แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอฟ-4 แฟนทอม 2

เอฟ-4 แฟนท่อม 2 (อังกฤษ: F-4 Phantom II)[1][2] เป็นเครื่องบินสกัดกั้นโจมตีพิสัยไกลทุกสภาพอากาศสองที่นั่ง สองเครื่องยนต์ ความเร็วเหนือเสียง เดิมทีสร้างมาเพื่อกองทัพเรือสหรัฐฯ โดยแมคดอนเนลล์ แอร์คราฟท์[2] ด้วยการที่ใช้งานง่าย จึงได้กลายมาเป็นเครื่องบินส่วนใหญ่ของกองทัพเรือ กองนาวิกโยธิน และกองทัพอากาศสหรัฐฯ[3] F-4 ถูกใช้อย่างกว้างขวางโดยทั้งสามกองทัพในสงครามเวียดนามโดยทำหน้าที่เป็นเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศหลักให้กับกองทัพเรือและกองทัพอากาศ เช่นเดียวกับทำหน้าที่ลาดตระเวนและโจมตีภาคพื้นดิน[3]

เอฟ-4 แฟนท่อม 2
บทบาทเครื่องบินสกัดกั้นและเครื่องบินขับไล่โจมตี
ชาติกำเนิด สหรัฐ
บริษัทผู้ผลิตแมคดอนเนลล์ ดักลาส
บินครั้งแรก27 พฤษภาคม พ.ศ. 2501
เริ่มใช้30 มกราคม พ.ศ. 2503
สถานะมี 631 ลำที่ใช้โดยกองกำลังที่ไม่ใช่สหรัฐฯ
สหรัฐฯ ใช้เป็นโดรนในปีพ.ศ. 2551
ผู้ใช้งานหลักกองทัพอากาศสหรัฐ
กองทัพเรือสหรัฐ
กองนาวิกโยธินสหรัฐ
ช่วงการผลิตพ.ศ. 2501-2524
จำนวนที่ผลิต5,195 ลำ
มูลค่า2.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

F-4 เข้าประจำการครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2503 แฟนทอมยังคงเป็นส่วนสำคัญของกองทัพสหรัฐฯ ตลอดจนทศวรรษที่ 1970 และ 1980 ด้วยการถูกแทนที่โดยเอฟ-15 อีเกิลและเอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอนในกองทัพอากาศสหรัฐฯ ส่วนในกองทัพเรือสหรัฐฯ แทนที่ด้วยเอฟ-14 ทอมแคทและเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท และเอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ทในกองนาวิกโยธิน ยังคงถูกใช้ทำหน้าที่ลาดตระเวนโดยสหรัฐฯ ในสงครามอ่าวจนปลดประจำการในปีพ.ศ. 2539[4][5] แฟนทอมยังถูกใช้โดยประเทศอื่นๆ อีก 11 ประเทศ อิสราเอลได้ใช้แฟนทอมอย่างกว้างขวางในสงครามอาหรับ-อิสราเอล ในขณะที่อิหร่านใช้กองบินขนาดใหญ่ในสงครามอิรัก-อิหร่าน แฟนทอมยังคงอยู่ในแนวหน้าของเจ็ดประเทศด้วยกัน และยังใช้เป็นเป้าหมายไร้คนขับของกองทัพอากาศสหรัฐฯ[6]

การผลิตแฟนท่อมเริ่มขึ้นจากปีพ.ศ. 2501-2524 พร้อมมีเครื่องบินทั้งสิ้น 5,195 ลำที่ผลิตออกมา[3] การผลิตมากขนาดนี้ ทำให้เป็นเครื่องบินไอพ่นที่ผลิตออกมามากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากเอฟ-86 เซเบอร์ที่สร้างออกมาเกือบ 10,000 ลำ

