คอร์ปัส คาโลซัม
Corpus callosum[1] เป็นคำภาษาละตินแปลว่า ส่วนแข็ง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า colossal commissure เป็นกลุ่มใยประสาทที่กว้างและแบนใต้เปลือกสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีรก ประเภท eutheria อยู่ที่ร่อง longitudinal fissure (ที่แบ่งสมองออกเป็น 2 ข้าง) เป็นโครงสร้างที่เชื่อมซีกสมองซ้ายขวาเข้าด้วยกัน และอำนวยให้เขตในสมองทั้งสองซีกสื่อสารกันได้ เป็นส่วนเนื้อขาว (ส่วนในสมองที่โดยมากประกอบด้วยแอกซอน) ที่ใหญ่ที่สุดในสมองมีแอกซอนส่งเชื่อมซีกสมองถึง 200–250 ล้านแอกซอน
คอร์ปัส คาโลซัม ละติน: Corpus callosum | |
---|---|
รูป 1: Corpus callosum มองจากด้านบน (ส่วนหน้าของศีรษะอยูด้านบน) มีสีเทามีรูปโค้งตรงกลาง ส่วนที่เรียกว่า splenium มีป้ายชื่ออยู่ด้านบนข้างขวา | |
รูป 2: สมองด้านใน (median) แบ่งตามระนาบซ้ายขวา (sagittal) ส่วนหน้าของศีรษะอยู่ด้านซ้าย Corpus callosum เห็นที่ส่วนกลาง มีสีเทาอ่อน ส่วนที่เรียกว่า rostrum อยู่ตรงกลางด้านซ้าย | |
ตัวระบุ | |
MeSH | D003337 |
นิวโรเนมส์ | 191 |
นิวโรเล็กซ์ ID | birnlex_1087 |
TA98 | A14.1.09.241 |
TA2 | 5604 |
FMA | 86464 |
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์ |
กายวิภาค
แก้-
รูป 3: Corpus callosum จากเว็บไซต์ Anatomography
-
รูป 4: corpus callosum มองจากด้านล่าง ส่วน Genu อยู่ด้านบนตรงกลาง
ส่วนหลังสุดของ corpus callosum เรียกว่า splenium (มาจากภาษากรีกแปลว่า ผ้าพันแผล ดูรูป 1) ส่วนหน้าสุดเรียกว่า genu (แปลว่า เข่า เพราะรูปคล้ายเข่า ดูรูป 4) และส่วนตรงกลางเรียกว่า body (หรือ truncus) ส่วนระหว่าง body และ splenium (ด้านหลัง) เป็นส่วนที่บางกว่าส่วนอื่น เป็นส่วนที่เรียกว่า isthmus (แปลว่า คอคอด) ส่วนที่เรียกว่า rostrum เป็นส่วนที่ส่งแอกซอนไปด้านหลังลงล่าง (posterior and inferior) จาก genu ส่วนหน้าสุด เห็นได้ในภาพแบ่งตามระนาบซ้ายขวา (รูป 2) มีชื่อแปลว่า "จะงอยปาก" เพราะมีรูปเหมือนจะงอยปากนก มีแอกซอนบาง ๆ จาก genu ที่เชื่อมคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (prefrontal cortex) ในซีกสมองทั้งสองข้าง เป็นมัดใยประสาทมีรูปคล้ายส้อมที่เรียกว่า Forceps minor หรือว่า Forceps anterior มีแอกซอนส่วนที่หนาจาก midbody (กลางตัว) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Trunk ซึ่งเชื่อมเขตต่าง ๆ ของ premotor cortex, supplementary motor area, และ motor cortex โดยมีส่วนที่ใหญ่กว่าสำหรับเขตต่าง ๆ ของ supplementary motor area เป็นต้นว่าเขต Broca ส่วน splenium ที่อยู่ทางด้านหลัง ส่งข้อมูลความรู้สึกทางกาย (somatosensory) ระหว่างสมองกลีบข้าง และข้อมูลเกี่ยวกับการเห็นระหว่างสมองกลีบท้ายทอย ในซีกสมองทั้งสองข้าง เป็นส่วนของมัดใยประสาทที่เรียกว่า "'Forceps Major[2][3]
ความแตกต่างในสัตว์สายพันธุ์ต่าง ๆ
แก้corpus callosum มีอยู่ในเฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีรก ประเภท eutheria ไม่มีในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทโมโนทรีม และอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง[4] และไม่มีในสัตว์มีกระดูกสันหลังประเภทอื่นเช่นสัตว์ปีก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และปลา[5]
