เอ็มทีวีเอเชียอะวอดส์

(เปลี่ยนทางจาก MTV Asia Awards)

เอ็มทีวีเอเชียอะวอดส์ (อังกฤษ: MTV Asia Awards) เป็นงานประกาศรางวัลของศิลปินนักร้องทั่วเอเชีย รวมถึงระดับสากล โดยมี 10 รางวัลของศิลปินยอดนิยมทั่วเอเชีย มีทั้งหมด 10 ประเทศคือ จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน และไทย และอีก 6 รางวัลเป็นของศิลปินสากลทั่วโลก เสน่ห์ในงาน เอ็มทีวีเอเชียอะวอดส์ นี้คือการแสดงออกถึงการผสมผสานระหว่างดนตรีจากฝั่งตะวันตกและตะวันออกเข้าด้วยกันได้อย่างน่าทึ่ง ถือเป็นการรวมตัวกันทางดนตรีครั้งยิ่งใหญ่ของศิลปินทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากล

เอ็มทีวีเอเชียอะวอดส์ เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) โดยที่ประเทศสิงคโปร์เป็นเจ้าภาพ ที่สิงคโปร์ อินดอร์ สเตเดียม โดยมี โรแนน คีทติง (Ronan Keating) และ แมนดี มัวร์ (Mandy Moore) เป็นพิธีกรคู่ในงาน รวมถึงซูปเปอร์สตาร์อย่าง พิงค์ (P!nk), เอนริเก อิเกลเซียส (Enrique Iglesias), เวสต์ไลฟ์ (Westlife) เป็นต้น

ปี 2002

แก้

ครั้งแรกในประวัติศาสตร์กับ เอ็มทีวีเอเชียอะวอดส์ 2002 จัดขึ้นที่ อินดอร์ สเตเดียม ประเทศ สิงคโปร์ พิธีกรรายการคือ โรแนน คีทติง (Ronan Keating) และ แมนดี มัวร์ (Mandy Moore)

11 ศิลปินยอดนิยมจากเอเชีย

  • ศิลปินจีนยอดนิยม: Na Ying
  • ศิลปินฮ่องกงยอดนิยม: Sammi Cheng (เจิ้งซิ่วเหวิน)
  • ศิลปินป็อปอินเดียยอดนิยม: Shaan
  • ศิลปินอินโดนีเซียยอดนิยม: PADI
  • ศิลปินเกาหลียอดนิยม: Kang Ta
  • ศิลปินมาเลเชียยอดนิยม: Siti Nurhaliza
  • ศิลปินฟิลิปปินส์ยอดนิยม: Regine Velasquez
  • ศิลปินสิงคโปร์ยอดนิยม: Stefanie Sun
  • ศิลปินไต้หวันยอดนิยม: Zhang Hui Mei
  • ศิลปินไทยยอดนิยม: Pru (พรู)
  • นักแสดงยอดนิยมจากอินเดีย: Jaane Kyon จากภาพยนตร์เรื่อง "Dil Chahta Hai"

International Music Awards (รางวัลดนตรียอดนิยมสากล)

รางวัลพิเศษ

ปี 2003

แก้

จัดในวันที่ 24 มกราคม 2003 ซึ่งสิงคโปร์เป็นเจ้าภาพอีกปี โดยมี โคโค่ ลี (CoCo Lee) และ แช็กกี้ (Shaggy) เป็นพิธีกร

10 ศิลปินยอดนิยมจากเอเชีย

  • ศิลปินจีนยอดนิยม: Yu Quan
  • ศิลปินฮ่องกงยอดนิยม: Sammi Cheng (เจิ้งซิ่วเหวิน)
  • ศิลปินอินเดียยอดนิยม: A.R. Rahman
  • ศิลปินอินโดนีเซียยอดนิยม: Cokelat
  • ศิลปินเกาหลียอดนิยม: j.t.L
  • ศิลปินมาเลเซียยอดนิยม: Siti Nurhaliza
  • ศิลปินฟิลิปปินส์ยอดนิยม: Regine Velasquez
  • ศิลปินสิงคโปร์ยอดนิยม: Stefanie Sun
  • ศิลปินไต้หวันยอดนิยม: Jay Chou (โจวเจี๋ยหลุน)
  • ศิลปินไทยยอดนิยม: D2B (ดีทูบี)

