โรงเรียนพัทลุง จังหวัดพัทลุง (ภาษาอังกฤษ: Phatthalung School) (ภาษาฝรั่งเศส : L'école Phattalung) เป็นโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนประจำจังหวัดพัทลุงสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ 270 ถนนราเมศวร์ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง มีตัวอักษรย่อ พ.ท. และตัวย่อในภาษาอังกฤษคือ P.T

โรงเรียนพัทลุง จังหวัดพัทลุง
Phatthalung School.png
ตราสัญลักษณ์โรงเรียนพัทลุง
ที่ตั้ง
เลขที่ 270 ถนนราเมศวร์ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ข้อมูล
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คติพจน์สุขา สงฆส สามคฺคี (ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะนำสุขมาให้)
สถาปนา1 เมษายน พ.ศ. 2448; 119 ปีก่อน (2448-04-01)
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1003930101
ผู้อำนวยการนางพรเพ็ญ แปวประเสริฐ
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 6
สี  เขียว-เหลือง
เพลงมาร์ชโรงเรียนพัทลุง
เว็บไซต์www.pt.ac.th

ปัจจุบันเปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 โดยระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ช่วงชั้นที่ 3) ประกอบด้วยห้องเรียนธรรมดา, ห้องเรียนพิเศษส่งเสริมความสามารถทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (SMTE) และห้องเรียนพิเศษส่งเสริมความสามารถทางภาษาอังกฤษ (MEP) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ช่วงชั้นที่ 4) ประกอบด้วยห้องเรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมห้องเรียนพิเศษส่งเสริมความสามารถทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (SMTE) และห้องเรียนแผนการเรียนศิลปศาสตร์ แบ่งเป็น ศิลป์-ทั่วไป (ไทย-สังคม), ศิลป์-คำนวณ และศิลป์-ภาษา ( ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาเยอรมัน, ภาษาจีน, ภาษาอังกฤษขั้นสูง (IEP) และภาษาญี่ปุ่น )

ประวัติโรงเรียน

แก้

การเปิดการสอนก่อนประกาศเปิดโรงเรียน

แก้

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรทั่วไปขึ้นตามวัดทั้งในกรุงและหัวเมืองต่างๆ เริ่มดำเนินการอย่างจริงจังใน ร.ศ. 118 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2442 เจ้าคุณพระรัตนธัชมุนี (ม่วง รตนโช) เมื่อครั้งมีสมณศักดิ์เป็นพระศิริธรรมมุนี และดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการการศึกษามลฑลมณฑลนครศรีธรรมราช (พัทลุง นครศรีธรรมราช และ สงขลา) ได้ตรวจสถานที่เพื่อสร้างโรงเรียนนี้ขึ้นใหม่ในจังหวัดพัทลุง และเห็นสมควรให้เปิดโรงเรียนขึ้นที่ศาลาการเปรียญวัดวัง ตำบลลำปำ ซึ่งเป็นสถานที่ใกล้กับที่ทำการกรมการจังหวัดพัทลุงในขณะนั้น ได้รับมอบหมายให้พระปลัดเอียด (พระครูอริยสังวาร) กับพระวินัยธรเทพ (พระครูธรรมจักรการาม) เป็นครูสอน

ประกาศเปิดโรงเรียน

แก้

ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2448 ได้มีการประกาศตั้งเป็นโรงเรียนหลวง ชื่อ "โรงเรียนอภยานานิวาส" นับเป็นโรงเรียนหลวงแห่งแรกของจังหวัดพัทลุง โดยทำการเปิดการสอนที่ศาลาการเปรียญวัดวัง ซึ่งเป็นสถานที่เปิดโรงเรียนมาแล้วนั่นเอง ในครั้งนั้นมีครูสอนในโรงเรียนเพียง 2 ท่าน คือพระภิกษุจีนเป็นครูใหญ่และนายย้อยเป็นผู้ช่วย

อาคารเรียนหลังแรก

แก้

ในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2455 ได้มีการปลูกสร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่ ณ บริเวณริมทะเลสาบลำปำ เมื่อสร้างแล้วเสร็จ ได้ย้ายโรงเรียนไปทำการสอนในอาคารแห่งนั้น แลกเรียกชื่อในขณะนั้นว่า "โรงเรียนอภยานุกูล" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นเป็น "โรงเรียนประจำจังหวัดพัทลุง" และใช้ชื่อนี้มาตลอดสมัยตั้งอยู่ที่ริมทะเลสาบลำปำ

