ไทแรนโนซอรัส
ไทแรนโนซอรัส (ชื่อวิทยาศาสตร์: Tyrannosaurus; เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /tɨˌrænɵˈsɔrəs หรือ taɪˌrænɵˈsɔrəs/; แปลว่า เกมาจากภาษากรีก) เป็น สกุลหนึ่งของไดโนเสาร์ประเภทเทอโรพอด ชนิดเดียวที่เป็นที่รู้จักในสกุลนี้คือ ไทแรนโนซอรัส เรกซ์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Tyrannosaurus rex; rex แปลว่า ราชา มาจากภาษาละติน) หรือเรียกอย่างย่อว่า ที. เรกซ์ (T. rex) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ มีถิ่นอาศัยตลอดทั่วตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกา ซึ่งกว้างกว่าไดโนเสาร์วงศ์เดียวกัน ไทแรนโนซอรัสอาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลายหรือประมาณ 68 ถึง 66 ล้านปีมาแล้ว เป็นหนึ่งในไดโนเสาร์พวกสุดท้ายและทีเร็กซ์เกี่ยวข้องกับนก จำพวกนกนักล่าอย่าง นกอินทรีหรือเหยี่ยว ซึ่งมีชีวิตอยู่ก่อนการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ครั้งที่สามในยุคครีเทเชียส
ไทแรนโนซอรัส ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคครีเทเชียสตอนปลาย (Maastrichtian), 68–66Ma | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
เคลด: | ไดโนเสาร์ Dinosauria |
เคลด: | ซอริสเกีย Saurischia |
เคลด: | เทโรพอด Theropoda |
วงศ์: | †Tyrannosauridae Tyrannosauridae |
วงศ์ย่อย: | †Tyrannosaurinae Tyrannosaurinae |
สกุล: | †ไทแรนโนซอรัส Tyrannosaurus Osborn, 1905 |
ชนิดต้นแบบ | |
†Tyrannosaurus rex Osborn, 1905 | |
สปีชีส์อื่น ๆ | |
| |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อพ้องสกุล
ชื่อพ้องชนิด
|
ไทแรนโนซอรัสเป็นสัตว์กินเนื้อ เดินสองขา มีกะโหลกศีรษะที่ใหญ่ และเพื่อสร้างความสมดุลมันจึงมีหางที่มีน้ำหนักมาก มีขาหลังที่ใหญ่และทรงพลัง แต่กลับมีขาหน้าขนาดเล็ก มีสองกรงเล็บ ถึงแม้ว่าจะมีไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าไทแรนโนซอรัส เรกซ์ แต่มันก็มีขนาดใหญ่ที่สุดในไดโนเสาร์วงศ์เดียวกันและเป็นหนึ่งในผู้ล่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบนพื้นพิภพ วัดความยาวได้ 12-13 ม.[1] [2]สูง 4.6 ม. จากพื้นถึงสะโพก[3] และมีน้ำหนักถึง 9-18 ตัน[4] ในยุคสมัยของไทแรนโนซอรัส เรกซ์ที่ยังมีนักล่าขนาดใหญ่ชนิดอื่น ๆ นั้น ไทแรนโนซอรัส เรกซ์นั้นเป็นนักล่าที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหารในทวีปอเมริกาเหนือ เหยื่อของมันเช่น แฮโดรซอร์, เซอราทอปเซีย หรือ ซอโรพอด [5]เป็นต้น ถึงแม้ว่าผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าโดยพื้นฐานแล้วไทแรนโนซอรัส เรกซ์เป็นสัตว์กินซาก การถกเถียงในกรณีของไทแรนโนซอรัสว่าเป็นนักล่าหรือสัตว์กินซากนั้นมีมานานมากแล้วในหมู่การโต้แย้งทางบรรพชีวินวิทยา ปัจจุบัน ทีเร็กซ์นั้นสามารถ ล่าเหยื่อตัวเดียว ล่าเป็นฝูงทั้งครอบครัว และกินซาก แน่นอนรวมถึงไดโนเสาร์นักล่าทุกชนิด ที่ล้วนแล้วก็มีโอกาสเป็นนักกินซากได้ทั้งหมด
