เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส
เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส (ดัตช์: Nederlandse Antillen, ออกเสียง: [ˌneːdərlɑntsə ʔɑnˈtɪlə(n)] ( ฟังเสียง); อังกฤษ: Netherlands Antilles; ปาเปียเมนโต: Antia Hulandes)[2] เป็นอดีตประเทศองค์ประกอบของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ซึ่งประกอบด้วยเกาะในทะเลแคริบเบียน หมู่เกาะเหล่านี้มีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ดัตช์แอนทิลลีส[3] ประเทศนี้ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1954 ในฐานะรัฐสืบทอดของอาณานิคมดัตช์แห่งกือราเซากับเมืองขึ้น และ ยุบตัวใน ค.ศ. 2010 เกาะในดินแดนทั้งหมดที่เคยอยู่ในเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสยังคงเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรในปัจจุบัน แม้ว่าจะมีสถานะทางกฎหมายแตกต่างกัน เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ยังคงถูกเรียกเป็นดัตช์แคริบเบียน[4] ในประเทศเนเธอร์แลนด์ยังคงเรียกคนที่มาจากอดีตดินแดนนี้ว่า ชาวแอนทิลลีส (Antillianen)[5]
เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1954–2010 | |||||||||||||||
สถานะ | ประเทศองค์ประกอบของ ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ | ||||||||||||||
เมืองหลวง | วิลเลมสตัด | ||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ดัตช์ อังกฤษ ปาเปียเมนโต[1] | ||||||||||||||
เดมะนิม | เนเธอร์แลนด์แอนทิลเลียน | ||||||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ | ||||||||||||||
พระมหากษัตริย์ | |||||||||||||||
• 1954–1980 | ยูเลียนา | ||||||||||||||
• 1980–2013 | เบียทริกซ์ | ||||||||||||||
• ตั้งแต่ ค.ศ. 2013 | วิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ | ||||||||||||||
ผู้ว่า | |||||||||||||||
• 2002–2010 | ฟริทส์ กูเกอดราก | ||||||||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||||||||
• 2006–2010 | เอมิลี เดอ ยองห์-เอลฮาเกอ | ||||||||||||||
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภาเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส | ||||||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||||||
• ก่อตั้ง | 15 ธันวาคม 1954 | ||||||||||||||
• การถอนตัวของอารูบา | 1 มกราคม ค.ศ. 1986 | ||||||||||||||
• ยุบตัว | 10 ตุลาคม 2010 | ||||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||||
2010 | 999 ตารางกิโลเมตร (386 ตารางไมล์) | ||||||||||||||
ประชากร | |||||||||||||||
• 2010 | 304,759 | ||||||||||||||
สกุลเงิน | กุลเดินเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส | ||||||||||||||
รหัสโทรศัพท์ | 599 | ||||||||||||||
โดเมนบนสุด | .an | ||||||||||||||
|
ประวัติศาสตร์
แก้ในอดีตเป็นกือราเซาและเขตสังกัด (ค.ศ. 1815–1954) ซึ่งมีลำดับดังนี้
- ดินแดน ค.ศ. 1815
- กือราเซาและเขตสังกัด
- ซินต์เอิสตาซียึสและเขตสังกัด
- ซูรินาม
- ดินแดน ค.ศ. 1828 ได้มีการรวมซินต์เอิสตาซียึสและเขตสังกัด เข้าเป็นส่วนหนึ่งของกือราเซาและเขตสังกัด
- กือราเซาและเขตสังกัด
- ซูรินาม
การเมือง
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เกาะต่าง ๆ
แก้เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสไม่มีเขตการปกครองหลัก แม้ว่าแต่ละเกาะจะมีรัฐบาลท้องถิ่นเป็นของตนเอง
กลุ่มเกาะสองแห่งซึ่งประกอบเป็นเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส ได้แก่
- "หมู่เกาะลีเวิร์ด (Leeward Islands; Benedenwindse Eilanden) ส่วนหนึ่งของแนวลูกโซ่ลีเวิร์ดแอนทิลลีสนอกชายฝั่งประเทศเวเนซุเอลา
- อารูบา (Aruba)
