ซิฟิลิส
ซิฟิลิส (อังกฤษ: syphilis) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคหนึ่ง มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย Treponema pallidum[2] ผู้ป่วยอาจมีอาการได้หลายอย่างขึ้นกับระยะที่เป็น (ระยะแรก ระยะที่สอง ระยะแฝง และระยะที่สาม)[1] ระยะแรกผู้ป่วยมักมีแผลริมแข็ง ซึ่งจะไม่เจ็บ แต่อาจมีแผลเจ็บขึ้นต่างหากได้[1] ระยะที่สองมักมีผื่นขึ้นทั่วตัว มักพบที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า[1] อาจมีแผลเจ็บในปากหรือในช่องคลอดได้[1] บางครั้งอาจเรียกว่า "ระยะออกดอก"[5] ระยะแฝงอาจไม่มีอาการใดๆ ได้นานหลายปี[1] และระยะที่สามจะมีก้อนเนื้อกัมมา และอาการทางระบบประสาทหรือหัวใจได้[6] บางครั้งโรคนี้ถูกเรียกว่าเป็นนักเลียนแบบผู้ยิ่งใหญ่ เนื่องจากทำให้มีอาการได้หลากหลาย คล้ายคลึงกับโรคอื่น ๆ หลายโรค[1][6]
ซิฟิลิส (Syphilis) | |
---|---|
ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน แสดงให้เห็นเชื้อซิฟิลิสมีลักษณะเกลียว | |
สาขาวิชา | โรคติดเชื้อ |
อาการ | แผลที่ผิวหนัง แข็ง ไม่เจ็บไม่คัน[1] |
สาเหตุ | เชื้อแบคทีเรีย Treponema pallidum ส่วนใหญ่ติดทางการมีเพศสัมพันธ์[1] |
วิธีวินิจฉัย | การตรวจเลือด[1] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | หลายโรค[1] |
การป้องกัน | การใช้ถุงยางอนามัย, การงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์[1] |
การรักษา | ยาปฏิชีวนะ[2] |
ความชุก | 45.4 ล้านคน / 0.6% (2015)[3] |
การเสียชีวิต | 107,000 คน (2015)[4] |
ซิฟิลิสติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์เป็นหลัก[1] นอกจากนี้ยังอาจติดจากมารดาไปยังทารกได้ทั้งในระยะตั้งครรภ์และระยะคลอด ทำให้ทารกป่วยจากโรคซิฟิลิสแต่กำเนิดได้[1][7] เชื้อ T. pallidum มีสปีชีส์ย่อยหลายชนิด ซึ่งทำให้เกิดโรคต่างๆ กันไป โดยสปีชีส์ย่อย pallidum ทำให้เกิดโรคซิฟิลิส, pertenue ทำให้เกิดโรคคุดทะราด (yaws), carateum ทำให้เกิดโรคพินตา (pinta) และ endemicum ทำให้เกิดโรคเบเจล (bejel)[6] การวินิจฉัยมักต้องอาศัยอาการและการตรวจเลือด ซึ่งสามารถตรวจพบเชื้อนี้ได้ผ่านการตรวจกล้องจุลทรรศน์แบบฉากมืด[1] ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อของสหรัฐอเมริกาแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ทุกรายได้รับการตรวจหาการติดเชื้อซิฟิลิสเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจฝากครรภ์[1] รวมถึงในประเทศไทยด้วย[8]
สามารถลดโอกาสการติดเชื้อซิฟิลิสจากการมีเพศสัมพันธ์ได้ด้วยการใช้ถุงยางอนามัย[1] การรักษาสามารถทำได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะ[2] ซึ่งได้ผลเป็นอย่างดี ยาที่แนะนำให้ใช้คือยาเพนนิซิลลินชนิดเบนซาทีนโดยฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ[2] ในกรณีที่แพ้ยาเพนิซิลลินอาจใช้ดอกซีซัยคลินหรือเตตราซัยคลินแทนได้[2] กรณีผู้ป่วยซิฟิลิสเข้าระบบประสาทแนะนำให้ใช้เบนซิลเพนิซิลลินชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือใช้เซฟไตรอะโซนแทน[2] ระหว่างการรักษาผู้ป่วยมักมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เรียกปฏิกิริยาเหล่านี้ว่าปฏิกิริยาแบบจาริค-เฮิร์กซ์ไฮเมอร์[2]