ไทแรนโนซอรัสเป็นไดโนเสาร์ที่โด่งดังที่สุดในโลก ด้วยฐานะไดโนเสาร์กินเนื้อที่ตัวใหญ่ที่สุด ก่อนจะเสียอันดับให้แก่ จิกแกนโนโทซอรัส และ สไปโนซอรัส
ไดโนเสาร์ทีเรกซ์ ชื่อซู (Sue) เป็นโครงกระดูกไดโนเสาร์ทีเรกซ์ ที่มีความสมบูรณ์ที่สุด มีขนาดลำตัวยาวกว่า 12.3 เมตร และความสูงถึงสะโพก 4 เมตร โดยตั้งชื่อมาจากซูฃานนักธรณีวิทยาที่ค้นพบ[6] ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ Field Museum ที่ชิคาโก ในปี 2549
ตัวอย่าง ฟอสซิลล่า สุด ของทีเร็กซ์ที่ตัวใหญ่ที่สุดมีชื่อว่า สกอตตี้ (Scotty) ถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ 1991 มีความยาว 13 เมตร หนัก 8.8 ตัน
กายวิภาค
แก้ไทแรนโนซอรัส เรกซ์เป็นหนึ่งในไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ตัวอย่างที่สมบูรณ์ที่สุดและเคยเป็นตัวที่ใหญ่ที่สุด มีชื่อว่า FMNH PR2081 หรือ "ซู" (Sue) มีความยาว 12.3 ม. สูงจากพื้นถึงสะโพก 4 ม.[3] มีน้ำหนักประมาณ 9-18 ตัน[7] [8][9]
ซึ่งในพศ. 2562 ทีมขุดของ University of Alberta ได้ประกาศการค้นพบฟอสซิลของไทแรนโนซอรัสที่ใหญ่กว่าซู ซึ่งก็คือ RSM P2523.8 หรือ "สก็อตตี้" ถูกพบที่รัฐ Saskatchewan ของประเทศแคนาดา โดยสก็อตตี้มีความยาว 13 เมตร และหนักถึง 8.8 ตัน ซึ่งถือได้ว่าเป็น ไทแรนโนซอรัสทีตัวใหญ่ที่สุด[10][4][11][12][13]
ซึ่งหนักกว่า ไจแกนโนโตซอรัสและคาร์ชาโรดอนโทซอรัส
ถึงแม้ว่าไทแรนโนซอรัส เรกซ์จะมีขนาดใหญ่กว่าไดโนเสาร์กินเนื้อในยุคจูแรสซิกอย่างอัลโลซอรัส แต่ก็ยังเล็กกว่าสไปโนซอรัส แต่ทีเร็กซ์ก็ใหญ่ที่สุดช่วงที่มันชีวิตอยู่และใหญ่ที่สุดในตระกูล และอย่างน้อย ทีเร็กซ์ก็เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ตัวสูงที่สุด ณ เวลานี้ โดยทีเร็กซ์ตัวสูงที่สุดจากพื้นถึงหัว คือ 4.6เมตร ชื่อ แซมซัน [14][15] ไทแรนโนซอรัส เมื่อโตเต็มที่จะมีความเร็วที่ 30กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งถือว่ายังเร็วกว่า ความเร็วของมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ แต่ยังช้ากว่าไดโนเสาร์กินเนื้อหลายชนิด แต่ตอนเป็นวัยรุ่น ทีเร็กซ์จะวิ่งเร็วถึง 40-50กิโลเมตร/ชั่วโมง จึงเป็นประโยชน์อย่างมากในการล่าเหยื่อเป็นฝูงทั้งครอบครัว แต่จากการศึกษาล่าสุดของนักวิจัยมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ โดยใช้เทคนิคทางวิศวกรรมวิเคราะห์แบบไดนามิกหลายแบบ สร้างแบบจำลองของโครงสร้างไทแรนโนซอรัสขึ้น โดยพิจารณาจากทั้งโครงกระดูกและกล้ามเนื้อ พบว่าไทแรนโนซอรัสอาจจะไม่ได้มีความรวดเร็วถึงขนาดนั้น หากมีความเร็วถึงขนาดนั้นกระดูกของมันจะหัก เนื่องจากไม่สามารถรองรับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อด้วยความเร็วถึงขนาดนั้น หากแต่น่าจะมีความเร็วเพียง 18 กิโลเมตร/ชั่วโมง หรือประมาณ 5 เมตร/1 วินาที ซึ่งนั่นอาจจะหมายถึง แท้ที่จริงแล้วมันเป็นไดโนเสาร์ที่มีการล่าเหยื่อโดยใช้วิธีการซุ่มโจมตีมากกว่าล่าเหยื่อ รวมถึงอาจจะเป็นสัตว์กินซากด้วย เช่นเดียวกับไดโนเสาร์นักล่าชนิดอื่น ต่างก็เป็นนักกินซากได้เช่นเดียวกัน แต่ถึงกระนั้น ทีเร็กซ์มันก็ยังสามารถล่าเป็นฝูงทั้งครอบครัวได้ [16]
