ปลาปอดออสเตรเลีย
ปลาปอดออสเตรเลีย หรือ ปลาปอดควีนส์แลนด์ (อังกฤษ: Australian lungfish, Queensland lungfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Neoceratodus forsteri) เป็นปลากระดูกแข็งในชั้นปลาปอด (Dipnoi) ที่อยู่ในวงศ์ Ceratodontidae และในอันดับ Ceratodontiformes เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่ยังคงสืบสายพันธุ์มาจนถึงยุคปัจจุบันนี้[7]
ปลาปอดออสเตรเลีย ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 28.40–0Ma Rupelian – ปัจจุบัน[1] | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
อันดับ: | Dipnoi Dipnoi |
อันดับย่อย: | Ceratodontoidei Ceratodontoidei |
วงศ์: | Neoceratodontidae Neoceratodontidae |
สกุล: | ปลาปอดออสเตรเลีย Neoceratodus (J. L. G. Krefft, 1870) |
สปีชีส์: | Neoceratodus forsteri |
ชื่อทวินาม | |
Neoceratodus forsteri (J. L. G. Krefft, 1870) | |
ชื่อพ้อง[4][5][6] | |
|
ซึ่งปลาปอดที่อยู่ในวงศ์นี้และอันดับนี้ มีความแตกต่างไปจากปลาปอดชนิดที่พบในทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้ที่อยู่ในอันดับ Lepidosireniformes พอสมควร เนื่องจากมีลักษณะใกล้เคียงกับปลาปอดในยุคก่อนประวัติศาสตร์ราว 100 ล้านปีก่อน มากกว่า ซึ่งในอดีตมีปลาปอดที่อยู่ในวงศ์นี้มากถึง 7 ชนิด แต่ปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ซึ่งปลาปอดออสเตรเลียมีความแตกต่างจากปลาปอดในอันดับ Lepidosireniformes กล่าวคือ มีครีบอกและครีบบริเวณท้อง มีรูปทรงคล้ายใบพาย มีถุงลมที่ใช้ช่วยในว่ายน้ำและพยุงตัว 1 ถุง ซึ่งถุงลมนี้มีความสามารถที่จะแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กับออกซิเจนได้ แต่ไม่มีความสามารถที่จะสร้างเมือกมาปกคลุมลำตัวเพื่อช่วยในการจำศีลในฤดูแล้งได้ และอวัยวะที่ช่วยในการหายใจที่ทำหน้าที่คล้ายกับปอดของสัตว์บกก็มีเพียงชิ้นเดียว [8]
อีกทั้งยังมีรูปร่างที่แตกต่างออกไป กล่าวคือ มีดวงตาที่กลมโตเห็นได้ชัดเจน เกล็ดมีขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจน เป็นแบบ Cosmoid คือ เกล็ดลื่น ลักษณะเรียบ และมีขนาดใหญ่ ซึ่งไม่ปรากฏแล้วในปลาชนิดอื่นในปัจจุบัน
ปลาปอดออสเตรเลีย ไม่สามารถที่อาศัยอยู่ใต้น้ำได้เป็นระยะเวลานานเท่าปลาปอดจำพวกอื่น โดยจะขึ้นมาฮุบอากาศหายใจเป็นระยะ ๆ ในช่วงฤดูแล้งที่แหล่งน้ำที่อาศัยแห้งขอด ปลาปอดออสเตรเลียจะอยู่นิ่ง ๆ ขึ้นมาฮุบอากาศหายใจเพียงครั้งละ 1-2 ครั้งต่อชั่วโมงเท่านั้น
พบกระจายพันธุ์อยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นพื้นที่ ๆ มีคุณภาพน้ำในเกณฑ์ดี มีปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำสูง สภาพกระแสน้ำไหลเอื่อย ๆ พบในรัฐควีนส์แลนด์และนิวเซาท์เวลส์ในประเทศออสเตรเลียเพียงที่เดียวในโลกเท่านั้น กินอาหารจำพวกกบ, ลูกอ๊อด, ปลา, กุ้ง, ไส้เดือน, หอย, พืชน้ำ รวมถึงผลไม้ที่ตกลงมาจากต้นด้วย อีกทั้งยังสามารถสร้างกระแสไฟฟ้าแบบอ่อน ๆ เพื่อค้นหาอาหารที่ซุกซ่อนอยู่ตามซอกหินได้อีกด้วย ขนาดลำตัวเมื่อโตเต็มที่ยาวได้มากกว่า 1.2 เมตร น้ำหนักกว่า 20 กิโลกรัม และเชื่อว่ามีอายุได้มากกว่า 70 ปี[9]