แต่สัตว์ที่ไม่มี corpus callosum เหล่านี้ ก็มีโครงสร้างอย่างอื่นในสมองที่เชื่อมต่อซีกสมองทั้งสอง เช่น anterior commissure ซึ่งเป็นโครงสร้างหลักที่เชื่อมซีกสมองของอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง[6][7] ที่มีใยประสาทเชื่อมซีกสมอง (commissural fiber) ทั้งหมดที่เกิดจากคอร์เทกซ์ใหม่ (neocortex) เปรียบเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีรกที่ anterior commissure มีใยประสาทเชื่อมซีกสมองเพียงแค่บางส่วน[8]
ในสัตว์อันดับวานร ความเร็วส่งของสัญญาณประสาทขึ้นอยู่กับความหนาของปลอกไมอีลิน ซึ่งเป็นเปลือกลิพิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นในขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของแอกซอนของเซลล์ประสาทนั่นเอง ในสัตว์อันดับวานรโดยมาก เส้นผ่าศูนย์กลางของแอกซอนจะเพิ่มขึ้นตามขนาดของสมอง เพื่อชดเชยระยะทางที่ไกลกว่าในการส่งสัญญาณประสาท ทำให้สมองสามารถจัดลำดับสัญญาณประสาทรับความรู้สึก (sensory) และสัญญาณสั่งการ (motor) ได้
แต่ว่าในไพรเมตสกุลชิมแปนซีและมนุษย์ การขยายขนาดของปลอกไมอิลินกลับไม่เกิดขึ้นทั้ง ๆ ที่ก็มีสมองใหญ่ขึ้น มีผลให้เวลาในการสื่อสารผ่าน corpus callosum ในมนุษย์ต้องใช้เวลาเป็น 2 เท่าเทียบกับลิงมาคาก[2] ในมนุษย์ มัดใยประสาทของ corpus callosum สามารถปรากฏขยายออกจนกระทั่งกินเนื้อที่ และแยกออกซึ่งโครงสร้างต่าง ๆ ของฮิปโปแคมปัส[9]
ความปราศจากและสภาพผิดรูป
แก้ภาวะไม่สร้าง corpus callosum (อังกฤษ: Agenesis of the corpus callosum ตัวย่อ ACC) เป็นความผิดปกติแต่กำเนิดที่เกิดน้อย ที่ร่างกายไม่สร้าง corpus callosum โดยบางส่วนหรือโดยสิ้นเชิง ACC มักจะรับการวินิจฉัยภายใน 2 ปีแต่กำเนิด และอาจจะปรากฏเป็นอาการที่รุนแรง (เห็นได้ชัด) ในวัยทารกและวัยเด็ก หรือเป็นอาการที่เบาในวัยหนุ่มสาว หรือไร้อาการที่ตรวจเจอโดยบังเอิญเท่านั้น อาการเบื้องต้นของ ACC มักจะรวมถึงอาการชัก ตามมาด้วยปัญหาในการดื่มกิน และความเนิ่นช้าในวัยเด็กในการตั้งศีรษะให้ตรง การนั่ง การยืน และการเดิน อาการที่อาจเกิดขึ้นอย่างอื่น ๆ รวมทั้งความเสียหาย ในการพัฒนาทางใจและทางกาย การทำงานประสานระหว่างมือและตา และความทรงจำในการเห็นและการได้ยิน อาการโพรงสมองคั่งน้ำ (Hydrocephaly) ก็อาจจะเกิดขึ้นด้วย ในกรณีที่มีอาการเบา อาการเช่นการชัก การพูดซ้ำ ๆ หรือปวดหัวอาจจะไม่ปรากฏเป็นเวลาหลายปี
ACC โดยปกติไม่ทำให้ถึงตาย วิธีการบำบัดโรคเป็นการบริหารอาการของโรคถ้ามี เช่นบริหารอาการโพรงสมองคั่งน้ำ หรืออาการชัก แม้ว่า คนไข้เด็กเป็นจำนวนมากจะมีชีวิตเป็นปกติ และมีสติปัญญาระดับปกติ การทดสอบทางประสาทจิตวิทยาที่ละเอียดพบความแตกต่างที่ละเอียดในการทำงานของสมองระดับสูง โดยเปรียบเทียบคนไข้กับบุคคลปกติที่มีอายุและการศึกษาเท่ากัน ส่วนคนไข้เด็กที่มีความเนิ่นช้าทางพัฒนาการหรือมีอาการชัก ควรให้ตรวจภาวะผิดปกติต่าง ๆ เกี่ยวกับเมแทบอลิซึม[10]
นอกจากภาวะไม่สร้าง (agenesis) แล้ว ยังมีภาวะอื่น ๆ ที่คล้าย ๆ กันรวมทั้ง ภาวะสร้างเป็นบางส่วน (hypogenesis) ภาวะสร้างผิดรูป (dysgenesis) และภาวะสร้างไม่สมบูรณ์ (hypoplasia) เช่นบางเกินไป
