การป้องกันโรคมะเร็ง

(เปลี่ยนทางจาก Cancer prevention)

การป้องกันโรคมะเร็ง เป็นข้อปฏิบัติเพื่อลดความชุกโรคมะเร็งและอัตราการตาย[2][3] ซึ่งขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนพฤติกรรมและการไปตรวจคัดกรองโรคของบุคคล ตลอดจนนโยบายป้องกันโรคมะเร็งของรัฐ[4] การป้องกันมะเร็งทั่วโลกถือว่าสำคัญยิ่งเพราะมีผลต่อประชากรเป็นจำนวนมาก ช่วยโปรโหมตพฤติกรรมเพื่อสุขภาพซึ่งลดผลระยะยาวของมะเร็ง มีค่าใช้จ่ายที่คุ้มค่าและทำได้ในคนทุกชนชั้น[3] กรณีคนไข้มะเร็งโดยมากเนื่องกับปัจจัยเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนพฤติกรรมจะคุมปัจจัยเช่นนี้ได้หลายอย่าง[5] กรณีการตายเกินกว่า 75% สามารถป้องกันได้โดยเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ รวมทั้งยาสูบ น้ำหนักเกิน/โรคอ้วน ขาดสารอาหาร ไม่ออกกำลังกาย การดื่มแอลกอฮอล์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และมลภาวะอากาศ[6][7] แต่ก็ไม่สามารถคุมปัจจัยสิ่งแวดล้อมทุกอย่างได้ เช่น รังสีภูมิหลัง และก็ยังมีเหตุของมะเร็งอื่น ๆ เช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่สืบทอดได้ เทคนิกการตัดต่อยีนที่กำลังพัฒนาในปัจจุบันอาจช่วยป้องกันปัญหานี้ได้ในอนาคต[8] การตรวจคัดโรคปัจจุบันอาจปรับปรุงได้โดยลดการทำให้เจ็บ (invasiveness) และเพิ่มความจำเพาะ (specificity) โดยพิจารณาลักษณะทางชีวภาพของบุคคลเป็นราย ๆ (population-based personalized cancer screening)[3]

อัตราการตายที่ปรับอายุแล้ว (age-adjusted) ของผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อประชากร 100,000 คนในปี 2004[1]

วิธีการ แก้

 
โฆษณาให้ทานอาหารที่ถูกสุขภาพเพื่อป้องกันมะเร็ง

ทุกคนสามารถเกิดมะเร็งได้[9] อายุเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด คือ มะเร็งอัตราร้อยละ 75 เกิดในผู้มีอายุ 55 ปีและยิ่งกว่านั้น

อาหาร แก้

มีการเสนอแนะนำอาหารหลายอย่างเพื่อลดความเสี่ยงมะเร็ง แต่หลักฐานสนับสนุนก็ไม่ชัดเจน[10][11] ปัจจัยหลักเกี่ยวกับอาหารที่เพิ่มความเสี่ยงรวมทั้งโรคอ้วนและการดื่มแอลกอฮอล์ แม้อาหารที่มีผักผลไม้น้อยและมีเนื้อแดงมากจะโทษว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงแต่ก็ยังไม่ได้ยืนยัน[12][13] งานวิเคราะห์อภิมานปี 2014 ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างผักผลไม้กับโรคมะเร็ง[14] การทานกาแฟสัมพันธ์กับความเสี่ยงมะเร็งตับที่ลดลง[15] งานศึกษาหลายงานเชื่อมการทานเนื้อบางอย่างเป็นจำนวนมาก คือเนื้อแดงหรือเนื้อแปรรูป กับความเสี่ยงมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งตับอ่อนที่สูงขึ้น เพราะเนื้อที่หุงด้วยอุณหภูมิสูงมีสารก่อมะเร็ง[16][17] ข้อแนะนำอาหารเพื่อป้องกันมะเร็งปกติจะเน้นการให้ทานผักผลไม้ ข้าวกล้อง และปลา โดยหลีกเลี่ยงเนื้อสีแดง (รวมเนื้อวัว หมู และแกะ) และเนื้อแปรรูป ไขมันสัตว์ และคาร์โบไฮเดรตขัดสี (เช่น น้ำตาลทราย)[10][11]

การออกกำลังกาย แก้

งานวิจัยแสดงว่า การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งหลายอย่างถึง 30%[18][19] รวมทั้งมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งเยื่อบุมดลูก[20][21] แม้กลไกทางชีวภาพของความสัมพันธ์เช่นนี้จะยังไม่ชัดเจน[21] แต่งานวิจัยก็ได้แสดงว่า การออกกำลังกายอาจลดความเสี่ยงโดยคุมน้ำหนัก ลดระดับฮอร์โมน เช่น เอสโตรเจนและอินซูลิน ลดการอักเสบ และทำระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง[21][22]

