โรงเรียนดรุณสิกขาลัย
ดรุณสิกขาลัย โรงเรียนนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ (อังกฤษ: Darunsikkhalai School for Innovative Learning) เป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในกำกับของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2543 และเปิดทำการเรียนการสอนในปี พ.ศ. 2544 โดยได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือระหว่าง MIT Media Lab มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มูลนิธิศึกษาพัฒน์ และมูลนิธิไทยคม[2] โดยมีหลักสูตรหลักที่ชื่อว่า "ชั้นเรียนโครงงาน" หรือ Project-based Learning เพื่อฝึกฝนและพัฒนาทักษะ รวมถึงกระบวนการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกหัวข้อตามอัธยาศัย[3]
โรงเรียนดรุณสิกขาลัย | |
---|---|
ดรุณสิกขาลัย โรงเรียนนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เลขที่ 126 ถนนประชาอุทิศ บางมด ทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140 ประเทศไทย | |
พิกัด | 13°39′01″N 100°29′42″E / 13.650149°N 100.495017°E |
ข้อมูล | |
ประเภท | โรงเรียนสาธิตในกำกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม[1] |
สถาปนา | 20 กรกฎาคม 2000 |
ผู้อำนวยการ | นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา 2544-ปัจจุบัน |
ระดับชั้น | ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 |
เพศ | โรงเรียนสหศึกษา |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่โรงเรียนได้จัดสอน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ |
สี | |
สังกัด | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
เว็บไซต์ | e-school |
ประวัติ
แก้ในปี พ.ศ. 2539 คณะศิษย์เก่าจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ได้รวมตัวกันก่อตั้งมูลนิธิ FREE โดยมี เชาวน์ ณ ศีลวันต์ องคมนตรี เป็นประธานมูลนิธิ และในปีเดียวกันได้รับพระราชทานนามใหม่ให้ว่า “มูลนิธิศึกษาพัฒน์” โดยมี นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ แบงกอก เชาว์ขวัญยืน เป็นกรรมการและคณะผู้ก่อตั้งมูลนิธิ ร่วมกันพัฒนาการศึกษาแบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อการเรียนการสอน จึงได้ประสานงานติดต่อกับ MIT Media Lab และนำเอาทฤษฎี “Constructionism” มาปรับใช้ภายใต้โครงการความร่วมมือ Lighthouse Project ของมูลนิธิศึกษาพัฒน์ แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดด้านหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ และวิธีการบริหารจัดการ ตลอดจนวิธีคิดในขณะนั้น เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถนำทฤษฎี Constructionism ไปขยายผลในโรงเรียนได้ดีเท่าที่ควร จึงมีแนวคิดว่าควรต้องมีโรงเรียนแบบอย่างของตัวเอง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2543 นายพารณได้ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยมี ดร.หริส สูตะบุตร เป็นอุปนายกสภา และนายแบงกอกเป็นกรรมการสภา ได้ร่วมกันเสนอสภามหาวิทยาลัยให้พิจารณาการจัดตั้งโรงเรียนต้นแบบตามแนวคิดข้างต้น สภามหาวิทยาลัยจึงมีมติเห็นควรให้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นภายในมหาวิทยาลัย โดยมีสถานะเทียบเท่าภาควิชาหนึ่งของมหาวิทยาลัยและมีการบริหารจัดการที่เป็นอิสระโดยไม่ใช้งบประมาณของรัฐ[4]
สำนักงานห้องเรียนวิศว์-วิทย์
แก้ห้องเรียนวิศว์-วิทย์ โรงเรียนดรุณสิกขาลัย | |
---|---|
ชั้น 6 สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตบางขุนเทียน เลขที่ 49 ซอยเทียนทะเล 25 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กทม. 10150 ประเทศไทย | |
พิกัด | 13°34′38″N 100°26′29″E / 13.577361°N 100.441502°E |
ข้อมูล | |
คำขวัญ | School is where students learn to fail, successfully |
ผู้อำนวยการ | ดร. ก้องกาญจน์ วชิรพนัง |
ระดับชั้น | ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 |
เพศ | โรงเรียนสหศึกษา |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่โรงเรียนได้จัดสอน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น[note 1] |
สี | |
สังกัด | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
เว็บไซต์ | gifted |