International Music Awards (รางวัลดนตรียอดนิยมสากล)

รางวัลพิเศษ

ปี 2004

แก้

เป็นปีที่สร้างความฮือฮามากที่สุด เพราะ มารายห์ แครี ได้ปรากฏตัวที่งานเพื่อมารับรางวัล Lifetime Achievement Award ในงาน เอ็มทีวีเอเชียอะวอดส์ ปี 2004 รวมถึงซูเปอร์สตาร์เมืองไทยอย่าง "เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย, จินตหรา พูนลาภ, แคทลียา อิงลิช, นัท มีเรีย"ได้ขึ้นเวทีและร้องเพลง "แฟนจ๋า" ที่สิงคโปร์ด้วย เอ็มทีวีเอเชียอะวอดส์ ปี 2004 ถูกจัดขึ้นในวันเสาร์ ที่ 14 กุมภาพันธ์ ปี 2004 โดยมี มิเชลล์ แบรนช์ (Michelle Branch) และ แวนเนส วู (Vanness Wu) เป็นพิธีกรคู่ในปีนั้น

10 ศิลปินยอดนิยมจากเอเชีย

  • ศิลปินจีนยอดนิยม: Pu Shu
  • ศิลปินฮ่องกงยอดนิยม: Sammi Cheng (เจิ้งซิ่วเหวิน)
  • ศิลปินอินเดียยอดนิยม: Abhijeet
  • ศิลปินอินโดนีเซียยอดนิยม: Audy
  • ศิลปินเกาหลียอดนิยม: BoA (โบอา)
  • ศิลปินมาเลเซียยอดนิยม: Siti Nurhaliza
  • ศิลปินฟิลิปปินส์ยอดนิยม: Parokya Ni Edgar
  • ศิลปินสิงคโปร์ยอดนิยม: Stefanie Sun
  • ศิลปินไต้หวันยอดนิยม: A*Mei
  • ศิลปินไทยยอดนิยม: "Bird" Thongchai McIntyre (เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย)

International Music Awards (รางวัลดนตรียอดนิยมสากล)

รางวัลพิเศษ

  • รางวัลภาพยนตร์เอเชีย: Michelle Yeoh (หยางจื่อฉุง)
  • รางวัลแรงบันดาลใจ: Anita Mui (เหมยเยี่ยนฟาง)
  • รางวัลความสำเร็จชั่วชีวิต (The Lifetime Achievement Award): Mariah Carey (มารายห์ แครี่)
  • รางวัลศิลปินเอเชียที่มีอิทธิพลสูงที่สุด: BoA (โบอา)

ปี 2005

แก้
 
ธงไชย แมคอินไตย์ แสดงเพลง "ซ่อมได้" ในงาน MTV Asia Aid 2005 ที่ Impact Arena กรุงเทพฯ

ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบโดยเป็นการแสดงพลัง เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากธรณีพิบัติสึนามิ ภายใต้ชื่อ เอ็มทีวี เอเชีย เอด (MTV Asia Aid) จัดขึ้นในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2548 ที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี ในงานนี้มี อลิเชีย คียส์(Alicia Keys) เจ้าของตำแหน่ง R&B diva เป็นพิธีกร ทั้งยังมีแฟนๆ แสดงพลังในการสนับสนุนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยดังกล่าว งานนี้เป็นส่วนหนึ่งของสำคัญของเอ็มทีวี เน็ตเวิร์คหลังจากภัยพิบัติสึนามิ โดยความร่วมมือของยูนิเซฟ ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 11,000 คน

