มามาอะวอดส์
มามาอะวอดส์ (อังกฤษ: MAMA Awards) ชื่อเดิม เอ็มเน็ตเอเชียนมิวสิกอะวอดส์ (อังกฤษ: Mnet Asian Music Awards, เกาหลี: 엠넷 아시안 뮤직 어워드)[1] เป็นงานประกาศรางวัลดนตรีสำคัญที่จัดขึ้นทุกปีโดยบริษัทบันเทิงซีเจ อีแอนด์เอ็ม จัดขึ้นครั้งแรกในเกาหลีใต้ รางวัลส่วนใหญ่ได้รับโดยศิลปินเคป็อป และมีศิลปินเอเชียรายอื่นที่ชนะรางวัลประเภทต่าง ๆ เช่น รางวัลศิลปินเอเชียยอดเยี่ยมและรางวัลอื่นที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ
มามาอะวอดส์ | |
---|---|
ปัจจุบัน: มามาอะวอดส์ 2024 | |
รางวัลสำหรับ | ความสำเร็จที่โดดเด่นในอุตสาหกรรมดนตรีเคป็อปและเอเชีย |
ประเทศ | เกาหลีใต้, สิงคโปร์, ญี่ปุ่น, เวียดนาม, ฮ่องกง และมาเก๊า |
จัดโดย | แผนกบันเทิงซีเจอีแอนด์เอ็ม (เอ็มเน็ต) |
รางวัลแรก | 27 พฤศจิกายน 1999 |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ |
โทรทัศน์/วิทยุ | |
เครือข่าย | เอ็มเน็ต โดยซีเจ อีแอนด์เอ็ม และเครือข่ายระหว่างประเทศอื่น ๆ |
| |||||||||||||||||||
|
พิธีมอบรางวัลจัดขึ้นครั้งแรกในโซลเมื่อปี ค.ศ. 1999 โดยออกอากาศทางเอ็มเน็ต[2] มามายังจัดขึ้นในประเทศและเมืองต่าง ๆ ในเอเชียนอกเกาหลีใต้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 และขณะนี้มีการออกอากาศทางออนไลน์ทั่วโลกนอกเหนือจากเอเชีย[3][4]
ประวัติ
แก้พิธี
แก้งานจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1999 เป็นพิธีมอบรางวัลมิวสิกวิดีโอ โดยมีต้นแบบมาจากเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ ในชื่อ เอ็มเน็ตวิดีโอมิวสิกอะวอดส์[2][5] งานรวมเข้ากับเคเอ็มทีวีโคเรียนมิวสิกอะวอดส์ในปี ค.ศ. 2004 และเปลี่ยนชื่อเป็นเอ็มเน็ตเคเอ็มมิวสิกวิดีโอเฟสติวัล[6][7] ในช่วงกลางทศวรรษ 2000 พิธีมอบรางวัลได้ดึงดูดความสนใจจากนานาชาติ เนื่องจากการแพร่กระจายของกระแสเกาหลีและออกอากาศในประเทศจีนและญี่ปุ่นในปี 2008[2][8]
ในปี 2009 งานได้เปลี่ยนชื่อเป็นเอ็มเน็ตเอเชียนมิวสิกอะวอดส์ (MAMA) เพื่อสะท้อนถึงการขยายงานออกนอกเกาหลีใต้[9] ในปี 2010 มามาจัดขึ้นที่มาเก๊า นับเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นนอกเกาหลีใต้ ถัดมาในปี 2011 งานมามาจัดขึ้นที่สิงคโปร์ จากนั้นจัดขึ้นที่ฮ่องกงตั้งแต่ปี 2012 ถึง 2017[8] ในปี 2017 พิธีมอบรางวัลได้ขยายเป็นสี่คืน และบางส่วนของงานจัดขึ้นในเวียดนามและญี่ปุ่น นอกเหนือจากฮ่องกง[2] ในปี 2018 มามามีสามส่วนและจัดขึ้นในสามประเทศ เกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพงานมามาเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี ร่วมกับญี่ปุ่นและฮ่องกง ในปี 2020 มามาจัดขึ้นทางออนไลน์ที่เกาหลีใต้เท่านั้นเนื่องจากการระบาดของโควิด-19[10][11][12][13]