สมองของ ทีเรกซ์นั้นมีควาวยาวมากกว่า ไม้บรรทัด และใหญ่ที่สุดในหมู่นักล่าขนาดใหญ่ทั้งหมด จึงทำให้ ทีเร็กซ์เป็นนักล่าขนาดใหญ่ที่ฉลาดที่สุด ซึ่งการที่มันมีสมองขนาดใหญ่ทำให้เป็นประโยชน์ในการล่าที่เป็นฝูงทั้งครอบครัวได้ง่ายขึ้น
คอของไทแรนโนซอรัส เรกซ์งอโค้งเป็นรูปตัวเอสตามธรรมชาติเหมือนไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดอื่นๆ แต่มีขนาดสั้นและล่ำสันเพื่อรองรับหัวที่มีขนาดใหญ่ ขาหน้ามีสองกรงเล็บและว่ากันว่าไว้ใช้พยุงตัวกับ[1]กระดูกขนาดเล็กที่เป็นส่วนที่หลงเหลือของนิ้วที่สาม[17] แต่ขาหลังกลับยาวที่สุดเมื่อเทียบตามสัดส่วนของร่างกายในไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดต่างๆ หางยาวและมีน้ำหนักมาก อาจมีกระดูกมากกว่า 40 ชิ้น ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างให้สมดุลกับหัวที่มีขนาดใหญ่และลำตัวของมัน เพื่อชดเชยขนาดที่ใหญ่โต กระดูกหลายชิ้นจึงกลวงเพื่อลดน้ำหนักตัวลงโดยไม่สูญเสียความแข็งแรงไป[1]
กะโหลกศีรษะของไทแรนโนซอรัส เรกซ์นั้นใหญ่ที่สุดในบรรดาไดโนเสาร์กินเนื้อทั้งหมดโดยวัดจากความกว้าง และมีความยาว 1.5 ม.[18] โพรงช่องเปิดขนาดใหญ่ในกะโหลกศีรษะมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักตัวและเป็นที่อยู่ของกล้ามเนื้อที่ยึดติดในกะโหลกเหมือนในไดโนเสาร์กินเนื้อทุกชนิด แต่ในส่วนอื่นของกะโหลกไทแรนโนซอรัสแตกต่างจากไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดอื่น กะโหลกมีขนาดกว้างในส่วนด้านหลังและแคบลงไปทางจมูกเพื่อให้การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาได้ดีเป็นพิเศษ[19][20] กะโหลกศีรษะ กระดูกจมูก และกระดูกอีกสองสามชิ้นเชื่อมต่อกัน เพื่อป้องกันการการเคลื่อนตัวของกระดูก แต่ก็เป็นโพรงอากาศจำนวนมาก (ประกอบไปด้วยช่องว่างขนาดเล็กคล้ายรังผึ้ง) ซึ่งอาจทำให้กระดูกมีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้นและเบาขึ้น กระดูกที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเหล่านี้เป็นเป็นโครงสร้างสำคัญของวงศ์ไทแรนโนซอริดี (Tyrannosauridae) ทำให้การกัดทรงพลังขึ้นซึ่งเหนือกว่าไดโนเสาร์กินเนื้อวงศ์อื่น[21][22][23] ปลายของขากรรไกรบนเป็นรูปตัวยู (ไดโนเสาร์กินเนื้อวงศ์อื่นส่วนมากมีขากรรไกรบนเป็นรูปตัววี) ซึ่งช่วยเพิ่มจำนวนของเนื้อเยื่อและกระดูกที่ไทแรนโนซอรัสกัดออกมาได้ในหนึ่งครั้ง ถึงแม้ว่าจะเพิ่มแรงตึงเครียดบนฟันหน้าด้วยก็ตาม[24][25]
ฟันของไทแรนโนซอรัส เรกซ์เป็นแบบเฮเทอโรดอนต์ (มีลักษณะรูปร่างต่าง) [1][26] ฟันหน้าบนขากรรไกรบนเบียดชิดกันมากเป็นฟันตัด (ปลายฟันเหมือนกับใบมีด) มีรูปร่างเป็นตัวดีเมื่อตัดขวาง เสริมด้วยสันบนผิวด้านหลัง และโค้งไปด้านหลัง ซึ่งลักษณะเหล่านี้ช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้ฟันหักเมื่อไทแรนโนซอรัสกัดและดึง ส่วนฟันที่เหลือแข็งแรงทนทานมาก มีลักษณะคล้ายกล้วยหอมมากกว่ากริช อยู่ห่างกันมากและมีสันเสริมด้วยเช่นกัน[27] ฟันบนขากรรไกรบนจะใหญ่กว่าฟันบนขากรรไกรล่าง ฟันที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบ ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร (12 นิ้ว) รวมรากฟัน ซึ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาไดโนเสาร์กินเนื้อ[3]
