เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท

เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท (อังกฤษ: F/A-18E/F Super Hornet) เป็นเครื่องบินขับไล่โจมตีชนิดที่ใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบิน เอฟ/เอ-18อีนั้นเป็นแบบที่นั่งเดียวและเอฟ/เอ-18เอฟนั้นเป็นแบบสองที่นั่งที่มีขนาดใหญ่และก้าวหน้ากว่าเอฟ/เอ-18ซี/ดี ฮอร์เน็ท ซูเปอร์ฮอร์เน็ทมีอาวุธเป็นปืนใหญ่อากาศขนาด 20 ม.ม.และสามารถใช้อาวุธอากาศสู่อากาศและอากาศสู่พื้นได้หลากหลาย สามารถติดตั้งถังเชื้อเพลิงสำรองได้ถึงห้าถัง และยังสามารถทำหน้าที่เป็นเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศได้ด้วยการเติมระบบเติมเชื้อเพลิงเข้าไป

เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท
บทบาทเครื่องบินรบหลากบทบาท
ชาติกำเนิด สหรัฐ
บริษัทผู้ผลิตแมคดอนเนลล์ ดักลาส/โบอิง
บินครั้งแรก29 กันยายน พ.ศ. 2538
เริ่มใช้พ.ศ. 2544
ผู้ใช้งานหลักกองทัพเรือสหรัฐ หน่วยนาวิกโยธินสหรัฐ
ช่วงการผลิตพ.ศ. 2538 ถึงปัจจุบัน
จำนวนที่ผลิตทั้งหมด 350 ลำเมื่อถึงปีพ.ศ. 2551[1]
มูลค่า55.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2551)
พัฒนามาจากเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท
แบบอื่นอีเอ-18จี โกรว์เลอร์

ด้วยการที่ถูกออกแบบและผลิตโดยแมคดอนเนลล์ ดักลาสซูเปอร์ฮอร์เน็ทได้ทำการบินครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2538 การผลิตเต็มอัตราเริ่มขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2540 หลังจากที่แมคดอนเนลล์ ดักลาสรวมเข้ากับโบอิงหนึ่งเดือนก่อนหน้า ซูเปอร์ฮอร์เน็ทได้เข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯ ในปีพ.ศ. 2542 เพื่อเข้าแทนที่เอฟ-14 ทอมแคทตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549 และทำงานร่วมกับฮอร์เน็ทแบบดั้งเดิม ในปีพ.ศ. 2550 กองทัพอากาศออสเตรเลียได้สั่งซื้อซูเปอร์ฮอร์เน็ทเพื่อเข้าแทนที่กองบินเอฟ-111

การพัฒนา แก้

ต้นกำเนิด แก้

ซูเปอร์ฮอร์เน็ทเป็นแบบที่มีขนาดใหญ่กว่าและก้าวหน้ากว่าของเอฟ/เอ-18ซี/ดี ฮอร์เน็ท รุ่นก่อนหน้าได้ทำตลาดโดยแมคดอนเนลล์ ดักลาสโดยใช้ชื่อว่าฮอร์เน็ท 2000 เมื่อต้นทศวรรษที่ 1980 ความคิดของฮอร์เน็ท 2000 ถูกนำไปดัดแปลงให้ก้าวหน้าเป็นเอฟ/เอ-18 พร้อมปีกที่มีขนาดใหญ่กว่า ลำตัวที่ยาวกว่าเพื่อบรรทุกอาวุธและเชื้อเพลิงได้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งเครื่องยนต์[2]

การบินของกองทัพเรือสหรัฐฯ เผชิญหน้ากับปัญหามากมายในต้นทศวรรษที่ 1990 โครงการเอ-12 อเวนเจอร์ได้มุ่งมั่นที่จะเข้ามาแทนที่เอ-6 อินทรูเดอร์และเอ-7 คอร์แซร์ 2 ได้ประสบปัญหาและต้องถูกยกเลิกไป ในเวลานี้เองที่สงครามเย็นสิ้นสุดลงส่งผลให้กองทัพมีการเปลี่ยนแปลงและเกิดการตัดงบ[3] โดยปราศจากโครงการที่ดีกองทัพเรือได้มองว่าการนำแบบเดิมที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาให้ดีขึ้นดูเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ด้วยการเป็นอีกทางเลือกของเอ-12 แมคดอนเนลล์ ดักลาสได้เสนอโครงการ"ซูเปอร์ฮอร์เน็ท"ที่จะพัฒนาเอฟ/เอ-18[4] และทำหน้าที่เป็นสิ่งที่จะมาแทนที่เอ-6 อินทรูเดอร์ ในเวลาเดียวกันนั้นกองทัพเรือต้องการกองบินสำหรับการป้องกันเพื่อเข้าทำหน้าที่โครงการเดิมที่ถูกยกเลิกไป ซึ่งเป็นข้อเสนอที่จะทำให้เอฟ-22 แร็พเตอร์ใช้งานกับกองทัพเรือได้[2]