วันที่ 20 กรกฎาคม 2021 มีรายงานจาก Ilgan Sports ว่างานประกาศรางวัลเอ็มเน็ตเอเชียนมิวสิกอะวอดส์ 2021 กำลังอยู่ระหว่างการหารือเกี่ยวกับงานที่จะจัดขึ้นในฮ่องกง แม้ว่าจะมีการระบาดอย่างต่อเนื่องและข้อจำกัดด้านการเดินทาง[14] วันที่ 23 สิงหาคม 2022 ซีเจ อีแอนด์เอ็มประกาศว่างานจะเปลี่ยนชื่อเป็น "มามาอะวอดส์" นับจากนี้เป็นต้นไป[15]
ชื่องาน
แก้สถานที่จัดงาน
แก้ปี[A] | วันที่[19] | เมือง[19] | สถานที่[19] | พิธีกร |
---|---|---|---|---|
เอ็มเน็ตวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ (Mnet Video Music Awards) | ||||
1999 | 27 พฤศจิกายน | โซล | ยูนิเวอร์แซลอาตส์เซ็นเตอร์ | ชเว ฮัล-ลี |
เอ็มเน็ตมิวสิกวิดีโอเฟสติวัล (Mnet Music Video Festival – MMF) | ||||
2000 | 24 พฤศจิกายน | โซล | ยูนิเวอร์แซลอาตส์เซ็นเตอร์ | ชา แทฮยอน และ คิม ฮยอน-จู |
2001 | 23 พฤศจิกายน | ชา แทฮยอน และ ซง ฮเย-กโย | ||
2002 | 29 พฤศจิกายน | ชิน ดง-ยอบ และ คิม จอง-อึน | ||
2003 | 27 พฤศจิกายน | มหาวิทยาลัยคยองฮี | ชา แทฮยอน และ ซ็อง ยู-รี | |
เอ็มเน็ตเคเอ็มมิวสิกวิดีโอเฟสติวัล (Mnet Km Music Video Festival – MKMF) | ||||
2004 | 4 ธันวาคม | โซล | มหาวิทยาลัยคยองฮี | ชิน ดง-ยอบ และ จอง-อึน |
2005 | 27 พฤศจิกายน | โอลิมปิกยิมนาสติกอารีนา | ชิน ดง-ยอบ และ คิม อา-จุง | |
เอ็มเน็ตเคเอ็มมิวสิกเฟสติวัล (Mnet Km Music Festival – MKMF) | ||||
2006 | 25 พฤศจิกายน | โซล | โอลิมปิกยิมนาสติกอารีนา | ชิน ดง-ยอบ และ คิม อก-บิน |
2007 | 17 พฤศจิกายน | ศูนย์กีฬากรุงโซล | ชิน ดง-ยอบ และ อี ดาแฮ | |
2008 | 15 พฤศจิกายน | เรน | ||
เอ็มเน็ตเอเชียนมิวสิกอะวอดส์ (Mnet Asian Music Awards – MAMA) | ||||
2009 | 21 พฤศจิกายน | โซล | ศูนย์กีฬากรุงโซล | ไทเกอร์ เจเค |
2010 | 28 พฤศจิกายน | มาเก๊า | โคไทอารีนา เดอะเวนีเชียนมาเก๊า | ไม่มี |
2011 | 29 พฤศจิกายน | สิงคโปร์ | สนามกีฬาในร่มสิงคโปร์ | อี บย็อง-ฮ็อน |
2012 | 30 พฤศจิกายน | ฮ่องกง | ศูนย์นิทรรศการและการประชุมฮ่องกง | ซง จุง-กี |
2013 | 22 พฤศจิกายน | เอเชียเวิลด์–อารีนา | อี ซึง-กี | |
2014 | 3 ธันวาคม | ซง ซึง-ฮ็อน | ||
2015 | 2 ธันวาคม | ไซ | ||
2016 | 2 ธันวาคม | อี บย็อง-ฮ็อน | ||
2017 | 25 พฤศจิกายน | นครโฮจิมินห์ | โรงละครฮัวบินห์ | ธู มินห์ |
29 พฤศจิกายน | โยโกฮามะ | โยโกฮามะอารีนา | พัก โบ-ก็อม | |
30 พฤศจิกายน | ฮ่องกง | ดับเบิ้ลยูฮ่องกง | ไม่มี | |
1 ธันวาคม | เอเชียเวิลด์–อารีนา | ซง จุง-กี | ||
2018 | 10 ธันวาคม | โซล | ทงแดมุนดีไซน์พลาซ่า | จอง แฮ-อิน[20] |
