งูทับทาง
งูทับทาง | |
---|---|
งูสามเหลี่ยม (B. fasciatus) เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในสกุลนี้ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ไฟลัมย่อย: | Vertebrata |
ชั้น: | Reptilia |
อันดับ: | Squamata |
อันดับย่อย: | Serpentes |
วงศ์: | Elapidae |
วงศ์ย่อย: | Elapinae |
สกุล: | Bungarus Daudin, 1803 |
ชื่อพ้อง | |
งูสามเหลี่ยม[1] (อังกฤษ: Kraits) เป็นสกุลของงูพิษสกุลหนึ่ง ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Bungarus
มีลักษณะเด่นคือ มีลำตัวเป็นสันสามเหลี่ยมชัดเจน ลำตัวยาว อาศัยอยู่ตามพื้นดิน[2] มีเขี้ยวพิษคล้ายกับงูเห่า (Naja spp.) ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน มีต่อมพิษอยู่บริเวณท้ายหัวทั้งสองข้าง พิษมีฤทธิ์มากในทางทำลายระบบประสาท มีอันตรายถึงแก่ชีวิต[3]
มีความยาวโดยเฉลี่ย 1–1.5 เมตร พบใหญ่ที่สุด 2 เมตร แต่ไม่มีตัวใดที่มีความยาวเกิน 4 เมตร[2] เป็นงูที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร เช่น งู หรือสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก[4] ออกหากินในเวลากลางคืน[5] เมื่อกัดจะไม่มีการแผ่แม่เบี้ยหรือพังพานเหมือนงูเห่า พบกระจายพันธุ์ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย เช่น ศรีลังกา, บังกลาเทศ, อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงอินโดนีเซีย และบอร์เนียว
งูตัวเมียจะวางไข่ครั้งละ 12–14 ฟอง ในกองหรือเศษซากใบไม้กิ่งไม้ต่าง ๆ จนกว่าไข่จะฟักเป็นตัว
การจำแนก
แก้พบทั้งสิ้น 13 ชนิด เป็นชนิดที่พบในประเทศไทย 3 ชนิด[3] ได้แก่
- B. andamanensis
- B. bungaroides
- B. caeruleus (เป็นชนิดต้นแบบ[6])
- B. candidus (งูทับสมิงคลา, งูทับทางขาว)
- B. ceylonicus
- B. fasciatus (งูสามเหลี่ยม เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุด โดยพบยาวที่สุดถึง 2.125 เมตร หรือ 6 ฟุต 11.7 นิ้ว[7])
- B. flaviceps (งูสามเหลี่ยมหัวแดง)
- B. lividus
- B. magnimaculatus
- B. multicinctus
- B. niger
- B. sindanus[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2539. 972 หน้า. หน้า 371. ISBN 974-8122-79-4
- ↑ 2.0 2.1 วีรยุทธ์ เลาหะจินดา. วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2552. 458 หน้า. หน้า 413. ISBN 978-616-556-016-0
- ↑ 3.0 3.1 "การจำแนกชนิดของงูตามลักษณะกะโหลกและเขี้ยวพิษ". healthcarethai.com. 1 April 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 1 April 2014.
- ↑ "Richard Mastenbroek's Elapid Pages: Kraits (Bungarus ssp.)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-13. สืบค้นเมื่อ 2009-02-13.
- ↑ "Living in Indonesia:Banded Krait". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-08. สืบค้นเมื่อ 2014-04-01.
- ↑ 6.0 6.1 David, Patrick, and Ivan Ineich: Les serpents venimeux du monde: systematique et repartition (2004)
- ↑ Smith, Malcolm A. Fauna of British India...Vol III - Serpentes, pages 411 to 413
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Bungarus ที่วิกิสปีชีส์