก็คือ ลูอิส เลน บางทีตัวละครนี้อาจจะมีความเกี่ยวข้องกับซูเปอร์แมนมากกว่าตัวละครใด ๆ ในเรื่อง ไม่ว่าจะในบทบาทของ เพื่อนร่วมมหาลัย, คู่แข่งขัน, คู่รักหรือภรรยา ส่วนตัวละครอื่น ๆ ที่สำคัญนั้นได้แก่ เพื่อนร่วมงานในหนังสือพิมพ์ เดลี่ แพลเน็ท เช่น ช่างภาพ จิมมี่ โอล์เซ่น และ บรรณาธิการ เพอร์รี่, พ่อแม่บุญธรรมของ คลาร์ก เคนต์ โจนาธาน และ มาร์ธา เคนต์, รักแรก ลาน่า แลง, เพื่อนสนิท พีท รอส และความรักในมหาลัย โลริ เลแมริส (เมอร์เมด) โดยเรื่องราวนั้นจะแสดงถึงพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของซูเปอร์แมนตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นจนกระทั่งแต่งงานและต้องมีครอบครัวเป็นของตัวเอง

นอกจากนี้ยังรวมถึงการปรากฏตัวของ ซูเปอร์เกิร์ล, คริปโต ยอดสุนัข, และซูเปอร์บอย ตัวละครเหล่านี้ได้กลายเป็นตัวละครหลักของเนื้อเรื่องของซูเปอร์แมนรวมถึงเนื้องเรื่องใน จัสทิส ลีกออฟอเมริกา (กลุ่มพิทักษ์โลกที่มีซูเปอร์แมนเป็นสมาชิก) โดยชื่อของเหล่าตัวละครสบทบในเรื่องซูเปอร์แมนนั้นจะมี การเล่นตัวอักษร อยู่ภายในชื่อ โดยเฉพาะชื่อและนามสกุลที่มีการใช้ตัวอักษร “ลล” เช่น เล็กซ์ ลูเธอร์, ลูอิส เลน, ลินดา ลี, ลาน่า แลงค์, โลริ เลแมริส, และ ลูซี่ เลน,[94] การสัมผัสอักษรนี้ได้กลายมาเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของตัวละครภายในเรื่อง

ตัวละครอีกตัวที่มักจะออกมาปฏิบัติงานร่วมกับซูเปอร์แมนอย่าง แบทแมน นั้นได้มีส่วนร่วมในผลงานของซูเปอร์แมนอยู่หลายตอน โดยทั้งคู่มักจะปรากฏตัวร่วมกันในนิตยสาร “เวิลด์ ฟินเนท” ซึ่งเป็นนิตยสารที่นำเสนอเรื่องราวการร่วมทีมของซูเปอร์ฮีโรทั้งหลายของ ดีซีคอมิกส์ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2003 ทาง ดีซี ได้ตัดสินใจพิมพ์ผลงานชุดใหม่ของซูเปอร์แมนและแบทแมนโดยใช้ชื่อว่า “ซูเปอร์แมน/แบทแมน”

ศัตรู

แก้

ในบัญชีดำของซูเปอร์แมนนั้นจะปรากฏรายชื่อของศัตรูอยู่มากมาย รวมถึง เล็กซ์ ลูเธอร์ ศัตรูตลอดกาลของซูเปอร์แมน เล็กซ์ ลูเธอร์คือบุรุษผู้ซึ่งมีมันสมองที่ดีเลิศแต่มักจะใช้พรสวรรค์ของตัวเองกระทำแต่เรื่องชั่วช้า นอกจากนี้เล็กซ์ ลูเธอร์ยังมีอำนาจและอิทธิพลทางสังคมเป็นอย่างมากเนื่องจากเขาเป็นประธานฝ่ายบริหารของกลุ่ม เล็กซ์ คอร์ป กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ของประเทศ โดยเล็กซ์ ลูเธอร์ นั้นคิดมาเสมอว่าซูเปอร์แมนนั้นใช้ชีวิตปะปนอยู่ในบรรดาฝูงชนและจะแสดงตัวออกมาเมื่อเกิดเหตุการณ์อันตรายต่าง ๆ [95] จนกระทั่งในช่วงค.ศ. 2000 เล็กซ์ ลูเธอร์ ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา[96]ในเนื้อเรื่อง เล็กซ์ ลูเธอร์ นั้นเคยเป็นเพื่อนสนิทของ คลาร์ก เคนต์ ในสมัยที่ทั้งคู่ยังเป็นวัยรุ่น ศัตรูอีกตัวที่มีบทรองลงมาเช่น แอนดรอยด์จากต่างดาว (ถูกส่งให้มากำเนิดบนโลก) ที่รู้จักกันในนามของ ไบรนิแอค โดยริชาร์ด จอร์จ ผู้ที่เชี่ยวชาญด้านหนังสือการ์ตูน เคยกล่าวถึงไบรนิแอคว่าเป็นตัวร้ายที่มีความสำคัญเป็นอันดับที่สองของซูเปอร์แมนรองจากเล็กซ์ ลูเธอร์[97] แต่ศัตรูที่ถือว่าประสบความสำเร็จมากที่สุดในการเข้าต่อกรกับซูเปอร์แมนนั้นก็คือ อสูรกายดูมส์เดย์ ที่สังหารซูเปอร์แมนในตอนที่มีชื่อว่า การตายของซูเปอร์แมน (อังกฤษ: The Death of Superman) ศัตรูสำคัญอีกรายคือ ดาร์คซีด ซึ่งได้รับการจัดให้เป็นตัวร้ายที่มีพลังมากที่สุดตัวหนึ่งในจักรวาลของดีซี โดยมักจะมีบทบาทอยู่ในนิตยสาร คริซิส ออน อินฟิไนท์ เอิร์ธ ส่วนศัตรูสำคัญคนอื่น ๆ ของซูเปอร์แมนที่ถ่ายทอดจากหนังสือการ์ตูนไปยังภาพยนตร์และซีรีส์ทางโทรทัศน์นั้นมีมากมายหลายตัว ยกตัวอย่างเช่น มิสเตอร์ มิซไซทัค ผู้ที่มาจากต่างมิติ, ไบซาร์โร่ ซูเปอร์แมนคนที่สอง และนายพล ซอด อาชญากรแห่งดาวคริปตัน, ฯลฯ

อิทธิพลต่อวัฒนธรรม

แก้

ซูเปอร์แมนได้กลายมาเป็นทั้งสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม[98][99] และผลงานการ์ตูนซูเปอร์ฮีโรเรื่องแรกของชาวอเมริกา ความชื่นชอบของผู้คนที่มีต่อเรื่องราวการผจญภัยและตัวของซูเปอร์แมนส่งผลให้ซูเปอร์แมนมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตในสังคมเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากชื่อของซูเปอร์แมนที่มักจะเข้าไปอยู่ในผลงานต่าง ๆ ของบรรดานักดนตรี, ศิลปินตลก และ นักประพันธ์ทั้งหลาย คำว่า คริปโตไนท์, เบรนิแอค และ ไปซาร์โร ได้กลายมาเป็นวลีที่ผู้คนมักใช้พูดเปรียบเทียบโดยมีความหมายเช่นเดียวกับวลีที่ว่า ข้อเท้าของอคิลิส ซึ่งมีความหมายว่าจุดอ่อน[100]หรือของแสลง[101] เช่นเดียวกับประโยคที่ว่า "ฉันไม่ใช่ซูเปอร์แมนนะ" หรือ กลับกันว่า "คุณไม่ใช่ซูเปอร์แมนนะ" ซึ่งกลายมาเป็น สำนวน ที่มีความหมายว่าไม่ได้มีความสามารถรอบด้านหรือเก่งกาจไปซะทุกอย่าง[102][103][104]

แรงบัลดาลใจต่อผลงานเรื่องอื่น

แก้

ซูเปอร์แมนถือว่าเป็นตัวละครที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการออกแบบตัวละครซูเปอร์ฮีโรในเรื่องอื่น ๆ [105][106] เช่น แบทแมน ซึ่งถือว่าเป็นตัวละครตัวแรกที่ได้รับแรงบัลดาลใจมาจากซูเปอร์แมน โดยบ๊อบ เคน ผู้สร้างแบทแมน เคยกล่าวต่อ วิน ซัลลิแวน เอาไว้ว่า “จำนวนเงินพวกนั้น[ที่ชีเกลและชูสเตอร์ได้รับจากผลงานเรื่องซูเปอร์แมน]คุณจะได้มาแค่วันจันทร์วันเดียว”[107] เช่นเดียวกับวิคเตอร์ ฟอกซ์ สมุห์บัญชีของดีซีใขณะนั้นได้เสนอความคิดเห็นต่อ วิล ไอส์เนอร์ คณะกรรมการของ ดีซี ว่าควรจะสร้างตัวละครที่มีลักษณะใกล้เคียง กับซูเปอร์แมน ซึ่งตัวละครนั้นก็คือ วันเดอร์ วูแมน โดยวันเดอร์ วูแมน ตีพิมพ์ฉบับแรกในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1939 แต่หลังจากที่ฟอกซ์แพ้คดีความในการครอบครองลิขสิทธิ์ของตัวละครต่อทางดีซี[108] ฟอกซ์จึงต้องยุติบทบาททั้งหมดที่เขามีต่อวันเดอร์ วูแมน จนกระทั่งภายหลังฟอกซ์จึงมาประสบความสำเร็จกับตัวละครที่มีชื่อว่า บลู บีทเทิล ส่วน กัปตันมาร์เวล ตัวละครของนิตยสารฟอว์เซทท์ คอมิกส์ ตีพิมพ์ในปี ค.ศ 1940 ได้กลายมาเป็นคู่แข่งสำคัญของซูเปอร์แมนในการแย่งความนิยมตลอดทศวรรษ 1940 โดยในช่วงนั้นได้มีการฟ้องร้องกันไปมาระหว่าง 2 สำนักพิมพ์ จนกระทั่งทางสำนักพิมพ์ ฟอว์เซทท์ยอมรับข้อเสนอจากทางดีซีในปี ค.ศ. 1953 โดยทางฟอว์เซทท์ต้องยุติการพิมพ์ผลงานทั้งหมดของกัปตันมาร์เวล[109] ในยุคสมัยปัจจุบันหนังสือการ์ตูนแนวซูเปอร์ฮีโรนับได้ว่าเป็นสิ่งที่โดดเด่นมากในวงการหนังสือการ์ตูนของอเมริกา[110] ซึ่งมีตัวละครนับพัน ๆ ตัวได้รับการสร้างขึ้นมาตามรอยของซูเปอร์แมน[111]