การแสดงประกอบด้วย

  1. “The Reason” - Hoobastank
  2. “Since You've Been Gone” - Kelly Clarkson
  3. “I Believe” - Tata Young
  4. “Karikatur” - Slank
  5. “It's Raining” - Rain
  6. “ I Just Wanna Live/Lifestyles of the Rich and Famous/Shut Up ” - Good Charlotte & Simple Plan
  7. “Seindah Biasa” - Siti Nurhaliza
  8. “Snail/Qi Li Xiang” - Jay Chou
  9. “Dhanno Ki Aankhon Mein” - Asha Bhosle
  10. “Girl Talk” - Namie Amuro
  11. “Welcome To My Life” - Simple Plan
  12. “Som Dai” - Bird Thongchai McIntyre

10 ศิลปินยอดนิยมจากเอเชีย

  • ศิลปินจีนยอดนิยม: Sun Yue
  • ศิลปินฮ่องกงยอดนิยม: Joey Yung
  • ศิลปินอินเดียยอดนิยม: Strings
  • ศิลปินอินโดนีเซียยอดนิยม: Peterpan
  • ศิลปินเกาหลียอดนิยม: Rain (เรน)
  • ศิลปินมาเลเซียยอดนิยม: Siti Nurhaliza
  • ศิลปินฟิลิปปินส์ยอดนิยม: Rivermaya
  • ศิลปินสิงคโปร์ยอดนิยม: Stefanie Sun
  • ศิลปินไต้หวันยอดนิยม: Jay Chou (โจวเจี๋ยหลุน)
  • ศิลปินไทยยอดนิยม: Silly Fools (ซิลลี่ ฟูลส์)

International Music Awards (รางวัลดนตรียอดนิยมสากล)

  • ศิลปินชายยอดนิยม: Usher (อัชเชอร์)
  • ศิลปินหญิงยอดนิยม: Avril Lavigne (เอฟริล ลาวีน)
  • ศิลปินป็อปยอดนิยม: Simple Plan
  • ศิลปินร็อกยอดนิยม: Hoobastank
  • มิวสิกวิดีโอยอดนิยม: Maroon 5 (มารูน ไฟฟ์‎)
  • ศิลปินหน้าใหม่ยอดนิยม: Ashlee Simpson

รางวัลพิเศษ

  • รางวัลภาพยนตร์เอเชีย: Kung Fu Hustle
  • รางวัลสไตล์: Nigo (Bathing Ape)
  • รางวัลแรงบันดาลใจ: ให้กับทุก ๆ คนที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ

ปี 2006

แก้
 
ลี ไรอัน และ ทาทา ยัง ร่วมแสดงในเพลง เอ็นเลส เลิฟ

งานเอ็มทีวี เอเชีย อวอร์ด ครั้งที่ 5 จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม 2006 ณ สยามพารากอน กรุงเทพฯ ผู้เข้าชมงานทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ กว่า 4,600 คน พิธีกรของงานคือนักร้องที่เปี่ยมไปด้วยความสามารถอย่าง เคลลี โรว์แลนด์ และขวัญใจชาวเอเชีย หวังลี่หง (Wang Leehom) โดยจะมีคอนเซปต์โลกแห่งแอนิเมชั่นสไตล์เอเชีย ผสมสผสานอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออกเข้าด้วยกัน บรรยากาศจะจำลองดินแดนลึกลับแห่งหนึ่งในทวีปเอเชียอันไกลโพ้นสุดอลังการ

การแสดงประกอบด้วย

  1. “ทวิสท์เท็ด ทรานซิสเตอร์” - คอร์น
  2. “ฮีโร่ส์ ออฟ เอิร์ท” - หวังลี่หง
  3. “ก๊อทสตา โก” - เคลลี่ โรว์แลนด์
  4. “โน เวอรี่ส์ / ทะลึ่ง (รีมิกซ์)” - ไซมอน เว็บบ์ และ ไทยเทเนี่ยม
  5. “พาสชั่น / ไอ โนว์” - เซเว่น
  6. “อิฟ ไอ เวอร์ ยู” - ฮูบาสแตง
  7. “ฮาร์ทเบรกเกอร์” - เทอริยากิ บอยส์
  8. “แบด เดย์” - แดเนียล พาวเตอร์
  9. “แดนซิ่ง ดีว่า” - โจลิน ไซ
  10. “ยู บี เซฟ เฮียร์” - ริเวอร์มายา
  11. “เอ็นเลส เลิฟ” - ลี ไรอัน และ ทาทา ยัง
  12. “สแกนดอล” - กังตา และ แวนเนส วู