จากผลการศึกษาในช่วงที่ผ่านมา โดยทีมนักวิทยาศาสตร์อังกฤษ ได้มีการพบว่า ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีพลังคมเขี้ยวแข็งแกร่งที่สุดในโลกเท่าที่เคยมีมา โดยมีกำลังความแรงอยู่ที่ระหว่าง 30,000 ถึง 60,000 นิวตัน หรือประมาณ 6-10 ตัน ซึ่งเทียบเคียงได้เท่ากับช้างขนาดกลางหนึ่งเชือกที่กำลังนั่งทับตัวคน ซึ่งนักวิทยาสตร์คาดว่าทีเร็กซ์อาจมีแรงกัดถึง 18-23 ตัน[28]
และถึงแม้จะมีลำตัวขนาดใหญ่ และฟันที่น่ากลัว แต่ไทแรนโนซอรัสกลับเป็นไดโนเสาร์ที่มีอีกด้านหนึ่งที่อ่อนโยน เป็นไดโนเสาร์ที่ทำรังและเลี้ยงดูลูกเป็นอย่างดี และจากการศึกษาพบว่าไทแรนโนซอรัสมีจมูกที่อ่อนไหวต่อการสัมผัส เหมือนกับปลายนิ้วของมนุษย์ เชื่อว่ามันใช้จมูกนี้ในการสร้างรัง เคลื่อนย้ายไข่อย่างระมัดระวัง คอยดูแลลูกน้อย รวมถึงใช้สัมผัสถูไถกันเพื่อแสดงความรักในเชิงปฏิสัมพันธ์ระหว่างคู่กันด้วย[29]
การจำแนก
แก้ไทแรนโนซอรัสเป็นสกุลต้นแบบของวงศ์ใหญ่ไทแรนโนซอรอยเดีย (Tyrannosauroidea), วงศ์ไทแรนโนซอริดี, และวงศ์ย่อยไทแรนโนซอริมี (Tyrannosaurinae) หรือในอีกแง่หนึ่งก็คือเป็นมาตรฐานสำหรับนักบรรพชีวินวิทยาตัดสินใจว่าจะเพิ่มสปีชีส์อื่นลงไปในกลุ่มเดียวกันหรือไม่ สมาชิกอื่นๆของวงส์ย่อยไทแรนโนซอริมีก็มี ดัสเพลททอซอรัส (Daspletosaurus) จากอเมริกาเหนือและ ทาร์บอซอรัส (Tarbosaurus) จากทวีปเอเชีย[30][31] ซึ่งในบางครั้งทั้งสองก็ถูกจัดเป็นชื่อพ้องของไทแรนโนซอรัส[25] มีการคิดกันว่าไดโนเสาร์พวกไทแรนโนซอรัสนั้นเป็นลูกหลานของไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่อย่างเมกะโลซอรัส (megalosaurs) และคาร์โนซอร์ (carnosaurs) ถึงแม้ว่าเมื่อเร็วๆนี้มีการจำแนกใหม่ว่าไทแรนโนซอรัสเป็นซีลูโรซอร์ (coelurosaurs) ที่มีขนาดเล็กกว่า[24]
ในปีค.ศ. 1955 นักบรรพชีวินวิทยาชาวสหภาพโซเวียตที่ชื่อ เอฟเจนนี มอลวีฟ (Evgeny Maleev) ได้ตั้งชื่อไดโนเสาร์ชนิดใหม่จากประเทศมองโกเลียว่า Tyrannosaurus bataar[32] แต่ในปีค.ศ. 1965 ไดโนเสาร์ชนิดนี้ได้รับการตั้งชื่อใหม่ว่า Tarbosaurus bataar[33] สาเหตุของการตั้งชื่อใหม่นี้ เนื่องมาจากการวิเคราะห์วงศ์วานวิวัฒนาการพบว่า Tarbosaurus bataar มีบรรพบุรุษร่วมกันแบบมีลำดับชั้นกับ Tyrannosaurus rex[31] และบ่อยครั้งมันได้รับการพิจารณาเป็นไทแรนโนซอรัสแห่งทวีปเอเชีย[24][34][35]
แต่เมื่อเร็วๆนี้ การศึกษากะโหลกศีรษะของ Tarbosaurus bataar พบว่ากะโหลกแคบกว่าของไทแรนโนซอรัส เรกซ์และเมื่อกัด การกระจายตัวของความเครียดในกะโหลกก็แตกต่างกันกับไทแรนโนซอร์ของเอเชียชนิดอื่นๆ ใกล้เคียงกับ Alioramus มากกว่า[36] เมื่อวิเคระห์ความสัมพันธ์ในกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีบรรพบุรุษร่วมกันแบบมีลำดับชั้น พบว่า Alioramus น่าจะมีบรรพบุรุษร่วมกันแบบมีลำดับชั้นของ Tarbosaurus มากกว่าจะเป็นไทแรนโนซอรัส ซึ่งถ้าเป็นความจริงก็ควรจะแยก Tarbosaurus และไทแรนโนซอรัสออกจากกัน[30]
ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์วงศ์ไทแรนโนซอริดีชนิดอื่นที่พบในหมวดหินเดียวกันกับไทแรนโนซอรัส เรกซ์ซึ่งแต่เดิมถูกแบ่งแยกทางอนุกรมวิธานออกจากกัน ประกอบไปด้วย Aublysodon และ Albertosaurus megagracilis[25] ซึ่งชนิดหลังเดิมในปี ค.ศ. 1995 ถูกตั้งชื่อว่า Dinotyrannus megagracilis[37] อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปแล้วในปัจจุบันซากดึกดำบรรพ์เหล่านี้ถูกพิจารณาเป็น Tyrannosaurus rex ช่วงอายุวัยรุ่น[38]
Tyrannosauridae |
| ||||||||||||||||||||||||
การปรากฏตัว
แก้ทีเร็กซ์ปรากฏตัวในภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น
-ภาพยนตร์ชุด จูราสสิค พาร์ค
-ภาพยนตร์เรื่องเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ (Natural History Museum) ชื่อ Night at the Museum ของ ชอน เลวี่ (Shawn Levy) ที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับสิ่งต่างๆในพิพิธภัณฑ์ที่ต้องคำสาปให้กลับมีชีวิตขึ้นมาในตอนกลางคืน
หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Brochu, Christopher A. (2003). Osteology of Tyrannosaurus Rex: Insights from a Nearly Complete Skeleton and High-resolution Computed Tomographic Analysis of the Skull. Northbrook, Illinois: Society of Vertebrate Paleontology. OCLC 51651461. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "brochu2003" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ https://news.abs-cbn.com/overseas/03/23/19/tyrannosaurus-rex-found-in-canada-is-worlds-biggest
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Sue's vital statistics". Sue at the Field Museum. Field Museum of Natural History. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-15. สืบค้นเมื่อ 2007-09-15.
- ↑ 4.0 4.1 Erickson, G.; Makovicky, P. J.; Currie, P. J.; Norell, M.; Yerby, S.; Brochu, C. A. (2004). "Gigantism and comparative life-history parameters of tyrannosaurid dinosaurs". Nature. 430 (7001): 772–775. doi:10.1038/nature02699.
- ↑ https://www.smithsonianmag.com/science-nature/when-tyrannosaurus-chomped-sauropods-67170161/
- ↑ "เว็บไซต์นิทรรศการไดโนเสาร์ ขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-08-02.
- ↑ Henderson DM (January 1, 1999). "Estimating the masses and centers of mass of extinct animals by 3-D mathematical slicing". Paleobiology. 25 (1): 88–106.
- ↑ Anderson, J. F.; Hall-Martin, A. J.; Russell, D. (1985). "Long bone circumference and weight in mammals, birds and dinosaurs". Journal of Zoology. 207 (1): 53–61.