คำอธิบาย แก้

เอฟ-4 แฟนท่อม ถูกออกแบบให้เป็นเครื่องบินขับไล่ป้องกันประจำกองบินสำหรับกองทัพเรือสหรัฐฯ และได้เข้าประจำการครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2503 ในปีพ.ศ. 2506 ถูกใช้โดยกองทัพอากาศสหรัฐฯ ให้ทำหน้าที่เครื่องบินขับไล่โจมตี เมื่อการผลิตสิ้นสุดลงในปีพ.ศ. 2524 แฟนทอม 2 จำนวน 5,195 ลำคือจำนวนทั้งหมดถูกสร้างขึ้นมา ทำให้เป็นเครื่องบินทางทหารของสหรัฐฯ ที่มีจำนวนมากที่สุด[7] จนกระทั่งมีการสร้างเอฟ-15 อีเกิล เอฟ-4 ยังคงทำสถิติในการเป็นเครื่องบินขับไล่ที่มีระยะการผลิตยาวนานที่สุดคือ 24 ปี วัตกรรมของเอฟ-4 รวมทั้งเรดาร์พัลส์และการใช้ไทเทเนียมในการทำโครงสร้าง[8]

แม้ว่าจะมีมิติที่โอ่อ่าและน้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุดมากกว่า 27,000 กิโลกรัม[9] เอฟ-4 ก็ยังทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 2.23 มัค และมีการไต่ระดับมากกว่า 41,000 ฟุตต่อนาที[10] ไม่นานหลังจากนำมาใช้งาน แฟนทอมก็ทำสถิติโลกไว้ 15 สถิติด้วยกัน[11] ซึ่งรวมทั้งความเร็วสัมบูรณ์ที่ 2,585 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและความสูงสัมบูรณ์ที่ 98,557 ฟุต[12] แม้ว่าจะเกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2502-2505 ทั้งห้าสถิติความเร็วก็ยังอยู่จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2518 เมื่อเอฟ-15 อีเกิล เข้าประจำการ[11]

 
เอฟ-4เจของบลูแองเจิลตั้งแต่ปีพ.ศ. 2502-2517

เอฟ-4 สามารถบรรทุกอาวุธได้มากถึง 8,480 กิโลกรัม บนที่ตั้งเก้าตำบลรวมทั้งขีปนาวุธอากาศสู่อากาศทั้งที่นำและไม่นำวิถี และระเบิดนิวเคลียร์[13] ตั้งแต่ที่เอฟ-8 ครูเซเดอร์ถูกใช้เพื่อการต่อสู้ระยะใกล้ เอฟ-4 จึงถูกออกแบบมาเหมือนกับเครื่องบินสกัดกั้นลำอื่นๆ คือไม่มีปืนใหญ่[14] ในการต่อสู้ผู้ควบคุมเรดาร์หรือผู้ควบคุมระบบอาวุธ (มักเรียกว่าผู้นั่งหลังหรือแบ็คซีทเตอร์ (backseater)) จะช่วยในการหาตำแหน่งข้าศึกด้วยสายตาเช่นเดียวกันเรดาร์ แฟนทอมได้กลายมาเป็นเครื่องบินขับไล่โจมตีหลักทั้งของกองทัพเรือและกองทัพอากาศเมื่อจบสงครามเวียดนาม

เนื่องมาจากรูปลักษณ์ที่โดดเด่นและการใช้งานอย่างแพร่หลายโดยกองทัพและพันธมิตรของสหรัฐฯ เอฟ-4 จึงเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่โด่งดังของสงครามเย็น โดยทำหน้าที่ในเวียดนามและสงครามอาหรับ-อิสราเอล พร้อมกับนักบิน เอฟ-4 ของอเมริกาที่ได้ชัยชนะ 227 ครั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และการโจมตีภาคพื้นดินอีกนับไม่ถ้วน[15]

 
ขบวนของ เอฟ-4 แฟนทอม 2 ทำการบินสาธิตในวันครบรอบ 50 ปีกองทัพอากาศสหรัฐฯ

เอฟ-4 แฟนท่อม ยังเป็นเครื่องบินขับไล่แบบสุดท้ายของอเมริกาที่ได้สถานะยอดเยี่ยมในศตวรรษที่ 20 ในสงครามเวียดนาม นักบินหนึ่งนายและผู้ควบคุมอาวุธสองนายจากกองทัพอากาศ[16] และนักบินหนึ่งนายและผู้ควบคุมเรดาร์หนึ่งนายจากกองทัพเรือ[17]ได้ทำการรบทางอากาศที่ยอดเยี่ยม แฟนทอมยังสามารถทำหน้าที่ลาดตระเวนทางยุทธวิธีและทำการกดดันการป้องกันทางอากาศของศัตรู โดยได้ทำหน้าที่ในปีพ.ศ. 2534 ในสงครามอ่าว[4][5]