การตลาด

แก้

ซูเปอร์แมนกลายมาเป็นหนังสือการ์ตูนที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ด้วยระยะเวลาการวางจำหน่ายอยู่ที่ 3 เดือนต่อ 1 ฉบับ โดยในปี ค.ศ. 1940 มีการนำเอาซูเปอร์แมนเข้ามาแสดงใน มาซี่ พาเหรด (ขบวนพาเหรดที่จัดขึ้นปีละครั้งของชาวอเมริกา) เป็นครั้งแรก[112] ความนิยมต่อซูเปอร์แมนนั้นยังขยายออกไปอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปี ค.ศ. 1942 ด้วยยอดจำหน่ายของนิตยสารของซูเปอร์แมนทั้ง 3 ฉบับที่วางจำหน่ายอยู่ในขณะนั้น สามารถทำเงินรวมกันได้มากกว่า 1.5 ล้านเหรียญ ส่งผลให้นิตยสาร ไทม์ได้เขียนบทความถึงกับเหตุการณ์นี้เอาไว้ว่า “กรมทหารเรือสหรัฐได้ประกาศว่าหนังสือการ์ตูนเรื่องซูเปอร์แมนนั้นจะต้องจัดอยู่ในหมวดอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเหล่าทหารเรือที่ประจำการอยู่ในมิดเวย์ อิสแลนด์”[113]หลังจากนั้นไม่นานทางดีซี ได้จดลิขสิทธิ์ต่อตัวละครทำให้ซูเปอร์แมนกลายมาเป็นแบรนด์ทางการตลาดที่มีมูลค่ามหาศาล ในปี ค.ศ. 1939 ได้ปรากฏสิ้นค้าชิ้นแรกที่มีภาพของซูเปอร์แมนนั้นก็คือ ป้ายประกาศชื่อสมาชิกของชมรม ซูเปอร์เม็นออฟอเมริกา คลับ และในปี ค.ศ 1940 มีสิ้นค้าและผลิตภัณฑ์จำนวนมากที่เริ่มนำเอาภาพของซูเปอร์แมนไปใช้ในการตลาด เช่น จิ๊กซอว์, ตุ๊กตากระดาษ, หมากฝรั่ง และการ์ดเกมทั้งหลาย อาจจะรวมถึงฟิกเกอร์ประเภทต่าง ๆ ด้วย ความนิยมต่อสินค้าทั้งหลายของซูเปอร์แมนได้ขยายตัวออกไปหลังจากที่ซูเปอร์แมนได้รับการซื้อลิขสิทธ์ไปสร้างเป็นบทภาพยนตร์ ละครทางวิทยุและโทรทัศน์ โดยเลส แดเนียลส์ได้เขียนบทความถึงเหตุการณ์ในครั้งนี้เอาไว้ว่า “มันคือจุดเริ่มต้นของรากฐานแห่งความยิ่งใหญ่ของวงการบันเทิง ภายในสิบปีข้างหน้าซูเปอร์แมนอาจจะกลายมาเป็น ‘สิ่งสำคัญของวงการบันเทิง’ ก็เป็นได้”[114] ในปี 2006 หลังจากที่ วอร์เนอร์บราเธอร์ส ได้จัดจำหน่ายภาพยนตร์เรื่อง ซูเปอร์แมน รีเทิร์น ได้มีการทำสัญญาระหว่างวอร์เนอร์ บราเธอร์สและเบอร์เกอร์คิง,[115] โดยทางเบอร์เกอร์คิงสามารถนำตัวละครไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทุกชนิดของบริษัท

ความนิยมต่อซูเปอร์แมนนั้นมีมากเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะสัญลักษณ์ตัว S ที่เป็นเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของซูเปอร์แมน ซึ่งจะเป็นสัญลักษณ์ที่มีลักษณะเป็นตัว S สีแดงเข้มวางอยู่เหนือพื้นหลังสีทอง ได้รับการใช้ในวงการแฟชันอย่างแพร่หลาย[116][117]

สัญลักษณ์ตัว “S” มักใช้เป็นสัญลักษณ์แทนตัวของซูเปอร์แมนในสื่อต่าง ๆ [ต้องการอ้างอิง] โดยมักจะปรากฏอยู่ในฉากเปิดเรื่องหรือไม่ก็ฉากปิดท้ายของภาพยนตร์หรือละครทางโทรทัศน์[ต้องการอ้างอิง]

รูปแบบของสื่อต่าง ๆ

แก้

ซูเปอร์แมนเป็นอีกตัวละครหนึ่งจากหนังสือการ์ตูนที่มักนำไปดัดแปลงผ่านรูปแบบสื่อต่าง ๆ มากมาย เนื่องจากซูเปอร์แมนคือตัวละครที่เปรียบเสมือนสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของวัฒนธรรมของอเมริกา[118] และได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง[119] โดยสังเกตได้จากรายได้ทางการตลาดที่มีมูลค่ามหาศาล[114] จึงเป็นเหตุผลให้มีการนำซูเปอร์แมนไปสร้างเป็นละครทางวิทยุ, โทรทัศน์ และจึงเป็นเหตุผลให้มีการนำซูเปอร์แมนไปสร้างเป็นละครทางวิทยุ, โทรทัศน์ และภาพยนตร์, รวมถึงวิดีโอ เกม โดยจะมีการปรับเปลี่ยนเรื่องราวเพื่อให้เหมาะสมกับยุคสมัยรวมถึงวิดีโอ เกม โดยจะมีการปรับเปลี่ยนเรื่องราวเพื่อให้เหมาะสมกับยุคสมัย

ผลงานชิ้นแรกของซูเปอร์แมนที่นำเสนอผ่านสื่อนั้นก็คือ การ์ตูนช่องในหนังสือพิมพ์รายวัน, ที่ตีพิมพ์เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 1939 จนถึงพฤษภาคม ค.ศ. 1966 จะสังเกตได้ว่า ชีเกลและชูสเตอร์ได้นำเอาเรื่องราวในตอนแรกของการ์ตูนช่องมาอธิบายที่มาที่ไปของซูเปอร์แมน เช่น เรื่องราวเกี่ยวกับดาวคริปตันรวมถึง จอร์-เอลบิดาผู้ให้กำเนิดซูเปอร์แมน ซึ่งเนื้อหาดังกล่าวไม่ได้กล่าวถึงในหนังสือการ์ตูน[70] จนกระทั่งในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1940 ได้มีการเปิดตัวผลงานซีรีส์ทางวิทยุเรื่องแรกของซูเปอร์แมนที่มีชื่อว่า เดอะ แอดเวนเจอร์ออฟซูเปอร์แมน ซึ่งได้ บัด คอลล์เยอร์ มาเป็นผู้ที่พากย์เสียงซูเปอร์แมน ซีรีส์ชุดนี้ได้รับความนิยมอย่างมากโดยได้ออกอากาศจนถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 1951 บัด คอลล์เยอร์นั้นยังเป็นผู้ที่ให้เสียงซูเปอร์แมนในผลงานซีรีส์การ์ตูนที่มีชื่อว่า “ซูเปอร์แมน”อนิเมท การ์ตูน ผลงานของ เฟลิสเชอร์ สตูดิโอ โดยเฟมัส สตูดิโอ จะเป็นผู้จัดจำหน่ายในฉบับภาพยนตร์ ซีรีส์ชุดนี้มีจำนวนตอนทั้งหมด 7 ตอนด้วยกันซึ่งผลิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1941 และค.ศ. 1943 ในปี ค.ศ. 1948 ได้มีการทำภาพยนตร์เกี่ยวกับ ซูเปอร์แมน อีกครั้ง โดยได้ เคิร์ก อลิน มารับบทซูเปอร์แมนซึ่งเคิร์ก อลิน นั้นคือผู้ที่แสดงเป็นซูเปอร์แมนคนแรกในผลงานภาพยนตร์เฟรนไชด์ของซูเปอร์แมน จากนั้นภาพยนตร์เรื่องที่2 ของซูเปอร์แมนที่มีชื่อว่า อะตอมแมน ปะทะ ซูเปอร์แมน, ได้ออกฉายในปี ค.ศ. 1950[120]

ในปี ค.ศ. 1951 ได้มีการจัดทำซีรีส์ทางโทรทัศน์ที่ชื่อว่า แอดเวนเจอร์ออฟซูเปอร์แมน นำแสดงโดย จอร์จ รีฟส์ โดยในตอนที่ 25 และ 26 ได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ที่ชื่อว่า ซูเปอร์แมน แอนด์ เดอะ โมล์ เม็น ซึ่งผลงานซีรีส์ชุดนี้ออกอากาศในปี ค.ศ. 1952 – ค.ศ. 1958 มีจำนวนตอนทั้งสิ้น 104 ตอน ส่วนผลงานเรื่องถัดมาของซูเปอร์แมนเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1966 ในรูปแบบของละครเพลงที่ใช้ชื่อว่า นั่นคือนก…นั่นคือเครื่องบิน…นั่นมันซูเปอร์แมนโดยได้จัดแสดงในโรงละครบรอดเวย์ ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้ชมเป็นอย่างดี ส่งผลให้รอบการแสดงนั้นสูงถึง 129 รอบ[121]หลังจากนั้น ผลงานเพลง ได้รับการบันทึกในรูปแบบของแผ่นเสียงและออกจัดจำหน่ายในเวลาถัดมา[122] อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 1975 ได้มีการนำผลงานชุดนี้กลับมาทำใหม่และออกอากาศทางโทรทัศน์ ซูเปอร์แมนได้ทำเป็นแอนิเมชันอีกครั้งซึ่งครั้งนี้เป็นผลงานที่ออกอากาศทางโทรทัศน์ในซีรีส์ที่ชื่อว่าเดอะ นิว แอดเวนเจอร์ออฟซูเปอร์แมน ซีรีส์ชุดนี้มีจำนวนตอนทั้งสิ้น 68 ตอน และออกอากาศช่วงปี ค.ศ. 1966 ถึง ค.ศ. 1969 โดยได้ บัด คอลล์เยอร์ กลับมาให้เสียงเป็นซูเปอร์แมนอีกครั้ง หลังจากนั้นในช่วงค.ศ. 1973 ถึง ค.ศ. 1984 สถานีโทรทัศน์ เอบีซี ได้ออกอากาศซีรีส์แอนิเมชันของซูเปอร์แมนที่มีชื่อว่า ซูเปอร์ เฟรนด์ ซึ่งเป็นผลงานของ ฮันน่า-บาร์เบร่า สตูดิโอ[123]

