โลแกน เมล เล่ย ทอม (อังกฤษ: Logan Maile Lei Tom; เกิด 25 พฤษภาคม 1981) นักวอลเลย์บอลในร่มและวอลเลย์บอลชายหาด ชาวอเมริกัน เธอเล่นในโอลิมปิกมาแล้ว 4 ครั้ง ในตำแหน่งตัวตบตรงข้ามหัวเสา ตอนที่เธออายุ 19 ปี โลแกนกลายเป็นนักวอลเลย์บอลหญิงที่อายุน้อยที่สุดสำหรับทีมชาติอเมริกันที่ได้เล่นในกีฬาโอลิมปิกที่ซิดนี่ย์ ปี 2000 เธอเป็นนักกีฬาที่มีทักษะ ด้านการเสิร์ฟและการป้องกันที่ดี ในขณะที่อเมริกันก็มีทีมที่มีการโจมตีและการบล็อกที่มีประสิทธิภาพมาก โลแกนเป็นตัวจริงของทีมชาติ มาหลายปี ในโอลิมปิกที่ปักกิ่ง โลแกนก็ช่วยให้ทีมได้เหรียญเงินและเธอก็ยังได้รับรางวัลในการทำแต้มดีที่สุด

โลแกน ทอม
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อเต็มโลแกน เมล เล่ย ทอม
เกิด (1981-05-25) 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1981 (43 ปี)
แนปา, รัฐแคลิฟอร์เนีย, USA
ส่วนสูง1.86 m (6 ft 1 in)*
กระโดดตบ306 ซม.
บล็อก297 ซม.
ข้อมูล
ตำแหน่งตัวตีด้านนอก
อาชีพ
ปีทีม
1999–2002
2003
2003–04
2004–05
2005–06
2006–07
2007–08
2008–09
2009–10
2010–11
2011–12
2012–13
2014
2014-15
มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
เอ็มอาร์วี/มินัส
มอนเตสกีอาโวเจซี
Bigmat Kerakoll Chieri
วอลเลโร่ ซือริช
ซีวี เตเนรีเฟ
ไดนาโมมอสโก
ฮิซะมิสึสปริงส์
Asystel Novara
กวางตุ้ง เอเวอร์เกรส
เฟแนร์บาห์เชยูนิเวอร์แซล
รีโอเดจาเนโร/ยูนิลีเวอร์/สกาย
Openjobmetis Ornavasso
อาร์ซี คานส์
ทีมชาติ
2000–2012สหรัฐอเมริกา

ชีวิตส่วนตัว และการเรียน

แก้

โลแกน ทอมเกิดในแนปา, รัฐแคลิฟอร์เนีย คริสติน และเมลลิน ทอม พ่อและแม่ของเธอ[1] พ่อของเธอเล่นอเมริกันฟุตบอลในเอ็นเอฟแอล กว่า 9 ปี ทั้งในทีม ฟิลาเดลเฟีย อีเกิลส์ และ ชิคาโก แบร์ส[2] แม้ว่าเธอจะเติบโตมากับแม่และ แลนดอนพี่ชายของเธอ[1] ในซอลต์เลกซิตี, รัฐยูทาห์ แต่เธอก็เวลาในช่วงฤดูร้อนของเธอกับ พ่อและญาติ ๆ ของเธอในฮาวาย และเธอก็ยังเรียนรู้วิธีการเล่นเซิฟบอร์ด[3] โลแกนมีเชื้อสายของจีนและฮาวาย[3]

โลแกนเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียน ในขณะที่เธอเรียนที่โรงเรียนไฮแลนด์ ทอมยังเข้าร่วมการแข่งขันบาสเก็ตบอล และเดินทางไปคัดตัวบาสเก็ตบอของรัฐด้วย ทอมได้รับรางวัล เกเตอเรดยอดเยี่ยมแห่งปีรางวัล สำหรับกีฬาวอลเลย์บอล เมื่อปี 1999 และในปี 2000 เธอกลายเป็นนักวอลเลย์บอลหญิงคนแรกของทีมสหรัฐอเมริกาที่ได้เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิก[4]

ในช่วงฤดูร้อนปี 2003 เธอได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 8 ของ พื้นฐานนักกีฬาหญิงแห่งปีรางวัล ในประเภททีมในปี 2004 ทอมถูกวางตัวให้เป็นหนึ่งในนักกีฬาโอลิมปิกหญิงในการถ่ายบิกินี่ ลงนิตยสารเอฟเอชเอ็ม[5] อีกหนึ่งปีต่อมาทอมถูกจัดให้เป็นผู้หญิงที่เซ็กซี่ที่สุด อับดับที่ 91 จาก 100 อันดับ[6]

โอลิมปิกและการเล่นอาชีพ

แก้

ทอมเล่นวอลเลย์บอลอาชีพครั้งแรกกับทีมบราซิล และได้ร่วมแข่งขัน เอ็มอาร์วี/มินัสของบราซิลซุปเปอร์ลีก หลังจากเซ็นสัญญาเพียง 2 สัปดาห์ ทอม ได้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 ที่ซิดนีย์ (อันดับที่ 4 ), โอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่เอเธนส์ (อันดับที่ 5), โอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ปักกิ่ง (เหรียญเงิน) ,และโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ที่ลอนดอน (ได้เรียญเงิน) นอกจากนี้ทอมยังได้รับรางวัล "ทำคะแนนสูงสุด" ในการแข่งขันโอลิมปิก 2008 ที่ปักกิ่งด้วย[7]