เปลี่ยนสู่ซูเปอร์ฮอร์เน็ท แก้

ซูเปอร์ฮอร์เน็ทถูกสั่งซื้อครั้งแรกโดยกองทัพเรือสหรัฐฯ ในปีพ.ศ. 2535 กองทัพเรือยังได้สั่งโดยตรงว่าเครื่องบินที่จะมาแทนที่เอฟ-14 ทอมแคทนั้นต้องเน้นเรื่องการต่อสู้ทางน้ำเป็นหลักจนกว่าจะมีการนำเอฟ-35 ไลท์นิ่ง 2 ใช้[5] กองทัพเรือยังคงใช้ชื่อเอฟ/เอ-18 เพื่อช่วยให้โครงการดูน่าสนใจต่อสภาคองเกรสที่มันเป็นแบบดัดแปลง แม้ว่าซูเปอร์ฮอร์เน็ทจะเป็นเครื่องบินที่ใหม่เกือบหมดก็ตาม ฮอร์เน็ทและซูเปอร์ฮอร์เน็ทมีความคล้ายคลึงกันที่รวมทั้งระบบอิเลคทรอนิกอากาศ เก้าอี้ดีดตัว เรดาร์ อาวุธ ซอฟต์แวร์ และขั้นตอนในการใช้งานและบำรุงรักษา ในเอฟ/เอ-18อี/เอฟจะมีระบบอิเลคทรอนิกอากาศที่คล้ายคลึงกับเอฟ/เอ-18ซี/ดีมากกว่า[2]

 
เอฟ/เอ-18เอฟสี่ลำบินเหนือแปซิฟิกเมื่อปีพ.ศ. 2546 ลำที่หนึ่งและสามนั้นจะมีกระเปาะเล็กที่เป็นเซ็นเซอร์อินฟราเรดรุ่นเอเอ็น/เอเอสคิว-228 ส่วนลำที่สี่นั้นจะมีถังเชื้อเพลิงสำรองที่มีไว้สำหรับการเติมเชื้อเพลิงให้กับเครื่องบินลำอื่น

ซูเปอร์ฮอร์เน็ททำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538[2] การผลิตครั้งแรกของเอฟ/เอ-18อี/เอฟเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2538 การบินทดสอบเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2539 พร้อมกับการลงจอดครั้งแรกบนเรือบรรทุกเครื่องบินในปีพ.ศ. 2540[2] การผลิตอัตราต่ำเริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2540[6] พร้อมกับการผลิตเต็มอัตราที่เริ่มขึ้นในเดือนกันยายนพ.ศ. 2540[7] การทดสอบดำเนินไปจนถึงปีพ.ศ. 2542 สิ้นสุดด้วยการทดสอบทางทะเลและการเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ การทดสอบมีการบิน 3,100 เที่ยวกินเวลาบินไป 4,600 ชั่วโมง[4] ซูเปอร์ฮอร์เน็ทประสบกับการทอสอบของกองทัพเรือสหรัฐฯ และทำการเปลี่ยนแปลงในปีพ.ศ. 2542[8] และได้รับการยืนยันในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543[9]

ความสามารถในการปฏิบัติการขึ้นแรกหรือไอโอซี (Initial Operational Capability) สำเร็จในเดือนกันยายน พ.ศ. 2544 พร้อมกับฝูงบินที่ฐานทัพเลมอร์ในแคลิฟอร์เนีย กองทัพเรือพบว่าซูเปอร์ฮอร์เน็ทนั้นสมราคาและตามความต้องการ[10]

แม้ว่าจะมีระบบและรูปลักษณ์ที่เหมือนกัน ซูเปอร์ฮอร์เน็ทนั้นแตกต่างอย่างมากจากเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท ซูเปอร์ฮอร์เน็ทถูกเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า"ไรโน่"เพื่อแยกแยะมันจากฮอร์เน็ทรุ่นก่อนที่เรียกว่า"ลีเจซี่"และหลีกเลี่ยงความสับสนทางวิทยุ สิ่งนี้ช่วยให้เกิดความปลอดภัยในการบิน เพราะระบบส่งเครื่องบินนั้นต้องตั้งค่าต่างกันไปสำหรับซูเปอร์ฮอร์เน็ทที่มีน้ำหนักมากว่า "ไรโน่"เริ่มใช้กับเอฟ-4 แฟนทอม 2 ซึ่งถูกปลดประจำการในปีพ.ศ. 2530