การย้ายที่ตั้งโรงเรียนมาอยู่ตำบลคูหาสวรรค์

แก้

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 ได้ย้ายโรงเรียนจากริมทะเลสาบลำปำ เนื่องจากมีการย้ายทำการกรมการเมืองพัทลุงมาอยู่บริเวณตำบลคูหาสวรรค์ ซึ่งเป็นไปตามคำกราบบังคมทูลของ กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ โดยเห็นว่าเมืองพัทลุงควรอยู่ใกล้สถานีรถไฟเพื่อติดต่อกับทางเมืองหลวงได้สะดวก โรงเรียนประจำจังหวัดจึงจำเป็นต้องย้ายมาด้วย ในระยะแรกยังไม่มีอาคารเรียน จึงใช้ศาลาการเปรียญวัดประดู่หอมเป็นสถานที่เรียนและมีการการก่อสร้างอาคารเรียนใหม่ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบัน เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจึงได้ย้ายมาทำการเรียนการสอนในอาคารเรียนแห่งใหม่ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2470 โดยยังคงใช้ชื่อ "โรงเรียนประจำจังหวัดพัทลุง" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนพัทลุง" และเมื่อโรงเรียนได้เปิดทำการสอนจนถึงระดับเตรียมอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศเปลี่ยนแปลงชื่อโรงเรียนตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการลงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2500 เป็น "โรงเรียนพัทลุง จังหวัดพัทลุง" [1]ดังชื่อที่ใช้ปัจจุบัน

คณะสี

สีแสดรังสิมันตุ์ สีแดงจักราทิตย์ สีชมพูดาราดิลก สีม่วงเพชรดา สีฟ้าพลานุภาพ สีน้ำเงินรักไทย

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

แก้

สีประจำโรงเรียน

แก้

   

  • สีเขียว หมายถีง ความอุดมสมบูรณ์ การเจริญงอกงามของป่าและสวนอันเขียวขจี
  • สีเหลือง หมายถึง ความรุ่งเรีอง รอบรู้ เปรียบเสมือนรวงข้าวที่มีเมล็ดเต็มสีเหลืองอร่าม

อาคารสถานที่

แก้

โรงเรียนพัทลุงมี 3 แปลงดังนี้

แก้
  • แปลงที่ 1 อยูที่เลขที่ 270 ถนนราเมศวร์ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง มีเนื้อที่ 40 ไร่ 112 ตารางวา เป็นที่ตั้งอาคารเรียนส่วนใหญ่ของโรงเรียน อยู่ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศตะวันตกประมาณ 500 เมตร มีอาคารต่างๆดังนี้
อาคารเรียน มีอาคารเรียนทั้งหมดดังนี้
อาคารเรียน 1 แบบ 318 อาคาร 3 ชั้น จำนวน 18 ห้องเรียน
อาคารเรียน 2 แบบ 424 (ล) อาคาร 4 ชั้น จำนวน 32 ห้องเรียน
อาคารเรียน 3 แบบ พ 440 อาคาร 4 ชั้น จำนวน 18 ห้องเรียน
อาคารเรียน 4 แบบ 418 (ล) อาคาร 4 ชั้น ต่อเติมชั้นล่าง จำนวน 18 ห้องเรียน
อาคารเรียน 5 อาคาร 4 ชั้น จำนวน 12 ห้องเรียน
รวม 104 ห้องเรียน

อาคารอื่นๆ

แก้
อาคารประกอบ มีอาคารประกอบต่างๆ ดังนั้
1) ตึกอำนวยการ ใช้เป็นสำนักงาน
2) โรงฝึกงาน ใช้ฝึกปฏิบัติการ วิชาพื้นฐานอาชีพ
3) อาคารอเนกประสงค์ 4 ชั้น

ชั้นที่หนึ่งใช้เป็นโรงอาหาร ชั้นที่สองใช้เป็นห้องสมุด ชั้นที่สามใช้เป็นห้องปฏิบัติการวิชาคอมพิวเตอร์ ชั้นที่สี่อยู่ระหว่างการปรับปรุงยังไม่มีการใช้งานใดๆ

4) อาคารศูนย์กีฬา
5) สระว่ายน้ำ
6) อาคารประชาสัมพันธ์
7) อาคาร สวัสดิ์ โชติพานิช ใช้เป็นอาคารพยาบาล
8) อาคารห้องประชุม
9) อาคาร รท.วิมล สาครินทร์ ใช้เป็นห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
10) ห้องสื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
11) อาคารเฉลิมพระเกียรติ 100 พรรษา
12) หอเกียรติยศประวัติศาสตร์ โรงเรียนพัทลุง
13) บ้านพักครู 2 หลัง
  • แปลงที่ 2 ค่ายลูกเสือนำชัย ต.นาท่อม อ.เมืองพัทลุง จ.พัทลุง มีเนื้อที่ 15 ไร่ 214 ตารางวา แปลงที่ 2 เป็นที่ดินได้รับบริจาคจากคุณถนัด วรินทราเวช อยู่ที่ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ติดกับถนนพัทลุง-ตรัง ห่างจากตัวเมืองพัทลุง ประมาณ 9 กิโลเมตร
  • แปลงที่ 3 ต.นาท่อม อ.เมืองพัทลุง จ.พัทลุง เป็นที่ราชพัสดุซึ่งอนุญาตให้โรงเรียนพัทลุงใช้ประโยชน์ ห่างจากตัวเมืองพัทลุงประมาณ 10 กิโลเมตรจังหวัดพัทลุง เนื้อที่ 80 ไร่ เป็นพื้นที่ปลูกป่า ตามโครงการปลูกเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. http://www.pt.ac.th/pt/index.php?option=com_content&view=article&id=5&Itemid=37[ลิงก์เสีย]
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2013-12-31.