ยา แก้

แนวคิดว่ายาสามารถใช้ป้องกันมะเร็งได้น่าสนใจ และมีหลักฐานในบางกรณี ในกลุ่มประชากรทั่วไป ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAID) ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่แต่มีผลข้างเคียงต่อหลอดเลือดและหัวใจตลอดจนทางเดินอาหาร จึงมีผลลบมากกว่าผลบวก[23] แอสไพรินลดความเสี่ยงตายจากมะเร็งประมาณ 7%[24] ยากลุ่ม COX-2 inhibitor อาจลดอัตราการเกิดติ่งเนื้อเมือกในผู้มีโรค familial adenomatous polyposis[A] แต่ก็มีผลที่ไม่ต้องการเช่นเดียวกันกับ NSAID[25]

การใช้ยา tamoxifen หรือ raloxifene ทุกวันพบว่า ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านมในหญิงผู้เสี่ยงสูง[26] ส่วนยาต้านฮอร์โมนแอนโดรเจนคือ 5-alpha-reductase inhibitor เช่น finasteride มีผลลบเทียบกับผลบวกที่ไม่ชัดเจน[27]

วิตามินไม่มีประสิทธิภาพป้องกันมะเร็ง[28] แต่วิตามินดีในเลือดต่ำก็มีสหสัมพันธ์กับความเสี่ยงมะเร็งที่สูงขึ้น[29][30] แต่จะเป็นความสัมพันธ์แบบเหตุหรือไม่ หรือว่ามีฤทธิ์ป้องกันจริง ๆ หรือไม่ ก็ยังไม่ได้ระบุ[31]

อาหารเสริมคือ บีตา-แคโรทีน พบว่าเพิ่มอัตรามะเร็งปอดในผู้เสี่ยงสูง[32] กรดโฟลิกไม่ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และอาจเพิ่มติ่งเนื้อเมือกในลำไส้ใหญ่[33] งานปริทัศน์เป็นระบบปี 2018 สรุปว่า หลักฐานคุณสภาพสูงแสดงว่า ซีลีเนียมไม่มีผลลดความเสี่ยงมะเร็ง[34]

วัคซีน แก้

วัคซีนต้านมะเร็งสามารถใช้ป้องกันหรือรักษาโรค[3] วัคซีนเหล่านี้ทั้งหมดกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยช่วยให้ลิมโฟไซต์ คือ cytotoxic T lymphocyte (CTL) รู้จักและต่อต้านแอนติเจนของเนื้องอก (ทั้ง tumor-associated antigen และ tumor-specific antigen)

ยังมีวัคซีนอื่น ๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสที่ก่อมะเร็ง[35] วัคซีนฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัส เช่น Gardasil และ Cervarix ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูก[35] วัคซีนตับอักเสบ บีป้องกันไม่ให้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ จึงลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งตับ[35] การฉีดวัคซีนเหล่านี้แนะนำในประเทศทั้งหมดถ้ามีงบประมาณพอ[36]

วัคซีนมะเร็งบางอย่างทำงานอาศัยสารภูมิต้านทาน คือ immunoglobulin และเจาะจงแอนติเจนของมะเร็งหรือเซลล์ที่ผิดปกติโดยเฉพาะ[3][37] ซึ่งแพทย์อาจให้เมื่อรักษาโรคที่เป็นแล้วเพื่อช่วยให้ภูมิคุ้มกันรู้จักและเข้าทำลายเนื้องอกที่มีแอนติเจนของมะเร็งในฐานะเป็นสิ่งแปลกปลอม สารภูมิต้านทานที่ใช้เป็นวัคซีนเช่นนี้อาจมาจากคนไข้เอง (autologous vaccine) หรืออาจมาจากคนไข้อื่น ๆ (allogeneic vaccine)[35] มีวัคซีนจากคนไข้เองหลายอย่าง เช่น Oncophage สำหรับมะเร็งไต และ Vitespen สำหรับมะเร็งหลายอย่าง ที่ได้วางตลาดขายแล้วหรือว่ากำลังทดสอบทางคลินิกอยู่ วัคซีนที่องค์การอาหารและยาสหรัฐได้อนุมัติแล้ว เช่น Sipuleucel-T สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากที่แพร่กระจายแล้ว หรือ Nivolumab สำหรับเมลาโนมาและมะเร็งปอด อาจออกฤทธิ์ต่อต้านโปรตีนที่แสดงออกเกินหรือที่กลายพันธุ์ไป หรือออกฤทธิ์ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานไวขึ้น (inhibiting immune checkpoints)[3][38]

การตรวจคัดโรค แก้

วิธีการตรวจคัดโรคมะเร็งที่แพร่หลาย เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก ได้ก้าวหน้าขึ้นอย่างมากในระยะ 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมาเพราะสามารถระบุและตรวจจับตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (biomarker) ได้ดีขึ้น[3]