- โบแนเรอ (Bonaire) รวมเกาะเล็กอีกหนึ่งแห่ง คือ ไกลน์โบแนเรอ (Klein Bonaire)
- กือราเซา (Curaçao) รวมเกาะเล็กอีกหนึ่งแห่ง คือ ไกลน์กือราเซา (Klein Curaçao)
- "หมู่เกาะวินด์เวิร์ด (Windward Islands; Bovenwindse Eilanden) ทางตะวันออกของเปอร์โตริโกและหมู่เกาะเวอร์จิน
- ซาบา (Saba)
- ซินต์เอิสตาซียึส (Sint Eustatius)
- ซินต์มาร์เติน (Sint Maarten) เฉพาะส่วนใต้ของเกาะเซนต์มาร์ติน (ส่วนเหนือของเกาะคือแซ็ง-มาร์แต็ง (Saint-Martin) เป็นของประเทศฝรั่งเศส)
ภูมิศาสตร์
แก้หมู่เกาะวินด์เวิร์ดทั้งหมดมีต้นกำเนิดจากภูเขาไฟและมีลักษณะเป็นเนิน มีพื้นที่ราบเพียงเล็กน้อยสำหรับประกอบเกษตรกรรม ส่วนหมู่เกาะลีเวิร์ดมีต้นกำเนิดจากภูเขาไฟและปะการังผสมกัน จุดสูงสุดคือ เมานต์ซีเนอรี (Mount Scenery) สูง 862 เมตร (2,828 ฟุต) ตั้งอยู่บนเกาะซาบา (และยังเป็นจุดสูงสุดของเนเธอร์แลนด์ทั้งประเทศอีกด้วย)
ภูมิอากาศของเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสเป็นแบบเขตร้อน แต่ก็มีสภาพอากาศอบอุ่นอยู่บ้างในหนึ่งปี หมู่เกาะวินด์เวิร์ดมักประสบกับพายุเฮอร์ริเคนในหน้าร้อน
เศรษฐกิจ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประชากร
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วัฒนธรรม
แก้รากฐานดั้งเดิมของประชากรและตำแหน่งที่ตั้งของเกาะต่าง ๆ ทำให้เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสมีวัฒนธรรมแบบผสม การท่องเที่ยวและสื่อที่มาจากสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มอิทธิพลมากขึ้นในดินแดนแห่งนี้ บนเกาะทุกเกาะ เทศกาลงานคาร์นิวัลเป็นสิ่งสำคัญ เช่นเดียวกับในหลายประเทศที่อยู่ในแถบแคริบเบียนและลาตินอเมริกา
อ้างอิง
แก้- ↑ "Landsverordening officiële talen". decentrale.regelgeving.overheid.nl. 28 March 2007. สืบค้นเมื่อ 5 January 2011.
- ↑ Papiamentu/Ingles Dikshonario, Ratzlaff, Betty; p. 11
- ↑ "Status change means Dutch Antilles no longer exists". BBC News. BBC. 10 October 2010. สืบค้นเมื่อ 11 October 2010.
- ↑ "Visa for the Dutch Caribbean". Netherlands embassy in the United Kingdom. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2014. สืบค้นเมื่อ 7 May 2013.
- ↑ {{citation|url=https://link.springer.com/article/10.1007/s12103-013-9234-2?shared-article-renderer%7Ctitle=On the deviant age-crime curve of Afro-Caribbean populations: The case of Antilleans living in the Netherlands
บรรณานุกรม
แก้- Borman, C. (2005) Het Statuut voor het Koninkrijk, Deventer: Kluwer.
- Oostindie, G. and Klinkers, I. (2001) Het Koninkrijk inde Caraïben: een korte geschiedenis van het Nederlandse dekolonisatiebeleid 1940–2000. Amsterdam: Amsterdam University Press.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- รัฐบาล
- GOV.an – Main governmental site
- Antillenhuis เก็บถาวร 2010-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Cabinet of the Netherlands Antilles' Plenipotentiary Minister in the Netherlands
- Central Bank of the Netherlands Antilles
- ข้อมูลทั่วไป
- Netherlands Antillesเก็บถาวร 2010-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
- Netherlands Antilles from UCB Libraries GovPubs
- เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส ที่เว็บไซต์ Curlie
- Wikimedia Atlas of Netherlands Antilles
- ประวัติศาสตร์
- (ในภาษาอังกฤษและสเปน) Method of Securing the Ports and Populations of All the Coasts of the Indies from 1694. The last five pages of the book are about life, economy and culture of the Netherlands Antilles.