ซูเปอร์แมนได้หวนกลับคืนสู่แผ่นฟิล์มอีกครั้งในปี ค.ศ. 1978 โดยใช้ชื่อเรื่องว่า ซูเปอร์แมน กำกับโดย ริชาร์ด ดอนเนอร์ และได้ คริสโตเฟอร์ รีฟ มาสวมบทเป็นซูเปอร์แมน ภาพยนตร์ชุดนี้ยังนำมาทำต่ออีกสามภาคได้แก่ ซูเปอร์แมน II (ค.ศ. 1980), ซูเปอร์แมน III (ค.ศ. 1983) and ซูเปอร์แมน IV: เดอะ เควสท์ ฟอร์ พีซ (ค.ศ. 1987).[124] ในปี ค.ศ. 1988 ได้มีการนำซูเปอร์แมนมาทำเป็นแอนิเมชันเพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์อีกครั้งโดย รูบี้ สเปียร์ โปรดักชัน โดยใช้ชื่อเรื่องว่า ซูเปอร์แมน,[125] รวมถึง ได้มีการสร้างซีรีส์คนแสดงเรื่อง ซูเปอร์บอย ที่ออกอากาศตั้งแต่ ค.ศ. 1988 จนถึง ค.ศ. 1992[126] จนกระทั่งปี ค.ศ. 1993 ซีรีส์เรื่อง ลูอิส & คลาร์ก : เดอะ นิว แอดเวนเจอร์ออฟซูเปอร์แมน ได้ออกอากาศผ่านเครือข่ายของสถานีโทรทัศน์เอบีซี นำแสดงโดย ดีน เคน รับบท ซูเปอร์แมนและ เทริ แฮทเชอร์ รับบท ลูอิส เลน โดยซีรีส์ชุดนี้ออกอากาศจนถึงปี ค.ศ. 1997 ส่วนผลงานของ วอร์เนอร์ บราเธอร์ส แอนิเมชัน ที่มีชื่อว่า ซูเปอร์แมน: เดอะ แอนิเมท ซีรีส์ ได้ออกอากาศผ่านช่อง เดอะ ดับเบิ้ลยู บี ตั้งแต่ค.ศ. 1996 จนถึง ค.ศ. 2000[127]

ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 21 ได้มีการนำเสนอผลงานภาพยนตร์และซีรีส์ของซูเปอร์แมนเช่น ในปี ค.ศ. 2001 ซีรีส์ชุด สมอลล์วิลล์ ได้ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ เดอะ ดับเบิ้ลยู บี ซึ่งเรื่องราวจะเน้นไปที่เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับ คลาร์ก เคนต์ ในสมัยที่ยังเป็นวัยรุ่นก่อนที่จะกลายมาเป็นซูเปอร์แมนในภายหลัง โดยได้ ทอม เวลลิ่ง มารับบท คลาร์ก ซี่รีย์ชุดนี้ออกอากาศถึง 10 ซีซั่น โดยซีซั่นสุดท้ายจบลงเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2011 ส่วนผลงานทางภาพยนตร์ของซูเปอร์แมนนั้น ในปี ค.ศ. 2006 ได้มีการสร้างภาพยนตร์เรื่อง ซูเปอร์แมน รีเทิร์น กำกับโดย ไบรอัน ซิงเกอร์ และได้ แบรนดอน เราธ์ มาแสดงเป็นซูเปอร์แมน โดยหยิบยกเรื่องราวจากซูเปอร์แมน 2 ภาคแรกที่ คริสโตเฟอร์ รีฟ เคยแสดงนำมาปรับปรุงใหม่ ส่วนในปี ค.ศ. 2007 ชื่อของ ทอม เวลลิ่ง ได้รับการเสนอให้เข้ามารับบทเป็นซูเปอร์แมนอีกครั้งในผลงานที่มีชื่อว่า จัสติสลีก: มอร์ทัล ซึ่งจะกำกับโดย จอร์จ มิลเลอร์.[128] โดยจะเป็นเรื่องราวของการรวมกันระหว่าง ซูเปอร์แมน, แบทแมน, วันเดอร์ วูแมน, และสมาชิกคนอื่น ๆ จากผลงานหนังสือการ์ตูนของ ดีซีคอมิกส์ ที่มีชื่อว่า จัสติสลีกออฟอเมริกา แต่ถึงอย่างนั้นโครงการนี้ก็ไม่มีแผนงานที่แน่นอนทำให้โครงการนี้ต้องล้มเลิกไปในท้ายที่สุดแม้ว่าจะได้ตัว ดี เจ โคโตรน่า เข้ามาคัดตัวเป็นซูเปอร์แมนแล้วก็ตาม[128]จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2010 มีการประกาศสร้างผลงานชุดใหม่ของซูเปอร์แมน หลังจากที่ผลงานเรื่อง เดอะ ฮิททอรี่ออฟอินวัลเนอร์เรบิลิตี้ ของ เดวิด บาร์ คัทซ์ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ เจอร์รี่ ซีเกล ผู้สร้างสรรค์ซูเปอร์แมน ได้ออกฉายที่โรงภาพยนตร์ ซินซินนาติ เพลย์เฮาส์ อิน เดอะ พาร์ค[129] ในครั้งนี้ภาพยนตร์ชุดใหม่ของซูเปอร์แมนจะมีชื่อว่า เดอะ แมนออฟสตีล จะมีกำหนดการออกฉายในวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 2013 ซึ่งกำกับโดย แซค ซไนเดอร์ และได้เฮนรี่ แควิลล์ มารับบทซูเปอร์แมน[130]ส่วนเนื้อหาในภาพยนตร์นั้นทางวอร์เนอร์ บราเธอร์จะรีบูทเนื้อเรื่องใหม่ทั้งหมด ให้เหมือนกับ แบทแมน บีกินส์ ภาพยนตร์ของแบทแมนในปี ค.ศ. 2005 .[131] ซึ่ง แควิลล์ ผู้ที่มารับบทซูเปอร์แมนในครั้งนี้นั้นเคยเข้ารับการคัดเลือกเพื่อที่จะสวมบทเป็นซูเปอร์แมนมาก่อนในปี ค.ศ. 2006 โดยทางสตูดิโอในตอนนั้นตัดสินใจเลือก แบรนดอน เราธ์ มารับบทเป็นซูเปอร์แมน

ฉบับภาพยนตร์

แก้
บท ภาพยนตร์
Superman (1948) Superman (1978) Superman II (1980) Superman III (1983) Superman IV (1987) Superman Returns (2006) Man of Steel (2013)
ซูเปอร์แมน /
คลาร์ก เค้นท์
เคิร์ก อลิน คริสโตเฟอร์ รีฟ แบรนดอน เราธ์ เฮนรี แควิลล์
โลอิส เลน Noel Neill Margot Kidder Kate Bosworth เอมี่ อดัมส์
เล็กซ์ ลูเธอร์   ยีน แฮ็กแมน   ยีน แฮ็กแมน เควิน สเปซีย์  
เพอร์รี ไวต์ Pierre Watkin Jackie Cooper Frank Langella ลอว์เรนซ์ ฟิชเบิร์น
จิมมี ออลเซน Tommy Bond Marc McClure Sam Huntington  
ลานา แลง   Diane Sherry   Annette O'Toole     Jadin Gould
โจนาธาน เค้นต์ Ed Cassidy Glenn Ford         เควิน คอสต์เนอร์
มาร์ธา เค้นต์ Virginia Carroll Phyllis Thaxter       Eva Marie Saint ไดแอน เลน
General Zod   Terence Stamp       Michael Shannon
ลารา ลอร์-เวน Luana Walters Susannah York   Susannah York   อเยลิต ซูเรอร์

ฉบับซีรีส์

แก้
บท ซีรีส์
Superman (1948) Atom Man Vs. Superman (1950) Adventures of Superman (1952-1958) Superboy (1988-1992) Lois & Clark (1993-1997) Smallville (2001-2011)
ซูเปอร์แมน /
คลาร์ก เค้นท์
Kirk Alyn George Reeves John Haymes Newton /
Gerard Christopher
Dean Cain ทอม เวลลิ่ง
เล็กซ์ ลูเธอร์   Lyle Talbot   Scott Wells /
Sherman Howard
John Shea ไมเคิล โรเซนบอม
โลอิส เลน Noel Neill Phyllis Coates
/ Noel Neill
  เทอรี แฮทเชอร์ Erica Durance
ลานา แลง   Stacy Haiduk   คริสติน ครุก
เพอร์รี ไวต์ Pierre Watkin John Hamilton   ไม่ปรากฏชื่อนักแสดง Michael McKean
จิมมี ออลเซน Tommy Bond Jack Larson   Michael Landes / Justin Whalin / Jack Larson Aaron Ashmore
ซูเปอร์เกิร์ล   Laura Vandervoort