มะเร็งปากมดลูก แก้

มะเร็งปากมดลูกปกติจะตรวจคัดด้วยการตรวจเซลล์ปากมดลูก (คือ Pap smear) การส่องตรวจช่องคลอด การตรวจระบบสืบพันธุ์โดยตรง หรือการตรวจหาดีเอ็นเอของฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัสซึ่งจัดเป็นไวรัสก่อมะเร็ง[39] แนะนำให้เริ่มตรวจคัดโรคเมื่อมีอายุระหว่าง 20-30 ปี โดยให้ตรวจด้วย Pap smear ทุก ๆ 3 ปีสำหรับหญิงอายุระหว่าง 21-29 ปี และทุก ๆ 5 ปีเมื่ออายุมากกว่านั้น[3] ส่วนหญิงอายุเกิน 65 ปีที่ไม่มีประวัติมะเร็งปากมดลูกหรือความผิดปกติที่ปากมดลูก โดยได้ผลลบเมื่อตรวจด้วย Pap smear มาก่อน ก็สามารถหยุดตรวจคัดโรคได้[40]

อย่างไรก็ดี แม้การแนะนำให้ตรวจคัดโรคจะขึ้นกับอายุ แต่ก็อาจสัมพันธ์กับ "ระดับการศึกษา วัฒนธรรม ปัญหาทางจิต-สังคม และสถานะการแต่งงาน" ซึ่งแสดงความสำคัญของการศึกษาปัจจัยเหล่านี้เพิ่มขึ้นในการตรวจคัดโรค[3]

มะเร็งลำไส้ใหญ่ แก้

การตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ (FOBT) ใช้ตรวจคัดมะเร็งลำไส้ใหญ่บ่อยที่สุด รูปแบบการตรวจเลือดในอุจจาระแฝงอื่น ๆ รวมทั้ง guaiac-based FOBT (gFOBT), fecal immunochemical test (FIT) และการตรวจดีเอ็นเอในอุจจาระ (sDNA)[41] ถ้าพบเลือดในอุจจาระ อาจตรวจเพิ่มขึ้นด้วยการส่องตรวจไส้ใหญ่ส่วนคด (FS) การส่องตรวจไส้ใหญ่ทั้งหมด (TC) และการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ (CT) การตรวจคัดโรคแนะนำให้เริ่มทำตั้งแต่อายุ 50 ปี แต่ก็ยังขึ้นกับประวัติคนไข้และปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ โปรแกรมการตรวจคัดโรคที่มีประสิทธิผลพบว่า ลดความชุกโรคได้ 33% และอัตราการตายเพราะโรคได้ 43%[3]

มะเร็งเต้านม แก้

ในปี 2018 สหรัฐจะมีคนไข้มะเร็งเต้านมใหม่ประมาณ 1.7 ล้านคน (จากประชากร 324 ล้านคนโดยมีหญิงผู้ใหญ่ 128 ล้านคน) และมีคนตายเพราะโรค 600,000 คน[42] ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งขนาดเต้านม การออกกำลังกายไม่เพียงพอ โรคอ้วน น้ำหนักเกิน ความเป็นหมันหรือไม่เคยมีลูก การรักษาทดแทนฮอร์โมน (HRT) และพันธุกรรม[3] การถ่ายภาพเอ็กซเรย์แบบ mammograms ใช้อย่างกว้างขวางเพื่อตรวจคัดโรค และองค์กร USPSTF ก็แนะนำสำหรับหญิงอายุ 50-74 ปี แต่แนะนำไม่ให้ทำสำหรับหญิงอายุ 40-49 ปีเพราะอาจวินิจฉัยว่าเป็นโรคเกิน[3][43]

เหตุมะเร็งที่ป้องกันได้ แก้

รายงานปี 2017 ระบุว่า การเปลี่ยนพฤติกรรม การไปตรวจคัดโรค และการฉีดวัคซีนเป็นวิธีการป้องกันโรคมะเร็งหลัก ๆ ที่เนื่องกับปัจจัยต่าง ๆ รวมทั้งยาสูบ อาหาร การออกกำลังกาย โรคอ้วน/น้ำหนักเกิน การติดเชื้อ และสารก่อมะเร็ง[44] ปัจจัยเสี่ยงเช่นนี้กระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งที่สามัญหลายอย่าง

ยกตัวอย่างเช่น การใช้ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การมีประวัติหูดอวัยวะเพศ (genital wart) หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีภูมิคุ้มกันทำงานอ่อนแอ มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน อายุยังน้อยเมื่อมีเพศสัมพันธ์เป็นครั้งแรกหรือเมื่อตั้งครรภ์ ล้วนแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก ส่วนโรคอ้วน การทานเนื้อแดงหรือเนื้อแปรรูป การใช้ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การมีประวัติโรคลำไส้อักเสบ (inflammatory bowel diseases) ล้วนแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่ (CRC) ในทางตรงกันข้าม การออกกำลังกายและการทานผักผลไม้อาจลดความเสี่ยงต่อโรค[3]