ข้อมูลปี พ.ศ. 2558 พบว่าทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อซิฟิลิสราว 45.4 ล้านคน[3] และเป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ 6 ล้านคน[9] ในปี พ.ศ. 2559 มีผู้เสียชีวิตจากซิฟิลิส 107,000 คน ซึ่งลดลงจากสถิติปี พ.ศ. 2533 ที่เคยสูงถึง 202,000 คน[10][4] จำนวนผู้ป่วยเคยลดลงจากเดิมมากในช่วงคริสตทศวรรษ 1940 เมื่อมีการค้นพบยาเพนิซิลลิน แต่หลังจากเข้ายุค 20s ซึ่งมีการระบาดของเอชไอวี จำนวนผู้ติดเชื้อก็เริ่มกลับเพิ่มสูงขึ้น[6][11] เชื่อกันว่าส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของการสำส่อนทางเพศ การค้าประเวณี การใช้ถุงยางอนามัยที่ลดลง การมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ปลอดภัยของกลุ่มชายที่เพศสัมพันธ์กับชาย[12][13][14] พ.ศ. 2558 คิวบาเป็นประเทศแรกที่ประสบความสำเร็จในการกำจัดการส่งผ่านเชื้อซิฟิลิสจากแม่สู่ลูกได้สำเร็จ[15] ในประเทศไทยพบว่าข้อมูล พ.ศ. 2556 มีจำนวนผู้ป่วยซิฟิลิส 3.67 ต่อประชากรแสนคน[16]
การป้องกัน
แก้วิธีการป้องกันโรคซิฟิลิสที่ง่ายที่สุดคือการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเวลาที่มีเพศสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เพื่อเป็นการป้องกันโรค ไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อย หากเป็นคู่รักใหม่ควรพาไปตรวจเลือดก่อนการมีเพศสัมพันธ์หรือแต่งงาน เพราะหากพบโรคจะได้รักษาได้ทันเวลา นอกจากนี้หากสงสัยว่าเป็นโรคซิฟิลิส ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
การรักษา
แก้หากผู้ป่วยรู้ว่าตนเองเป็นโรคซิฟิลิสในระยะแรกหรือเริ่มต้น ผู้ป่วยไม่ควรกังวลหรือเครียด เพราะจะยิ่งทำให้สุขภาพร่างกาย และจิตใจทรุดโทรม แต่ผู้ป่วยควรพบแพทย์อยู่เป็นประจำ เพราะในระยะแรกยังมีทางรักษาให้หายขาดได้ โดยการทานยาปฏิชีวนะ เพนนิซิลิน เป็นเวลา 3 สัปดาห์ แต่ระยะเวลาในการรักษาขึ้นอยู่กับสุขภาพและโรคที่เป็นด้วย
อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยรักษาจนหายขาดแล้ว แต่ก็อย่ามั่นใจว่าจะหายขาด ผู้ป่วยควรมีการติดตามผลอย่างเป็นประจำ โดยการกลับมาตรวจซ้ำ ๆ อีกครั้ง ทุก ๆ 3 เดือน จนครบ 3 ปี และควรปฏิบัติคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด และสิ่งที่สำคัญที่สุดคืองดการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อจะได้ไม่แพร่เชื้อแก่ผู้อื่น
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 "Syphilis - CDC Fact Sheet (Detailed)". CDC. 2 พฤศจิกายน 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2016. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2016.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 "Syphilis". CDC. 4 มิถุนายน 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2016. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2016.