ปัจจุบันกองทัพเรือสหรัฐฯ ใช้ทั้งเอฟ/เอ-18อีที่นั่งเดียวและเอฟ/เอ-18เอฟสองที่นั่งสำหรับการต่อสู้ โดยเข้ามาแทนที่เอฟ-14 เอ-6 อินทรูเดอร์ เอส-3 ไวกิ้ง และเคเอ-6ดี สำหรับแบบสงครามอิเลคทรอนิกอีเอ-18จี โกรว์เลอร์ที่จะเข้าแทนที่อีเอ-6บี โพรว์เลอร์ ในสงครามเวียดนามความสามารถของซูเปอร์ฮอร์เน็ทเทียบได้กับเอ-1/เอ-4/เอ-7 เอ-6 เอฟ-8/เอฟ-4 เออาร์-5ซี เคเอ-3/เคเอ-6 และอีเอ-6 มันเป็นที่คาดกันว่าจะประหยัดเงินได้ถึง 1 พันล้านดอลลาร์ในกองบินที่นำซูเปอร์ฮอร์เน็ทมาแทนที่เครื่องบินชนิดอื่นๆ[11]

ในปีพ.ศ. 2546 กองทัพเรือได้ระบุถึงข้อบกพร่องที่ส่วนติดตั้งใต้ปีของซูเปอร์ฮอร์เน็ท ซึ่งสามารถลดอายุการใช้งานของมันได้หากไม่ทำการซ่อมแซม ปัญหาได้รับการแก้ไขนำไปสู่เครื่องบินใหม่ที่จะเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2552[12]

ในต้นปีพ.ศ. 2551 โบอิงได้ปรึกษาเรื่องการสร้างซูเปอร์ฮอร์เน็ทบล็อก 3 พร้อมกับกองทัพสหรัฐฯ และออสเตรเลีย มันจะเป็นการพัฒนารุ่นที่ 4.75 พร้อมกับความสามารถในการล่องหนและพิสัยที่เพิ่มขึ้น มันจะเสร็จสิ้นในปีพ.ศ. 2567 โดยเป็นเครื่องบินขับไล่รุ่นที่ 6[13]

การออกแบบ แก้

ซูเปอร์ฮอร์เน็ทมีขนาดใหญ่กว่าฮอร์เน็ทธรรมดา 20% น้ำหนักเปล่าที่มากกว่า 3,000 กิโลกรัม และน้ำหนักสูงสุดที่มากกว่า 6,800 กิโลกรัม ซูเปอร์ฮอร์เน็ทบรรทุกเชื้อเพลิงภายในได้มากกว่า 33%[14] เพื่อเพิ่มพิสัยการทำภารกิจอีก 41% และความคงทนมากกว่า 50% น้ำหนักเปล่าของซูเปอร์ฮอร์เน็ทคือประมาณ 5,000 กิโลกรัมซึ่งน้อยกว่าเอฟ-14 ทอมแคท ในขณะที่การบรรทุกอาวุธก็ไม่เท่าเทียมกับเอฟ-14 ทั้งๆ ที่มีขนาดใหญ่กว่า [15]

การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้าง แก้

 
ช่องรับลมแบบเหลี่ยมของซูเปอร์ฮอร์เน็ทกับแบบโค้งของฮอร์เน็ท

ลำตัวส่วนหน้าไม่ถูกเปลี่ยนแปลงแต่ยังคงมีส่วนคล้ายคลึงเพียงเล็กน้อยกับแบบเอฟ/เอ-18ซี/ดี[14] ลำตัวถูกยืดออกไปอีก 34 นิ้ว (0.86 ม.) เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้กับเชื้อเพลิงและระบบอิเลคทรอนิกอากาศและเพิ่มพื้นที่ปีกอีก 25%[16] อย่างไรก็ตามซูเปอร์ฮอร์เน็ทมีส่วนที่น้อยกว่าฮอร์เน็ทดั้งเดิม 42%[17] เครื่องยนต์เจเนรัล ไดนามิกส์ เอฟ414 ได้พัฒนามาจากเครื่องยนต์เอฟ404 ของฮอร์เน็ทแต่ทรงพลังกว่า 35%[16] ซูเปอร์ฮอร์เน็ทสามารถกลับสู่เรือบรรทุกเครื่องบินพร้อมกับเชื้อเพลิงและอาวุธที่มากกว่าฮอร์เน็ทดั้งเดิม ความสามารถนี้เรียกว่า"บริงแบ็ค" (Bringback) บริงแบ็คสำหรับซูเปอร์ฮอร์เน็ทนั้นคือน้ำหนักที่เพ่มขึ้น 4,000 กิโลกรัม[18]