- ↑ Bakker, Robert T. (1986). The Dinosaur Heresies. New York: Kensington Publishing. ISBN 0-688-04287-2. OCLC 13699558.
- ↑ https://motherboard.vice.com/en_us/article/kzdj4w/paleontologists-identify-the-worlds-largest-tyrannosaurus-rex
- ↑ Farlow, JO (1995). "Body mass, bone "strength indicator", and cursorial potential of Tyrannosaurus rex". Journal of Vertebrate Paleontology. 15 (4): 713–725. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-23. สืบค้นเมื่อ 2010-03-18.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Seebacher, Frank. (2001). "A new method to calculate allometric length-mass relationships of dinosaurs". Journal of Vertebrate Paleontology. 21 (1): 51–60. doi:10.1671/0272-4634(2001)021[0051:ANMTCA]2.0.CO;2.
- ↑ Christiansen, P.; Fariña, R. A. (2004). "Mass prediction in theropod dinosaurs". Historical Biology. 16 (2–4): 85–92. doi:10.1080/08912960412331284313. S2CID 84322349.
- ↑ dal Sasso, Cristiano (2005). "New information on the skull of the enigmatic theropod Spinosaurus, with remarks on its sizes and affinities". Journal of Vertebrate Paleontology. 25 (4): 888–896. doi:10.1671/0272-4634(2005)025[0888:NIOTSO]2.0.CO;2.
- ↑ Calvo, Jorge O.; Coria, Rodolfo (1998). "New specimen of Giganotosaurus carolinii (Coria & Salgado, 1995), supports it as the as the largest theropod ever found" (PDF). Gaia Revista de Geociências. 15: 117–122. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2008-02-16. สืบค้นเมื่อ 2010-03-18.
- ↑ หน้า 7 โลกาภิวัฒน์ GLOBALIZATION, ความเร็วของที-เร็กซ์ ไดโนเสาร์นักล่าที่ชวนน่าสงสัย. ไทยรัฐปีที่ 68 ฉบับที่ 21735: วันอังคารที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 9 ปีระกา
- ↑ Lipkin, C.; Carpenter, K. (2008). "Looking again at the forelimb of Tyrannosaurus rex". ใน Carpenter, K.; Larson, P. E. (บ.ก.). Tyrannosaurus rex, the Tyrant King (Life of the Past). Bloomington: Indiana University Press. pp. 167–190. ISBN 0-253-35087-5.
- ↑ "Museum unveils world's largest T-rex skull" (Press release). Montana State University. 2006-04-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-09. สืบค้นเมื่อ 2008-09-13.
- ↑ Stevens, Kent A. (2006). "Binocular vision in theropod dinosaurs" (PDF). Journal of Vertebrate Paleontology. 26 (2): 321–330. doi:10.1671/0272-4634(2006)26[321:BVITD]2.0.CO;2. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-25. สืบค้นเมื่อ 2010-03-18.
- ↑ Jaffe, Eric (2006-07-01). "Sight for 'Saur Eyes: T. rex vision was among nature's best". Science News. 170 (1): 3. doi:10.2307/4017288. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-29. สืบค้นเมื่อ 2008-10-06.
- ↑ Snively, E.; Henderson, D. M.; Phillips, D. S. (2006). "Fused and vaulted nasals of tyrannosaurid dinosaurs: Implications for cranial strength and feeding mechanics" (PDF). Acta Palaeontologica Polonica. 51 (3): 435–454. สืบค้นเมื่อ 2008-10-08.
- ↑ Erickson, G. M.; Van Kirk, S. D.; Su, J.; Levenston, M. E.; Caler, W. E.; Carter, D. R. (1996). "Bite-force estimation for Tyrannosaurus rex from tooth-marked bones". Nature. 382: 706–708. doi:10.1038/382706a0.
- ↑ Meers, M.B. (2003). "Maximum bite force and prey size of Tyrannosaurus rex and their relationships to the inference of feeding behavior". Historical Biology: A Journal of Paleobiology. 16 (1): 1–12. doi:10.1080/0891296021000050755.
- ↑ 24.0 24.1 24.2 Holtz, Thomas R. (1994). "The Phylogenetic Position of the Tyrannosauridae: Implications for Theropod Systematics". Journal of Palaeontology. 68 (5): 1100–1117. doi:10.2307/1306180 (inactive 2010-02-20). สืบค้นเมื่อ 2008-10-08.
{{cite journal}}
: CS1 maint: DOI inactive as of กุมภาพันธ์ 2010 (ลิงก์) - ↑ 25.0 25.1 25.2 Paul, Gregory S. (1988). Predatory dinosaurs of the world: a complete illustrated guide. New York: Simon and Schuster. ISBN 0-671-61946-2. OCLC 18350868.{{subst:PAGENAME}}
- ↑ Smith, J.B. (December 2005). "Heterodonty in Tyrannosaurus rex: implications for the taxonomic and systematic utility of theropod dentitions" (PDF). Journal of Vertebrate Paleontology. 25 (4): 865–887. doi:10.1671/0272-4634(2005)025[0865:HITRIF]2.0.CO;2. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-25. สืบค้นเมื่อ 2010-03-18.
- ↑ Douglas K, Young S (1998). "The dinosaur detectives". New Scientist. สืบค้นเมื่อ 2008-10-16.
One palaeontologist memorably described the huge, curved teeth of T. rex as 'lethal bananas'
- ↑ คมเขี้ยวทีเร็กซ์แกร่งที่สุดในโลก. หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน. ปีที่ 35 ฉบับที่ 12414. วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555. หน้า 9
- ↑ 'ที-เร็กซ์' นักรักผู้อ่อนไหว. หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ. ปีที่ 29 ฉบับที่ 10443. วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2560. หน้า 7 จุดประการ WILD
- ↑ 30.0 30.1 Currie, Philip J. (2003). "Skull structure and evolution in tyrannosaurid dinosaurs" (PDF). Acta Palaeontologica Polonica. 48 (2): 227–234. สืบค้นเมื่อ 2008-10-08.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ 31.0 31.1 Holtz, Thomas R., Jr. (2004). "Tyrannosauroidea". ใน David B. Weishampel, Peter Dodson and Halszka Osmólska (บ.ก.). The dinosauria. Berkeley: University of California Press. pp. 111–136. ISBN 0-520-24209-2.
- ↑ Maleev, E. A. (1955). [Gigantic carnivorous dinosaurs of Mongolia]. Doklady Akademii Nauk SSSR (ภาษารัสเซีย). 104 (4): 634–637.
{{cite journal}}
:|trans-title=
ต้องการ|title=
หรือ|script-title=
(help) - ↑ Rozhdestvensky, AK (1965). "Growth changes in Asian dinosaurs and some problems of their taxonomy". Paleontological Journal. 3: 95–109.
- ↑ Carpenter, Kenneth (1992). "Tyrannosaurids (Dinosauria) of Asia and North America". ใน Niall J. Mateer and Pei-ji Chen (บ.ก.). Aspects of nonmarine Cretaceous geology. Beijing: China Ocean Press. ISBN 9787502714635. OCLC 28260578.
- ↑ Carr, Thomas D. (March 2005). "A New Genus and Species of Tyrannosauroid from the Late Cretaceous (Middle Campanian) Demopolis Formation of Alabama". Journal of Vertebrate Paleontology. 25 (1): 119–143. doi:10.1671/0272-4634(2005)025[0119:ANGASO]2.0.CO;2.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Hurum, Jørn H. (2003). "Giant theropod dinosaurs from Asia and North America: Skulls of Tarbosaurus bataar and Tyrannosaurus rex compared" (PDF). Acta Palaeontologica Polonica. 48 (2): 161–190. สืบค้นเมื่อ 2008-10-08.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Olshevsky, George (1995). "The origin and evolution of the tyrannosaurids". Kyoryugaku Saizensen [Dino Frontline]. 9–10: 92–119.
- ↑ Carr, T.D. (2004). "Diversity of late Maastrichtian Tyrannosauridae (Dinosauria: Theropoda) from western North America". Zoological Journal of the Linnean Society. 142: 479–523. doi:10.1111/j.1096-3642.2004.00130.x.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help)
อ่านเพิ่ม
แก้- Farlow, J. O.; Gatesy, S. M.; Holtz, T. R., Jr.; Hutchinson, J. R.; Robinson, J. M. (2000). "Theropod Locomotion". American Zoologist. 40 (4): 640–663. doi:10.1093/icb/40.4.640. JSTOR 3884284.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- The University of Edinburgh Lecture Dr Stephen Brusatte – Tyrannosaur Discoveries Feb 20, 2015
- 28 species in the tyrannosaur family tree, when and where they lived Stephen Brusatte Thomas Carr 2016