12 ธันวาคม | ไซตามะ | ไซตามะซูเปอร์อารีนา | พัก โบ-ก็อม[20] | |
14 ธันวาคม | ฮ่องกง | เอเชียเวิลด์–อารีนา | ซง จุง-กี[20] | |
2019 | 4 ธันวาคม | นาโงยะ | นาโกยะโดม | พัก โบ-ก็อม[21] |
2020 | 6 ธันวาคม | พาจู | ซีเจอีแอนด์เอ็มคอนเทนส์เวิลด์ | ซง จุง-กี[22] |
2021 | 11 ธันวาคม | อี ฮโยรี[23] | ||
มามาอะวอดส์ (MAMA Awards) | ||||
2022 | 29–30 พฤศจิกายน | โอซากะ | เคียวเซระโดม | โซมี และ พัก โบ-ก็อม[24][25] |
2023 | 28–29 พฤศจิกายน | โตเกียว | โตเกียวโดม | |
2024 | 21 พฤศจิกายน | ลอสแอนเจลิส | โรงละครดอลบี | พัก โบ-ก็อม[26] |
22 พฤศจิกายน | โอซากะ | เคียวเซระโดม | คารีนา ซ็อง ฮัน-บิน เรย์ โยชิ | |
23 พฤศจิกายน | คิม แท-รี[26] |
ประเภทรางวัล
แก้รางวัลใหญ่
แก้สี่รางวัลใหญ่ (เรียกว่า แดซัง)
- ศิลปินแห่งปี
- อัลบั้มแห่งปี
- เพลงแห่งปี
- ไอคอนทั่วโลกแห่งปี (ตั้งแต่ ค.ศ. 2018)
รางวัลการแข่งขัน
แก้รางวัลแต่ละประเภทเปิดตัวในปี ค.ศ. 1999 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น
- ศิลปินชายยอดเยี่ยม
- ศิลปินหญิงยอดเยี่ยม
- ศิลปินกลุ่มชายยอดเยี่ยม (ตั้งแต่ ค.ศ. 2000 หรือที่เรียกว่ากลุ่มยอดเยี่ยมในปี ค.ศ. 1999)
- ศิลปินกลุ่มหญิงยอดเยี่ยม (ตั้งแต่ ค.ศ. 2000)
- ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม
- การแสดงเต้นยอดเยี่ยม
- การแสดงวงดนตรียอดเยี่ยม
- การแสดงแร็ปยอดเยี่ยม
- การแสดงร้องยอดเยี่ยม (ตั้งแต่ ค.ศ. 2010)
- การทำงานร่วมกันยอดเยี่ยม (ค.ศ. 2010, 2012, 2014–2017, 2019–ปัจจุบัน)
- เพลงประกอบละครยอดเยี่ยม (ค.ศ. 2004–2006, 2008–2009, 2011–2014, 2016–ปัจจุบัน)
- มิวสิกวิดีโอยอดเยี่ยม (ตั้งแต่ ค.ศ. 2006)
- กลุ่มย่อยยอดเยี่ยม (ค.ศ. 2018)
รางวัลพิเศษ
แก้รางวัลเหล่านี้ได้รับเพียงครั้งเดียวหรือเป็นครั้งคราว
- ศิลปินต่างประเทศยอดเยี่ยม (ค.ศ. 1999–2006, 2009–2010, 2012–2014, 2019, 2021)
- ศิลปินเอเชียยอดเยี่ยม (ตั้งแต่ ค.ศ. 2004)
- รางวัลพิเศษอื่น ๆ
รางวัลที่ยกเลิกไปแล้ว
แก้- มิวสิกวิดีโอแห่งปี (ค.ศ. 1999–2005)
(อดีตรางวัล แดซัง และ ปัจจุบันคือมิวสิกวิดีโอยอดเยี่ยม ตั้งแต่ ค.ศ. 2006) - มิวสิกวิดีโอยอดนิยม ค.ศ. (1999–2005)
(อดีตรางวัล แดซัง) - การแสดงมิวสิควิดีโอยอดเยี่ยม (ค.ศ. 2005–2007)
- ผู้กำกับมิวสิกวิดีโอยอดเยี่ยม (ค.ศ. 1999–2006)
- กลุ่มผสมยอดเยี่ยม (ค.ศ. 2000–2009)
- การแสดงบัลลาดยอดเยี่ยม (ค.ศ. 1999–2009)
- การแสดงอาร์แอนด์บียอดเยี่ยม (ค.ศ. 2000–2007)
- การแสดงอินดี้ยอดเยี่ยม (ค.ศ. 1999–2002)
- การแสดงเฮาส์และอิเล็กทรอนิกส์ยอดเยี่ยม (ค.ศ. 2007–2009)
- การแสดงทรอตยอดเยี่ยม (ค.ศ. 2009)
- ซิงเกิลดิจิทัลยอดเยี่ยม (ค.ศ. 2010)
ชนะมากที่สุด
แก้รางวัลแดซัง
แก้- รายชื่อศิลปินที่ได้รับรางวัล แดซัง 2 รางวัลขึ้นไป
(ประกอบด้วย ศิลปินแห่งปี, อัลบั้มแห่งปี, เพลงแห่งปี และไอคอนทั่วโลกแห่งปี)
สถิติ | ศิลปิน | ปีแรกที่ ได้รับรางวัล |
ปีล่าสุดที่ ได้รับรางวัล[a] |
---|---|---|---|
21 | บีทีเอส | 2016 | 2023 |
6 | เอ็กโซ | 2013 | 2017 |
5 | บิกแบง | 2008 | 2015 |
4 | ทูเอนีวัน | 2009 | 2011 |
3 | ทไวซ์ | 2016 | 2018 |
ซูเปอร์จูเนียร์ | 2007 | 2012 | |
เซเวนทีน | 2023 | 2024 | |
2 | นิวจีนส์ | 2023 | 2023 |
จี-ดรากอน | 2009 | 2013 | |
ทงบังชินกี | 2005 | 2008 | |
เอสจี วอนนาบี | 2006 | 2006 | |
โบอา | 2002 | 2004 | |
เอชโอที | 1999 | 2000 |
ได้รับรางวัลมากที่สุดโดยรวม
แก้สถิติ | ศิลปิน |
---|---|
52 | บีทีเอส |
19 | เซเวนทีน |
18 | ทไวซ์ |
16 | เอ็กโซ |
13 | บิกแบง |
ซูเปอร์จูเนียร์ | |
12 | ไอยู |
11 | แบล็กพิงก์ |
ทงบังชินกี | |
10 | ทูเอนีวัน |
ไซ | |
ชินฮวา | |
9 | เอสปา |
8 | โบอา |
7 | ไอฟ์ |
การออกอากาศ
แก้รายการออกอากาศสดในสิบสามประเทศทั่วเอเชีย ในเกาหลีใต้ออกอากาศทางเอ็มเน็ตและซีเจ อีแอนด์เอ็ม ช่องทีวีอื่น ๆ ที่ออกอากาศรายการ ได้แก่ ทีวีเอ็นเอเชีย (มัลดีฟส์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไต้หวัน) และ จูกซ์ (ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมาร์ และไทย) เอ็มเน็ตเจแปน เอ็มเน็ตสมาร์ท และเอยูสมาร์ทพาส (ญี่ปุ่น) วิว ทีวีซิกซ์ วิวทีวี viu.tv (ฮ่องกง) ฟรายเดย์วิดีโอแอนด์ฟรายเดย์มิวสิก (ไต้หวัน) มีวอตช์ (สิงคโปร์) อินโดซียาร์แอนด์วิดีโอ (อินโดนีเซีย) gigafest.smart (ฟิลิปปินส์) เอฟพีทีทีวีแอนด์ฟ็อกซ์ซี (เวียดนาม)
รายการยังออกอากาศออนไลน์ทั่วโลกผ่านช่องยูทูบ Mnet K-POP, KCON official เช่นเดียวกับ KCON[27]
หมายเหตุ
แก้- ↑ ศิลปินที่ได้รับรางวัลมากที่สุดและรางวัลล่าสุดในปีล่าสุดจะแสดงเป็นอันดับแรก
- ↑ แต่ละปีในตารางจะลิงก์ไปยังบทความวิกิพีเดียของพิธีมอบรางวัลในปีนั้น ๆ
อ้างอิง
แก้- ↑ Jeff Benjamin. "MAMA Awards Rebrands With New Name, Sets Dates & Location for 2022 Ceremony: Exclusive". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 30, 2022. สืบค้นเมื่อ August 23, 2022.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 St. Michel, Patrick (December 4, 2017). "This Three-Country, Four-Night Asian Music Awards Show Is A K-Pop Promotion Machine". NPR (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 9, 2018. สืบค้นเมื่อ February 9, 2018.
- ↑ Reinfrank, Alkira (December 2, 2017). "Supergroup BTS clean up at Asia's biggest K-pop awards show". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 7, 2018. สืบค้นเมื่อ February 9, 2018.
- ↑ Mathew, Ilin. "Mnet Asian Music Awards 2017 live stream: Where to watch MAMA online and broadcast channel information". International Business Times, India Edition (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 10, 2018. สืบค้นเมื่อ February 9, 2018.
- ↑ 5.0 5.1 "1999 Mnet Video Music Awards". Mnet Global (ภาษาอังกฤษ). CJ E&M. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 10, 2018. สืบค้นเมื่อ February 9, 2018.
- ↑ Hong, Je-sung (November 8, 2004). m.net.KMTV 뮤직비디오 페스티벌 개최 [Mnet and KMTV will hold music festival]. Yonhap News Agency (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ June 14, 2022 – โดยทาง Naver.
- ↑ Bae, Young-eun (December 5, 2004). 보아 'My Name', 올해 최고의 뮤직비디오 [BoA's 'My Name' is the best music video of the year]. Joy News 24 (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ June 14, 2022 – โดยทาง Naver.
- ↑ 8.0 8.1 Kim, Jae-heun (November 12, 2015). "Mnet Asian Music Awards: new global platform for K-pop stars". The Korea Times (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 10, 2018. สืบค้นเมื่อ February 9, 2018.
- ↑ 9.0 9.1 "TWICE wins Song of Year Award at 2017 MAMA with 'Signal'". Yonhap News Agency (ภาษาอังกฤษ). November 30, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 10, 2018. สืบค้นเมื่อ February 9, 2018.
- ↑ "'2020 MAMA', 국내서 개최하나?...CJ ENM "결정된 것 없어"[공식]". n.news.naver.com (ภาษาเกาหลี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 17, 2020. สืบค้นเมื่อ September 11, 2020.
- ↑ "Mnet to hold online Asian music award event due to COVID-19 pandemic". www.ajudaily.com (ภาษาอังกฤษ). September 21, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 17, 2020. สืบค้นเมื่อ September 21, 2020.
- ↑ Herald, The Korea (September 21, 2020). "K-pop awards show MAMA to be held online due to COVID-19". www.koreaherald.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 17, 2020. สืบค้นเมื่อ September 21, 2020.
- ↑ 장동우 (September 21, 2020). "K-pop awards show MAMA to be held online due to COVID-19". Yonhap News Agency (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 17, 2020. สืบค้นเมื่อ September 21, 2020.
