โรงเรียนนครพนมวิทยาคม

โรงเรียนนครพนมวิทยาคม (ย่อ: น.พ.ว.,อังกฤษ: Nakhonphanom Wittayakom School) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ประจำจังหวัดนครพนมเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น-ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแบบสหศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

โรงเรียนนครพนมวิทยาคม
Nakhonphanom Wittayakom School
ที่ตั้ง
ข้อมูล
ชื่ออื่นน.พ.ว. / NKPW
ประเภทโรงเรียนสังกัด สพฐ.
โรงเรียนประจำจังหวัด
โรงเรียนประเภทสหศึกษา
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่
คำขวัญปัญญา โลกัสมิ ปัชโชโต
(ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก)
ก่อตั้ง6 พฤษภาคม พ.ศ. 2520
(47 ปี)
เขตการศึกษานครพนม
รหัส1048190458
ผู้อำนวยการโรงเรียนนายสินธ์ สิงห์ศรี
ครู/อาจารย์149 คน[1]
จำนวนนักเรียน2,594 คน
ปีการศึกษา 2565[2]
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีน
เวียดนาม ภาษาเวียดนาม
ลาว ภาษาลาว
ห้องเรียน76 ห้อง
สี   เทา-แดง
เพลงมาร์ชโรงเรียนนครพนมวิทยาคม
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
ต้นไม้ประจำโรงเรียนนนทรี
เว็บไซต์http://www.nkpw.ac.th/web/

โรงเรียนนครพนมวิทยาคมเป็น 1 ในโรงเรียนมาตรฐานสากล (World Class Standard School) และยังเป็น 1 ใน 2 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษของจังหวัดนครพนม ที่เข้าร่วมในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ของ สสวท. ร่วมกับโรงเรียนปิยะมหาราชาลัย

ประวัติโรงเรียน

แก้

ในปีการศึกษา 2520 ได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัดแห่งที่สอง โดยใช้ที่ราชพัสดุ (สนามบินเก่า) จำนวน 50 ไร่ และได้ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2520 การเรียนการสอนในระยะเริ่มแรก ผู้ว่าราชการจังหวัดได้อนุมัติให้ใช้สถานที่กองร้อย อ.ส. จังหวัดเป็นที่เรียนชั่วคราวและแต่งตั้ง นางเวียงงาม ศรีวรขาน อาจารย์ใหญ่โรงเรียนธาตุพนม มารักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ ต่อมากรมสามัญศึกษาจึงได้แต่งตั้ง นายวิรัช บำรุงสวัสดิ์ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ต่อมาในปีการศึกษา 2521 โรงเรียนได้ย้ายมาทำการเรียนการสอนในสถานที่ของตนเอง (ที่ปัจจุบัน) ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2521 มีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 600 คน และมีครู 35 คน ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารชั่วคราว แบบ 004 จำนวน 5 ห้อง ปีการศึกษา 2522-2523 โรงเรียนได้รับที่ดินจากราชพัสดุเพิ่มอีก 3 ไร่ 3 งาน รวมแล้วมีเนื้อที่ 53 ไร่ 3 งาน และโรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนถาวร แบบ 324 และหอประชุมแบบใต้ถุนสูง และเปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในปี พ.ศ. 2523 ต่อมาในปีการศึกษา 2525 โรงเรียนได้เลือนฐานะหัวหน้าสถานศึกษาโดยมี นายทวีพงษ์ นวานุช ผู้อำนวยการโรงเรียนคนแรก

ในช่วงปีการศึกษา 2526-2530 นายวินัย เสาหิน ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน และในปี 2529 โรงเรียนได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษา เพื่อสร้างอาคารเรียนแบบ 318 จำนวน 1 หลัง ตลอดจนโรงฝึกงาน และในปี 2529 โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน แบบ 216 ล. (ปรับปรุง 29) อีก 1 หลัง ต่อมาในปีการศึกษา 2530 – 2531 นายประดิษฐ์ ศรีวรมาศ ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ต่อมาในปีการศึกษา 2531 – 2535 นายโอภาส วัยวัฒน์ ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนและได้รับงบประมาณสร้างอาคารโรงฝึกงานแบบ 102/27, ถังน้ำประปา และได้รับงบประมาณในการต่อเติมอาคาร 216 ล. โดยการต่อเติมชั้นล่างเป็นห้องสมุด และในช่วงปีการศึกษา 2535 – 2539 นายเจริญ ชาเรืองเดช ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ได้รับงบประมาณก่อสร้างบ้านพักครู, ห้องน้ำห้องส้วม, ปรับปรุงลู่วิ่งมาตรฐาน, และงบประมาณโครงการปฏิรูปการศึกษาในวงเงิน 1,000,000 บาท เป็นค่าก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก, สนามบาสเกตบอล, สนามวอลเล่ย์บอล, ลานคอนกรีต 800 ตารางเมตร และทาสีอาคารเรียน ในปี พ.ศ.2539 โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างสระว่ายน้ำมาตรฐาน 50 x 21 เมตร และในปีเดียวกันได้รับงบประมาณเหลือจ่ายจากการคืนเสาเข็มสระว่ายน้ำ เพื่อนซื้อรถตู้ 12 ที่นั่ง, รถไถเดินตาม