ความแตกต่างอื่นยังรวมทั้งช่องรับลมทรงเหลี่ยมและปีกเพิ่มสำหรับติดอาวุธ (ทั้งหมด 11 ตำบล)[19] ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลกด้านอากาศพลศาสตร์ที่สำคัญคือปีกเสริมที่ส่วนหน้าหรือเล็กซ์ (leading edge extension, LEX) ซึ่งสร้างแรงลมที่จะยกจนเกิดมุมปะทะระดับสูง และลดความไม่สเถียรเพื่อเพิ่มการเอียง มันส่งผลให้อัตราการเลี้ยวได้มากถึง 40 องศาต่อวินาที[14] และแรงต้านทานระดับสูงเพื่อปลีกออกจากการบิน[20]

การลดการตรวจจับจากเรดาร์ แก้

ความอยู่รอดคือสิ่งสำคัญของซูเปอร์ฮอร์เน็ท กองทัพเรือสหรัฐฯ ได้นำความสมดุลเข้ามาในการออกแบบ[21] นี่หมายความว่ามันไม่ได้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีซ่อนตัวอย่างระบบล่องหน เพื่อแยกออกจากปัจจัยอื่นๆ แทนที่จะเป็นแบบนั้นการออกแบบของมันทำงานร่วมกับการล่องหน ความสามารถในสงครามอิลเคทรอนิก ลดความอ่อนแอต่อขีปนาวุธ เพื่อใช้อาวุธจากระยะที่ปลอดภัย และยุทธวิธีใหม่ซึ่งรุนแรงและเป็นหมู่เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับเครื่องบินขับไล่และลูกเรือ[22]

 
เอฟ/เอ-18 ซูเปอร์ฮอร์เน็ทสองลำของกองทัพเรือสหรัฐฯ ทำการบินลาดตระเวนเหนืออัฟกานิสถานในปีพ.ศ. 2551

โครงสร้างเรดาร์ของเอฟ/เอ-18อี/เอฟได้ลดอย่างมากจากบางมุมมอง โดยเฉพาะด้านหน้าและด้านหลัง[2] การออกแบบของช่องรับลมเครื่องยนต์ลดโครงสร้างด้านหน้าในเรดาร์ของเครื่องบิน การวางตำแหน่งของปีกเสริมของเครื่องยนต์ถูกออกแบบมาเพื่อกระจายรัศมีไปที่ด้านข้าง โครงสร้างในช่องรับลมจะเปลี่ยนทิศทางของพลังงานเรดาร์ไปจากใบพัดที่กำลังหมุน[23]

ซูเปอร์ฮอร์เน็ทยังมีการวางตำแหน่งที่เชื่อมต่อแผงต่างๆ แบบซี่เลื่อน สิ่งที่ดึงดูดความสนใจถูกนำออกหรือหลุมที่สร้างเสียงดัง ที่ซึ่งเอฟ/เอ-18เอ-ดีใช้ตะแกรงเพื่อปกปิดไอเสียและช่องรับลม เอฟ/เอ-18อี/เอฟใช้แผงที่เจาะเป็นรูซึ่งเรดาร์จะเห็นไม่ชัด มีการวางตำแหน่งของแผงที่ระมัดระวังอย่างมากเพื่อกระจายคลื่นที่ส่งมาจากเรดาร์ให้ออกไปจากเครื่องบิน[2]

มันเป็นที่อ้างกันว่าซูเปอร์ฮอร์เน็ทใช้การลดเรดาร์ที่เยี่ยมที่สุดเหนือเครื่องบินขับไล่ในสมัยเดียวกันในขณะนั้น

ระบบอิเลคทรอนิกอากาศ แก้

ระบบอิเลคทรอนิกอากาศและซอฟต์แวร์ดั้งเดิมของซูเปอร์ฮอร์เน็ทมีความเหมือนกับเอฟ/เอ-18ซี/ดี 90%[24] ซูเปอร์ฮอร์เน็ทมีจุดเด่นที่คันบงคับ จอแสดงผล ขนาดที่ใหญ่กว่า จอแสดงผลสีแบบแอลซีเอ็ม และจอแสดงผลเชื้อเพลิงเครื่องยนต์แบบใหม่[24] ซูเปอร์ฮอร์เน็ทมีระบบฟลายบายไวร์ (fly-by-wire) สี่ระบบ[25] เช่นเดียวกับระบบควบคุมการบินดิจิทัลซึ่งตรวจจับและมองหาความเสียหาย[20] รุ่นแรก ที่ผลิตออกมานั้นใช้เรดาร์แบบเอพีขี-73 ต่อมาถูแทนที่โดยเอพีจี-79