สถานะปัจจุบันของปลาปอดออสเตรเลีย นับว่าใกล้สูญพันธุ์จากแหล่งธรรมชาติมากแล้ว ได้รับการอนุรักษ์ตามกฎหมายของออสเตรเลีย อีกทั้งยังบมีชื่อติดอยู่ในบัญชีรายชื่อหมายเลข 2 (Appendix II) ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ (ไซเตส) ที่จะมีการค้าขายหรือครอบครองต้องได้รับการอนุญาตจากทางการเสียก่อน โดยได้รับการขึ้นทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1975[10]
แต่ปัจจุบัน ได้มีการเพาะขยายพันธุ์ปลาปอดออสเตรเลียในบ่อเพาะเลี้ยงได้แล้ว ทำให้ปลาปอดออสเตรเลียกลายเป็นปลาสวยงามอีกชนิดหนึ่งของผู้ที่ชื่นชอบการเลี้ยงปลาตู้ แต่ทว่ามีราคาซื้อขายที่แพงมาก อีกทั้งลูกปลาเมื่อเกิดขึ้นมาใหม่ได้ระยะหนึ่ง จะทำการฝังชิพเพื่อระบุถึงตัวปลาด้วย และเมื่อมีการซื้อขายกันก็ต้องมีหนังสืออนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งปลาปอดออสเตรเลียมีนิสัยไม่ดุร้ายก้าวร้าวเหมือนเช่นปลาปอดที่พบในทวีปแอฟริกา ซึ่งผู้เลี้ยงสามารถให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ โดยลูกปลาปอดออสเตรเลียที่เกิดใหม่จะไม่มีพู่เหงือกพิเศษเหมือนปลาปอดจำพวกอื่น และมีอัตราการเจริญเติบโตที่เร็วมากในขวบปีแรก จากนั้นจะค่อย ๆ โตช้าลง[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Neoceratodus forsteri Krefft 1870". PBDB.
- ↑ Brooks, S., Espinoza, T., Kennard, M., Arthington, A. & Roberts, D. (2019). "Neoceratodus forsteri". IUCN Red List of Threatened Species. 2019: e.T122899816A123382021. doi:10.2305/IUCN.UK.2019-3.RLTS.T122899816A123382021.en. สืบค้นเมื่อ 25 March 2022.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
- ↑ "Part 7- Vertebrates". Collection of genus-group names in a systematic arrangement. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2016. สืบค้นเมื่อ 30 June 2016.
{{cite journal}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ Haaramo, Mikko (2007). "Ceratodiformes – recent lungfishes". Mikko's Phylogeny Archive. สืบค้นเมื่อ 3 July 2016.
- ↑ Froese, R.; Pauly, D. (2017). "Neoceratodontidae". FishBase version (02/2017). สืบค้นเมื่อ 18 May 2017.
- ↑ Lake, John S.. Australian Freshwater Fishes. Nelson Field Guides. Melbourne: Thomas Nelson Australia Pty. Ltd., 1978. pp. 12
- ↑ Neoceratodus forsteri - Australian Lungfish
- ↑ Australian Lungfish (Neoceratodus forsteri)
- ↑ [1] อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์
- ↑ "Australian Lungfish". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-06-23. สืบค้นเมื่อ 2010-12-30.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
- Allen, Gerald R. (1989). Freshwater Fishes of Australia. T.F.H. Publications.
- "Neoceratodus forsteri". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 19 March 2006.
- Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2005). "Neoceratodus forsteri" in FishBase. 10 2005 version.