เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส

(เปลี่ยนทางจาก Ferdinand Marcos)

เฟอร์ดินานด์ เอ็มมานูเอล เอดราลิน มาร์กอส ซีเนียร์ (ตากาล็อก: Ferdinand Emmanuel Edralin Marcos Sr.; 11 กันยายน พ.ศ. 2460 - 28 กันยายน พ.ศ. 2532) เป็นอดีตประธานาธิบดีคนที่ 10 ของฟิลิปปินส์ เคยดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 ถึง พ.ศ. 2529 เป็นเวลาเกือบ 21 ปี และพ้นจากตำแหน่งโดยการหลบหนีออกนอกประเทศ หลังการลุกฮือของประชาชน ในปี พ.ศ. 2529 ซึ่งนำโดยนางคอราซอน อากีโน ภริยาหม้ายของนายเบนิโญ อากีโน อดีตนักการเมืองฝ่ายค้าน โดยมีสาเหตุหลักมาจาก การปกครองแบบเผด็จการ รวมถึงการทุจริตคอรัปชั่นซึ่งเป็นเงินราว ๆ 5-10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ขึ้นชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่โกงมากที่สุดรองจาก ซูฮาร์โต[1]

เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส
Ferdinand Marcos
ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ คนที่ 10
ดำรงตำแหน่ง
30 ธันวาคม พ.ศ. 2508 – 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529
นายกรัฐมนตรีตัวเขาเอง (2521 - 2524) ซีซาร์ วีราตา (2524-2529)
รองประธานาธิบดีเฟอร์นันโด โลเปซ (2508-2516)
อาร์ตูโร โตเรนติโน (2529)
ก่อนหน้าดิออสดาโด มากาปากัล
ถัดไปคอราซอน อากีโน
นายกรัฐมนตรีฟิลิปปินส์
ดำรงตำแหน่ง
12 มิถุนายน พ.ศ. 2521 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2524
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 กันยายน พ.ศ. 2460
 ฟิลิปปินส์
เสียชีวิต28 กันยายน พ.ศ. 2532 (72 ปี)
 สหรัฐอเมริกา โฮโนลูลู ฮาวาย
ศาสนาโรมันคาทอลิก
คู่สมรสอิเมลดา โรมวลเดซ
ลายมือชื่อ
เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส กับนายจอร์จ ชูลต์ซ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา

เขาประสบความสำเร็จในด้านการเมืองอย่างมากในฐานะ "วีรบุรุษสงครามที่ทรงเกียรติที่สุดของฟิลิปปินส์"[2] แต่ฐานะดังกล่าวถูกมองว่าเกินจริงเป็นอย่างมาก[3][4][5] โดยมีเอกสารลับของกองทัพสหรัฐ ระบุว่าเกียรติและการยกย่องเหล่านี้เป็นเรื่องหลอกลวงและไร้สาระ[6] หลังสงครามโลกครั้งที่สองเขาเริ่มทำงานเป็นทนายความและดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฟิลิปปินส์ตั้งแต่ พ.ศ. 2492 ถึง พ.ศ. 2502 และเป็นสมาชิกวุฒิสภาฟิลิปปินส์ตั้งแต่ พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2508 เขาชนะการเลือกตั้งและได้เป็นประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์ใน พ.ศ. 2508 ซึ่งเขาสามารถทำให้ประเทศฟิลิปปินส์เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมากในช่วงที่เขาเริ่มดำรงตำแหน่งในสมัยแรก[7][8][9] เขาดำเนินโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชิงรุกซึ่งเขาได้ขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ทำให้เขาได้รับความนิยมและความศรัทธาจากประชาชนเป็นอย่างมาก[10][11] แต่เมื่อเขาดำรงตำแหน่งในสมัยที่สองเขากลับวางตัวเป็นเผด็จการ[12][13] เกิดความวุ่นวายทางการเมืองอันเนื่องมาจากการประกาศกฎอัยการศึกโดยตัวเขาเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2515 ก่อนที่เขาจะหมดวาระในสมัยที่สอง[14][15] เขาให้รัฐสภาแก้กฎหมายใหม่ให้ตรงกับความต้องการของเขา ทำให้เขาสามารถดำรงตำแหน่งต่อไปได้โดยไม่มีกำหนด นอกจากนี้ เขายังจำกัดเสรีภาพของสื่อสารมวลชน[12][13] ใช้ความรุนแรงกับฝ่ายตรงข้าม[16] กำจัดฝ่ายค้านทางการเมือง[17][18] มุสลิม[19] ผู้ที่มีพฤติการณ์เป็นคอมมิวนิสต์[20] รวมถึงประชาชนในประเทศ

เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ถึงแก่อสัญกรรมที่โฮโนลูลู ฮาวาย ขณะลี้ภัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา ก่อนถึงแก่อสัญกรรมกำลังถูกทางการฟิลิปปินส์ ยื่นเรื่องขออายัดทรัพย์สิน และดำเนินคดีในข้อหาใช้อิทธิพลคอรัปชั่น ในระหว่างดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ประวัติ

แก้

ได้รับเลือกตั้งผ่านระบบประชาธิปไตยตั้งแต่ปี 1966 ถึง 1981

เครื่องอิสริยาภรณ์

แก้

เครื่องอิสริยาภรณ์ในประเทศ

แก้
  •   เหรียญกล้าหาญแห่งกองทัพฟิลิปปินส์
  •   ลีเจียนออฟออเนอร์ ชั้นปุนอง โกมันดัน
  •   เครื่องอิสริยาภรณ์อัศวินแห่งริซัล ชั้นที่ 1

เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. http://www.infoplease.com/ipa/A0921295.html
  2. Bueza, Michael (August 20, 2016). "Marcos' World War II 'medals' explained". Rappler.
  3. "Marcos flees at last". Philippine Daily Inquirer. สืบค้นเมื่อ June 29, 2017.
  4. Maynigo, Benjamin. "Marcos fake medals redux (Part II)". Asian Journal USA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 5, 2016.
  5. Bondoc, Jarius (April 8, 2011). "Suspicions resurface about Marcos heroism". The Philippine Star.
  6. Maynigo, Benjamin. "Marcos fake medals redux (Part I)". Asian Journal USA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 8, 2017.
  7. "GDP (constant LCU) – Data". data.worldbank.org.
  8. "Under Marcos dictatorship unemployment worsened, prices soared, poverty persisted". IBON Foundation (ภาษาอังกฤษ). November 25, 2016. สืบค้นเมื่อ June 17, 2020.
  9. de Dios, Emmanuel S. (November 16, 2015). "The truth about the economy under the Marcos regime". Business World (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-06. สืบค้นเมื่อ June 17, 2020.
  10. Mendoza, Ronald (February 26, 2016). "Ferdinand Marcos' economic disaster". Rappler. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-22. สืบค้นเมื่อ 2021-12-01.
  11. Galang, Ping (February 21, 2011). "The economic decline that led to Marcos' fall". GMA News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 29, 2018. สืบค้นเมื่อ May 29, 2018.
  12. 12.0 12.1 Balbosa, Joven Zamoras (1992). "IMF Stabilization Program and Economic Growth: The Case of the Philippines". Journal of Philippine Development. XIX (35).
  13. 13.0 13.1 Cororaton, Cesar B. "Exchange Rate Movements in the Philippines". DPIDS Discussion Paper Series 97-05: 3, 19.
  14. "Declaration of Martial Law". Official Gazette of the Republic of the Philippines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-15. สืบค้นเมื่อ 2021-12-01.
  15. "FM Declares Martial Law". Official Gazette of the Republic of the Philippines. Philippines Sunday Express. September 24, 1972. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-25. สืบค้นเมื่อ 2021-12-01.
  16. Kushida, Kenji (2003). "The Political Economy of the Philippines Under Marcos – Property Rights in the Philippines from 1965 to 1986" (PDF). Stanford Journal of East Asian Affairs.
  17. Panti, Llanesca (October 16, 2018). "Imee done with apologizing for atrocities during Marcos regime". GMA News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ June 17, 2020.
  18. "Why the Late Philippine Dictator Was No Hero". Human Rights Watch (ภาษาอังกฤษ). November 8, 2016. สืบค้นเมื่อ June 17, 2020.
  19. "Philippine Church Leaders Fear Failure of Government-Muslim Negotiations". UCA News (ภาษาอังกฤษ). February 10, 1987. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-26. สืบค้นเมื่อ June 17, 2020.
  20. Cortez, Kath M. (September 21, 2019). "Martial Law veterans recall fighting dark days of dictatorship". Davao Today.
  21. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๕, ตอน ๓๒ ง ฉบับพิเศษ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๑, หน้า ๑๔

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้