งานวิจัยเด่นปี 1981 เน้นเหตุที่ป้องกันได้หลายอย่าง[45] และประเมินว่า การเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง 11 อย่างสามารถป้องกันมะเร็ง 75-80% ได้ในสหรัฐ งานทบทวนวรรณกรรมปี 2013 เรื่องการป้องกันมะเร็ง[46] ซึ่งสรุปความงานศึกษาระหว่างปี 2000-2010 ก็แสดงปัจจัยเดียวกันโดยมากกับงานปี 1981 ด้วย แต่พิจารณาปัจจัยเสี่ยงเป็นจำนวนน้อยกว่า (เช่น ไม่พิจารณาอาหาร) แล้วบ่งว่า การเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง (ที่มีจำนวนน้อยกว่า) เช่นนี้จะป้องกันการตายเพราะมะเร็งได้ถึง 60%

ตารางต่อไปนี้ระบุสัดส่วนของการตายเพราะมะเร็งที่โทษปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ซึ่งสรุปมาจากข้อมูลของงานทั้งสอง และจากงานวิจัยอื่น ๆ ซึ่งแสดงอิทธิพลของพฤติกรรมเพื่อป้องกันมะเร็ง เช่น การใช้ยาสูบ อาหารที่ไม่ถูกสุขภาพ โรคอ้วนและการติดเชื้อ[47]

อัตราการตายเพราะมะเร็งในสหรัฐเนื่องกับปัจจัยต่าง ๆ
ปัจจัย งานปี 1981[48] งานปี 2013[49] งานอื่น ๆ
การสูบบุหรี่ 30% 30% ชาย 38% หญิง 23%[50] 30%[51] 25-30%[52]
อาหารไม่ดี 35% - 32%[53] 10%[54] 30-35%[52]
โรคอ้วน * 10% หญิง 14% ชาย 20% สำหรับผู้ไม่สูบบุหรี่[55] 10-20%[52] 19-20% สหรัฐ, 16-18% บริเตนใหญ่, 13% บราซิล, 11-12% จีน[56]
การติดเชื้อ 10% 5-8% 7-10%[57] ประเทศพัฒนาแล้ว 8% ประเทศกำลังพัฒนา 26%[51] ประเทศรายได้สูง 10% แอฟริกา 25%[52]
การดื่มแอลกอฮอล์ 3% 3-4% 3.6%[51] สหรัฐ 8% ฝรั่งเศส 20%[58]
ปัจจัยทางอาชีพ 4% 3-5% 2-10% โดยชายอาจถึง 15-20%[59]
การถูกรังสีพระอาทิตย์
หรือรังสีที่แยกอิเล็กตรอนได้
3% 3-4% อาจมากถึง 10%[52]
การไม่ออกกำลังกาย * <5% 7%[60]
พฤติกรรมทางเพศ 1-13% - -
มลภาวะ 2% - -
ยาและหัตถการทางแพทย์ 1% - -
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม <1% - -
สารเติมแต่งอาหาร <1% - -

*รวมในเรื่องอาหาร
†การติดเชื้อที่ก่อมะเร็ง - ปากมดลูก (HPV), ตับ (ไวรัสตับอักเสบบี [HBV], ไวรัสตับอักเสบซี [HCV]), กระเพาะอาหาร (Helicobacter pylori), เนื้อเยื่อน้ำเหลือง/lymphoid tissues (ไวรัสเอ็ปสไตน์-บาร์ [EBV]), คอหอยส่วนจมูก (EBV), กระเพาะปัสสาวะ (Schistosoma hematobium) และท่อน้ำดี (Opisthorchis viverrini, Clonorchis sinensis)

ประวัติ แก้

มะเร็งเชื่อว่าเป็นโรคที่ป้องกันได้ตั้งแต่สมัยโรมัน แพทย์ชาวกรีกคือเกเลนได้สังเกตว่า อาหารที่ไม่ถูกสุขภาพสัมพันธ์กับการเกิดโรค ในปี 1713 แพทย์ชาวอิตาลี (Ramazzini) ได้สันนิษฐานว่า แม่ชีเกิดมะเร็งปากมดลูกน้อยกว่าเพราะงดเว้นเพศสัมพันธ์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 จึงพบว่า สารบางอย่าง เช่น ยาสูบ เขม่า และน้ำมันดิน (ทำให้ผู้ทำความสะอาดปล่องไฟเป็นมะเร็งลูกอัณฑะ ตามรายงานของแพทย์ชาวอังกฤษปี 1775) อาจเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ แม้แพทย์จะได้เสนอวิธีป้องกันเมื่อทำความสะอาดปล่องไฟ (คือให้ใส่เสื้อผ้าเพื่อป้องกันการถูกต้องกับเขม่า) แต่ก็ได้นำไปใช้เพียงในประเทศฮอลแลนด์ซึ่งได้ลดการเกิดมะเร็งลูกอัณฑะสำหรับผู้ทำความสะอาดปล่องไฟ