ผลงานเพลง การล้อเลียนและการอ้างอิง

แก้
 
ซูเปอร์แมนถูกฆ่าตายขณะปฏิบัติหน้าที่ในอิรัก วาดโดย คาร์ลอส ลาทัฟฟ์

นักดนตรีมักใช้ซูเปอร์แมนเป็นแรงบัลดาลใจในการสร้างผลงานอยู่เสมอ ซึ่งชื่อของซูเปอร์แมนมักจะปรากฏอยู่ในเนื้อเพลงของศิลปินหลาย ๆ คนในทุกยุคสมัย เช่น Sunshine Superman ผลงานสุดฮิตที่ติดชาร์จ บิลบอร์ดฮอต 100 ของ โดโนแวน ที่มีชื่อของซูเปอร์แมนปรากฏอยู่ทั้งในชื่อเพลงและเนื้อเพลงในท่อนที่ร้องว่า "Superman and Green Lantern ain't got nothing on me"[132] ส่วนนักร้องโฟล์คและนักแต่งเพลงอย่างจิม ครอค ได้กล่าวถึงซูเปอร์แมนในท่อนครอรัสในบทเพลงของเขาที่ชื่อว่า "You Don't Mess Around with Jim",ในท่อนที่ร้องว่า "you don't tug on Superman's cape" ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นวลีที่ได้รับความนิยมในสมัยนั้น[133] สำหรับบทเพลงอื่นที่อ้างอิงถึงซูเปอร์แมนนั้นก็มีเพลง "Land of Confusion" ของวง เจเนซิส[134] โดยในมิวสิกวิดีโอของเพลงนี้จะมีใบประกาศที่เป็นรูปของ โรนัลด์ เรแกน สวมชุดของซูเปอร์แมนปรากฏอยู่[135] นอกจากนี้ยังมีเพลง "(Wish I Could Fly Like) Superman" ของวงเดอะคิงค์ส โดยเป็นผลงานเพลงจากอัลบั้ม Low Budget ที่ออกจำหน่ายในปี ค.ศ. 1979 รวมถึงบทเพลงที่มีชื่อว่า "Superman" ของวง เดอะ ไคลคิว ส่วนผลงานถัดมาเป็นของวงอาร์.อี.เอ็ม. ในปี ค.ศ. 1986 กับอัลบั้มที่มีชื่อว่า Lifes Rich Pageant ซึ่งบนปกของอัลบั้มนั้นมีการอ้างอิงถึง แกรนท์ มอร์ริสัน ผู้ที่มีบทบาทเป็น แอนนิม่อล แมนรวมถึงปรากฏภาพของซูเปอร์แมนอยู่บนปกด้วย[136] รวมถึงบทเพลงของวง แคลช เทส ดัมมี่' ที่มีชื่อว่า "Superman's Song" ผลงานเพลงในปี ค.ศ. 1991 จากอัลบั้มThe Ghosts That Haunt Me โดยเนื้อเพลงจะกล่าวถึงความมุ่งมั่นและการต้องตัดสินใจในการใช้ชีวิตของซูเปอร์แมน[137] จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2000 บทเพลง "Superman (It's Not Easy)" ของวง ไฟฟ์ ฟอร์ ไฟท์ติ้ง ได้กล่าวถึงมุมมองของซูเปอร์แมนว่าตัวซูเปอร์แมนนั้นไม่ได้มีความสุขสบายเหมือนที่ผู้คนทั้งหลาย ๆ เข้าใจ [138]

ผลงานที่นำเอาซูเปอร์แมนมาล้อเลียนนั้นก็มีอยู่เป็นระยะ ๆ เช่น ผลงานการ์ตูนในปี ค.ศ. 1942 เรื่อง ไมท์ตี้ เมาส์ ที่มีการเปิดตัวเรื่องด้วยข้อความ “เดอะ เมาส์ออฟทูมอร์โรว์”[139] ไมท์ตี้ เมาส์นั้นจะมีพลังเหมือนกับซูเปอร์แมนทุกอย่างเพียแต่เรื่องราวจะออกมาในรูปแบบเบาสมองซึ่งตัวละครภายในเรื่องนั้นก็มีบุคลิกคล้ายกับตัวละครในซูเปอร์แมน หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1943 ผลงานการ์ตูนของ บักส์ บันนี่ ที่มีชื่อตอนว่า ซูเปอร์ แรบบิท จะมีฉากที่บักส์ บันนี่ได้รับพลังหลังจากที่กินแครรอทเข้าไป โดยตอนจบของเนื้อเรื่องนั้นบักส์ บันนี่ ได้วิ่งเข้าไปในตู้โทรศัพท์เพื่อที่จะแปลงร่างเป็น ซูเปอร์แมน และทำท่าทางเหมือน นาวิกโยธินของอเมริกา ส่วนในปี ค.ศ. 1956 ดัฟฟี่ ดั๊ค ได้มาสวมบทเป็น "คลั๊ก เทร้นท์ " ในผลงานการ์ตูนที่มีชื่อว่า "สติวเปอร์ ดั๊ก" จนภายหลังบทบาทนี้ได้ใช้ในหนังสือการ์ตูนของ ลูนีย์ ตูน อยู่หลายตอน[140] างฝั่งของสหราชอาณาจักรเองก็มีการนำเอาซูเปอร์แมนไปล้อเลียนเช่นกันเริ่มจากผลงานของมอนตี้ ไฟท่อน กับตัวละครที่มีชื่อว่า ไบซีเคิ่ล รีแพร์แมน ผู้ซึ่งมีหน้าที่รับซ่อมจักรยานทั่วโลก โดยซีรีส์ชุดนี้จะนำเสนอในช่องรายการของ บีบีซี[141] รวมถึงซีรีส์ซิท-คอมที่มีชื่อว่า"มาย ฮีโร" ที่นำเสนอเรื่องราวของ เธอร์โมแมน ผู้ที่มีพลังคล้ายกับซูเปอร์แมน ซึ่งพยายามที่จะปกป้องโลกรวมถึงเสาะหาความรักที่ซาบซึ้งให้แก่ตัวเอง[142] และในรายการ แซทเทอร์เดย์ ไนท์ ไลฟ์ ของสหรัฐอเมริกาเองก็ได้มีการล้อเลียนซูเปอร์แมน เมื่อ มาร์ก๊อท คิดเดอร์ ได้แต่งตัวเลียนแบบเป็น ลูอิส เลน ในโชว์ที่ 179 ของรายการ ส่วน เจอร์รี่ ซีนฟิลด์ ผู้ซึ่งเป็นแฟนพันธุ์แท้ของซูเปอร์แมน ได้นำซูเปอร์แมนใส่เข้าไปอยู่ในผลงานซีรีส์ของเขาเรื่อง ซีนฟิลด์ จากนั้นในปี ค.ศ. 1997 ซีนฟิลด์ได้ให้ซูเปอร์แมนเข้ามามีส่วนร่วมในการถ่ายทำผลงานโฆษณาของอเมริกัน เอกซ์เพรซ โดยให้แสดงคู่กับตัวเขาเอง ซึ่งโฆษณาชุดนี้ได้รับการผยแพร่ในการแข่งขันเอ็น เอ็ฟ แอล รอบเพลย์อ๊อฟ ในปี ค.ศ. 1998 รวมถึงการแข่งขัน ซูเปอร์โบล์ว ในทุก ๆ นัด โดยทางซีนฟิลด์ได้ให้ศิลปินที่มีชื่อว่า เคิร์ท สวอน เป็นผู้วาดภาพแอนิเมชันของซูเปอร์แมนที่ใช้ในโฆษณา[143]

ซูเปอร์แมนมักได้รับการอ้างถึงในผลงานของนักเขียนต่าง ๆ มากมาย เช่นในผลงานนิยายภาพของ สตีเว่น ที. ซีเกิล ที่มีชื่อว่า ซูเปอร์แมน: อิท อะ เบิร์ด ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการต่อสู้ชีวิตของซีเกิลโดยได้รับแรงบัลดาลใจมาจากซูเปอร์แมน[144]ทางด้าน แบรด เฟรเซอร์ ก็ได้อ้างถึงซูเปอร์แมนในบทประพันธ์ของเขาเรื่อง พัว ซูเปอร์ แมน มีการจัดพิมพ์ในหนังสิพิมพ์ ดิอินดีเพ็นเดนต์ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับ ผู้ชายคนหนึ่งที่เป็นเกย์ต้องมาต้องมาสูญเสียพวกพ้องจากการติดโรคเอดส์จากบุคคล "ที่ได้รับการระบุว่าเป็นซูเปอร์แมน ผู้ที่มาจากนอกโลกและมีนิสัยชอบหลอกลวงผู้อื่น"[145]ส่วนผลงานโรแมนติค คอมเมดี้ของโธม ซาห์เลอร์ เรื่อง เลิฟ แอนด์ เคพส์ โดยจะมีเรื่องราวเกี่ยวกับความรักของซูเปอร์แมน อนาล็อก ที่มีประโยคประจำตัวว่า (“ได้โปรด ฉันคือสัญลักษณ์!”) กับคู่หมั้นของเขาที่เป็นคนธรรมดา

ซูเปอร์แมนยังได้รับการกล่าวถึงในผลงานภาพยนตร์หลาย ๆ เรื่อง เช่นภาพยนตร์เรื่อง แบทแมน & โรบิน ของโจเอล ชูมัคเกอร์ โดยแบทแมนได้พูดว่า: "เพราะอย่างนี้ไง ซูเปอร์แมนถึงทำงานคนเดียว..." ซึ่งแบทแมนต้องการจะเปรียบเทียบถึงโรบิน คู่หูของเขาที่มักชอบนำปัญหามาให้ รวมถึงภาพยนตร์เรื่อง สไปเดอร์แมน ของแซม ไรมี่ ในฉากที่ป้าเมย์ได้ให้คำปรึกษากับปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ผู้ที่เป็นหลานชายว่าอย่าหักโหมให้มากนักด้วยคำพูดที่ว่า “หลานก็รู้ หลานไม่ใช่ซูเปอร์แมนนะ” นอกจากนี้ซูเปอร์แมนยังได้รับการอ้างถึงในภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆ อีกมากมาย

การวิเคราะห์ผลงาน

แก้

นับตั้งแต่ซูเปอร์แมนปรากฏตัว ซูเปอร์แมนได้รับการตีความและบอกเล่าในหลาย ๆ รูปแบบ ซูเปอร์แมนคือตัวละครซูเปอร์ฮีโรตัวแรกที่บรรดานักวิชาการมักจะหยิบยกมาพูดคุยและวิเคราะห์ในหลาย ๆ ด้าน อัมเบอร์โต เอโค่ นักวิชาการชื่อดัง เคยกล่าวไว้ว่า “ผู้คนจะเห็นว่าซูเปอร์แมนนั้นคือตัวแทนของความดีงามโดยเขาได้แสดงสิ่งเหล่านั้นออกมาผ่านการกระทำของเขา”[146] ส่วนบทความของ เจอร์รอลด์ คลาร์ก ในนิตยสาร ไทม์ ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1971 ได้เขียนไว้ว่า: “ความนิยมอันมากมายที่ผู้คนมีต่อซูเปอร์แมนนั้นมันเหมือนกับเป็นสัญญาณการการปิดฉาก ยุคสมัยของ โฮราทิโอ อัลเกอร์ นักเขียนที่มีผลงานเป็นร้อยเรื่อง” คลาร์กได้ดูรายละเอียดของบรรดาตัวละครและศึกษาความสัมพันธ์ต่าง ๆ จากนั้นได้เขียนบทความเกี่ยวกับซูเปอร์แมนผ่านหนังสือพิมพ์ คลาร์กนั้นเห็นว่าซูเปอร์แมน (ซึ่งตอนนั้นอยู่ในช่วงทศวรรษ ค.ศ. 1970) จะไม่มีวันล้าสมัยอย่างแน่นอน คลาร์กกล่าวว่า “มีแต่บุคคลที่ทรงพลังเท่านั้นที่จะสามารถสร้างวีรกรรมอันยิ่งใหญ่และจะอยู่คู่โลกใบนี้ตราบนานเท่านาน”[147] ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 21 แอนดรีว อาร์โนลด์ ได้เขียนบทความเอาไว้ว่า การกระทำของซูเปอร์แมนนั้นคือแบบอย่างที่ดีที่มนุษย์ทุกคนควรจะปฏิบัติตาม ซูเปอร์แมนแม้จะเป็นบุคคลจากดาวอื่นแต่ก็มีจิตใจที่ดีงามทำซึ่งผู้อ่านสามารถซึมซับความดีเหล่านั้นได้จากการรับชมซูเปอร์แมน[148]