- ↑ 3.0 3.1 GBD 2015 Disease and Injury Incidence and Prevalence, Collaborators. (8 ตุลาคม 2016). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1545–1602. PMID 27733282.
{{cite journal}}
:|first1=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ 4.0 4.1 GBD 2015 Mortality and Causes of Death, Collaborators. (8 ตุลาคม 2016). "Global, regional, and national life expectancy, all-cause mortality, and cause-specific mortality for 249 causes of death, 1980-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1459–1544. PMID 27733281.
{{cite journal}}
:|first1=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ "เรื่องที่ 2 โรคติดต่อและโรคเขตร้อน". โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ. Vol. 10.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 Kent ME, Romanelli F (กุมภาพันธ์ 2008). "Reexamining syphilis: an update on epidemiology, clinical manifestations, and management". Annals of Pharmacotherapy. 42 (2): 226–36. doi:10.1345/aph.1K086. PMID 18212261.
- ↑ Woods CR (มิถุนายน 2009). "Congenital syphilis-persisting pestilence". Pediatr. Infect. Dis. J. 28 (6): 536–7. doi:10.1097/INF.0b013e3181ac8a69. PMID 19483520.
- ↑ สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, แนวทางระดับชาติเรื่องการกำจัดโรคซิฟิลิสแต่กำเนิดในประเทศไทย พ.ศ. 2558. http://e-library-aidssti.ddc.moph.go.th/books/detail/347 เก็บถาวร 2018-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เข้าถึงเมื่อ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2560
- ↑ Newman, L; Rowley, J; Vander Hoorn, S; Wijesooriya, NS; Unemo, M; Low, N; Stevens, G; Gottlieb, S; Kiarie, J; Temmerman, M (2015). "Global Estimates of the Prevalence and Incidence of Four Curable Sexually Transmitted Infections in 2012 Based on Systematic Review and Global Reporting". PLOS ONE. 10 (12): e0143304. doi:10.1371/journal.pone.0143304. PMC 4672879. PMID 26646541.
- ↑ Lozano, R (15 ธันวาคม 2012). "Global and regional mortality from 235 causes of death for 20 age groups in 1990 and 2010: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2010". Lancet. 380 (9859): 2095–128. doi:10.1016/S0140-6736(12)61728-0. hdl:10536/DRO/DU:30050819. PMID 23245604.
- ↑ Franzen, C (ธันวาคม 2008). "Syphilis in composers and musicians--Mozart, Beethoven, Paganini, Schubert, Schumann, Smetana". European Journal of Clinical Microbiology & Infectious Diseases. 27 (12): 1151–7. doi:10.1007/s10096-008-0571-x. PMID 18592279.
- ↑ Coffin, L. S.; Newberry, A.; Hagan, H.; Cleland, C. M.; Des Jarlais, D. C.; Perlman, D. C. (มกราคม 2010). "Syphilis in Drug Users in Low and Middle Income Countries". The International journal on drug policy. 21 (1): 20–7. doi:10.1016/j.drugpo.2009.02.008. PMC 2790553. PMID 19361976.
- ↑ Gao, L; Zhang, L; Jin, Q (กันยายน 2009). "Meta-analysis: prevalence of HIV infection and syphilis among MSM in China". Sexually transmitted infections. 85 (5): 354–8. doi:10.1136/sti.2008.034702. PMID 19351623.
- ↑ Karp, G; Schlaeffer, F; Jotkowitz, A; Riesenberg, K (มกราคม 2009). "Syphilis and HIV co-infection". European Journal of Internal Medicine. 20 (1): 9–13. doi:10.1016/j.ejim.2008.04.002. PMID 19237085.
- ↑ "WHO validates elimination of mother-to-child transmission of HIV and syphilis in Cuba". WHO. 30 มิถุนายน 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2015.
- ↑ สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, แนวทางการดูแลรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พ.ศ. 2558. http://e-library-aidssti.ddc.moph.go.th/books/detail/323 เก็บถาวร 2018-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เข้าถึงเมื่อ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2560
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |