โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี

โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี (อังกฤษ: Benjamarachutit Pattani School) (อักษรย่อ: บ.ม., B.M.) ปัจจุบันเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ เปิดสอนแบบสหศึกษาระดับมัธยมศึกษา อยู่ในความดูแลของสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่อปี พุทธศักราช 2455 ซึ่งโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานีนี้มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานมากกว่า 100 ปี และได้สร้างบุคลากรอันมีชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติไว้เป็นจำนวนมาก

โรงเรียนเบญจมราชูทิศ
จังหวัดปัตตานี
Benjamarachutit Pattani School
ที่ตั้ง
เลขที่ 2 ถนนสะบารัง ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี 94000
ข้อมูล
ชื่ออื่นบ.ม.
ประเภทรัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญสะอาด สามัคคี เรียนดี มีวินัย
นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา
(แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี)
สถาปนา22 ตุลาคม พ.ศ. 2457
ผู้ก่อตั้งพระรัตนธัชมนีศรีธรรมราชสังฆนายกตรี ปิฎกคุณาลังการ ศรีมาจารย์วินัย สุนทรัติคณิศรบวรสังฆารามคามวลี
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1002940101
ผู้อำนวยการโรงเรียนนายประสพ ชนามุยา
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษา
สี  เขียว
  ขาว
เพลงมาร์ชเบญจมราชูทิศ
เว็บไซต์http://www.benjamapn.ac.th [1]
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของโรงเรียน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนสะบารัง ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี

ประวัติโรงเรียน

แก้

ก่อกำเนิด

แก้

โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ 2455 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยมีพระภิกษุรูปหนึ่งซึ่งเป็นเถระผู้ใหญ่ "พระรัตนธัชมนีศรีธรรมราชสังฆนายก ตรีปิฎกคุณาลังการ ศรีมาจารย์วินัย สุนทรัติคณิศรบวรสังฆารามคามวลี" เป็นผู้รับผิดชอบวัดตั้งแต่นครศรีธรรมราชลงมาหลังจากที่ท่านได้ก่อตั้งโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช หลังจากนั้นหนึ่งปี ท่านได้มาตรวจเยี่ยม "วัดตานีสโมสร (วัดกลาง)" สมัยนั้นมีชื่อว่า "วัดบางน้ำจืด" ท่านได้เริ่มก่อตั้ง "โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี" ขึ้นโดยใช้ศาลาท่าน้ำเป็นสถานที่เรียน (ปัจจุบัน คือ ที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีดับเพลิง)

นักเรียนได้อาศัยเรียนอยู่ที่ศาลาท่าน้ำได้ประมาณครึ่งปี จึงย้ายมาเปิดสอนที่ริมแม่น้ำสามัคคีติดกับบ้านสะบารังโดยใช้พลับพลารับเสด็จพระปิยมหาราช ซึ่งพระองค์เสด็จมาตั้งกล้องดูดาวในสนามศักดิ์เสนีย์ (แท่นดูดาวขนาดกว้าง 2 เมตรสูง 2 เมตร ปัจจุบันฝังในสนามหมดแล้ว) ชื่อเรือนราชประสิทธิ์เป็นบรมราชานุสรณ์แต่พระพุทธเจ้าหลวงสมเด็จพระราชบิดา สมัยนั้นมีพระยาเดชานุภาพ หรือพระยาศักดิ์เสนี เป็นสมุหเทศาภิบาล มณฑลปัตตานี เปิดสอนแบบสหศึกษา มี "นายโต๊ะ" เป็นครูใหญ่ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2455

ต่อมาทางมณฑลปัตตานี ได้มีหนังสือราชกาลแจ้งไปยังกระทรวงธรรมการให้ทราบว่า

บรรดาข้าราชการ พ่อค้าและประชาชนในมณฑลปัตตานีได้ร่วมใจกับบริจาคทรัพย์ และสิ่งของรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 15,330 บาท 23 สตางค์ เพื่อจัดสร้างโรงเรียนประจำมณฑลขึ้น โดยสร้างอาคารเรียนเป็น เรือนไม้ยกพื้นชั้นเดียว 1 หลัง ตัวเรือนกว้าง 4 วา 2 ศอก ยาว 22 วา 2 ศอก ทาสีทั้งภายในและภายนอก แบ่งเป็น 6 ห้องเรียน ห้องพักครู 2 ห้อง ห้องประชุม 1 ห้อง รวมเงินค่าก่อสร้างตัวเรือน และจัดทำโต๊ะเก้าอี้รวมทั้งสิ้น 15,330 บาทถ้วน