เอ.ซี. เกรย์ลิ่ง ได้เขียนบทความไว้ในนิตยสาร เดอะ สเปคเตเตอร์ เกี่ยวกับบุคลิกของซูเปอร์แมนในยุคสมัยต่าง ๆ ซูเปอร์แมนเปิดตัวในช่วงทศวรรษที่ ค.ศ. 1930 ด้วยปณิธานที่ต้องการกำจัดอาชญากรรมตามกระแสความนิยมในยุคสมัยนั้นที่ได้รับอิทธิพลมาจาก อัล คาโปน จนกระทั่งช่วงทศวรรษ ค.ศ. 1940 ในช่วงของสงครามโลกครั้งที่ 2 ซูเปอร์แมนได้เข้ามาช่วยเหลือประเทศชาติด้วยการขาย พันธบัตรสงคราม[149] ในช่วงทศวรรษ ค.ศ. 1950 ซูเปอร์แมนได้ออกค้นหาเทคโนโลยีชิ้นใหม่ที่มีอานุภาพทำลายล้างโลกได้ โดย เกรย์ลิ่ง ได้บันทึกถึงเรื่องราวของเหตุการณ์นี้หลังจากที่ สงครามเย็น ได้เปิดฉากขึ้นเอาไว้ว่า “เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้มันกลายมาเป็นเรื่องราวของซูเปอร์แมน: ซูเปอร์แมนต้องใช้พละกำลังของตัวเองเข้าต่อกรกับมันสมองของ เล็กซ์ ลูเธอร์ และ ไบรนิแอค ซึ่งมันก็คล้าย ๆ กับสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในขณะนี้” แต่เหตุการณ์ที่ผู้คนพูดถึงมากที่สุดก็คือเหตุการณ์ วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544, “ทั่วทั้งโลกต่างจับตามองไปยัง จอร์จ ดับเบิลยู บุช ประธานาธิบดีของอเมริกา หลังจากที่อเมริกาต้องตกเป็นเหยื่อการก่อวินาศกรรมจากผู้ก่อการร้ายที่มีนามว่า อุซามะฮ์ บิน ลาดิน เหตุวินาศกรรมในครั้งนี้ถือว่าเป็นการก่อวินาศกรรมที่ร้ายแรงที่สุดของประเทศสหรัฐอเมริกาและของโลก ผู้คนในประเทศต้องพยายามก้าวผ่านสิ่งนี้ไปให้ได้ โดยหวังว่าซักวันจะมีชายผู้สวมชุดสีฟ้าบินมาพร้อมกับผ้าคลุมสีแดงออกมาปกป้องพวกเขาในโลกแห่งความเป็นจริง”[150]

สกอตต์ บูคัทมัน ได้กล่าวถึงซูเปอร์แมนกับฮีโรทั่ว ๆ ไปว่าไม่มีฮีโรคนไหนจะมีพื้นที่ในการปฏิบัติงานกว้างขวางไปกว่าซูเปอร์แมนอีกแล้ว ซูเปอร์แมนนั้นต้องบินไปมาในท้องฟ้าของเมืองที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ อย่างเมโทรโพลิส บูคัทมันยังได้เขียนบทความเกี่ยวกับซูเปอร์แมนเอาไว้ว่า “นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1938 ซูเปอร์แมนนั้นได้รับการกล่าวถึงอยู่ตลอดเวลาเขาเป็นสุดยอดฮีโร ซูเปอร์แมนมีสายตาเอกซ์-เรย์ที่สามารถมองทะลุผนังได้ มีจิตใจที่ดีงามและมีพลังอันมหาศาล เมืองเมโทรโพลิสเป็นประชาธิปไตยพร้อมกับเกิดความสงบสุขได้ก็เพราะมีซูเปอร์แมน”[38]

จูเลียส ไฟฟ์เฟอร์ ได้พูดเกี่ยวกับซูเปอร์แมนเอาไว้ว่า ซูเปอร์แมนนั้นคือการพัฒนาการของคลาร์ก เคนต์อย่างแท้จริง ไม่น่าสงสัยเลยว่า “ทำไมซูเปอร์แมนถึงสามารถสร้างสิ่งมหัศจรรย์ขึ้นมาได้ นั่นก็เพราะซูเปอร์แมนได้เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ผ่านบุคลิกอีกบุคลิกหนึ่งที่เป็นเด็กชาวไร่ธรรมดา ๆ ที่มีชื่อว่า คลาร์ก เคนต์นั่นเอง” ไฟฟ์เฟอร์ เป็นหนึ่งในทีมงานผู้พัฒนาที่ทำให้ซูเปอร์แมนกลายมาที่นิยมในยุคแรก ๆ [151] ทั้งซีเกลและชูสเตอร์สองผู้สร้างซูเปอร์แมนต่างเห็นด้วยกับแนวความคิดของไฟฟ์เฟอร์ โดยซีเกลได้กล่าวว่า “ถ้าคุณสนใจในเรื่องที่ว่าซูเปอร์แมนมีที่มาที่ไปอย่างไร…อะไรดีละ? แต่ผมจะบอกคุณว่านี่แหละคือหัวใจสำคัญของเรื่องราวทั้งหมดที่แฟน ๆ ของผลงานชุดนี้จะต้องชอบแน่ ๆ โจกับผมก็พยายามมาคิดแล้วคิดอีกเกี่ยวกับเรื่องนี้...ว่าเราควรจะนำมาใช้เพื่อช่วยทำให้หนังสือการ์ตูนของเราที่มีเรื่องราวเป็นแนววิทยาศาสตร์ดูน่าสนใจมากขึ้น นั่นจึงเป็นสาเหตุว่าทำไมเราจึงต้องสร้างตัวตนของซูเปอร์แมนขึ้นมาสองตัว” ส่วนชูสเตอร์ก็เห็นด้วยกับแนวความคิดนี้เช่นกัน โดยได้กล่าวว่า “ทำไมผู้คนชอบพูดถึงเรื่องนี้กันจังเลย”[152]

เอียน กอร์ดอน ได้ให้ความเห็นเอาไว้ว่า หลาย ๆ สิ่งในตัวของซูเปอร์แมนที่แสดงผ่านสื่อนั้นมักจะเกี่ยวข้องกับรูปแบบอุดมการณ์ของชาวอเมริกัน กอร์ดอนยังอธิบายว่าสิ่งเหล่านี้มันก็เหมือนกับการเชื่มโยงระหว่างปัจเจกนิยม, การคุ้มครองสิทธิ์ และ ประชาธิปไตย ส่วนอีกสิ่งหนึ่งนั้นก็คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและผลกระทบในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งทั้งหมดนี้ได้เข้ามามีผลต่อซูเปอร์แมนอย่างแท้จริง[153]

การที่ซูเปอร์แมนนั้นต้องมาอาศัยอยู่บนโลกหลังจากที่ดวงดาวบ้านเกิดถูกทำลายลงได้กลายมาเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินเรื่องราว[154][155][156] อัลโด เรกาลาโด มีความเห็นว่าในอเมริกานั้นซูเปอร์แมนกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย เรกาลาโดได้ให้ความเห็นว่าการที่ซูเปอร์แมนเป็นบุคคลที่มาจากนอกโลกทำให้มันมีแนวความคิดเหมือนกับ ชาวแองโกล-แซกซัน ในอดีต[157] ส่วนมุมมองของ แกรี่ อีเกิ้ล นั้นเห็นว่า “เรื่องราวของซูเปอร์แมนจะมีส่วนผสมของความเชื่อมั่นและการมองโลกในแง่ดีอยู่เสมอตามลักษณะของผู้ที่เดินทางมาสู่ วัฒนธรรมอเมริกา " อีเกิ้ลยังกล่าวอีกว่าซูเปอร์แมนนั้นเป็นซูเปอร์ฮีโรที่มีบุคลิกเหมือนกับชาวตะวันตกที่ย้ายถิ่นฐานเมื่อครั้งอดีต จากเหตุผลทั้งสองข้อนี้ทำให้ระบุได้ว่าซูเปอร์แมนนั้นมีบุคลิกของผู้อพยพทั้งสองกลุ่ม ทำให้คลาร์ก เคนต์นั้นก็คือสิ่งที่ผสมผสานของมรดกทางวัฒนธรรมโดยแสดงผ่านออกมาในบุคลิกของซูเปอร์แมน[155] ทางด้านทิโมธี แอรอน พีวีย์ ได้กล่าวถึงในแง่มุมของเรื่อง ความฝันอเมริกัน ที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับซูเปอร์แมน ซึ่งพีวีย์ได้บันทึกไว้ว่า “สิ่งเดียวที่สามารถสร้างความเจ็บปวดให้แก่ซูเปอร์แมนได้กลับเป็นคริปโตไนท์เศษหินจากดาวบ้านเกิดของซูเปอร์แมนเอง”[37] ด้าน เดวิด จีนมันน์ กลับมีความคิดที่ต่างออกไป จีนมันน์ เห็นว่าเรื่องราวในช่วงแรก ๆ ของซูเปอร์แมนนั้นน่าจะเป็นภัยคุกคามต่อโลกมากกว่า ด้วยคำพูดที่ว่า “สิ่งที่เห็นอยู่ชัดแจ้งแดงแจ๋ก็คือซูเปอร์แมนมีความสามารถที่จะยึดครองโลกได้สบาย ๆ เลยละ”[158] ส่วน เดวิด รูนีย์ นักวิเคราะห์ภาพยนตร์ ของ เดอะ นิวยอร์ก ไทม์ส ได้กล่าวถึงซูเปอร์แมนในบทความวิจารณ์ของเขาที่มีชื่อว่า เยียร์ ซีโร่ เอาไว้ว่า “แก่นสารของเรื่องก็คือการอพยพมายังโลกของซูเปอร์แมน...ต้องมาเติบโตใช้ชีวิตอยู่ในดวงดาวที่ไม่ใช่บ้านเกิดของตัวเอง ซูเปอร์เติบโตขึ้นมาบนโลกพร้อมกับความแข็งแกร่งแต่ก็ต้องปกปิดชาติกำเนิดของตัวเองเอาไว้ซึ่งก็ส่งผลให้ซูเปอร์แมนมีการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องเพื่อต่อกรกับบรรดาเหล่าวายร้ายทั้งหลายที่เข้ามาคุกคามโลก”[159]

การยอมรับและความนิยม

แก้

ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาตัวละครซูเปอร์แมนทั้งในรูปแบบหนังสือการ์ตูนและรูปแบบในสื่ออื่น ๆ ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้คนส่งผลให้ได้รับรางวัลเป็นจำนวนมาก

  • เอ็มไพร์ แม็กกาซีน ได้ยกย่องให้ซูเปอร์แมนเป็นตัวละครที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลของวงการหนังสือการ์ตูน[160]
  • ผลงานชุด เดอะ เรนจ์ออฟเดอะ ซูเปอร์เม็น เป็นหนึ่งในผลงานของซูเปอร์แมนทั้งหมดที่ได้รับรางวัล คอมิกส์ บายเยอร์ ไกด์ แฟน อวอร์ด โดยได้รับรางวัลชนะเลิศ สาขา ผลงานยอดนิยม ในปี ค.ศ. 1993[161]
  • ซูเปอร์แมนได้รับเลือกเข้ามาเป็นอันดับที่ 2 ในการจัดอันดับสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวอเมริกาที่ชื่อว่า “วีเอชไอ ท๊อป ป๊อป คัลเจอร์ ไอค่อน ในปี ค.ศ. 2004”[162]
  • ซูเปอร์แมนได้รับการโหวตจากนิตยสาร บริตริส ซินีม่ากอล์ส ในปี ค.ศ. 2004 ให้เป็นซูเปอร์ฮีโรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล[163]
  • ทีมงานผู้สร้างนิตยสารซูเปอร์แมนเคยได้รับรางวัล ไอส์เนอร์ อวอร์ด[164][165] ถึง 6 ครั้ง และ ฮาร์วีย์ อวอร์ด[166] อีก 3 ครั้ง ตลอดการสร้างผลงานเรื่องซูเปอร์แมน
  • ภาพยนตร์เรื่องซูเปอร์แมนเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงและได้รับรางวัลมากมาย เช่น คริสโตเฟอร์ รีฟ ได้รับรางวัลของ BAFTA จากการสวมบทเป็นซูเปอร์แมน ในเรื่อง ซูเปอร์แมน : เดอะ มูฟวี่
  • นักแสดงจาก ซีรีส์เรื่อง สมอลล์วิลล์ ได้รับรางวัล เอ็มมี่ อวอร์ด อยู่หลายรางวัลตลอดระยะเวลาการออกอากาศของซีรีส์[167][168][169]
  • นักวิจารณ์จำนวนมากต่างยกให้ซูเปอร์แมนเป็นตัวละครที่ยิ่งใหญ่ที่สุดหลังจากที่มีการฉลองการครบรอบ 70 ปีของซูเปอร์แมน[170]