- ↑ Hwang Ji-young (July 20, 2021). "[단독] '2021 MAMA' 코로나 위기 속 홍콩 개최 논의 '솔솔'" [[Exclusive] Discussion about holding '2021 MAMA' in Hong Kong amid Corona crisis 'Solsol']. Daum (ภาษาเกาหลี). Ilgan Sports. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 20, 2021. สืบค้นเมื่อ July 20, 2021.
- ↑ 15.0 15.1 Benjamin, Jeff (23 August 2022). "MAMA Awards Rebrands With New Name, Sets Dates & Location for 2022 Ceremony: Exclusive". Billboard. สืบค้นเมื่อ 24 August 2022.
- ↑ "2003 Mnet Music Video Festival". Mnet Global (ภาษาอังกฤษ). CJ E&M. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 10, 2018. สืบค้นเมื่อ February 9, 2018.
- ↑ "2005 Mnet KM Music Video Festival". Mnet Global (ภาษาอังกฤษ). CJ E&M. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 10, 2018. สืบค้นเมื่อ February 9, 2018.
- ↑ "2008 Mnet KM Music Festival". Mnet Global (ภาษาอังกฤษ). CJ E&M. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 10, 2018. สืบค้นเมื่อ February 9, 2018.
- ↑ 19.0 19.1 19.2 "MAMA History". Mnet Global (ภาษาอังกฤษ). CJ E&M. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 10, 2018. สืบค้นเมื่อ February 9, 2018.
- ↑ 20.0 20.1 20.2 Han Na-young (December 3, 2018). "한국 정해인·일본 박보검·홍콩 송중기…'2018 MAMA' 호스트 확정" [Korea's Jung Hae-in, Japan's Park Bo-gum, Hong Kong's Song Joong-ki ... Host confirmed for '2018 MAMA']. Chosun Ilbo (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ July 20, 2021.
- ↑ Jeon Ah-ram (December 2, 2019). "박보검 측 "'2019 MAMA' 호스트 확정…문화 교류 위해" [공식입장]" [Park Bo-gum's side "'2019 MAMA' host confirmed ... for cultural exchange" [Official position]]. Xports News (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ July 20, 2021 – โดยทาง Naver.
- ↑ Lee Da-gyeom (November 24, 2020). "송중기, '2020 MAMA' 호스트 낙점[공식]" [Song Joong-ki, '2020 MAMA' Host Selection [Official]]. Maeil Economic Daily (ภาษาเกาหลี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 20, 2021. สืบค้นเมื่อ July 20, 2021 – โดยทาง Naver.
- ↑ Kim Min-ji (October 13, 2021). "'레전드 아티스트' 이효리, 2021 MAMA 호스트로 나선다" ['Legend Artist' Hyori Lee to host 2021 MAMA]. News1 (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ October 13, 2021 – โดยทาง Naver.
- ↑ "'2022 MAMA' 전소미X박보검 호스트 나선다 [공식]" [Jeon So-mi X Park Bo-gum to host '2022 MAMA' [Official]]. Newsen (ภาษาเกาหลี). 16 November 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 16, 2022. สืบค้นเมื่อ 16 November 2022 – โดยทาง Naver.
- ↑ 기자, 김진석. "박보검·전소미, 지난해 이어 2023 MAMA 어워즈 호스트". entertain.naver.com (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2023-11-02.
- ↑ 26.0 26.1 곽현수 (2024-10-29). "[Y현장] 박보검·김태리, '2024 MAMA AWARDS' 호스트 낙점". YTN star (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2024-10-29.
- ↑ "BTS, IU, NCT, Baekhyun, BLACKPINK, TWICE, and more win at the 2020 Mnet Asian Music Awards – see the list of winners". BTS, IU, NCT, Baekhyun, BLACKPINK, TWICE, and more win at the 2020 Mnet Asian Music Awards – see the list of winners | Bandwagon | Music media championing and spotlighting music in Asia. (ภาษาอังกฤษ). December 6, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 6, 2020. สืบค้นเมื่อ December 6, 2020.