ในปีการศึกษา 2539 – 2540 นายเกรียงไกร ใจสุข ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนได้รับงบประมาณครุภัณฑ์การศึกษา เช่น ห้องปฏิบัติการทางภาษา ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ต่อมาปีการศึกษา 2540 – 2543 นายณรงค์ ชิณสาร ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนได้รับงบประมาณในการจัดศูนย์บริการคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตในโรงเรียน, โรงเรียนได้จัดระบบการเรียนการสอนทางไกล โครงการติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิดทุกห้องเรียน, โครงการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ครบทุกหมวดวิชา, โครงการจัดระบบเครือข่ายในโรงเรียน, โครงการป่ารักษ์น้ำ 12 สิงหา ต่อมาในปีการศึกษา 2543 – 2546 นายเพียร สุวรรณไตรย์ ผู้อำนวยการระดับ 9 เป็นผู้ประเมินภายในระดับกรม และในปีการศึกษา 2546 – 2550 นายคมสิน ศรีมานะศักดิ์ ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนได้เริ่มจัดการเรียนการสอนหลักสูตรขั้นพื้นฐาน โครงการ English Program

ในปีการศึกษา 2550 นายอนันต์ สุวรรณหงษ์ ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ต่อมาในปีการศึกษา 2552 โรงเรียนได้รับงบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการสร้างอาคารเรียนแบบ 324 ล. จำนวน 1 หลัง อีกทั้งยังได้รับการประเมินเป็นโรงเรียนต้นแบบ, โรงเรียนดีใกล้บ้าน, โรงเรียนในฝัน และได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ในปัจจุบันโรงเรียนนครพนมวิทยาคมเปิดสอน ตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 70 ห้องเรียน เป็นนักเรียนประมาณ 2,300 คน ครูอาจารย์ประมาณ 173 คน

แผนการเรียน

แก้

ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

แก้
  • โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ (EP) English Program
  • โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (SMTE) Science Mathematics Technology and Environment
  • โครงการห้องเรียนพิเศษคณิตศาสตร์ (GM) Gifted Mathematics Program
  • โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Cs-nwitt) Computer Science

ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

แก้
  • โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ (EP) English Program
  • โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (SMTE) Science Mathematics Technology and Environment
  • โครงการห้องเรียนพิเศษคณิตศาสตร์ (GM) Gifted Mathematics Program
  • โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Cs-nwitt) Computer Science
  • แผนการเรียน วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • แผนการเรียน ศิลป์-ภาษาจีน
  • แผนการเรียน ศิลป์-ทั่วไป

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน

แก้
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนนครพนมวิทยาคม
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ตำแหน่ง
1 นางเวียงงาม ศรีวรขาน พ.ศ. 2520 - 2521 ครูใหญ่
2 นายวิรัช บำรุงสวัสดิ์ พ.ศ. 2521 - 2524 ครูใหญ่
3 นายทวีพงษ์ นวานุช พ.ศ. 2524 - 2526 ผู้อำนวยการ
4 นายวินัย เสาหิน พ.ศ. 2526 - 2530 ผู้อำนวยการ
5 นายประดิษฐ์ ศรีวรมาศ พ.ศ. 2530 - 2531 ผู้อำนวยการ
6 นายโอภาส วัยวัฒน์ พ.ศ. 2531 - 2535 ผู้อำนวยการ
7 นายเจริญ ชาเรืองเดช พ.ศ. 2535 - 2539 ผู้อำนวยการ
8 นายเกรียงไกร ใจสุข พ.ศ. 2539 - 2540 ผู้อำนวยการ
9 นายณรงค์ ชิณสาร พ.ศ. 2540 - 2543 ผู้อำนวยการ
10 นายเพียร สุวรรณไตรย์ พ.ศ. 2543 - 2546 ผู้อำนวยการ
11 นายคมสิน ศรีมานะศักดิ์ พ.ศ. 2546 - 2550 ผู้อำนวยการ
12 นายอนันต์ สุวรรณหงษ์ พ.ศ. 2550 - 2560 ผู้อำนวยการ
13 นายประหยัด วังวร พ.ศ. 2560 - 2563 ผู้อำนวยการ
14 นายไพโรจน์ กิติศรีวรพันธุ์ พ.ศ. 2563 - 2564 ผู้อำนวยการ
15 นางทิพวรรณ เสนจันทร์ฒิชัย พ.ศ. 2564 - 2565 ผู้อำนวยการ
16 นายสินธ์ สิงห์ศรี พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการ

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้