งานวิจัยเร็ว ๆ นี้แสดงสหสัมพันธ์ระหว่าง corpus callosum ที่มีการสร้างผิดปกติกับความผิดปกติกลุ่ม autism spectrum[11][12]
ความต่างกันระหว่างเพศ
แก้ความสัมพันธ์ของ corpus callosum กับเพศได้เป็นประเด็นอภิปรายทั้งในหมู่นักวิทยาศาสตร์และคนทั่ว ๆ ไปอื่นมาเป็นศตวรรษแล้ว งานวิจัยในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 อ้างว่า เพศชายเพศหญิงมีขนาด corpus callosum ที่แตกต่างกัน แต่ว่า งานวิจัยนั้นไม่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป และในที่สุด ก็เกิดการใช้วิธีการสร้างภาพในสมองที่ทันสมัยกว่าที่ดูเหมือนว่า จะหักล้างสหสัมพันธ์เกี่ยวกับขนาดที่พบมาก่อนนั้น เมื่อมีวิธีการสร้างภาพทางกายภาพใหม่ ๆ เกิดขึ้น จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบงานวิจัยในสมองอย่างสำคัญ และความสัมพันธ์ระหว่างเพศและ corpus callosum ก็ได้กลายมาเป็นประเด็นงานวิจัยที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปีที่ผ่านมา
งานศึกษาดั้งเดิมและข้อขัดแย้ง
แก้นักกายวิภาค อาร์. บี. บีน จากเมืองฟิลาเดลเฟีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาแรกเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างเพศของ corpus callosum ผู้เสนอในปี ค.ศ. 1906 ว่า "ขนาดที่ใหญ่เป็นพิเศษของ corpus callosum อาจหมายถึงความฉลาดเป็นพิเศษ" และว่า มีความแตกต่างทางขนาดที่เห็นได้ในระหว่างเพศชายและเพศหญิง และอาจจะเป็นเพราะความคิดทางการเมือง (และสังคมสิ่งแวดล้อม) ในสมัยนั้น เขาก็ยังได้เสนอว่า มีความแตกต่างของขนาดในระหว่างเชื้อชาติต่าง ๆ อีกด้วย แต่ว่าในที่สุด งานวิจัยของเขาถูกหักล้างโดยแฟรงกริน มอลล์ ผู้เป็นผู้อำนวยการของแล็บที่บีนทำงานอยู่[13]
ในปี ค.ศ. 1982 ราล์ฟ ฮอล์โลเว และเดอลาโคสต์-อุทัมซิง เขียนบทความที่มีอิทธิพลในนิตยสาร Science ว่ามีความแตกต่างระหว่างเพศในสมองมนุษย์ทางสัณฐานวิทยา ซึ่งส่งผลให้มีความแตกต่างกันทางสมรรถภาพการประมวลผลข้อมูลทางจิตใจ (ประชาน) [14] ่ส่วนบทความที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1992 ในนิตยสารไทม์ เสนอว่า เพราะว่า corpus callosum "มักจะกว้างกว่าในสมองของเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ซึ่งอาจจะเปิดโอกาสให้มีการสื่อสารกันในระดับที่สูงกว่าในระหว่างซีกสมองทั้งสองข้าง และอาจจะเป็นฐานทางชีวภาพของสัญชาตญาณผู้หญิง"[15]
แต่ผลงานตีพิมพ์หลังจากนั้นในสาขาจิตวิทยาได้ตั้งประเด็นสงสัยว่า มีความแตกต่างระหว่างขนาดของ corpus callosum จริง ๆ หรือไม่ งานอภิวิเคราะห์ (meta-analysis) ของงานวิจัย 49 งานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 พบว่า โดยขัดแย้งกับการค้นพบของเดอลาโคสต์-อุทัมซิงและฮอล์โลเว ไม่ปรากฏว่า มีความแตกต่างกันระหว่างเพศของขนาด corpus callosum ไม่ว่าจะทำการพิจารณาขนาดโดยสัดส่วนของสมองเพศชายที่ใหญ่กว่าหรือไม่ (คือถ้าสมองใหญ่กว่าก็ควรจะมี corpus callosum ที่ใหญ่กว่า ดังนั้น ถ้าจะเทียบขนาดของ corpus callosum ให้ดี จึงควรที่จะพิจารณาตามสัดส่วนของขนาดสมอง) [13] ในปี ค.ศ. 2006 ภาพ MRI ทำในระดับที่ละเอียดไม่พบความแตกต่างระหว่างเพศของความหนาของ corpus callosum แม้ว่าจะทำการพิจารณาขนาดโดยสัดส่วนของร่างกายของผู้ได้รับการทดสอบ[16]
การสร้างภาพในสมอง
แก้ในปีที่ผ่าน ๆ มา สมรรถภาพในการตรวจสอบกายวิภาคและการทำงานของสมองมนุษย์ มีการเติบโตแทบเป็นแบบชี้กำลัง มีผลเป็นการเปลี่ยนแบบอย่างทางด้านความคิด ในปัจจุบัน มีการใช้ภาพ MRI ในการวิเคราะห์ ทั้งทางด้านกายวิภาค และทั้งทางด้านสรีรวิทยา (การทำงาน) ของร่างกาย เช่น โดยใช้การสร้างภาพแบบ Diffusion MRI[17] ก็จะสามารถวัตอัตราการแพร่ของโมเลกุลเข้าไปยังและออกมาจากเนื้อเยื่อเฉพาะที่ ทิศทางของแอนไอโซทรอปี (anisotropy) และอัตราเมแทบอลิซึม ได้ การวัดค่าเหล่านี้ พบว่า มีความแตกต่างระหว่างเพศที่คงเส้นคงวาของ corpus callosum ทางสัณฐานวิทยาและทางโครงสร้างระดับไมโคร[ไหน?][18][19][20]
นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการใช้การวิเคราะห์แบบ morphometric[21] เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ 3-มิติ ทางคณิต พร้อมกับภาพ MRI ด้วย ซึ่งพบว่า มีความแตกต่างระหว่างเพศที่คงเส้นคงวาและปรากฏเป็นนัยสำคัญทางสถิติ[22][23] ในงานวิจัยหนึ่ง ขั้นตอนวิธีบางอย่างพบความแตกต่างระหว่างเพศในกรณีตัวอย่างกว่า 70% อย่างมีนัยสำคัญ[24]
ความผิดปกติของอัตลักษณ์ทางเพศ
แก้มีงานวิจัยเกี่ยวกับรูปร่างสัณฐานของ corpus callosum ของบุคคลผู้มีความผิดปกติของอัตลักษณ์ทางเพศ (gender identity disorder) นักวิจัยได้แสดงว่า บุคคลผู้เป็นชายโดยชีวภาพแต่มีความรู้สึกว่าเป็นผู้หญิง มี corpus callosum ที่มีรูปร่างสัณฐานเหมือนของเพศหญิง (โดยกำหนดในช่วงที่คลอด) และโดยนัยเดียวกับ บุคคลผู้เป็นหญิงโดยชีวภาพแต่มีความรู้สึกว่าเป็นผู้ชาย ก็มี corpus callosum มีรูปร่างสัณฐานเหมือนกับของเพศชาย ผู้ตีพิมพ์บทความนี้อ้างว่า รูปร่างสัณฐานของ corpus callosum กำหนด "เพศที่รู้สึก" ของบุคคลโดยไม่ได้คำนึงถึงเพศโดยชีวภาพ[24]
ความสัมพันธ์ระหว่าง corpus callosum และเพศ ก็ยังเป็นประเด็นอภิปรายที่ยังคงดำเนินอยู่ทั้งในหมู่นักวิทยาศาสตร์และในบุคคลทั่วไปในปัจจุบันนี้
สหสัมพันธ์อื่น ๆ
แก้มีรายงานว่า ส่วนด้านหน้าของ corpus callosum ของนักดนตรียาวกว่าผู้ไม่ใช่นักดนตรีอย่างเป็นนัยสำคัญ[25] และในคนถนัดซ้ายหรือถนัดสองมือ มีพื้นที่ 0.75 ตารางเซนติเมตร[26] หรือ 11% ใหญ่กว่าคนถนัดขวา[26][27] ความแตกต่างนี้อยู่ที่ส่วนหน้า (anterior) และส่วนหลัง (posterior) ของ corpus callosum แต่ไม่มีในส่วน splenium[26] งานวิจัยอื่น ๆ ที่ใช้ MRI และการวิเคราะห์แบบ morphometric[21]ยังแสดงอีกด้วยว่า ขนาดของ corpus callosum มีสหสัมพันธ์เชิงบวกกับขนาดความทรงจำเกี่ยวกับภาษาพูดและสมรรถภาพในการเข้ารหัสถอดรหัสความหมาย (semantic coding) ของภาษา[28] งานวิจัยยังแสดงอีกด้วยว่า เด็กที่มีภาวะเสียการอ่านเข้าใจมักจะมี corpus callosum ที่เล็กกว่าและสมบูรณ์น้อยกว่าเด็กปกติ[29][30]