การทำงานของเครื่องบินขับไล่ชั้น 2 มัค พร้อมพิสัยไกลและขนาดบรรทุกเท่าเครื่องบินทิ้งระเบิด ได้กลายมาเป็นแม่แบบของเครื่องบินขับไล่รุ่นต่อๆ มา แฟนท่อมได้ถูกแทนที่โดยเอฟ-15 อีเกิลและเอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอนในกองทัพอากาศสหรัฐฯ ในกองทัพเรือนั้น ถูกแทนที่โดยเอฟ-14 ทอมแคทและเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท ฮอร์เน็ทนั้นได้รับหน้าที่เป็นเครื่องบินขับไล่สองบทบาท[18]

การออกแบบและการพัฒนา แก้

 
ห้องนักบินของเอฟ-4 แฟนท่อม 2

ต้นกำเนิด แก้

ในปีพ.ศ. 2495 หัวหน้าด้านอากาศพลศาสตร์ของแมคดอนเนลล์ เดวิด เอส ลีวิส ได้ถูกแต่งตั้งโดย จิม แมคดอนเนลล์ ให้เป็นผู้จัดการในการออกแบบของบริษัท[19] เมื่อไม่มีเครื่องบินลำใดเข้าแข่งขัน ทางกองทัพเรือมีความต้องการเครื่องบินแบบใหม่อย่างมาก คือ เครื่องบินขับไล่โจมตี[20]

ในปีพ.ศ. 2496 แมคดอนเนลล์ แอร์คราฟท์เริ่มทำการปรับปรุงเอฟ 3 เอช ดีมอนเพื่อขยายขีดความสามารถและการทำงานที่ดีขึ้น บริษัทฯ ได้สร้างโครงการมากมายรวมทั้งแบบที่ใช้เครื่องยนต์ไรท์ เจ 67[21] และไรท์ เจ 65 สองเครื่อง หรือเครื่องยน์เจเนรัล อิเลคทริก เจ 79 สองเครื่อง[22] รุ่นที่ใช้ เจ 79 ได้แสดงให้เห็นถึงความเร็วสูงสุดที่ 1.97 มัค เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2496 แมคดอนเนลล์ตรงเข้าหากองทัพเรือสหรัฐฯ พร้อมข้อเสนอสำหรับซูเปอร์ดีมอน ด้วยความไม่เหมือนใครเครื่องบินลำนี้สามารถใช้ได้หนึ่งหรือสองที่นั่งสำหรับภารกิจที่แตกต่างกันไป มีเรดาร์ กล้องถ่ายภาพ ปืนใหญ่ขนาด 20 ม.ม.สี่กระบอกหรือจรวดไม่วำวิถี 56 ลูกในเก้าตำบลทั้งใต้ปีกและใต้ลำตัว กองทัพเรือให้ความสนใจอย่างมากเพื่อเติมเต็ม เอฟ 3 เอช/จี/เอช แต่ก็รู้สึกว่ากรัมแมน เอ็กซ์เอฟ 9 เอฟ-9 และวอท เอ็กซ์เอฟ 8 ยู-1 ที่กำลังมาก็มีความเร็วเหนือเสียงอยู่แล้ว[23]

แบบของแมคดอนเนลล์ได้ถูกทำใหม่ให้เป็นเครื่องบินขับไล่โจมตีทุกสภาพอากาศพร้อมที่ติดตั้งอาวุธ 11 ตำบล และในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2497 บริษัทฯ ได้รับจดหมายที่แสดงความสนใจต้นแบบวายเอเอช-1 สองลำ ในวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 นายทหารสี่นายจากกองทัพเรือได้มาถึงที่สำนักงานแมคดอนเนลล์ และภายในหนึ่งชั่วโมง พวกเขาได้แสดงความต้องการใหม่ทั้งหมดต่อบริษัทฯ เพราะว่ากองทัพเรือมีเครื่องเอ-4 สกายฮอว์คสำหรับการโจมตีภาคพื้นดิน และเอฟ-8 ครูเซเดอร์ สำหรับการต่อสู้ทางอากาศอยู่แล้ว โครงการจึงเปลี่ยนมาเพื่อเติมเต็มความต้องการเครื่องบินสกัดกั้นในทุกสภาพอากาศแทน โดยใช้ลูกเรือสองนายในการใช้เรดาร์ที่ทรงพลัง[2]