นอกจากนั้น ยังเต็มไปด้วยเหล่าศิลปิน ดารา นักร้อง จาก ทั่วทั้งเอเชีย และทั่วโลก อย่าง วิคกี้ เชา, แม็กกี้ คิว, เซม เซม, ตอฟิค, ทู แฟท, ลูกเกด เมธินี, ชอน โรห์, เดอะ เวอโรนิกาส์, อาลี ฟิเคอร์, ปีเตอร์ คอร์ป, มาช่า, จาล, และ ชางเช็น ที่ขึ้นมาเชิญรางวัล

10 รางวัลนักร้องยอดนิยมของเอเชีย

  • ศิลปินยอดนิยมจากจีน: วิคกี้ เชา
  • ศิลปินยอดนิยมจากฮ่องกง: ทวินส์
  • ศิลปินยอดนิยมจากอินเดีย: จาล
  • ศิลปินยอดนิยมจากอินโดนีเซีย: ปีเตอร์แพน
  • ศิลปินยอดนิยมจากเกาหลี: เซเว่น
  • ศิลปินยอดนิยมจากมาเลเซีย: มาวี่
  • ศิลปินยอดนิยมจากฟิลิปปินส์: ริเวอร์มายา
  • ศิลปินยอดนิยมจากสิงคโปร์: ตอฟิค บาติสซา
  • ศิลปินยอดนิยมจากไต้หวัน: หวังลี่หง
  • ศิลปินยอดนิยมจากประเทศไทย: ทาทา ยัง

International Music Awards (รางวัลดนตรียอดนิยมสากล)

รางวัลพิเศษ

ปี 2007

แก้

ได้ยกเลิกจัดงานชั่วคราว

ปี 2008

แก้

เอ็มทีวีเอเชียอะวอดส์ จะจัดขึ้นที่ เก็นติงไฮแลนด์ ประเทศมาเลเซีย วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 มีพิธีกรคือจาเร็ด เลโท จากวงเทอร์ตี้ เซคันส์ ทู มาร์ส[1] และคาเรน ม็อก

10 รางวัลนักร้องยอดนิยมของเอเชีย
  • ศิลปินยอดนิยมจากจีน: Lee Yu Chun
  • ศิลปินยอดนิยมจากฮ่องกง: Leo Ku
  • ศิลปินยอดนิยมจากอินโดนีเซีย: Yovie & Nuno
  • ศิลปินยอดนิยมจากเกาหลี: ซูเปอร์จูเนียร์
  • ศิลปินยอดนิยมจากมาเลเซีย: Nicholas Teo
  • ศิลปินยอดนิยมจากฟิลิปปินส์: Chicosci
  • ศิลปินยอดนิยมจากสิงคโปร์: Stefanie Sun
  • ศิลปินยอดนิยมจากไต้หวัน: โชว์ โล
  • ศิลปินยอดนิยมจากประเทศไทย: โต๋ ศักดิ์สิทธิ์
International Music Awards (รางวัลดนตรียอดนิยมสากล)

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
งานแจกรางวัลของเอ็มทีวี
เอ็มทีวี เอเชีย อวอร์ดส | เอ็มทีวี วิดีโอ มิวสิก อวอร์ดส |

เอ็มทีวีมูวีแอนด์ทีวีอะวอดส์ | เอ็มทีวี ยุโรป มิวสิก อวอร์ดส | เอ็มทีวี วิดีโอ มิวสิก อวอร์ดส เจแปน |
เอ็มทีวี ออสเตรเลีย วิดีโอ มิวสิก อวอร์ดส