เมื่อถึงศตวรรษที่ 19 จึงได้เริ่มจัดหมวดหมู่สารเคมีก่อมะเร็ง[61] แล้วในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 จึงเริ่มระบุปัจจัยก่อมะเร็งทั้งแบบทางกายภาพและทางชีวภาพ เช่น รังสีเอกซ์ และ Rous Sarcoma Virus (ค้นพบในปี 1911) แม้จะได้สังเกตความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและเคมีกับการเกิดมะเร็ง แต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยเพื่อป้องกันโรค และการเปลี่ยนพฤติกรรม/วิถีชีวิตเพื่อป้องกันโรคก็ยังทำไม่ได้ในช่วงเวลานี้[61]

เชิงอรรถ แก้

  1. familial adenomatous polyposis (FAP) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดมี adenomatous polyp (ติ่งเนื้อเมือกแบบต่อม) จำนวนมากโดยหลักในลำไส้ใหญ่ แม้ติ่งเนื้อเมือกเบื้องต้นจะไม่ร้าย แต่ก็อาจกลายเป็นมะเร็งเมื่อไม่รักษา

อ้างอิง แก้

  1. "WHO Disease and injury country estimates". World Health Organization. 2009. สืบค้นเมื่อ 11 November 2009.
  2. "Cancer prevention: 7 steps to reduce your risk". Mayo Clinic. 27 September 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2018. สืบค้นเมื่อ 2010-01-30.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 Valle, I; Tramalloni, D; Bragazzi, NL (June 2015). "Cancer prevention: state of the art and future prospects". Journal of Preventive Medicine and Hygiene. 56 (1): E21-7. PMC 4718348. PMID 26789828.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  4. "Cancer Prevention & Early Detection Facts & Figures 2017-18" (PDF). Cancer.org. 1 April 2017.
  5. Danaei, G; S, Vander Hoorn; Lopez, AD; Murray, CJ; Ezzati, M (2005). "Causes of cancer in the world: comparative risk assessment of nine behavioural and environmental risk factors". Lancet. 366 (9499): 1784–93. doi:10.1016/S0140-6736(05)67725-2. PMID 16298215.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  6. Doll, R; Peto, R (1981). "The causes of cancer: quantitative estimates of avoidable risks of cancer in the United States today". J. Natl. Cancer Inst. 66 (6): 1191–308. doi:10.1093/jnci/66.6.1192. PMID 7017215.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  7. Anand, P; Kunnumakkara, AB; Kunnumakara, AB; Sundaram, C; Harikumar, KB; Tharakan, ST; Lai, OS; Sung, B; Aggarwal, BB (2008). "Cancer is a preventable disease that requires major lifestyle changes". Pharm. Res. 25 (9): 2097–116. doi:10.1007/s11095-008-9661-9. PMC 2515569. PMID 18626751.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  8. "CRISPR Gene-Editing Tool May Help Improve Cancer Immunotherapy". National Cancer Institute. สืบค้นเมื่อ 9 March 2018.
  9. "Cancer Prevention". Rogel Cancer Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2018. สืบค้นเมื่อ 29 October 2018.
  10. 10.0 10.1 Kushi, LH; Doyle, C; McCullough, M; และคณะ (2012). "American Cancer Society Guidelines on nutrition and physical activity for cancer prevention: reducing the risk of cancer with healthy food choices and physical activity". CA Cancer J Clin. 62 (1): 30–67. doi:10.3322/caac.20140. PMID 22237782.
  11. 11.0 11.1 Wicki, A; Hagmann, J (Sep 2011). "Diet and cancer". Swiss Medical Weekly. 141: w13250. doi:10.4414/smw.2011.13250. PMID 21904992.
  12. Cappellani, A; Di Vita, M; Zanghi, A; Cavallaro, A; Piccolo, G; Veroux, M; Berretta, M; Malaguarnera, M; Canzonieri, V; E, Lo Menzo (2012). "Diet, obesity and breast cancer: an update". Front Biosci. 4: 90–108. doi:10.2741/253. PMID 22202045.
  13. Key, TJ (Jan 2011). "Fruit and vegetables and cancer risk". Br. J. Cancer. 104 (1): 6–11. doi:10.1038/sj.bjc.6606032. PMC 3039795. PMID 21119663.
  14. Wang, X; Ouyang, Y;; Liu, J; Zhu, M; Zhao, G; Bao, W; Hu, FB (July 2014). "Fruit and vegetable consumption and mortality from all causes, cardiovascular disease, and cancer: systematic review and dose-response meta-analysis of prospective cohort studies". BMJ. 349: g4490. doi:10.1136/bmj.g4490. PMC 4115152. PMID 25073782.{{cite journal}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  15. Larsson, SC; Wolk, A (May 2007). "Coffee consumption and risk of liver cancer: a meta-analysis". Gastroenterology. 132 (5): 1740–5. doi:10.1053/j.gastro.2007.03.044. PMID 17484871.