ต้นแบบ เอ็กซ์เอฟ 4 เอช-1 แก้

เอ็กซ์เอฟ 4 เอช-1 ถูกออกแบบมาเพื่อบรรทุกขีปนาวุธนำวิถีด้วยเรดาร์เอเอเอ็ม-เอ็น-6 สแปร์โรว์ 3 และใช้เครื่องยนต์ เจ 79-จีอี-8 สองเครื่องยนต์ เช่นเดียวกับเอฟ-101 วูดูที่เครื่องยนต์อยู่ในระดับต่ำเพื่อเพิ่มความจุของเชื้อเพลิงและตักอากาศเข้าสู่ช่องรับลม ปีที่บางทำมุม 45° และติดตั้งระบบควบคุมสำหรับเพิ่มการควบคุมความเร็วในระดับต่ำ[24]

การทดสอบในอุโมงค์ลมได้เผยให้เห็นความไม่สเถียรที่ต้องการมุมปีกเพิ่มอีก 5°[25] เพื่อหลีกเลี่ยงการออกแบบใหม่ วิศวกรของแมคดอนเนลล์ได้เพิ่มมุมขึ้นอีก 12° ซึ่งเฉลี่ยแล้วก็เท่ากับ 5° ของปลายปีกทั้งสอง นอกจากนั้นปีกยังได้รับส่วนที่เรียกว่าเขี้ยวสุนัข (dogtooth) สำหรับเพิ่มมุมปะทะ ส่วนหางของเครื่องบินทั้งหมดถูกเลื่อนเพิ่มทำมุม 23° เพื่อให้ทำมุมปะทะได้ในขณะที่หางเองไม่ไปบังท่อไอเสีย[24] นอกจากนี้ที่รับลมถูกติดตั้งเข้าไปพร้อมส่วนลาดเอียงที่เคลื่อนที่ได้เพื่อควบคุมทิศทางการไหลเวียนของอากาศสู่เครื่องยนต์ในความเร็วเหนือเสียง ความสามารถในการเข้าสกัดกั้นทุกสภาพอากาศนั้นมาจากเรดาร์แบบ เอเอ็ม/เอพีคิว 50 เพื่อทำงานบนเรือบรรทุกเครื่องบินอุปกรณ์ลงจอดจึงได้ติดตั้งลงไปพร้อมอัตราจม 23 ฟุตต่อวินาที ในขณะที่ส่วนจมูกยืดอีก 20 นิ้ว (50 ซ.ม.) เพื่อเพิ่มมุมปะทะตอนวิ่งขึ้น[25]

การตั้งชื่อ แก้

ตอนแรกนั้นมีการเสนอชื่อให้ เอฟ 4 เอช เป็น"ซาตาน"และ"มิธราส"เทพแห่งแสงของเปอร์เซีย[26] สุดท้ายเครื่องบินก็ได้ชื่อ"แฟนท่อม 2" แฟนทอมแรกนั้น คือ เครื่องบินไอพ่นอีกแบบของแมคดอนเนลล์ คือเอฟเอช แฟนทอม แฟนท่อม 2 ถูกใช้ชื่อเอฟ-110 เอ และ"สเปกเตอร์"โดยกองทัพอากาศสหรัฐฯ ในระยะหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้ใช้อย่างจริงจัง[27]