อิฟราเรดจับเป้าด้านหน้าแบบเอเอ็น/เอเอสคิว-228 เป็นเซ็นเซอร์และตัวชี้เป้าเลเซอร์หลักของซูเปอร์ฮอร์เน็ท ระบบป้องกันทำงานร่วมกันผ่านระบบไอดีอีซีเอ็ม (Integrated Defensive Countermeasures system) ระบบนี้รวมทั้งเครื่องปล่อยพลุแบบเอแอลอี-47 พลุเอแอลอี-50 เรดาร์เตือนภัยแบบเอเอ็น/เอแอลอาร์-67(วี)3 เครื่องป้องกันการรบกกวนทางอากาศเอแอลคิว-165 และระบบเตือนภัยขีปนาวุธอัลตราไวโอเลตและอินฟราเรดแบบเอเอ็น/เอเออาร์-47 ลูกเรือมีความสามารถที่จะใช้กล้องมองกลางคืนอีกด้วย

บทบาทในการเป็นเครื่องบินเติมเชื้อเพลิง แก้

 
เอฟ/เอ-18เอฟกำลังเติมเชื้อเพลิงให้กับเอฟ/เอ-18อีเหนืออ่าวเบงกอลในปีพ.ศ. 2550

ซูเปอร์ฮอร์เน็ทไม่เหมือนกับฮอร์เน็ทรุ่นก่อนหน้าตรงที่มันสามารถติดตั้งระบบเติมเชื้อเพลิงทางอากาศหรือเออาร์เอสได้ (aerial refueling system, ARS) เพื่อเติมเชื้อเพลิงให้กับเครื่องบินลำอื่น[26] ระบบเออาร์เอสรวมทั้งถังด้านนอกขนาด 330 แกลลอนสหรัฐฯ (1,200 ลิตร) พร้อมกับท่อและถังด้านนอกขนาด 480 แกลลอนสหรัฐฯ (1,800 ลิตร) สี่ถัง และถังภายในทำให้มีเชื้อเพลิงทั้งสิ้น 13,000 กิโลกรัม (29,900 ปอนด์)[26][27]

การพัฒนา แก้

มันเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2548 เครื่องบินที่สร้างใหม่ได้รับเรดาร์เอพีจี-79 สำหรับเครื่องบินที่ผลิตออกมาก่อนหน้านั้นที่ใช้เรดาร์เอพีจี-73 ก็จะถูกแทนที่โดยเอพีจี-79 เช่นกัน[28] เมื่อถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 เครื่องบินที่ผลิตออกมาก่อนหน้าจำนวน 135 ลำได้รับเรดาร์แบบใหม่[29]

เรดาร์เอพีจี-79 แบบใหม่นั้นให้ข้อได้เปรียบหลายอย่างกับซูเปอร์ฮอร์เน็ท เรดาร์ใหม่นี้สามารถทำให้ลูกเรือทำการโจมตีแบบอากาศสู่อากาศและอากาศสู่พื้นได้ในเวลาเดียวกัน เอพีจี-79 ยังให้แผนที่ที่มีการประมวลผลที่ดีกว่าจากระยะที่ปลอดภัย[30] เรดาร์ยังสามารถตรวจจับเป้าหมายขนาดเล็กอย่างขีปนาวุธที่พุ่งเข้ามาได้อีกด้วย[31]

พลุล่อเป้าไฟเบอร์ออปติกแบบเอเอ็น/เอแอลอี-55 จะเข้ามาแทนที่เอแอลอี-50[32] ตัวรบกวนแบบเอเอ็น/เอแอลคิว-214 ถูกเพิ่มเข้าไปในซูเปอร์ฮอร์เน็ทบล็อก 2[33]

การพัฒนาครั้งแรกของซูเปอร์ฮอร์เน็ทคือระบบหมวกพิเศษหรือเจเอชเอ็มซีเอส (Joint Helmet Mounted Cueing System, JHMCS) ถูกส่งให้กับฝูงบินเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 หมวกพิเศษนี้ทำให้ลูกเรือมีความระมัดระวังมากขึ้น ระบบชาร์ป (Shared Reconnaissance Pod, SHARP) ซึ่งเป็นระบบลาดตระเวนทางยุทธวิธีนั้นก็มีความสามารถที่จะทำงานได้ทั้งกลางวันหรือกลางคืนและทุกสภาพอากาศ [34]