  16. Zheng, W; Lee, SA (2009). "Well-done meat intake, heterocyclic amine exposure, and cancer risk". Nutr Cancer. 61 (4): 437–46. doi:10.1080/01635580802710741. PMC 2769029. PMID 19838915.
  17. Ferguson, LR (Feb 2010). "Meat and cancer". Meat Sci. 84 (2): 308–13. doi:10.1016/j.meatsci.2009.06.032. PMID 20374790.
  18. Moore, SC; Lee, IM; Weiderpass, E; Campbell, PT; Sampson, JN; Kitahara, CM; Keadle, SK; Arem, H; de Gonzalez A, Berrington; Hartge, P; Adami, HO; Blair, CK; Borch, KB; Boyd, E; Check, DP; Fournier, A; Freedman, ND; Gunter, M; Johannson, M; Khaw, KT; Linet, MS; Orsini, N; Park, Y; Riboli, E; Robien, K; Schairer, C; Sesso, H; Spriggs, M; Van Dusen, R; Wolk, A; Matthews, CE; Patel, AV และคณะ (June 2016). "Association of Leisure-Time Physical Activity With Risk of 26 Types of Cancer in 1.44 Million Adults". JAMA Internal Medicine. 176 (6): 816–25. doi:10.1001/jamainternmed.2016.1548. PMC 5812009. PMID 27183032.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  19. Kruk, J; Czerniak, U (2013). "Physical activity and its relation to cancer risk: updating the evidence". Asian Pacific Journal of Cancer Prevention. 14 (7): 3993–4003. PMID 23991944.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  20. "Exercise Linked With Lower Risk of 13 Types of Cancer". www.cancer.org. สืบค้นเมื่อ 3 March 2018.
  21. 21.0 21.1 21.2 "Physical Activity and Cancer". National Cancer Institute. สืบค้นเมื่อ 3 March 2018.
  22. Winzer, BM; Whiteman, DC; Reeves, MM; Paratz, JD (June 2011). "Physical activity and cancer prevention: a systematic review of clinical trials". Cancer Causes & Control. 22 (6): 811–26. doi:10.1007/s10552-011-9761-4. PMID 21461921.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  23. Rostom, A; Dubé, C; Lewin, G; Tsertsvadze, A; Barrowman, N; Code, C; Sampson, M; Moher, D (March 2007). "Nonsteroidal anti-inflammatory drugs and cyclooxygenase-2 inhibitors for primary prevention of colorectal cancer: a systematic review prepared for the U.S. Preventive Services Task Force". Annals of Internal Medicine. 146 (5): 376–89. doi:10.7326/0003-4819-146-5-200703060-00010. PMID 17339623.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  24. Rothwell, PM; Fowkes, FG; Belch, JF; Ogawa, H; Warlow, CP; Meade, TW (January 2011). "Effect of daily aspirin on long-term risk of death due to cancer: analysis of individual patient data from randomised trials". Lancet. 377 (9759): 31–41. doi:10.1016/S0140-6736(10)62110-1. PMID 21144578.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  25. Cooper, K; Squires, H; Carroll, C; Papaioannou, D; Booth, A; Logan, RF; Maguire, C; Hind, D; Tappenden, P (June 2010). "Chemoprevention of colorectal cancer: systematic review and economic evaluation". Health Technol Assess. 14 (32): 1–206. doi:10.3310/hta14320. PMID 20594533.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  26. Thomsen, A; Kolesar, JM (December 2008). "Chemoprevention of breast cancer". Am J Health Syst Pharm. 65 (23): 2221–8. doi:10.2146/ajhp070663. PMID 19020189.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  27. Wilt, TJ; MacDonald, R; Hagerty, K; Schellhammer, P; Kramer, BS (2008). Wilt, Timothy J (บ.ก.). "Five-alpha-reductase Inhibitors for prostate cancer prevention". Cochrane Database Syst Rev (2): CD007091. doi:10.1002/14651858.CD007091. PMID 18425978.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  28. "Vitamins and minerals: not for cancer or cardiovascular prevention". Prescrire Int. 19 (108): 182. August 2010. PMID 20939459.
  29. Giovannucci, E; Liu, Y; Rimm, EB; Hollis, BW; Fuchs, CS; Stampfer, MJ; Willett, WC (April 2006). "Prospective study of predictors of vitamin D status and cancer incidence and mortality in men". J. Natl. Cancer Inst. 98 (7): 451–9. doi:10.1093/jnci/djj101. PMID 16595781.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  30. "Vitamin D Has Role in Colon Cancer Prevention". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2006. สืบค้นเมื่อ 27 July 2007.