การทดสอบต้นแบบ แก้

ในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2498 กองทัพเรือได้สั่งซื้อ เอ็กซ์เอฟ 4 เอช-1 สำหรับทดสอบจำนวนสองลำ และ วายเอฟ 4 เอช-1 ห้าลำ ที่เป็นการสั่งซื้อก่อนการผลิต แฟนทอมทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 พร้อม โรเบิร์ต ซีลิตเติล ผู้ควบคุม ปัญหาไฮดรอลิกของล้อลงจอดนั้นปรากฏขึ้นแต่ก่อนบินเที่ยวต่อๆ มาก็ราบรื่น การทดสอบก่อนหน้าทำให้เกิดการออกแบบช่องรับลมใหม่ รวมทั้งช่องปล่อยลมบนแผ่นลาด และไม่นานเครื่องบินก็เตรียมแข่งกับเอ็กซ์เอฟ 8 ยู-3 ครูเซเดอร์ 3 เนื่องมาจากปริมาณที่ทำงานได้ กองทัพเรือต้องการเครื่องบินสองที่นั่งและในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2501 เอฟ 4 เอช ถูกประกาศว่าเป็นผู้ชนะ ความล่าช้าของเครื่องยนต์ เจ 79-จีอี-8 หมายความว่าเครื่องบินในการผลิตครั้งแรกใช้เครื่องยนต์ เจ 79-จีอี-2 และ -2เอ แทน ซึ่งแต่ละเครื่องให้กำลัง 16,100 ปอนด์เมื่อใช้สันดาปท้าย ในปีพ.ศ. 2503 แฟนทอมเริ่มทำการทดสอบความเหมาะสมกับเรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส อินดีเพนเดนซ์[25]

การผลิต แก้

 
 
เอฟ-4ซี เติมเชื้อเพลิงจาก เคซี-135 แทงค์เกอร์ ก่อนที่จะเข้าโจมตีฝ่ายเวียดนามเหนือ แฟนทอมบรรทุกระเบิดทั่วไปขนาด 750 ปอนด์ ขีปนาวุธสแปร์โรว์ และถังเชื้อเพลิงด้านนอก

ในการผลิตช่วงแรกเรดาร์ถูกพัฒนาให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นแบบ เอเอ็น/เอพีคิว-72 และห้องนักบินถูกดัดแปลงเพื่อเพิ่มทัศนวิสัย และทำให้ห้องนักบินส่วนหลังมีพื้นที่มากขึ้น[28] แฟนทอมประสบกับการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทำให้มีแบบต่างๆ จำนวนมาก

กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้รับแฟนท่อมตามที่รัฐมนตรีกลาโหม โรเบิร์ต แมคนามาราได้ผลักดันให้มีการสร้างเครื่องบินที่เหมาะกับทุกกองทัพ หลังจากที่ เอฟ-4 บี ได้ชัยชนะใน"ปฏิบัติการไฮสปีด" (Operation Highspeed) เหนือคู่แข่งที่เป็นเอฟ-106 เดลต้า ดาร์ท กองทัพอากาศจึงได้ยืม เอฟ-4 บี ของกองทัพเรือมาสองลำ และใช้ชื่อว่าเอฟ-110 เอ สเปกเตอร์ชั่วคราวในเดือนมกราคม พ.ศ. 2505 และได้เพิ่มความต้องการในแบบของพวกเขาเอง แฟนทอมไม่เหมือนกับของกองทัพเรือ ตรงที่กองทัพอากาศนั้นเน้นไปที่บทบาททิ้งระเบิด ด้วยการรวมชื่อของแมคนามาราเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2505 แฟนทอมได้กลายมาเป็น เอฟ-4 โดยที่กองทัพเรือเรียกมันว่า เอฟ-4 บี และกองทัพอากาศเรียกว่า เอฟ-4 ซี แฟนทอมของกองทัพอากาศทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 โดยทำความเร็วได้ 2 มัค ในการบินครั้งนั้น[29]