ในอนาคตการตรวจจับเป้าหมายในอากาศจะใช้อินฟราเรดหาและติดตามแบบไออาร์เอสที (Infrared Search and Track, IRST) ซึ่งเป็นเซ็นเซอร์พิสัยไกลที่จะส่งคลื่นอินฟราเรดอันเป็นทางออกที่ไม่เหมือนใคร อุปกรณ์ใหม่นี้จะถูกสร้างเข้าไปในที่ด้านหน้าของถังเชื้อเพลิงกลาง คาดกันว่าอุปกรณ์ดังกล่าวจะทำงานได้ในปีพ.ศ. 2556[35]

การทำงาน แก้

  • การโจมตีตอนกลางวันและกลางคืนด้วยอาวุธนำวิถีที่แม่นยำ
  • สงครามต่อต้านอากาศยาน
  • เครื่องบินขับไล่คุ้มกัน
  • การสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด
  • การกดดันการป้องกันทางอากาศของศัตรู
  • การโจมตีทางทะเล
  • ลาดตระเวน
  • ควบคุมอากาศส่วนหน้า
  • การเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ
  • ปล่อยใบปลิว[36]

ประวัติการใช้งาน แก้

กองทัพเรือสหรัฐฯ แก้

 
เอฟ/เอ-18เอฟจอดบนดาดฟ้าของเรือบรรทุกเครื่องบินยูเอสเอส ดไวท์ ดี ไอเซนฮาวร์ขณะปฏิบัติการอยู่ในทะเลอาหรับเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549

หน่วยแรกที่ได้รับเอฟ/เอ-18 ซูเปอร์ฮอร์เน็ทคือฝูงบินขับไล่โจมตีที่ 115 เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 เอฟ/เอ-18อีสองลำได้ทำการสนับสนุนให้กับปฏิบัติการเซาท์เธิร์นวอชท์โดยเข้าจัดการกับขีปนาวุธพื้นสู่อากาศที่อัลคัทและศูนย์ป้องกันทางอากาศและบังเกอร์ที่ฐานทัพอากาศทัลลิล นักบินนายหนึ่งชื่อจอห์น เทอร์เนอร์ได้ทิ้งระเบิดเจแดมขนาด 900 กิโลกรัมเป็นครั้งแรกของเอฟ/เอ-18อี

ในการสนับสนุนปฏิบัติการปลดปล่อยอิรัก ฝูงบินขับไล่โจมตีที่ 14 41 และ 115 ได้บินเข้าทำการสนับสนุนทางอากาศ โจมตี คุ้มกัน กดดันการป้องกันทางอากาศ และเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ เอฟ/เอ-18อีสองลำจากฝูงบินขับไล่โจมตีที่ 14 และเอฟ/เอ-18เอฟสองลำจากฝูงบินขับไล่โจมตีที่ 41 ถูกใช้งานที่แนวหน้าบนเรือยูเอสเอส อับราฮัม ลินคอล์น ฝูงบินขับไล่โจมตีที่ 14 ทำหน้าที่ในการเติมเชื้อเพลิงและฝูงบินขับไล่โจมตีที่ 41 เป็นการควบคุมทางอากาศแนวหน้า

ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2548 ฝูงบินขับไล่โจมตีที่ 154 และ 147 ได้ทำการทิ้งระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ขนาด 500 ปอนด์เข้าใส่เป้าหมายที่เป็นศัตรูในทางตะวันออกของแบกแดด[37]

ในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2549 ฝูงบินขับไล่โจมตีที่ 211 ใช้เอฟ/เอ-18เอฟซูเปอร์ฮอร์เน็ทพร้อมระเบิดจีบียู-12 และจีบียู-38 เข้าโจมตีกลุ่มตาลิบันและที่มั่นทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองคานดาฮาร์ นี่เป็นครั้งแรกที่หน่วยได้ทำการรบโดยใช้ซูเปอร์ฮอร์เน็ท[38]

ในปีพ.ศ. 2549-2550 ฝูงบินขับไล่โจมตีที่ 103 และ 143 บนเรือยูเอสเอส ดไวท์ ดี ไอเซนฮาวร์ ได้ทำการสนับสนุนปฏิบัติการปลดปล่อยอิรัก เอ็นดัวริ่งฟรีดอม และปฏิบัติการตามชายฝั่งโซมาลี และพร้อมกับฮอร์เน็ทดั้งเดิมของฝูงบินขับไล่โจมตีที่ 131 และ 83 พวกเขาได้ทำการทิ้งระเบิด 140 ลูก และทำการยิงกราดเกือบ 70 ครั้ง[39]