มีการพบว่า การฝึกหัดทักษะเกี่ยวกับดนตรีในช่วงพัฒนาการเพิ่มสภาพพลาสติกให้กับ corpus callosum ผลปรากฏเป็นการประสานงานของมือที่เพิ่มขึ้น ความแตกต่างของโครงสร้างใน white matter (ส่วนในสมองที่โดยมากประกอบด้วยแอกซอน รวมทั้ง corpus callosum) และการขยายสภาพพลาสติกในโครงสร้างเกี่ยวกับการสั่งการ (motor) และการได้ยิน (auditory) ซึ่งล้วนแต่เป็นความเปลี่ยนแปลงที่จะช่วยในการพัฒนาทักษะทางดนตรีต่อไปในอนาคต งานวิจัยนั้นพบว่า เด็กที่เริ่มฝึกดนตรีก่อนอายุ 6 ขวบ (เป็นเวลาอย่างน้อย 15 เดือน) มีปริมาตรของ corpus callosum ที่เพิ่มขึ้น และผู้ใหญ่ที่เริ่มฝึกดนตรีก่อนอายุ 11 ขวบจะมีการประสานงานกันระหว่างมือที่ดีขึ้น[31]
โรคลมชัก
แก้อาการของโรคลมชัก (epilepsy) ที่ดื้อยา สามารถลดได้โดยการตัดเอา corpus callosum บางส่วนหรือทั้งหมดออกเป็นการผ่าตัดสมองแบบ corpus callosotomy (แปลว่า การตัด corpus callosum) [32] วิธีนี้มักจะใช้ในกรณีผู้ป่วยที่มีการชักที่ซับซ้อน หรือการชักทั้งตัวแบบ grand mal ที่เริ่มขึ้นที่จุด ๆ หนึ่ง (epileptogenic focus) ในสมองซีกหนึ่ง มีผลเป็นการชัก (electrical storm) ในสมองทั้งสองซีก เพื่อที่จะประเมินว่าคนไข้ควรจะได้รับการผ่าตัดหรือไม่ จะมีการตรวจโดยการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง (electroencephalogram), MRI, PET Scan, และรับการตรวจจากแพทย์เฉพาะทางคือประสาทแพทย์ ประสาทศัลยแพทย์ จิตแพทย์ และประสาทรังสีแพทย์ (neuroradiologist) ก่อนที่จะทำการผ่าตัด[33]
โรคอื่น ๆ
แก้- กลุ่มอาการมือแปลกปลอม (Alien hand syndrome) เป็นความผิดปกติทางประสาทที่มือของคนไข้เหมือนกับมีใจเป็นของตน
- ภาวะเสียการอ่านล้วนโดยไม่มีภาวะเสียการเขียน (Alexia without agraphia) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากความเสียหายที่ splenium มีอาการคือมีปัญหาในการอ่านอย่างรุนแรง โดยที่สมรรถภาพทางภาษาอื่น ๆ เช่นการเรียกชื่อ และการกล่าวซ้ำเป็นต้น ไม่มีปัญหา
- Agenesis of the corpus callosum (และ dysgenesis, hypogenesis, hypoplasia), เป็นความผิดปกติแต่กำเนิด มีการสร้าง corpus callosum ขึ้นอย่างผิดปกติ อาจมีผลเป็นอาการชักและปัญหาในการดื่มกินเป็นต้น
- Split-brain (ภาวะสมองแยก) เป็นคำที่ใช้เรียกผลที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลได้รับการตัด corpus callosum เป็นบางส่วนหรือทั้งหมดออก มีผลเป็นปัญหาการประสานงานของสมองซีกซ้ายขวา
- การเจริญผิดปกติของเนื้อเยื่อเซปโตออพติก (Septo-optic dysplasia หรือ deMorsier syndrome) เป็นความผิดปกติแต่กำเนิดที่เกิดจากการพัฒนาอย่างไม่สมบูรณ์ของเส้นประสาทตา หรือความไม่มีของ Septum pellucidum (ซึ่งเชื่อมกับ corpus callosum) และอาจจะไม่มีผลทางการเห็น หรืออาจจะมีเป็นบางส่วน หรืออาจจะไม่มีการเห็นโดยสิ้นเชิง
- โรคมัลติเพิล สเกลอโรซิส พร้อมกับกลุ่มอาการ Dawson's fingers ที่มีรอยโรคเป็นรูปนิ้วแผ่ไปตามหลอดเลือดดำในโพรงสมอง
- โรคสมองอักเสบอย่างเบาพร้อมกับรอยโรคที่ splenium ที่หายได้ (Mild encephalopathy with a reversible splenial lesion) เป็นโรคสมองอักเสบ (encephalopathy หรือ encephalitis) ที่มีน้อยไม่รู้สาเหตุ มีอาการเป็นรอยโรคแบบชั่วคราวที่ด้านหลังของ corpus callosum มักจะสัมพันธ์กับโรคติดต่อ
วิธีการแยกสมอง
