เอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์
เอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ (อังกฤษ: MTV Video Music Awards, หรือเรียกย่อว่า VMAs) เป็นงานมอบรางวัลที่นำเสนอโดยเอ็มทีวี เพื่อเป็นเกียรติแก่มิวสิกวิดีโอยอดเยี่ยม เดิมทีเป็นทางเลือกแทนรางวัลแกรมมี (ในหมวดวิดีโอ) งานมอบรางวัลเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ประจำปี มักถูกเรียกว่า "ซูเปอร์โบวล์สำหรับเยาวชน" อันเป็นการยอมรับศักยภาพของวีเอ็มเอในการดึงดูดเยาวชนนับล้านจากกลุ่มวัยรุ่นอายุราว ๆ 20 ปี[1] จนในปี 2001 วีเอ็มเอได้กลายเป็นรางวัลอันทรงเกียรติ[2] รูปปั้นที่มอบให้แก่ผู้ชนะคือ นักบินอวกาศบนดวงจันทร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวแทนแรกสุดของเอ็มทีวีและถูกเรียกขานว่า "มูนแมน" (moonman) อย่างไรก็ตามในปี 2017 คริส แม็กคาร์ธี ประธานของเอ็มทีวีกล่าวว่ารูปปั้นนี้จะถูกเรียกว่า "มูนเพอร์สัน" (Moon Person) นับตั้งแต่นั้น[3] รูปปั้นออกแบบโดยแมนแฮตตันดีไซน์ ซึ่งเป็นผู้ออกแบบเครื่องหมายการค้าเอ็มทีวีดั้งเดิม รูปปั้นอิงจากแอนิเมชันอย่าง ท็อปออฟเดอะอาวเออร์ เมื่อปี 1981 ที่สร้างโดยเฟรด ไซเบิร์ต ผลิตโดยแอลัน กูดแมน และบัซ โปตัมกิน ปัจจุบันรูปปั้นทำขึ้นโดยนิวยอร์กเฟิร์มโซไซอิตีอะวอดส์[4] นับตั้งแต่งานมอบรางวัลปี 2006 ผู้ชมสามารถลงคะแนนวิดีโอโปรดของพวกเขาในหมวดหมู่ทั่วไปทั้งหมดได้ โดยเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเอ็มทีวี[5]
เอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ | |
---|---|
ปัจจุบัน: เอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ 2022 | |
รางวัลสำหรับ | มิวสิกวิดีโอและวัฒนธรรมป็อป |
ประเทศ | สหรัฐ |
จัดโดย | เอ็มทีวี |
รางวัลแรก | 14 กันยายน 1984 |
เว็บไซต์ | mtv.com/ontv/vma |
| |||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||
|
รางวัลแต่ละหมวดหมู่
แก้- วิดีโอแห่งปี
- ศิลปินแห่งปี
- เพลงแห่งปี
- ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม
- การแสดงผลักดันแห่งปี
- ศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม
- ร่วมขับร้องเพลงยอดเยี่ยม
- ป็อปยอดเยี่ยม
- ร็อกยอดเยี่ยม
- ออลเทอร์นาทิฟยอดเยี่ยม
- อาร์แอนด์บียอดเยี่ยม
- ฮิปฮอปยอดเยี่ยม
- ลาตินยอดเยี่ยม
- เคป็อปยอดเยี่ยม
- วิดีโอฟอร์กูด
- วิดีโอขนาดยาวยอดเยี่ยม
- เพลงแห่งฤดูร้อน
- กำกับยอดเยี่ยม
- ออกแบบท่าเต้นยอดเยี่ยม
- เอฟเฟกต์ภาพยอดเยี่ยม
- กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม
- ตัดต่อยอดเยี่ยม
- กำกับภาพยอดเยี่ยม
- รางวัลไมเคิลแจ็กสันวิดีโอแวนการ์ด
อ้างอิง
แก้- ↑ Elliot, Stuart (August 20, 2004). "MTV's sponsors hope the Video Music Awards can draw a crowd, without wardrobe malfunctions". NYTimes.com. สืบค้นเมื่อ 19 September 2010.
- ↑ "MTV's irresistible rise". News.BBC.co.uk. July 1, 2000. สืบค้นเมื่อ 16 September 2009.
- ↑ "Today in Entertainment: Twitter has a field day over Anthony Scaramucci's exit; Celebrities mourn the loss of Sam Shepard" – โดยทาง LA Times.
- ↑ del Castillo, Michael. "Downtime: The man behind MTV's moonman". www.upstart.bizjournals.com.
- ↑ "MTV Announces VMA Nominees". SpinMedia Group. July 31, 2006. สืบค้นเมื่อ August 31, 2015.