สำนักงานห้องเรียนวิศว์-วิทย์ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการทางการศึกษา 2 โครงการ ในสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คือ โครงการ วมว. และ สถาบันโคเซ็น (KOSEN)
โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย
แก้โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (วมว.) เป็นโครงการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนสำหรับผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินการ การเรียนการสอนของโครงการ วมว. ดรุณสิกขาลัย ยึดแนวคิดเดียวกันกับโรงเรียนดรุณสิกขาลัยในการให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติหลักสูตรที่ใช้ในการเรียนการสอนในโครงการฯ ตั้งอยู่บนแนวคิดแบบ Story Based Learning หรือร้อยเรียงเรื่องราวเพื่อการเรียนรู้ และประยุกต์ทฤษฎี Constructionism เข้ากับหลักสูตรแกนกลางของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อสร้างนักคิดนักประดิษฐ์ที่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม โดยการเรียนนั้นจะไม่แบ่งรายวิชาตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีรหัสวิชาแยกเป็นของตนเอง
ในปีการศึกษา 2551 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินงานโครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน จึงได้เลือกมหาวิทยาลัยที่มีคณะและภาควิชาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีความพร้อมมาทั้งสิ้น 4 แห่งเป็นโครงการนำร่อง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี - โรงเรียนดรุณสิกขาลัย[5] ต่อมาหลังจากลงนามร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ตั้งสถาบันไทยโคเซ็น (Thai KOSEN) จำนวน 2 สถาบัน คือ สถาบันโคเซ็นแห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ สถาบันโคเซ็นแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี[6]
นักเรียนทุกคนเป็นนักเรียนทุนรัฐบาล โดยจะได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปีละ 200,000 บาท รวมถึงไม่ต้องมีการชดใช้ทุนคืนหลังจบการศึกษา[7] และนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทุกคนจะได้รับ iPad 1 เครื่องสำหรับใช้ศึกษา โดยคืนเมื่อเรียนจบ
KOSEN KMUTT
แก้ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2561 อนุมัติ "โครงการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมสนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค" จัดตั้ง 2 สถาบันไทยโคเซ็น คือ KOSEN-KMITL และ KOSEN-KMUTT โดย KOSEN-KMUTT เป็นสถาบันไทยโคเซนแห่งที่ 2 ของประเทศไทย โดยมีหลักสูตรการเรียนที่เน้นการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ และทักษะวิศวกรรมศาสตร์ ผ่านแนวคิด Story-based learning โดยหลักสูตรที่นำสอนมิใช่การยกหลักสูตรของประเทศญี่ปุ่นมาทั้งหมด แต่เป็นการนำมาปรับเพื่อให้เข้ากับวิถีชีวิตของนักศึกษาไทยและเพื่อให้นักศึกษาสามารถทำงานและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมของประเทศได้[8] เริ่มเปิดทำการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 ในหลักสูตรวิศวกรรมอัตโนมัติ (Automation Engineering) ส่วนหลักสูตรวิศวกรรมชีวภาพ (Bio Engineering) เริ่มทำการสอนในปีการศึกษา 2565[9] และหลักสูตรวิศวกรรมเกษตร (Agri Engineering) จะเปิดต่อมาในปีการศึกษา 2567[10] โดยมีคณะอาจารย์จากประเทศญี่ปุ่นร่วมทำการสอน ดังนั้นการเรียนในบางรายวิชาจึงเรียนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก การเรียนนั้นจะไม่แยกรายวิชาตามหลักกระทรวงศึกษาธิการเช่นเดียวกับโครงการวมว. รวมถึงมีหลักสูตรทางวิศวกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น นั่นรวมถึงมีการสอนภาษาญี่ปุ่นให้กับนักศึกษาด้วย
เมื่อถึงชั้นปีที่ 2 หรือ เทียบเท่ามัธยมศึกษาปีที่ 5 นักศึกษามีสิทธิที่จะเข้ารับการทดสอบทั้งสิ้น 3 ขั้นตอนเพื่อเข้าศึกษาต่อโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น เริ่มจากการสอบคัดเลือกนักศึกษาให้เหลือ 4 คนต่อหนึ่งห้อง ต่อมาเป็นการทำข้อสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นเทียบเท่าระดับ N3 และการสอบสัมภาษณ์จากโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่นเป็นขั้นตอนสุดท้าย[note 2][11] โดยจำนวนที่ผ่านการคัดเลือกทั้งการสอบและการสัมภาษณ์นั้นจะขึ้นอยู่กับปีนั้น ๆ นั่นรวมถึงโอกาสที่จะไม่มีคนผ่านย่อมที่จะเกิดขึ้นได้
อายุ (ปี) | สายสามัญ | สายอาชีพ | KOSEN | ภาษาญี่ปุ่น | |
---|---|---|---|---|---|
16 | มัธยมศึกษาปีที่ 4 | ประกาศนียบัตรวิชาชีพปี 1 | ปี 1 | 高専一年生 | |
17 | มัธยมศึกษาปีที่ 5 | ประกาศนียบัตรวิชาชีพปี 2 | ปี 2 | 高専二年生 | |
18 | มัธยมศึกษาปีที่ 6 | ประกาศนียบัตรวิชาชีพปี 3 | ปี 3 | 高専三年生 | |
อุดมศึกษาและเทียบเท่า | |||||
อายุ (ปี) | สายตรงทั่วไป | สายอนุปริญญา | KOSEN | ภาษาญี่ปุ่น | |
19 | บัณฑิตปี 1 | อนุปริญญาปี 1 | ปี 4 | 高専四年生 | |
20 | บัณฑิตปี 2 | อนุปริญญาปี 2 | ปี 5 | 高専五年生 | |
21 | บัณฑิตปี 3 | ต่อเนื่องปี 1 | หลักสูตรขั้นสูงปี 1[k 1] | 専攻科 | |
- | บัณฑิตปี 4-6 | ต่อเนื่องปี 2-4 | หลักสูตรขั้นสูงปี 2 | ||
- | บัณฑิต (ปริญญาตรี) | 学士 | |||
- | มหาบัณฑิต (ปริญญาโท) | 修士 | |||
- | ดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก) | 博士 | |||
หมายเหตุ |
|
นักศึกษาเมื่อเรียนจบ 5 ปีแล้วนั้น จะได้วุฒิการศึกษา ม.6 และ อนุปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงควรมีความสามารถด้านภาษาญี่ปุ่นในระดับเทียบเท่า N3 ในการสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น (JLPT) หรือมากกว่า โดยสามารถเข้ารับการทำงานได้ทันที หรือ เรียนต่อจนจบการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือสูงกว่าก็ได้[14] แต่เมื่อเรียนจบแล้ว จำเป็นต้องมีการใช้ทุนเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของระยะเวลาที่ได้รับทุนไป โดยทำงานในหน่วยงานชดใช้ทุนตามที่สัญญาทุนกำหนดไว้
-
อาคารเรียน (ชั้น 6 อาคารวิจัยพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ) -
อาคารเรียน -
หอพักนักเรียนโครงการฯ
หอหญิง (ซ้าย), หอชาย (ขวา)
-
Fabrication Laboratory
หอพักชายชั้นหนึ่ง -
หนึ่งในห้องเรียน
ตึกเรียนใหม่ -
สถานที่ทานอาหาร
หอพักชายชั้นสอง
หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ สืบค้นข้อมูลโรงเรียนสาธิต. กลุ่มพัฒนาและบริหารจัดการข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ (พข.).สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2567
- ↑ โรงเรียนดรุณสิกขาลัย. แนวคิดการจัดการเรียนการสอน เก็บถาวร 2021-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2564
- ↑ โรงเรียนดรุณสิกขาลัย. หลักสูตร เก็บถาวร 2021-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2564
- ↑ โรงเรียนดรุณสิกขาลัย. ความเป็นมาในการก่อตั้งโรงเรียน เก็บถาวร 2021-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2564
- ↑ โครงการ วมว. . ความเป็นมาของโครงการ เก็บถาวร 2021-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2564
- ↑ Techsauce Team. (2018). ครม.เห็นชอบตั้งสถาบัน Thai KOSEN ที่ สจล. และ มจธ. สร้างคนทำงานด้าน Sci-Tech. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2564
- ↑ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. โครงการวมว. ดรุณสิกขาลัย. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2564
- ↑ แนวหน้า. (2563). KOSEN KMUTT ไม่ใช่เป็นการยกระบบ KOSEN ญี่ปุ่น เป็นรูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์การสร้างกำลังคนของประเทศ. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2564
- ↑ กรุงเทพธุรกิจ. (2563). KOSEN KMUTT ผลิตวิศวกรนักปฏิบัติ เคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2564
- ↑ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). Fact Sheet Thai KOSEN. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2564
- ↑ KOSEN KMUTT. 21 มกราคม 2565. คุยกับตัวแทนนักเรียน KOSEN KMUTT คนแรก. (facebook.com). สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2565
- ↑ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการจัดตั้งสถาบันไทยโคเซ็น(Facebook). สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2564
- ↑ Kobe City College of Technology. (2562). 高専とは?. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2564
- ↑ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (2563). โคเซ็น มจธ. (KOSEN KMUTT). สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2564