วิดีโอเกม

แก้

ในขณะที่กระแสความนิยมของซูเปอร์แมนนั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกลายมาเป็นซูเปอร์ฮีโรอันดับหนึ่งของ ดีซีคอมิกส์ แต่กับความสำเร็จในด้านวิดีโอเกมนั้นซูเปอร์แมนกลับไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 เมื่อผลงานวิดีโอเกมชุดแรก ได้ออกจัดจำหน่ายให้แก่เครื่องเครื่อง อะตารี่ 2600 แม้ว่าผู้พัฒนาเกมจำนวนมากจะพยายามทำให้ตัวเกมของซูเปอร์แมนเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนแต่ผลงานเกมชิ้นนี้กลับไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร รวมถึงผลงานเกมที่ถือว่าเป็นผลงานที่ล้มเหลวที่สุดก็คือเกมที่มีชื่อว่า “ซูเปอร์แมน” จัดจำหน่ายในปี ค.ศ. 1999ให้แก่เครื่องไนเทนโด 64 (แต่เกมนี้มักจะถูกเรียกอย่างผิด ๆ ว่า ซูเปอร์แมน 64 ตามชื่อของเครื่องเล่น N64 ที่มีเลข 64 ตามหลัง) ผลงานเกมชุดนี้ได้รับการให้เป็นผลงานเกมที่เลวร้ายที่สุดตลอดกาลของวงการเกม[ต้องการอ้างอิง]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Daniels (1998), p. 11.
  2. Holt, Douglas B. (2004). How Brands Become Icons: The Principles of Cultural Branding. Boston: Harvard Business School Press. p. 1. ISBN 1578517745.
  3. Koehler, Derek J., Harvey, Nigel., บ.ก. (2004). Blackwell Handbook of Judgment and Decision Making. Blackwell. p. 519. ISBN 1405107464.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์)
  4. Dinerstein, Joel (2003). Swinging the machine: Modernity, technology, and African American culture between the wars. University of Massachusetts Press. p. 81. ISBN 1558493832.
  5. Wallace, Daniel; Bryan Singer (2006). The Art of Superman Returns. Chronicle Books. p. 22. ISBN 0811853446.
  6. "Designing Man of Steel's costume". Manila Standard. Philippines News. July 21, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-03. สืบค้นเมื่อ September 3, 2008.{{cite news}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) September 3, 2008.
  7. Gormly, Kellie B. (June 28, 2006). "Briefs: Blige concert cancelled". Pittsburgh Tribune-Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-03. สืบค้นเมื่อ September 3, 2008.[Archived ] on September 3, 2008.
  8. Sanderson, Peter (2007-02-24). "Comics in Context #166: Megahero Vs. Megavillain". QuickStopEntertainment.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-01. สืบค้นเมื่อ 2008-02-13.
  9. "Superman – Top 100 Comic Book Heroes". IGN Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-09. สืบค้นเมื่อ May 27, 2011.
  10. 10.0 10.1 Daniels (1998), p. 13.
  11. 11.0 11.1 Roger Stern. Superman: Sunday Classics: 1939 – 1943 DC Comics/Kitchen Sink Press, Inc./Sterling Publishing; 2006; Page xii
  12. 12.0 12.1 Gross, John (December 15, 1987). "Books of the Times". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-15. สืบค้นเมื่อ January 29, 2007.
  13. Daniels (1998), p. 17.
  14. 14.0 14.1 14.2 Jones, Gerard (2004). Men of Tomorrow: Geeks, Gangsters, and the Birth of the Comic Book. Basic Books. p. 115. ISBN 0465036562.
  15. Trexler, Jeff; Paul August (August 20, 2008). "Superman's Hidden History: The Other "First" Artist". Newsarama. Imaginova Corp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-26. สืบค้นเมื่อ August 26, 2008.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) August 26, 2008.
  16. Petrou, David Michael (1978). The Making of Superman the Movie, New York: Warner Books ISBN 0-446-82565-4
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 Daniels (1998), p. 18.
  18. Daniels (1998), p. 19.
  19. Morrison, Grant (September 29, 1998). "Seriously, Perilously". The Herald. p. 14.
  20. 20.0 20.1 20.2 Andrae, Nemo (online version) : "Superman Through the Ages: The Jerry Siegel and Joe Shuster Interview, Part 8 of 10" (1983).
  21. Daniels (1998), pp. 25–31.
  22. "BBC News". BBC News. February 22, 2010. สืบค้นเมื่อ June 17, 2010.
  23. David Colton (August 25, 2008). "The crime that created Superman: Did fatal robbery spawn Man of Steel?". USA Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-26. สืบค้นเมื่อ August 26, 2008.
  24. Muir, John Kenneth (July 2008). The encyclopedia of superheroes on film and television. McFarland & Co. p. 539. ISBN 9780786437559. สืบค้นเมื่อ May 31, 2011.
  25. 25.0 25.1 Daniels (1998), p. 44.
  26. Daniels (1998), p. 13
  27. 27.0 27.1 Daniels (1998), p. 69.
  28. Eury (2006), p. 38.
  29. Daniels (1995), p. 28.
  30. Daniels (1998), p. 150.
  31. "Announces Historic Renumbering of All Superhero Titles and Landmark Day-and-Date Digital Distribution". DC Comics. 2011-05-31. สืบค้นเมื่อ 2012-04-14.
  32. "The New Superman Titles Are Here, Grant Morrison on 'Action Comics' - ComicsAlliance | Comic book culture, news, humor, commentary, and reviews". ComicsAlliance. 2012-04-04. สืบค้นเมื่อ 2012-04-14.
  33. 33.0 33.1 Daniels (1995), pp. 22–23.
  34. 34.0 34.1 Sabin, Roger (1996). Comics, Comix & Graphic Novels (4th paperback ed.). Phaidon. ISBN 0-7148-3993-0.
  35. von Busack, Richard (July 2–8, 1998). "Superman Versus the KKK". Metro. สืบค้นเมื่อ January 28, 2007.
  36. Dubner, Stephen J; Levitt, Steven D (January 8, 2006). "Hoodwinked?". The New York Times. p. F26. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ January 28, 2007.
  37. 37.0 37.1 Pevey, Timothy Aaron ""From Superman to Superbland: The Man of Steel's Popular Decline Among Postmodern Youth"PDF (3.14 Mb). April 10, 2007 URN: etd-04172007-133407
  38. 38.0 38.1 Bukatman, Scott (2003). Matters of Gravity: Special Effects and Supermen in the 20th century. Duke University Press. ISBN 0-8223-3132-2.
  39. Feeley, Gregory (2005). "When World-views Collide: Philip Wylie in the Twenty-first Century". Science Fiction Studies. 32 (95). ISSN 0091-7729. สืบค้นเมื่อ December 6, 2006.
  40. 40.0 40.1 Steranko, Jim (1970). The Steranko History of Comics. Vol. 1. Supergraphics. pp. 35–37. ISBN 0-517-50188-0.
  41. 41.0 41.1 Jacobson, Howard (March 5, 2005). "Up, up and oy vey". The Times. UK. p. 5.
  42. 42.0 42.1 42.2 The Mythology of Superman (DVD). Warner Bros. 2006.
  43. Weinstein, Simcha (2006). Up, Up, and Oy Vey! (1st ed.). Leviathan Press. ISBN 978-1-881927-32-7.
  44. "Semitic Roots เก็บถาวร 2008-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." The American Heritage Dictionary of the English Language (2000). 4th ed. Boston: Houghton Mifflin. Retrieved on February 8, 2007.
  45. 45.0 45.1 Waldman, Steven; Kress, Michael (June 19, 2006). "Beliefwatch: Good Fight". Newsweek. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-05. สืบค้นเมื่อ December 3, 2011.
  46. Skelton, Stephen. The Gospel According to the World's Greatest Superhero. Harvest House Publishers, 2006. ISBN 0-7369-1812-4.
  47. McCue, Greg S., Bloom, Clive (February 1, 1993). Dark Knights, LPC Group. ISBN 0-7453-0663-2.
  48. Lawrence, John Shelton (March 2006). "Book Reviews: The Gospel According to Superheroes: Religion and Popular Culture". The Journal of American Culture. 29 (1): 101. doi:10.1111/j.1542-734X.2006.00313.x. สืบค้นเมื่อ December 3, 2011.[ลิงก์เสีย]
  49. Andrae (1983), p.2.
  50. Andrae (1983), p.4.
  51. Andrae (1983), p.7.
  52. Andrae (1983), p.5.
  53. Hurwitt, Sam (January 16, 2005). "Comic Book Artist Populates Movies". San Francisco Chronicle. p. PK–24. สืบค้นเมื่อ December 8, 2006.
  54. 54.0 54.1 MacDonald, Heidi (April 11, 2006). "Inside the Superboy Copyright Decision". PW Comics Week. Publishers Weekly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-12. สืบค้นเมื่อ December 8, 2006.
  55. 55.0 55.1 Dean (2004), p. 16.
  56. Daniels (1998), p. 73.
  57. Dean (2004), pp. 14–15.
  58. 508 F.2d 909 184 U.S.P.Q. 257 Jerome SIEGEL and Joseph Shuster, Plaintiffs-Appellants, v. NATIONAL PERIODICAL PUBLICATIONS, INC., et al., Defendants-Appellees. No. 36, Docket 73-2844. United States Court of Appeals, Second Circuit. Argued Nov. 7, 1974. Decided Dec. 5, 1974. เก็บถาวร 2012-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at PublicResource.org Retrieved February 5, 2011
  59. 59.0 59.1 Dean (2004), p. 17.
  60. Vosper, Robert (February 2005). "The Woman Of Steel". Inside Counsel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-06. สืบค้นเมื่อ January 26, 2007. DC isn't going to hand over its most valued asset without putting up one hell of a legal battle
  61. Brady, Matt (March 3, 2005). "Inside The Siegel/DC Battle For Superman". Newsarama. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-15. สืบค้นเมื่อ January 26, 2007. While the complaint, response and counterclaim have been filed, no one even remotely expects a slam-dunk win for either side. Issues such as those named in the complaint will, if it goes to trial, possibly allow for an unprecedented referendum on issues of copyright.
  62. 62.0 62.1 Ciepley, Michael. "Ruling Gives Heirs a Share of Superman Copyright" NY Times, March 29, 2008. Accessed on March 29, 2008. Archived on March 29, 2008.
  63. Agency reporter, Bloomberg News, "Time Warner ordered to share Superman rights". LA Times, March 29, 2008. '"After 70 years, Jerome Siegel's heirs regain what he granted so long ago – the copyright in the Superman material that was published in Action Comics," Larson wrote in his order Wednesday. The victory was "no small feat indeed," he said.' Accessed on March 29, 2008. on March 29, 2008.
  64. Coyle, Marcia. "Pow! Zap! Comic Book Suits Abound". The National Law Journal, February 4, 2008. Retrieved on February 17, 2008. on February 17, 2008.
  65. Dean, Michael (June 2006). "Journal Datebook: Follow-Up: Superman Heirs Reclaim Superboy Copyright". The Comics Journal (276): 37.
  66. "Case 2:04-cv-08776-SGL-RZ Document 151" (PDF). July 27, 2007. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-01. สืบค้นเมื่อ December 23, 2007.
  67. McNary, Dave (July 9, 2009). "Warner Bros. wins 'Superman' case". Variety. สืบค้นเมื่อ July 11, 2009.
  68. 68.0 68.1 Friedrich, Otto (March 14, 1988). "Up, Up and Awaaay!!!". Time Magazine. p. 6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-21. สืบค้นเมื่อ June 6, 2010.
  69. Daniels (1998), p. 67.
  70. 70.0 70.1 70.2 70.3 Daniels (1998), p. 42.
  71. Byrne, John (w) (p), Giordano, Dick (i). The Man of Steel Ed. Barry Marx. DC Comics, 1987. ISBN 0-930289-28-5.
  72. Jurgens, Dan, Ordway, Jerry, Simonson, Louise et al. (w), Jurgens, Dan, Guice, Jackson, Bogdanove, Jon, et al. (p), Rodier, Denis, Janke, Dennis, Breeding, Brett et al. (i). The Death of Superman Ed. Mike Carlin. NY:DC Comics, April 14, 1993. ISBN 1-56389-097-6.
  73. Jurgens, Dan, Kesel, Karl, Simonson, Louise et al. (w), Jurgens, Dan, Guice, Jackson, Bogdanove, Jon, et al. (p), Rodier, Denis, Janke, Dennis, Breeding, Brett et al. (i). The Return of Superman (Reign of the Supermen) Ed. Mike Carlin. NY:DC Comics, September 3, 1993. ISBN 1-56389-149-2.
  74. Waid, Mark (w), Yu, Leinil Francis (a). Superman: Birthright. NY:DC Comics, October 1, 2005. ISBN 1-4012-0252-7.
  75. Johns, Geoff (w), Jimenez, Phil, Pérez, George, Ordway, Jerry et al. (a). Infinite Crisis. NY:DC Comics, September 20, 2006. ISBN 1-4012-0959-9 ISBN 978-1-4012-0959-9
  76. Johns, Geoff, Busiek, Kurt (w), Woods, Peter, Guedes, Renato (a). Superman: Up, Up and Away! NY:DC Comics, 2006. ISBN 1-4012-0954-8 ISBN 978-1-4012-0954-4.
  77. Action Comics #594 (1987)
  78. Charles Strouse & Lee Adams (1966). It's a Bird...It's a Plane...It's Superman (Original Cast CD). Sony. ISBN B0000027WB.
  79. Jurgens et al.. The Return of Superman (1993).
  80. Dooley, Dennis and Engle, Gary D. Superman at Fifty! (1988)
  81. Interview with Roy Thomas and Jerry Bails in The Justice League Companion (2003) pp. 72–73
  82. Wolf-Meyer, Matthew (January 2003). "The World Ozymandias Made: Utopias in the Superhero Comic, Subculture, and the Conservation of Difference". The Journal of Popular Culture. 36 (3): 497–517. doi:10.1111/1540-5931.00019. สืบค้นเมื่อ December 3, 2011. ... will fail to emerge). Hyperion, the Superman-clone of Squadron Supreme, begins the series when he vows, on behalf of the Squadron ... [ลิงก์เสีย]
  83. Bainbridge, J (2007). ""This is the Authority. This Planet is Under Our Protection" – An Exegesis of Superheroes' Interrogations of Law". Law, Culture and the Humanities. 3 (3): 455–476. doi:10.1177/1743872107081431. The trend begins in 1985 when Mark Gruenwald's Squadron Supreme (Marvel's thinly veiled version of DC's Justice League) take over their (parallel) Earth implementing a benign dictatorship to usher in . . .
  84. Thomas, Roy. Bails, Jerry. The Justice League Companion (2003) pp. 72–73. (Roy Thomas discusses the creation of Squadron Supreme, his Justice League parody.