  31. Schwartz, GG; Blot, WJ (April 2006). "Vitamin D status and cancer incidence and mortality: something new under the sun". J. Natl. Cancer Inst. 98 (7): 428–30. doi:10.1093/jnci/djj127. PMID 16595770.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  32. Fritz, H; Kennedy, D; Fergusson, D; Fernandes, R; Doucette, S; Cooley, K; Seely, A; Sagar, S; Wong, R; Seely, D (2011). Minna, John D (บ.ก.). "Vitamin A and retinoid derivatives for lung cancer: a systematic review and meta analysis". PLoS ONE. 6 (6): e21107. Bibcode:2011PLoSO...6E1107F. doi:10.1371/journal.pone.0021107. PMC 3124481. PMID 21738614.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  33. Cole, BF; Baron, JA; Sandler, RS; Haile, RW; Ahnen, DJ; Bresalier, RS; McKeown-Eyssen, G; Summers, RW; Rothstein, RI; Burke, CA; Snover, DC; Church, TR; Allen, JI; Robertson, DJ; Beck, GJ; Bond, JH; Byers, T; Mandel, JS; Mott, LA; Pearson, LH; Barry, EL; Rees, JR; Marcon, N; Saibil, F; Ueland, PM; Greenberg, ER (June 2007). "Folic acid for the prevention of colorectal adenomas: a randomized clinical trial". JAMA. 297 (21): 2351–9. doi:10.1001/jama.297.21.2351. PMID 17551129.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  34. Vinceti, Marco; Filippini, Tommaso; Del Giovane, Cinzia; Dennert, Gabriele; Zwahlen, Marcel; Brinkman, Maree; Zeegers, Maurice Pa; Horneber, Markus; D'Amico, Roberto (January 2018). "Selenium for preventing cancer". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 1: CD005195. doi:10.1002/14651858.CD005195.pub4. ISSN 1469-493X. PMID 29376219.
  35. 35.0 35.1 35.2 35.3 "Cancer Vaccine Fact Sheet". NCI. 8 June 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2008. สืบค้นเมื่อ 15 November 2008.
  36. Lertkhachonsuk, AA; Yip, CH; Khuhaprema, T; Chen, DS; Plummer, M; Jee, SH; Toi, M; Wilailak, S (2013). "Cancer prevention in Asia: resource-stratified guidelines from the Asian Oncology Summit 2013". Lancet Oncology. 14 (12): e497-507. doi:10.1016/S1470-2045(13)70350-4. PMID 24176569.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  37. "What's new in cancer immunotherapy research?". www.cancer.org. สืบค้นเมื่อ 9 March 2018.
  38. Pardoll, DM (March 2012). "The blockade of immune checkpoints in cancer immunotherapy". Nature Reviews. Cancer. 12 (4): 252–64. doi:10.1038/nrc3239. PMC 4856023. PMID 22437870.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  39. "Cancer Vaccine Fact Sheet". NCI. 8 June 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2008. สืบค้นเมื่อ 15 November 2008.
  40. "Ages 65 Years and Older: Exams and Screening Tests - ACOG". www.acog.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 April 2018. สืบค้นเมื่อ 21 April 2018.
  41. Janz, T; Lu, K; Povlow, MR; Urso, B (December 2016). "A Review of Colorectal Cancer Detection Modalities, Stool DNA, and Fecal Immunochemistry Testing in Adults Over the Age of 50". Cureus. 8 (12): e931. doi:10.7759/cureus.931. PMC 5235652. PMID 28097082.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  42. "Cancer Facts & Figures 2018" (PDF).
  43. "Final Update Summary: Breast Cancer: Screening - US Preventive Services Task Force". www.uspreventiveservicestaskforce.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 March 2018. สืบค้นเมื่อ 21 April 2018.
  44. "Cancer Prevention & Early Detection Facts & Figures 2017-18" (PDF). Cancer.org. 1 April 2017.
  45. Doll, R; Peto, R (1981). "The causes of cancer: quantitative estimates of avoidable risks of cancer in the United States today". J. Natl. Cancer Inst. 66 (6): 1191–308. doi:10.1093/jnci/66.6.1192. PMID 7017215.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  46. Schottenfeld, D; Beebe-Dimmer, JL; Buffler, PA; Omenn, GS (2013). "Current perspective on the global and United States cancer burden attributable to lifestyle and environmental risk factors". Annu Rev Public Health. 34: 97–117. doi:10.1146/annurev-publhealth-031912-114350. PMID 23514316.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  47. "Cancer prevention". Wikipedia (ภาษาอังกฤษ). 10 April 2018.