การผลิตแฟนท่อม 2 ในสหรัฐฯ สิ้นสุดลงในปีพ.ศ. 2522 หลังจากที่ผลิตออกมาได้ 5,195 ลำ (5,057 ลำผลิตโดยแมคดอนเนลล์ ดักลาส และ 138 ลำผลิตโดยมิตซูบิชิในญี่ปุ่น) ทำให้เป็นเครื่องบินอันดับสองที่ส่งออกและผลิตออกมามากที่สุดรองจากเอฟ-86 เซเบอร์ที่ยังคงเป็นเครื่องบินไอพ่นที่มีจำนวนมากที่สุดของสหรัฐฯ โดยมีจำนวน 2,874 ลำเป็นของกองทัพอากาศ 1,264 ลำเป็นของกองทัพเรือและนาวิกโยธินสหรัฐฯ และของลูกค้าต่างชาติ[30] เอฟ-4 ลำสุดท้ายที่สร้างโดยสหรัฐฯ เป็นของตุรกี ในขณะที่ เอฟ-4 ลำท้ายสุดเสร็จในปี พ.ศ. 2524 ซึ่งเป็นของอุตสาหกรรมมิตซูบิชิญี่ปุ่น ในปีพ.ศ. 2551 มีแฟนทอม 631 ลำยังคงอยู่ในประจำการทั่วโลก</ref>[31] ในขณะที่แฟนทอมยังคงถูกใช้เป็นโดรนโดยกองทัพสหรัฐฯ

แบบต่างๆ แก้

 
คิวเอฟ-4อี ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ เมื่อปีพ.ศ. 2548
เอฟ-4 เอ, บี, เจ, เอ็น และเอส (F-4 A, B, J, N, S)
แบบของกองทัพเรือและกองนาวิกโยธินสหรัฐฯ เอฟ-4 บี ถูกพัฒนาเป็นเอฟ-4 เอ็น และเอฟ-4 เจ ถูกพัฒนาเป็นเอฟ-4 เอส
เอฟ-110 สเปกเตอร์, เอฟ-4 ซี, ดี และอี (F-100, F-4 C, D, E)
แบบของกองทัพอากาศสหรัฐฯ เอฟ-4 อี เริ่มใช้เอ็ม61 วัลแคน เอฟ-4 ดี และอี เป็นแบบส่งออกที่กว้างขวาง
เอฟ-4 จี ไวลด์วีเซล 5 (F-4G)
แบบสำหรับการกดดันการป้องกันทางอากาศของศัตรูพร้อมเรดาร์และระบบอิเลคทรอนิกที่พัฒนาดัดแปลงมาจากเอฟ-4 อี
เอฟ-4 เค และเอ็ม (F-4 K, M)
แบบของกองทัพอังกฤษที่ดัดแปลงเครื่องยนต์เป็นของโรลส์รอยซ์แทน
เอฟ-4 อีเจ (F-4EJ)
เอฟ-4 อี รุ่นส่งออกและสร้างในญี่ปุ่น
เอฟ-4 เอฟ (F-4F)
เอฟ-4 อี ส่งออกสำหรับเยอรมนี
คิวเอฟ-4 บี, อี, จี, เอ็น และเอส (QF-4 B, E, J, N, S)
เครื่องบินที่ปลดประจำการ ที่ถูกดัดแปลงเป็นเป้าหมายควบคุมจากระยะไกลที่ใช้เพื่อการวิจัยระบบอาวุธและการป้องกัน
อาร์เอฟ-4 บี, ซี, และอี (RF-4 B, C, E)
แบบสำหรับภารกิจสอดแนมทางยุทธวิธี

รายละเอียด เอฟ-4 แฟนท่อม 2 แก้

 
  • ผู้สร้าง:บริษัทแมคดอนเนลล์ ดักลาส (สหรัฐอเมริกา)
  • ประเภท:เจ๊ตขัลไล่ครองอากาศและสนับสนุนหน่วยกำลังภาคพื้น 2 ที่นั่ง
  • เครื่องยนต์:เทอร์โบเจ็ต เยเนอรัล อีเล็คตริค เจ-79-ยีอี-17 เอ ให้แรงขับเครื่องละ 12,000 ปอนด์ และ 18,000 ปอนด์ เมื่อใช้สันดาปท้าย 2 เครื่อง
  • กางปีก:11.77 เมตร
  • ยาว:19.20 เมตร
  • สูง:5.02 เมตร
  • พื้นที่ปีก:49.2 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า:13,757 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นทำการรบ:18,818 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด:28,030 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วขั้นสูง:2.23 มัค ที่ระยะความสูง 40,000 ฟุต และ 1.2 มัค ที่ระยะความสูง 1,000 ฟุต
  • รัศมีทำการรบ:1,266 กิโลเมตร เมื่อปฏิบัติภารกิจสกัดกั้น และ 795 กิโลเมตร เมื่อปฏิบัตภารกิจครองอากาศ
  • เพดานการบิน:60,000 ฟุต
  • อาวุธ:ปืนใหญ่อากาศ เอ็ม 61 เอ-1 ขนาด 20 มม. 1 กระบอกที่ลำตัวส่วนหัว
  • รวมน้ำหนักอาวุธ 7,250 กิโลกรัม ที่ใต้ลำตัว 5 ตำบล และ ใต้ปีกละ 2 ตำบล รวม 9 ตำบล