ในปี 2004 ทอมมีชื่อเป็นผู้เล่นทรงคุณค่า ในการแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ จากคะแนน 224 จากการแข่ง 13 แมท นอกจากนั้นเธอยังได้รับรางวัล "เสิร์ฟยอดเยี่ยม" อีกด้วย

จากปี 2004-2007 เธอพักการเล่นวอลเลย์บอลในร่ม และเลือกที่จะเล่นวอลเลย์บอลชายหาดแทน หลังจากผิดหวังจากการได้อันดับที่ 5 ในโอลิมปิก 2004 ที่เอเธนส์[8][9] ในปี 2007 เธอถูกเสนอชื่อเป็นหนึ่งในสามของผู้เล่นทรงคุณค่า ในการแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์คัพ คะแนนของเธอเฉลี่ย 4.10 เป็นครั้งแรกของเธอตั้งแต่เธอร่วมทีมกับทีมชาติสหรัฐอเมริกามาเกือบ 3 ปี[10]

เมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 2008 ฮิซะมิสึสปริงส์ ทีมวอลเลย์บอลหญิงที่อยู่ใน เมืองโคเบะ, จังหวัดเฮียวโงะ และ เมืองโตะซุ, จังหวัดซะงะ, ประเทศญี่ปุ่น ประกาศร่วมทีมกับเธอ

เธอได้รับการเสนอชื่อเป็น"รับลูกเสิร์ฟยอดเยี่ยม" ในการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์โลก 2010[11]

โลแกนได้รับรางวัลเสิร์ฟยอดเยี่ยมและได้รับเหรียญทองในการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์นอร์เซกา 2011 ที่จัดขึ้นใน คากอส, ประเทศเปอร์โตริโก[12]

รางวัล

แก้

ระดับบุคคล

แก้

ระดับวิทยาลัย

แก้
  • Four time First Team AVCA All-American (1999–2002)
  • Four time First Team All-Pac-10 (1999-02)
  • Four time First Team AVCA All-Pacific Region (1999-02)
  • Three Time NCAA Final Four All-Tournament Team (1999, 2001–02)
  • Two time AVCA National Player of the Year (2001–02)
  • Two time Honda Award winner for volleyball (2001–02)
  • Two time Pac-10 Player of the Year (2001–02)
  • 2002 NCAA Stanford Regional Most Outstanding Player
  • 2002 Pac-10 All-Academic Honorable Mention
  • 2002 Pac-10 Player of the Week (11/25)
  • 2002 AVCA National Player of the Week (11/25)
  • 2002 NACWAA/State Farm Classic MVP
  • 2001 NCAA Championship Most Outstanding Player
  • 2001 NCAA Stanford Regional Most Outstanding Player
  • 2001 AVCA National Player of the Week (11/12)
  • 2001 Jefferson Cup MVP
  • 2001 Verizon/Texas A&M All-Tournament Team
  • 2001 Asics/Volleyball Magazine Player of the Year
  • 1999 AVCA National Freshman of the Year
  • 1999 Pac-10 Freshman of the Year
  • 1999 Asics/Volleyball Magazine Freshman of the Year
  • 1999 Pacific Regional All-Tournament Team

รางวัลอื่น ๆ:

  • 2013 Inductee to the Stanford University Athletics Hall of Fame
  • 2014 Inductee to the Utah Sports Hall of Fame

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-12. สืบค้นเมื่อ 2014-12-25.
  2. http://photos.dailynews.com/?third_party=us-womens-volleyball-player-logan-tom-embraces-role-as-glue-of-the-team
  3. 3.0 3.1 "Bio at Logan Tom fansite". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-04-27. สืบค้นเมื่อ 2014-12-25.
  4. Utah high school volleyball records
  5. "FreeJose.com". FHM Magazine 100 Sexiest Women 2005. สืบค้นเมื่อ November 11, 2006.
  6. Soriano, César G. (2005-03-25). "Jolie sizzles atop 'FHM' sexiest list". USA Today. สืบค้นเมื่อ November 11, 2006.
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-24. สืบค้นเมื่อ 2014-12-25.
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-18. สืบค้นเมื่อ 2014-12-25.
  9. "Volleyball takes Logan Tom around world in pursuit of gold". USA Today. June 3, 2012.
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-24. สืบค้นเมื่อ 2014-12-25.
  11. FIVB. "Russia repeat as world champions". สืบค้นเมื่อ 2010-11-14.
  12. FIVB (2011-09-17). "USA women win NORCECA gold and ticket to World Cup". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-29. สืบค้นเมื่อ 2011-09-29.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า โลแกน ทอม ถัดไป
  หยาง ห่าว   วอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ เสิร์ฟยอดเยี่ยม
(2004)
    หยาง ห่าว
  เยคาเตรีนา กาโมวา   วอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ ทำคะแนนสูงสุด
(2004)
    มิยุกิ ทะกะฮะชิ
  เยคาเตรีนา กาโมวา   โอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ทำคะแนนสูงสุด
(2008)
    คิม ยอน-คยอง