เมื่อก่อสร้างอาคารเรียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทางมณฑลปัตตานี ได้จัดให้มีพิธีเปิดโรงเรียนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ 2457 โดยมหาอำมาตย์ตรีเดชานุชิตสมุหเทศาภิบาลมณฑลปัตตานี ได้เชิญเสด็จมหาอำมาตย์โท สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมขุนลพบุรีราเมศวร์สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราชเป็นประธานในพิธี โรงเรียนนี้มีนามตามที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานนามว่า "โรงเรียนเบญจมราชูทิศ"

ครั้น พ.ศ 2482 โรงเรียนปัตตานี "เบญจมราชูทิศ" ได้ย้ายมาเรียนที่อาคารเรียน 1 (ในปัจจุบันนี้รื้อออกแล้ว) ด้วยเหตุจำนวนนักเรียนมากขึ้น และเป็นการขยายบริเวณโรงเรียน ให้กว้างขวางพอกับจำนวน นักเรียนที่เพิ่มมากขึ้นด้วย

โรงเรียนปัตตานี เบญจมราชูทิศ ได้รับการเปลี่ยนชื่อให้เหมาะสมใหม่เป็น "โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี" เมื่อ พ.ศ 2510 ปัจจุบันนี้โรงเรียนมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 33 ไร่ 2 งาน 52 ตารางวาแบ่งเป็น 2 แปลง คือบริเวณตึกขาวติดกับหอสมุดพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดปัตตานี (ใช้อาคารเกษตรกรรมเป็นสำนักงานชั่วคราว) แปลงเกษตร บ้านพักครู-อาจารย์ นักการภารโรง 1 แปลงและที่ตั้งโรงเรียนปัจจุบัน รวมถึงสนามศักดิ์เสนี 1 แปลง โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี มีการกำหนด คณะกรรมการสภานักเรียน และคณะสี ต่าง ๆ ของโรงเรียนดังนี้ คณะกรรมการสภานักเรียน โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี มีชื่อทางการว่า "คณะจุลมงกุฎ" คณะสีประจำโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี มี 4 คณะสี ประกอบด้วย 1. คณะอัศวพาหุ (สีแดง) 2. คณะศรีอยุธยา (สีชมพู) 3. คณะสุริยงส่องฟ้า (สีแสด) 4. คณะวชิราวุธานุสรณ์ (สีม่วง) โดยโรงเรียนได้อยู่ในเครือข่ายสถาบันการศึกษารัชกาลที่ 6 จึงได้นำนามปากกา และประวัติของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มาเป็นชื่อคณะสีดังกล่าว

ทำเนียบผู้บริหาร

แก้

ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานีมีผู้บริหารรวม 28 ท่าน ดังนี้

ลำดับที่ รายนาม ตำแหน่ง เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 นายโต๊ะ ครูใหญ่ พ.ศ. 2455 พ.ศ. 2460
2 ขุนอนุพนธ์ศิษยานุศาสน์ ครูใหญ่ พ.ศ. 2460 พ.ศ. 2465
3 ขุนวิจิตรมาตรา ครูใหญ่ พ.ศ. 2465 พ.ศ. 2477
4 นายอ๋อง บุญยิ่ง ครูใหญ่ พ.ศ. 2477 พ.ศ. 2477
5 นายรุ่น วุฒมณี ครูใหญ่ พ.ศ. 2477 พ.ศ. 2484
6 นายสุดใจ เหล่าสุนทร ครูใหญ่ พ.ศ. 2484 พ.ศ. 2485
7 นายจำรัส สุขุมวัฒนะ ครูใหญ่ พ.ศ. 2485 พ.ศ. 2486
8 นายนิตย์ นพคุณ ครูใหญ่ พ.ศ. 2486 พ.ศ. 2490
9 นายกุศล สุจรรย ครูใหญ่ พ.ศ. 2490 พ.ศ. 2493
10 นายเดี่ยน ศรีวิโรจน ครูใหญ่ พ.ศ. 2493 พ.ศ. 2505
11 นายชำเลือง วุฒิจันทร์ อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2502 พ.ศ. 2506
12 นายช่วง เพชรานนท์ ผู้อำนวยการโรงเรียน พ.ศ. 2506 พ.ศ. 2522
13 นายสัญฐิกร บุญเพิ่ม ผู้อำนวยการโรงเรียน พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2524
14 นายสุวิชช์ ศรีทิพยราษฎร ผู้อำนวยการโรงเรียน พ.ศ. 2524 พ.ศ. 2527
15 นายนิทัศน์ ไชยรัตน์ ผู้อำนวยการโรงเรียน พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2529
16 ว่าที่ ร.ต. จรงค์ สำเภา ผู้อำนวยการโรงเรียน พ.ศ. 2529 พ.ศ. 2533
17 นายมนูญ แสงเจริญ ผู้อำนวยการโรงเรียน พ.ศ. 2533 พ.ศ. 2535
18 นายสถิต อุทัย ผู้อำนวยการโรงเรียน พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2537
19 นายณรงค์ พิสุทธิชาติ ผู้อำนวยการโรงเรียน พ.ศ. 2537 พ.ศ. 2540
20 นายปกรณ์ เทพษร ผู้อำนวยการโรงเรียน พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2541
21 นายเฉลียว พงศาปาน ผู้อำนวยการโรงเรียน พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2543
22 นายสนิท เศวตวงศ์สกุลยน ผู้อำนวยการโรงเรียน พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2544
23 นายนริศ ฤทธาภิรมย์ ผู้อำนวยการโรงเรียน พ.ศ. 2544 พ.ศ. 2546
24 นายวิลาพ อุทัยรัตน์ ผู้อำนวยการโรงเรียน พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2553
27 นายสมคิด บุตรทองแก้ว ผู้อำนวยการโรงเรียน พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2555
28 นายจุมพล ทองใหม่ ผู้อำนวยการโรงเรียน พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2563
29 นายประสพ ชนามุยา ผู้อำนวยการโรงเรียน พ.ศ. 2563 ปัจจุบัน

หลักสูตรที่เปิดสอน

แก้

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

แก้
  • โครงการห้องเรียนพิเศษ
    • ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (Enrichment Program of Science Mathematics Technology and Environment ; SMTE)
    • ห้องเรียนพิเศษเพชรพระเกี้ยว (Phrakiao Special Program ; PSP)
    • ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Science Program ; HSP)
    • ห้องเรียนพิเศษเตรียมสี่เหล่าทัพ (Pre-Cadet Program ; PCP)
    • ห้องเรียนพิเศษภาษาจีน (Chinese Program ; CP)
    • ห้องเรียนพิเศษดนตรีศึกษา (Music Program ; MP)
  • โครงการห้องเรียนปกติ
    • ห้องเรียนปกติ

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

แก้
  • โครงการห้องเรียนพิเศษ
    • ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (Enrichment Program of Science Mathematics Technology and Environment ; SMTE)
    • ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Science Program ; HSP)
    • ห้องเรียนพิเศษเตรียมสี่เหล่าทัพ (Pre-Cadet Program ; PCP)
    • ห้องเรียนพิเศษศิลป์อินเตอร์ (International Social Sciences Program ; ISSP)
    • ห้องเรียนพิเศษดนตรีศึกษา (Music Program ; MP)
  • โครงการห้องเรียนปกติ
    • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์
    • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์
    • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ (ศิลป์คำนวณ)
    • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ และภาษาจีน
    • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่น
    • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ และภาษาเกาหลี
    • แผนการเรียนสังคมศึกษา และภาษาไทย (ศิลป์ทั่วไป)

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้