[32][24]

อ้างอิง แก้

  1. เดิมทีได้ชื่อว่า เอเอช และต่อมาเป็น เอฟ 4 เอช เอฟ-4 ใช้ในปีพ.ศ. 2505 เมื่อมีการเปลี่ยนระบบบอกชื่อของกองทัพสหรัฐฯ ใน บ.แมคดอนเนลล์ ดักลาส เครื่องบินได้ชื่อว่าโมเดล 98
  2. 2.0 2.1 2.2 Swanborough and Bowers 1976, p. 301.
  3. 3.0 3.1 3.2 Integrated Defense Systems: F-4 Phantoms Phabulous 40th. Boeing. Retrieved: 19 January 2008.
  4. 4.0 4.1 Donald Spring 1991, p. 26.
  5. 5.0 5.1 Donald Summer 1991, p. 22.
  6. Carrara 2006, p. 48.
  7. F-4 Phantoms Phabulous 40th: First to Last. Boeing Integrated Defense Systems. Retrieved: 19 November 2007.
  8. F-4 Phantoms Phabulous 40th: Current Uses of Titanium: F-4 Boeing Integrated Defense Systems. 1971. "F-4B/C 1,006 lb. 7.7% of Structure, F-J/E 1,261 lb. 8.5% of Structure". Retrieved: 14 February 2008.
  9. Donald and Lake 1996, p. 268.
  10. Dorr and Donald 1990, p. 198.
  11. 11.0 11.1 Integrated Defense Systems: F-4 Phantoms Phabulous 40th - Phantom "Phirsts". Boeing. Retrieved: 14 December 2007.
  12. Integrated Defense Systems: F-4 Phantoms Phabulous 40th - World Record Holder. Boeing. Retrieved: 14 December 2007.
  13. McDonnell Douglas F-4D “Phantom II”. National Museum of the USAF. Retrieved: 20 January 2008
  14. Angelucci 1987, p. 310.
  15. Angelucci 1987, p. 312.
  16. Dorr and Bishop 1996, pp. 200–201.
  17. Dorr and Bishop 1996, pp. 188–189.
  18. Donald, David. Warplanes of the Fleet. London: AIRtime Publishing Inc., 2004. ISBN 1-880588-81-1.
  19. Thornborough and Davies 1994, p. 13.
  20. Thornborough and Davies 1994, p. 11.
  21. Dorr 2008, p. 61.
  22. F-4 Phantoms Phabulous 40th - Phantom Development 1978 Commemorative Book. Boeing Integrated Defense Systems. Retrieved 14 February 2008
  23. Lake 1992, p. 15.
  24. 24.0 24.1 24.2 Loftin, Laurence K. Quest for Performance: The Evolution of Modern Aircraft, SP-468. Washington, DC: National Aeronautics and Space Administration, History Office, Scientific and Technical Information Branch, 1985. Retrieved: 19 November 2007.
  25. 25.0 25.1 25.2 Donald and Lake 2002
  26. Kunsan Airbase F-4 Phantom II
  27. Angelucci 1987, p.316.
  28. Lake 1992, p. 21.
  29. Knaack 1978, p. 266.
  30. Integrated Defense Systems: F-4 Phantoms Phabulous 40th. Boeing. Retrieved: 22 May 2007.
  31. "DIRECTORY: WORLD AIR FORCES". Flight International, 11-17 November 2008.pp.52-76.
  32. อภิวัตน์ โควินทรานนท์,อากาศยาน 1979 ฉบับเครื่องบิน,เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์,กรุงเทพ,2522