เรดิโอเฮด
เรดิโอเฮด (อังกฤษ: Radiohead) เป็นวงดนตรีร็อกจากอังกฤษ ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1985 ที่อาบิงดัน เทศมณฑลออกซฟอร์ดเชอร์ ประกอบด้วยสมาชิก ทอม ยอร์ก (ร้องนำ กีตาร์ เปียโน คีย์บอร์ด), สองพี่น้อง จอนนี กรีนวูด (กีตาร์นำ คีย์บอร์ด และอื่น ๆ) และโคลิน กรีนวูด (เบส), เอ็ด โอ'บรีน (กีตาร์ ร้องประสาน), และฟิลิป เซลเวย์ (กลอง เพอร์คัชชัน) เรดิโอเฮดออกสตูดิโออัลบั้มมาแล้ว 9 ชุด และมียอดขาย 23 ล้านชุด[1]
เรดิโอเฮด | |
---|---|
เรดิโอเฮดในกลางยุค 2010 สมาชิกเรียงจากซ้ายไปขวา: ทอม ยอร์ก, จอนนี กรีนวูด, โคลิน กรีนวูด, เอ็ด โอ'บรีน, และฟิลิป เซลเวย์ | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่เกิด | อาบิงดัน ออกซฟอร์ดเชอร์ ประเทศอังกฤษ |
แนวเพลง | |
ช่วงปี | ค.ศ. 1985 – ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | |
สมาชิก |
|
เว็บไซต์ | www |
หลังจากเซ็นสัญญากับค่ายเพลงอีเอ็มไอในปี ค.ศ. 1991 เรดิโอเฮดได้ออกซิงเกิลแรก "ครีป" ในปี ค.ศ. 1992 ถึงแม้จะไม่ประสบความสำเร็จตั้งแต่ช่วงแรก แต่ก็สามารถสร้างความนิยมในเวลาต่อมาในการขายใหม่ในปีถัดมาหลังจากที่ออกอัลบั้มแรก พาโบลฮันนีย์ (ค.ศ. 1993) ความนิยมของเรดิโอเฮดในสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นหลังจากออกอัลบั้มชุดที่สอง เดอะเบนส์ (ค.ศ. 1995) วงได้รับเสียงวิจารณ์ในทางที่ดีจากแฟนเพลง อัลบั้มชุดที่สาม โอเคคอมพิวเตอร์ (ค.ศ. 1997) เรดิโอเฮดก็ยิ่งมีชื่อเสียงไปทั่วโลก อัลบั้มนี้มีการผลิตที่ซับซ้อนและมีเนื้อหาเกี่ยวกับความแปลกแยกทางสังคม ได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานเพลงที่สำคัญในยุค 1990[2] และเป็นหนึ่งในอัลบั้มที่ดีที่สุดในบรรดาดนตรีสมัยนิยม[3][4] อัลบั้ม คิดเอ (ค.ศ. 2000) และ Amnesiac (ค.ศ. 2001) บันทึกเสียงพร้อมกัน ทั้งสองอัลบั้มมีแนวเพลงที่เปลี่ยนไปอย่างมาก โดยผสมผสานอิทธิพลจากดนตรีแนวทดลอง ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ดนตรีคลาสสิกศตวรรษที่ 20 เคราต์ร็อก และแจ๊ส ถึงแม้ว่า คิดเอ จะได้รับคำวิจารณ์และแบ่งกลุ่มผู้ฟังถูกออกไป แต่ก็ได้รับการขนานนามว่าเป็นอัลบั้มที่ดีที่สุดในทศวรรษโดย โรลลิงสโตน พิตช์ฟอร์ก และเดอะไทมส์
หลังจากนั้นเรดิโอเฮดออกจากสังกัดเพลงอีเอ็มไอ และออกผลงานอัลบั้มชุดที่ 7 In Rainbows (2007) ผ่านทางเว็บไซต์ให้ดาวน์โหลด
ผลงาน
แก้อัลบั้ม
แก้- Pablo Honey (1993)
- The Bends (1995)
- OK Computer (1997)
- Kid A (2000)
- Amnesiac (2001)
- Hail to the Thief (2003)
- In Rainbows (2007)
- The King of Limbs (2011)
- A Moon Shaped Pool (2016)
อีพี
แก้- Manic Hedgehog (1991)
- Drill (1992)
- Itch (1994)
- My Iron Lung (1994)
- No Surprises/Running from Demons (1997)
- Airbag / How Am I Driving? (1998)
- I Might Be Wrong: Live Recordings (2001)
- COM LAG (2plus2isfive) (2004)
ซิงเกิล
แก้- 1992 "Creep"
- 1993 "Anyone Can Play Guitar"
- 1993 "Pop Is Dead"
- 1993 "Stop Whispering"
- 1994 "My Iron Lung"
- 1995 "High and Dry"
- 1995 "Fake Plastic Trees"
- 1995 "Just"
- 1996 "High and Dry"/"Planet Telex"
- 1996 "Street Spirit"
- 1997 "Paranoid Android"
- 1997 "Karma Police"
- 1998 "No Surprises"
- 2001 "Pyramid Song"
- 2001 "I Might Be Wrong"
- 2001 "Knives Out"
- 2003 "There There"
- 2003 "Go to Sleep"
- 2003 "2 + 2 = 5"
- 2007 "Jigsaw Falling into Place"
- 2008 "Nude"
- 2009 "Harry Patch (In Memory Of)"
- 2009 "These Are My Twisted Words"
- 2011 "Lotus Flower"
- 2016 "Burn the Witch"
- 2016 "Daydreaming"
อ้างอิง
แก้- ↑ McLean, Craig (2007-12-09), "Caught in the flash", The Observer, สืบค้นเมื่อ 2008-01-29
- ↑ Erlewine, Stephen Thomas. "OK Computer" Allmusic. Retrieved 31 January 2012
- ↑ "Q Magazine: The 100 Greatest British Albums of All Time – How many do you own? (Either on CD, Vinyl, Tape or Download)". List Challenges.
- ↑ "Top 3000 Albums of All Time". Acclaimed Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2017. สืบค้นเมื่อ 14 February 2017.
{{cite web}}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)