แก้เปลือกสมองแบ่งออกเป็นสองซีกและมีการเชื่อมต่อกันด้วย corpus callosum วิธีการลดความรุนแรงของการชักในคนไข้วิธีหนึ่งก็คือวิธีการแยกสมอง (split brain procedure) ผลที่จะได้ก็คือการชักที่เริ่มในซีกสมองข้างหนึ่งก็จะมีการจำกัดอยู่ในสมองซีกนั้น เพราะว่า ไม่มีการเชื่อมต่อกับอีกซีกหนึ่ง แต่ว่า วิธีนี้อันตรายและมีความเสี่ยงสูง
ระเบียงภาพ
แก้-
การผ่าแบ่งระนาบซ้ายขวา (Sagittal) ผ่าน midline ของสมองคนตาย corpus callosum เป็นแถบโค้งมีสีอ่อนตรงกลางเหนือไฮโปทาลามัส ที่มีสีอ่อนกว่าก็เพราะมีสัดส่วนของปลอกไมอิลินที่สูงกว่า แสดงถึงการส่งสัญญาณประสาทที่เร็วกว่า
-
Corpus callosum
-
Corpus callosum
-
Corpus callosum
-
Corpus callosum
-
ภาพผ่าแบ่งหน้าหลัง (coronal) ทำด้วย MRI ระดับ T2 มีสเกลสีเทาผกผัน ผ่าในแนวของนิวเคลียสมีหางโดยเน้น corpus callosum
-
Corpus callosum โดย MRI
-
Corpus callosum สร้างภาพโดย Diffusion MRI[17]
-
โพรงสมองและปมประสาทฐาน มองจากด้านบน ผ่าในแนวนอน
-
โพรงสมองและปมประสาทฐาน มองจากด้านบน ผ่าในแนวนอน
-
ผิวด้านใน (medial) ของซีกสมอง
-
ผิวด้านใน (medial) ของซีกสมอง
-
ผิวด้านใน (medial) ของซีกสมอง
-
ซีรีบรัม มองจากด้านล่าง
เชิงอรรถและอ้างอิง
แก้- ↑ ศ.พญ. ผาสุก มหรรฆานุเคราะห์ (2013). ประสาทกายวิภาคศาสตร์พื้นฐาน (ฺBasic neuroanatomy). เชียงใหม่: สยามพิมพ์นานา. p. 443. ISBN 978-616-335-105-0.
- ↑ 2.0 2.1 Caminiti, Roberto; Ghaziri, Hassan; Galuske, Ralf; Hof, Patrick R.; Innocenti, Giorgio M. (2009). "Evolution amplified processing with temporally dispersed slow neuronal connectivity in primates". Proceedings of the National Academy of Sciences. 106 (46): 19551–6. Bibcode:2009PNAS..10619551C. doi:10.1073/pnas.0907655106. JSTOR 25593230. PMC 2770441. PMID 19875694.
- ↑ Hofer, Sabine; Frahm, Jens (2006). "Topography of the human corpus callosum revisited—Comprehensive fiber tractography using diffusion tensor magnetic resonance imaging". NeuroImage. 32 (3): 989–94. doi:10.1016/j.neuroimage.2006.05.044. PMID 16854598.
- ↑ Keeler, Clyde E. (1933). "Absence of the Corpus callosum as a Mendelizing Character in the House Mouse". Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 19 (6): 609–11. Bibcode:1933PNAS...19..609K. doi:10.1073/pnas.19.6.609. JSTOR 86284. PMC 1086100. PMID 16587795.
- ↑ Sarnat, Harvey B., and Paolo Curatolo (2007) . Malformations of the Nervous System: Handbook of Clinical Neurology, p. 68[ลิงก์เสีย]
- ↑ Ashwell, Ken (2010) . The Neurobiology of Australian Marsupials: Brain Evolution in the Other Mammalian Radiation, p. 50
- ↑ Armati, Patricia J., Chris R. Dickman, and Ian D. Hume (2006) . Marsupials, p. 175
- ↑ Butler, Ann B., and William Hodos (2005) . Comparative Vertebrate Neuroanatomy: Evolution and Adaptation, p. 361
- ↑ Morris, H., & Schaeffer, J. P. (1953) . The Nervous system-The Brain or Encephalon. Human anatomy; a complete systematic treatise. (11th ed., pp. 920–921, 964–965) . New York: Blakiston.
- ↑ "NINDS Agenesis of the Corpus Callosum Information Page: NINDS". RightDiagnosis.com. สืบค้นเมื่อ Aug 30, 2011.
- ↑ โรคกลุ่มออทิซึมสเปกตรัม (autism spectrum) เป็นคำเรียกโรคต่าง ๆ ที่เป็นความผิดปกติทางการพัฒนาที่แผ่ไปทั่ว (pervasive developmental disorder) นิยามไว้ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM) ว่ารวมกลุ่มอาการต่าง ๆ คือ ออทิซึม กลุ่มอาการแอสเปอร์เจอร์ ความผิดปกติทางการพัฒนาที่แผ่ไปทั่วอื่น ๆ กลุ่มอาการเฮ็ลเลอร์ และกลุ่มอาการเร็ตต์
- ↑ "Autism May Involve A Lack Of Connections And Coordination In Separate Areas Of The Brain, Researchers Find". Medical News Today.
- ↑ 13.0 13.1 Bishop, Katherine M.; Wahlsten, Douglas (1997). "Sex Differences in the Human Corpus Callosum: Myth or Reality?". Neuroscience & Biobehavioral Reviews. 21 (5): 581–601. doi:10.1016/S0149-7634(96)00049-8. PMID 9353793.
- ↑ Delacoste-Utamsing, C; Holloway, R. (1982). "Sexual dimorphism in the human corpus callosum". Science. 216 (4553): 1431–2. Bibcode:1982Sci...216.1431D. doi:10.1126/science.7089533. PMID 7089533.
- ↑ C Gorman (20 January 1992). "Sizing up the sexes". Time: 36–43. As cited by Bishop and Wahlsten.
- ↑ Luders, Eileen; Narr, Katherine L.; Zaidel, Eran; Thompson, Paul M.; Toga, Arthur W. (2006). "Gender effects on callosal thickness in scaled and unscaled space". NeuroReport. 17 (11): 1103–6. doi:10.1097/01.wnr.0000227987.77304.cc. PMID 16837835.
- ↑ 17.0 17.1 Diffusion MRI (แปลว่า การสร้างภาพ MRI โดยการแพร่) เป็นการสร้างภาพโดย MRI ที่สามารถแสดงการแพร่ (diffusion) ของโมเลกุลต่าง ๆ โดยเฉพาะของน้ำ ผ่านเนื้อเยื่อในร่างกายของสิ่งมีชีวิต (in vivo) โดยไม่ต้องอาศัยการเจาะการผ่าตัด และเพราะว่า การแพร่ของโมเลกุลไม่ได้เกิดขึ้นอย่างไม่มีอุปสรรค คือต้องผ่านปฏิกิริยาร่วมกับตัวอุปสรรคหลายอย่าง เช่นแมโครโมเลกุล ใยเส้น และเยื่อหุ้มเซลล์เป็นต้น ดังนั้น ลักษณะการแพร่ของโมเลกุลน้ำจึงสามารถแสดงให้เห็นรายละเอียดระดับจุลทรรศน์ (microsopic) ของโครงสร้างเนื้อเยื่อหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นแบบปกติหรือมีโรค
- ↑ Dubb, Abraham; Gur, Ruben; Avants, Brian; Gee, James (2003). "Characterization of sexual dimorphism in the human corpus callosum". NeuroImage. 20 (1): 512–9. doi:10.1016/S1053-8119(03)00313-6. PMID 14527611.
- ↑ Westerhausen, René; Kreuder, Frank; Sequeira, Sarah Dos Santos; Walter, Christof; Woerner, Wolfgang; Wittling, Ralf Arne; Schweiger, Elisabeth; Wittling, Werner (2004). "Effects of handedness and gender on macro- and microstructure of the corpus callosum and its subregions: A combined high-resolution and diffusion-tensor MRI study". Cognitive Brain Research. 21 (3): 418–26. doi:10.1016/j.cogbrainres.2004.07.002. PMID 15511657.
- ↑ Shin, Yong-Wook; Jin Kim, Dae; Hyon Ha, Tae; และคณะ (2005). "Sex differences in the human corpus callosum: Diffusion tensor imaging study". NeuroReport. 16 (8): 795–8. doi:10.1097/00001756-200505310-00003. PMID 15891572.
- ↑ 21.0 21.1 Morphometrics เป็นการวิเคราะห์รูปร่างสัณฐานเชิงตัวเลข (เชิงปริมาณ) ซึ่งรวมทั้งขนาดรวมทั้งรูปร่าง เป็นวิธีการวิเคราะห์ที่มักจะใช้กับสิ่งมีชีวิต มีประโยชน์ในการวิเคราะห์ซากดึกดำบรรพ์ อิทธิพลของการกลายพันธุ์ต่อรูปร่างสัณฐาน การเปลี่ยนแปลงรูปร่างสัณฐานในช่วงพัฒนาการ และความแปรปรวนร่วมเกี่ยวระหว่างองค์ประกอบทางนิเวศวิทยาและรูปร่างสัณฐาน
- ↑ Kontos, Despina; Megalooikonomou, Vasileios; Gee, James C. (2009). "Morphometric analysis of brain images with reduced number of statistical tests: A study on the gender-related differentiation of the corpus callosum". Artificial Intelligence in Medicine. 47 (1): 75–86. doi:10.1016/j.artmed.2009.05.007. PMC 2732126. PMID 19559582.
- ↑ Spasojevic, Goran; Stojanovic, Zlatan; Suscevic, Dusan; Malobabic, Slobodan (2006). "Sexual dimorphism of the human corpus callosum: Digital morphometric study". Vojnosanitetski pregled. 63 (11): 933. doi:10.2298/VSP0611933S.
- ↑ 24.0 24.1 Yokota, Y.; Kawamura, Y.; Kameya, Y. (2005). 2005 IEEE Engineering in Medicine and Biology 27th Annual Conference. Callosal Shapes at the Midsagittal Plane: MRI Differences of Normal Males, Normal Females, and GID. p. 3055. doi:10.1109/IEMBS.2005.1617119. ISBN 0-7803-8741-4.
- ↑ Levitin, Daniel J. "This is Your Brain on Music", '
- ↑ 26.0 26.1 26.2 Witelson, S. (1985). "The brain connection: The corpus callosum is larger in left-handers". Science. 229 (4714): 665–8. Bibcode:1985Sci...229..665W. doi:10.1126/science.4023705. PMID 4023705.
- ↑ Driesen, Naomi R.; Raz, Naftali (1995). "The influence of sex, age, and handedness on corpus callosum morphology: A meta-analysis". Psychobiology. 23 (3): 240–7.
- ↑ Kozlovskiy, S.A.; Vartanov, A.V.; Pyasik, M.M.; Nikonova, E.Y. (2012). "Functional role of corpus callosum regions in human memory functioning". International Journal of Psychophysiology. 85 (3): 396–7. doi:10.1016/j.ijpsycho.2012.07.092.
- ↑ Hynd, G. W.; Hall, J.; Novey, E. S.; และคณะ (1995). "Dyslexia and Corpus Callosum Morphology". Archives of Neurology. 52 (1): 32–8. doi:10.1001/archneur.1995.00540250036010. PMID 7826273.
- ↑ Von Plessen, K; Lundervold, A; Duta, N; Heiervang, E; Klauschen, F; Smievoll, AI; Ersland, L; Hugdahl, K (2002). "Less developed corpus callosum in dyslexic subjects—a structural MRI study". Neuropsychologia. 40 (7): 1035–44. doi:10.1016/S0028-3932(01)00143-9. PMID 11900755.
- ↑ Steele, C. J., Bailey, J. A., Zatorre, R. J., & Penhune, V. B. (2013), Early musical training and white matter plasticity in the corpus callosum: Evidence for a sensitive period. Journal of Neuroscience, 33 (3), 1282-1290.
- ↑ Clarke, Dave F.; Wheless, James W.; Chacon, Monica M.; Breier, Joshua; Koenig, Mary-Kay; McManis, Mark; Castillo, Edward; Baumgartner, James E. (2007). "Corpus callosotomy: A palliative therapeutic technique may help identify resectable epileptogenic foci". Seizure. 16 (6): 545–53. doi:10.1016/j.seizure.2007.04.004. PMID 17521926.
- ↑ "WebMd Corpus Callotomy". Web MD. July 18, 2010. สืบค้นเมื่อ July 18, 2010.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ภาพสมองตัดแต่งสีซึ่งรวมส่วน "corpus callosum" at the BrainMaps project
- Comparative Neuroscience ที่ Wikiversity
- NIF Search – Corpus callosum เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดยทาง Neuroscience Information Framework
- National Organization for Disorders of the Corpus Callosum