  48. Doll, R; Peto, R (1981). "The causes of cancer: quantitative estimates of avoidable risks of cancer in the United States today". J. Natl. Cancer Inst. 66 (6): 1191–308. doi:10.1093/jnci/66.6.1192. PMID 7017215.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  49. Schottenfeld, D; Beebe-Dimmer, JL; Buffler, PA; Omenn, GS (2013). "Current perspective on the global and United States cancer burden attributable to lifestyle and environmental risk factors". Annu Rev Public Health. 34: 97–117. doi:10.1146/annurev-publhealth-031912-114350. PMID 23514316.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  50. Shopland, DR (1995). "Tobacco use and its contribution to early cancer mortality with a special emphasis on cigarette smoking". Environ. Health Perspect. 103 Suppl 8: 131–42. doi:10.1289/ehp.95103s8131. PMC 1518977. PMID 8741773.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  51. 51.0 51.1 51.2 Parsa, N (2012). "Environmental factors inducing human cancers". Iran. J. Public Health. 41 (11): 1–9. PMC 3521879. PMID 23304670.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  52. 52.0 52.1 52.2 52.3 52.4 Anand, P; Kunnumakkara, AB; Kunnumakara, AB; Sundaram, C; Harikumar, KB; Tharakan, ST; Lai, OS; Sung, B; Aggarwal, BB (2008). "Cancer is a preventable disease that requires major lifestyle changes". Pharm. Res. 25 (9): 2097–116. doi:10.1007/s11095-008-9661-9. PMC 2515569. PMID 18626751.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  53. Willett, WC (1995). "Diet, nutrition, and avoidable cancer". Environ. Health Perspect. 103 Suppl 8: 165–70. doi:10.1289/ehp.95103s8165. PMC 1518978. PMID 8741778.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  54. Trichopoulou, A; Lagiou, P; Kuper, H; Trichopoulos, D (2000). "Cancer and Mediterranean dietary traditions". Cancer Epidemiol. Biomarkers Prev. 9 (9): 869–73. PMID 11008902.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  55. Song, M; Giovannucci, E (2016). "Estimating the Influence of Obesity on Cancer Risk: Stratification by Smoking Is Critical". J. Clin. Oncol. 34 (27): 3237–9. doi:10.1200/JCO.2016.67.6916. PMID 27458311.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  56. World Cancer Research Fund/American Institute for Cancer Research (2009). Policy and Action for Cancer Prevention. Food, Nutrition, and Physical Activity: a Global Perspective. Washington DC, USA: AICR. 2.7.1 Body fatness and foods and drinks that promote weight gain, p. 22. ISBN 978-0-9722522-4-9.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  57. Schottenfeld, D; Beebe-Dimmer, J (2006). "Chronic inflammation: a common and important factor in the pathogenesis of neoplasia". CA Cancer J Clin. 56 (2): 69–83. doi:10.3322/canjclin.56.2.69. PMID 16514135.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  58. Tuyns, AJ (1979). "Epidemiology of alcohol and cancer". Cancer Res. 39 (7 Pt 2): 2840–3. PMID 445490.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  59. Irigaray, P; Newby, JA; Clapp, R; Hardell, L; Howard, V; Montagnier, L; Epstein, S; Belpomme, D (2007). "Lifestyle-related factors and environmental agents causing cancer: an overview". Biomed. Pharmacother. 61 (10): 640–58. doi:10.1016/j.biopha.2007.10.006. PMID 18055160.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  60. Moore, SC; Lee, IM; Weiderpass, E; Campbell, PT; Sampson, JN; Kitahara, CM; Keadle, SK; Arem, H; de Gonzalez A, Berrington; Hartge, P; Adami, HO; Blair, CK; Borch, KB; Boyd, E; Check, DP; Fournier, A; Freedman, ND; Gunter, M; Johannson, M; Khaw, KT; Linet, MS; Orsini, N; Park, Y; Riboli, E; Robien, K; Schairer, C; Sesso, H; Spriggs, M; Van Dusen, R; Wolk, A; Matthews, CE; Patel, AV (2016). "Association of Leisure-Time Physical Activity With Risk of 26 Types of Cancer in 1.44 Million Adults". JAMA Intern Med. 176 (6): 816–25. doi:10.1001/jamainternmed.2016.1548. PMID 27183032.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  61. 61.0 61.1 Bode, AM; Dong, Z (July 2009). "Cancer prevention research - then and now". Nature Reviews. Cancer. 9 (7): 508–16. doi:10.1038/nrc2646. PMC 2838238. PMID 19536108.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้