  85. "Obituaries of note". St. Petersburg Times. Wire services. September 25, 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-21. สืบค้นเมื่อ December 8, 2006.
  86. 86.0 86.1 86.2 Daniels (1995), p. 80.
  87. Cabarga, Leslie, Beck, Jerry, Fleischer, Richard (Interviewees). (2006). "First Flight: The Fleischer Superman Series" (supplementary DVD documentary). Superman II (Two-Disc Special Edition) [DVD]. Warner Bros..
  88. Daniels (1998), p. 133.
  89. 89.0 89.1 Sanderson, Peter (June 1986). "The End of History". Amazing Heroes (96). ISSN 0745-6506.
  90. Lundegaard, Erik (July 3, 2006). "Sex and the Superman". msnbc.com. สืบค้นเมื่อ January 26, 2007. Even his origin kept changing. Initially Krypton was populated by a race of supermen whose physical structure was millions of years more advanced than our own. Eventually the red sun/yellow sun dynamic was introduced, where Superman's level of power is dependent upon the amount of yellow solar radiation his cells have absorbed.
  91. Daniels (1998), pp. 106–107.
  92. Zeno, Eddy (December 25, 2006). "From Back Issue 20: Pro 2 Pro: A Clark Kent Roundtable". newsarama.com. published on web by newsarama, in print by TwoMorrow. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ January 31, 2007.
  93. 93.0 93.1 Eury (2006), p. 119.
  94. แม่แบบ:Comic book reference
  95. Daniels (1998), p. 160.
  96. , DeMatteis, J.M., Kelly, Joe, Loeb, Jeph et al. (w), McGuinness, Ed, Rouleau, Duncan, Medina, Paco (a). Superman: President Lex, NY:DC Comics, July 1, 2003. ISBN 978-1-56389-974-4
  97. George, Richard (June 22, 2006). "Superman's Dirty Dozen". IGN. p. 2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-01. สืบค้นเมื่อ January 11, 2007.
  98. Magnussen, Anne; Hans-Christian Christiansen (2000). Comics & Culture: Analytical and Theoretical Approaches to Comics. Museum Tusculanum Press. ISBN 87-7289-580-2. a metaphor and cultural icon for the 21st century
  99. Postmes, Tom; Jolanda Jetten (2006). Individuality and the Group: Advances in Social Identity. Sage Publications. ISBN 1-4129-0321-1. American cultural icons (e.g., the American Flag, Superman, the Statue of Liberty)
  100. Soanes, C. and Stevenson, A. 2004. Electronic version of The Concise Oxford English Dictionary. Eleventh Edition. England: Oxford University Press.
  101. Bizarro reference Reference to Bizzaro logic in FCC pleading.
  102. "You're not Superman: Despite major medical advances, recovery times for regular folks take time" PhysOrg.com. May 1, 2009. Retrieved October 5, 2009.
  103. "You're Not Superman, You Know". Scarleteen. 2009-05-25. Retrieved October 5, 2009.
  104. "Stress In The Modern World – Face It Guys, You're Not Superman". Natural Holistic Health. January 19, 2011. Retrieved December 3, 2011.
  105. Eury (2006), p. 116: "since Superman inspired so many different super-heroes".
  106. Hatfield, Charles (2006) [2005]. Alternative Comics: an emerging literature. University Press of Mississippi. p. 10. ISBN 1-57806-719-7. the various Superman-inspired "costume" comics
  107. Daniels (1995), p. 34.
  108. Lloyd L. Rich (1998). "Protection of Graphic Characters". Publishing Law Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-04. สืบค้นเมื่อ December 3, 2011. the court found that the character Superman was infringed in a competing comic book publication featuring the character Wonderman
  109. Daniels (1995), pp. 46–47.
  110. Singer, Marc (2002). ""Black Skins" and White Masks: Comic Books and the Secret of Race". African American Review. 36 (1): 107–119. doi:10.2307/2903369. JSTOR 2903369.
  111. South Carolina PACT Coach, English Language Arts Grade 5. Triumph Learning. 2006. ISBN 1-59823-077-8.
  112. "Superman Struts in Macy Parade". The New York Times, November 22, 1940. p.18
  113. "The Press: Superman's Dilemma". Time. April 13, 1942. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-06. สืบค้นเมื่อ January 29, 2007.
  114. 114.0 114.1 Daniels (1998), p. 50.
  115. Karl Heitmueller (June 13, 2006). "The 'Superman' Fanboy Dilemma, Part 4: Come On Feel The Toyz". MTV News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Flash)เมื่อ 2007-10-01. สืบค้นเมื่อ January 16, 2007. Warner Bros. has "Superman Returns" licensing deals with Mattel, Pepsi, Burger King, Duracell, Samsung, EA Games and Quaker State Motor Oil, to name a few.
  116. Lieberman, David (June 21, 2005). "Classics are back in licensed gear". USA Today. สืบค้นเมื่อ January 29, 2007.
  117. "Warner Bros. Consumer Products Flies High with DC's Superman at Licensing 2005 International; Franchise Set to Reach New Heights in 2005 Leading Up to Feature Film Release of Superman Returns in June 2006" (Press release). Warner Bros. June 16, 2005. สืบค้นเมื่อ January 16, 2007. With a super hero that transcends all demographics" ... and ... "S-Shield, which continues to be a fashion symbol and hot trend
  118. Jones, Cary M. (2006). "Smallville and New Media mythmaking; Twenty-first century Superman". Jump Cut (48). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-16. สืบค้นเมื่อ July 4, 2008.
  119. Juddery, Mark (October 2000). "Jacob 'Jack' Liebowitz". The Australian. Mark Juddery. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-07. สืบค้นเมื่อ January 9, 2007. Superman's popularity increased during the war years, spinning off into a comic strip
  120. Daniels (1998), pp. 75–76.
  121. Holiday, Bob & Harter, Chuck. Superman on Broadway, 2003
  122. "Amazon.com: It's A Bird ... It's A Plane ... It's Superman (1966 Original Broadway Cast) : Music: Charles Strouse, Lee Adams". Amazon.com. สืบค้นเมื่อ January 11, 2007.
  123. Daniels (1998), pp. 111–115
  124. Daniels (1998), pp. 141–143
  125. "Backgrounder". Ruby-Spears Productions. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-01. สืบค้นเมื่อ January 11, 2007.
  126. Daniels (1998), pp. 164–165.
  127. Daniels (1998), pp. 172–174.
  128. 128.0 128.1 Cieply, Michael (March 1, 2008). "A Film's Superheroes Face Threat of Strike". The New York Times. สืบค้นเมื่อ April 11, 2011.
  129. Harris, Rachel Lee (April 3, 2011). "Steinberg Prize Awarded". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-01. สืบค้นเมื่อ 2012-10-27.
  130. "Zack Snyder's Superman Film 'Man Of Steel' Moves To June 14, 2013". July 21, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-21. สืบค้นเมื่อ July 21, 2012.
  131. McNary, Dave (January 30, 2011). "Henry Cavil cast as Superman". Variety. สืบค้นเมื่อ April 11, 2011.
  132. Donovan. "Sunshine Superman". Sunshine Superman. Epic, 1966.
  133. Jim Croce. "You Don't Mess Around with Jim". You Don't Mess Around with Jim. ABC/Vertigo, 1972.
  134. Genesis. "Land of Confusion". Invisible Touch. Atlantic Records, 1986. "Ooh Superman where are you now, When everything's gone wrong somehow".
  135. Lloyd, John & Yukich, Jim (Directors) (1986). "Land of Confusion" (Music video). Atlantic Records.
  136. Morrison (w), Grant; Truog, Chas, Hazlewood, Doug and Grummet, Tom (a) (2002) [1991]. "2: Life In The Concrete Jungle". ใน Michael Charles Hill (บ.ก.). Animal Man. John Costanza (letterer) & Tatjana Wood (colorist) (1st ed.). New York, NY: DC Comics. p. 45. ISBN 1-56389-005-4. R.E.M. starts singing "Superman." My arm aches and I've got déjà vu. Funny how everything comes together.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  137. Lyrics to "Superman's Song".
  138. "Five For Fighting: Inside Track". VH1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-19. สืบค้นเมื่อ June 17, 2010.
  139. Turner, Robin (August 8, 2006). "Deputy Dawg". Western Mail. p. 21.
  140. "Looney Tunes # 97". Big Comicbook Database. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-02. สืบค้นเมื่อ January 16, 2007.
  141. Clarke, Mel (August 1, 2004). "The Pitch". The Sunday Times. p. 34.
  142. Kinnes, Sally (January 30, 2000). "The One To Watch". The Sunday Times. p. 58.
  143. Daniels (1998), p. 185.
  144. "Steven Seagle Talks It's a Bird". ugo.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-13. สืบค้นเมื่อ January 16, 2007. the semi-autobiographical tale of Steven being given the chance to write a Superman comic but stumbling when he can't figure out how to relate to the character. Through the course of the story, Seagle finds his way into Superman by looking at it through the lens of his own mortality.
  145. Taylor, Paul (September 21, 1994). "Theatre". The Independent. UK.
  146. Eco, Umberto (2004) [1962]. "The Myth of Superman". ใน Jeet Heer & Kent Worcester (บ.ก.). Arguing Comics. University Press of Mississippi. p. 162. ISBN 1-57806-687-5.
  147. Clarke, Gerald (December 13, 1971). "The Comics On The Couch". Time: 1–4. ISSN 0040-781X. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ January 29, 2007.
  148. Arnold, Andrew (October 6, 2005). "The Hard Knock Life". Time. ISSN 0040-781X. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-24. สืบค้นเมื่อ January 29, 2007. much of The Quitter involves the classic American literary theme of assimilation. Though extremely popular in other mediums, this theme, again, has gotten little attention in comix except obliquely, through such genre works as Seigel and Shuster's Superman character.
  149. Daniels (1995), p. 64.
  150. Grayling, A C (July 8, 2006). "The Philosophy of Superman: A Short Course". The Spectator. UK. ISSN 0038-6952. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ January 29, 2007.
  151. Jules Feiffer The Great Comic Book Heroes, (2003). Fantagraphics. ISBN 1-56097-501-6
  152. Andrae (1983), p.10.
  153. Ian Gordon "Nostalgia, Myth, and Ideology: Visions of Superman at the End of the 'American Century"in Michael Ryan, ' 'Cultural Studies: An Anthology' ' (2007). Blackwell ISBN 978-1-4051-4577-0 [1].
  154. Fingeroth, Danny Superman on the Couch (2004). Continuum International Publishing Group p53. ISBN 0-8264-1539-3
  155. 155.0 155.1 Engle, Gary "What Makes Superman So Darned American?" reprinted in Popular Culture (1992) Popular Press p331-343. ISBN 0-87972-572-9
  156. Wallace, Daniel; Bryan Singer (2006). The Art of Superman Returns. Chronicle Books. p. 92. ISBN 0-8118-5344-6.
  157. Regalado, Aldo "Modernity, Race, and the American Superhero" in McLaughlin, Jeff (ed.) Comics as Philosophy (2005). Univ of Mississippi Press p92. ISBN 1-57806-794-4
  158. Jenemann, David (2007). Adorno in America. U of Minnesota Press. p. 180. ISBN 0-8166-4809-3.
  159. Rooney, David (June 3, 2010). "Finding America, Searching for Identity". The New York Times. สืบค้นเมื่อ June 11, 2010.
  160. "The 50 Greatest Comic Book Characters". Empire. December 5, 2006. สืบค้นเมื่อ June 17, 2010.
  161. Miller, John Jackson (June 9, 2005). "CBG Fan Awards Archives". www.cbgxtra.com. Krause Publications. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-11. สืบค้นเมื่อ January 29, 2007. CBG Fan Award winners 1982–present
  162. "200 Greatest Pop Culture Icons List: The Folks that Have Impacted American Society". Arizona Reporter. October 27, 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-06. สืบค้นเมื่อ December 8, 2006. Syndicated reprint of a Newsweek article
  163. "Superman is 'greatest superhero'". BBC News Online. December 22, 2004. สืบค้นเมื่อ February 18, 2007.
  164. Joel Hahn (2006). "Will Eisner Comic Industry Award: Summary of Winners". Comic Book Awards Almanac. Joel Hahn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-16. สืบค้นเมื่อ January 17, 2007.
  165. "Alan Moore Back on Top for 2006 Eisner Awards". Comic-Con International. July 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-11. สืบค้นเมื่อ January 17, 2007.
  166. Joel Hahn (2006). "Will Harvey Award Winners Summary". Comic Book Awards Almanac. Joel Hahn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-13. สืบค้นเมื่อ January 17, 2007.
  167. "CNN's 2002 Emmy Winners". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-16. สืบค้นเมื่อ July 13, 2009.
  168. "2006 Primetime Emmy Winners". Emmys.org. สืบค้นเมื่อ August 23, 2007.
  169. "The 2006 Creative Arts Emmy winners press release" (PDF) (Press release). Emmys.org. August 19, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-09-29. สืบค้นเมื่อ August 23, 2007.
  170. Wright, B. W. (2001). "Spider-Man at Ground Zero". Comic Book Nation: The Transformation of Youth Culture in America. Baltimore, MD: The Johns Hopkins University Press. p. 293. ISBN 978-0801865145.

บรรณานุกรม

แก้

อ่านเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้