งูสามเหลี่ยม
งูสามเหลี่ยม | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ไฟลัมย่อย: | Vertebrata |
ชั้น: | Reptilia |
อันดับ: | Squamata |
อันดับย่อย: | Serpentes |
วงศ์: | Elapidae |
สกุล: | Bungarus |
สปีชีส์: | B. fasciatus |
ชื่อทวินาม | |
Bungarus fasciatus (Schneider, 1801) | |
ชื่อพ้อง | |
งูสามเหลี่ยม หรือ งูทับทางเหลือง[1] (อังกฤษ: Banded krait; ชื่อวิทยาศาสตร์ Bungarus fasciatus) เป็นชนิดของงูมีพิษชนิดหนึ่ง พบในอินเดีย, บังคลาเทศ, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงเอเชียตะวันออก
มีหัวกลม ลำตัวเรียวยาว 1 ถึง 2 เมตร ปลายหางมักทู่ บางตัวหัวแบนเล็กน้อย ลำตัวเป็นสันสามเหลี่ยมชัดเจน อันเป็นที่มาของชื่อเรียก เลื้อยช้าแต่ว่ายน้ำได้เร็ว เป็นงูที่มีความว่องไวปราดเปรียวในน้ำ สีของลำตัวเป็นปล้องดำสลับเหลืองทั้งตัว เวลากัดไม่มีการแผ่แม่เบี้ยเหมือนงูในสกุล Naja
ในประเทศไทยจะพบได้ทุกภาค แต่จะพบได้มากในภาคใต้ รวมถึงป่าพรุโต๊ะแดง[2] กินอาหาร จำพวก หนู, กบ, เขียด หรือปลา รวมถึงงูชนิดอื่นๆ หากินในเวลากลางคืน มักขดนอนตามโคนกอไม้ไผ่, ป่าละเมาะ, พงหญ้าริมน้ำ เป็นงูที่ไม่ดุ ไม่ฉกกัด นอกจากจะมีคนเดินไปเหยียบหรือเดินผ่านขณะที่งูสามเหลี่ยมกำลังไล่กัดงูซึ่งเป็นอาหารก่อน งูกินปลา งูเขียว ปกติตอนกลางวันจะซึมเซา แต่ตอนกลางคืนจะว่องไว มีพิษทำลายระบบประสาท เมื่อถูกกัดจะมีอาการชักกระตุก ปวดช่องท้อง มีเลือดออกเป็นจุด ๆ ใต้ผิวหนัง มีเลือดออกตามไรฟันและไอเป็นเลือด
มีการแพร่ขยายพันธุ์โดยการวางไข่ครั้งละ 8-12 ฟอง[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2539. 972 หน้า. หน้า 371. ISBN 974-8122-79-4
- ↑ โอ่โอปักษ์ใต้บ้านเรา มีน้ำภูเขาทะเลกวางไกล
- ↑ "งูสามเหลี่ยม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-29. สืบค้นเมื่อ 2011-05-22.