ในปีพ.ศ. 2550 โบอิงได้เสนอเอฟ/เอ-18อี/เอฟเพิ่มให้กับกองทัพเรือสหรัฐฯ โดยจะใช้สัญญาหลายปี[40] ในปีพ.ศ. 2551 มีการรายงานว่ากองทัพเรือกำลังตัดสินใจที่จะซื้อเอฟ/เอ-18 ซูเปอร์ฮอร์เน็ทเพิ่มเพื่อเติมช่องว่างของเครื่องบินขับไล่โจตี[41][42] เมื่อถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 โบอิงได้ส่งซูเปอร์ฮอร์เน็ท 367 ลำให้กับกองทัพเรือสหรัฐฯ[43] ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2552 รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมได้ประกาศว่ากระทรวงกลามโหมตั้งใจที่จะมีเอฟ/เอ-18อี/เอฟเพิ่มอีก 31 ลำในปีพ.ศ. 2553[44]

กองทัพอากาศออสเตรเลีย แก้

ในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 รัฐบาลออสเตรเลียได้ทำสัญญาเพื่อให้ได้เอฟ/เอ-18เอฟ 24 ลำให้กับกองทัพอากาศออสเตรเลียเป็นจำนวนเงิน 6 พันล้านดอลลาร์อออสเตรเลีย เพื่อเข้าแทนที่เอฟ-111[45] ซูเปอร์ฮอร์เน็ทเป็นผลมาจากการห่วงว่าเอฟ-35 ไลท์นิ่ง 2 อาจจะสร้างไม่ทันตอนที่เอฟ-111 ปลดประจำการ นักบินและนายทหารควบคุมการโจมตีทางอากาศของกองทัพอากาศออสเตรเลียจะเริ่มทำการฝึกในสหรัฐฯ ในปีพ.ศ. 2552 พร้อมกับฝูงบินหมายเลข 1 และ 6 ที่จะพร้อมปฏิบัติการกับเอฟ/เอ-18เอฟในปีพ.ศ. 2553

การสั่งซื้อได้รับการยืนยันเกิดการโต้แย้งขึ้น พร้อมกับปัญหาที่รวมทั้งนายทหารที่ปลดประจำการบางส่วน รองจอมพลอากาศปีเตอร์ คริสส์ได้กล่าวว่าเขาประหลาดใจอย่างมากที่พบว่ารัฐบาลออสเตรเลียจะใช้เงิน 6 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลียไปกับเครื่องบินชั่วคราว[46] คริสส์ยังได้กล่าวถึงหลักฐานที่ได้รับมาก่อนที่ขณะกรรมการด้านอาวุธของสหรัฐฯ จะว่าเอฟ/เอ-18เอฟนั้นด้อยกว่ามิก-29 และซู-30[47] ซึ่งเข้าประจำการแล้วเรียบร้อยหรือไม่ก็ถูกสั่งซื้อโดยกองทัพอากาศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้การอากาศเท็ด บุชเฮลได้กล่าวว่าเอฟ/เอ-18เอฟไม่สามารถทำหน้าที่ที่รัฐบาลออสเตรเลียมอบหมายให้มันได้ และการออกแบบโครงสร้างของเอฟ-111 นั้นยังเหมาะคงกับบทบาททางยุทธวิธีจนถึงปีพ.ศ. 2563[46] บ้างการคัดค้านกล่าวว่าการตัดสินใจซื้อเอฟ/เอ-18เอฟมีเพียงไว้เพื่อที่จะขายซูเปอร์ฮอร์เน็ทให้กับออสเตรเลียได้ง่ายเท่านั้น โครงการเอฟ-35 ควรจะประสบกับปัญหา [48]

แพ็คเกจเริ่มแรกที่เสนอต่อกองทัพอากาศออสเตรเลียมีดังนี้[49]

  • เครื่องยนต์ 48 เครื่องและ 6 เครื่องสำรอง
  • เรดาร์แบเอพีจี-79
  • การเชื่อมต่อแบบลิงก์ 16 กับเอเอ็น/ยูเอสคิว-140
  • ที่ยิงขีปนาวุธนำวิถีแอลเอยู-127
  • กล้องมองกลางคืนแบบเอเอ็น/พีวีเอส-9
  • ระบบภารกิรร่วมหรือเจเอ็มพีเอส (Joint Mission Planning System, JMPS) 12 เครื่อง
  • พลุล่อเป้าไฟเบอร์ออปติกแบบเอเอ็น/เอแอลอี-55

ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550 รัฐบาลแรงงานออสเตรเลียได้ประกาศว่าจะมีการทบทวนการซื้ออันเป็นส่วนหนึ่งของการทบทวนในแผนการกองทัพอากาศออสเตรเลีย พร้อมกับความเป็นไปได้ของการสั่งซื้อเอฟ/เอ-18เอฟที่อาจถูกลดลงหรือยกเลิก เหตุผลหลักคือความเหมาะสมในการปฏิบัติการ ขาดความเหมาะสมในการตรวจสอบกระบวนการ และความเชื่อที่ว่าเครื่องบินชั่วคราวไม่เป็นที่ต้องการนัก[50]

ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2551รัฐบาลได้ประกาศว่าจำดำเนินแผนเพื่อให้ได้เอฟ/เอ-18เอฟทั้งหมด 24 ลำ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมโจเอล ฟิทซ์กิบบอนกล่าวว่ารัฐบาลได้สรุปว่ามันเป็นการจำเป็นที่จะสั่งซื้อซูเปอร์ฮอร์เน็ท ถึงแม้ว่าพวกมันยังคงได้รับคำวิจารณ์จากการวางแผนของรัฐบาลก่อน เขากล่าวว่าไม่มีเครื่องบินที่เหมาะสมที่จะสร้างออกมาในปีพ.ศ. 2553 สำหรับความต้องการเอฟ-111 ที่ตั้งโดยรัฐบาลเก่าและมันเป็นไปไม่ได้ที่จะเก็บเอฟ-111 ให้ทำงานในปัจจุบัน[51] รัฐบาลยังได้มองหาอีเอ-18จี โกรว์เลอร์ที่อาจส่งออกด้วย[52] ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 รัฐมนตรีกระทรวงกลาโจเอล ฟิทซ์กิบบอนได้ประกาศว่าซูเปอร์ฮอร์เน็ท 12 จาก 24 ลำจะเข้าการผลิตที่ดัดแปลงให้เป็นอีเอ-18จี มันมีราคาประมาณ 35 ล้านดอลาร์ออสเตรเลีย การตัดสินใจสุดท้ายในการดัดแปลงให้เป็นอีเอ-18จีที่มีมูลค่า 300 ล้านดอลาร์ออสเตรเลียนั้นจะเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2565[53]

การประกอบซูเปอร์ฮอร์เน็ทให้กับกองทัพอากาศออสเตรเลียครั้งแรกเริ่มในเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ที่โรงงานของโบอิงในเซนท์หลุยส์รัฐมิสซูรี[54]

ประเทศที่อาจเป็นผู้ใช้งานในอนาคต แก้

โบอิงได้เสนอซูเปอร์ฮอร์เน็ทให้กับมาเลเซียโดยเป็นส่วนหนึ่งของการซื้อเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ทในปีพ.ศ. 2545 อย่างไรก็ตามการจัดซื้อซูเปอร์ฮอร์เน็ทถูกระงับหลังจากที่รัฐบาลได้ตัดสินใจที่จะซื้อซุคฮอย ซู-30เอ็มเคเอ็มแทนในปีพ.ศ. 2550 แต่นายพลดาทัค นิค อิสมาไล นิค มูฮาเม็ดได้กล่าวว่ากองทัพอากาศมาเลเซียไม่ได้วางแผนที่จะยุติการจัดซื้อซูเปอร์ฮอร์เน็ทเพราะพวกเขาต้องการมัน[55]

โบอิงได้ส่งข้อเสนอซูเปอร์ฮอร์เน็ทให้กับรัฐบาลเดนมาร์กและบราซิลในปีพ.ศ. 2551 ซูเปอร์ฮอร์เน็ทเป็นหนึ่งในเครื่องบินขับไล่ทั้งหมดสามลำในการแข่งขันของเดนมาร์กเพื่อหาสิ่งที่จะมาแทนที่เอฟ-16 จำนวน 48 ลำ[56][57] ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 มีการรายงานว่าซูเปอร์ฮอร์เน็ทถูกเลือกให้เป็นหนึ่งในสามที่เข้าแข่งขันในบราซิล บราซิลเริ่มต้องการเครื่องบินเป็นจำนวน 36 ลำพร้อมกับความเป็นไปได้ในการซื้อทั้งสิ้น 120 ลำ[58][59]

โบอิงตกลงในข้อเสนอสำหรับการแข่งขันเครื่องบินรบหลากบทบาทของอินเดียในเดือนเมษายน พ.ศ. 2551 แบบอื่นของซูเปอร์ฮอร์เน็ทถูกเสนอให้กับอินเดียนั้นชื่อเอฟ/เอ-18ไอเอ็น มันจะรวมทั้งเรดาร์เอพีจี-79 ของเรย์ธีออน[1] ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 โบอิงตกลงในข้อเสนอให้กับอินเดียเพื่อแสดงความเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทของอินเดียเพื่อทำการผลิต[60]

ในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2552 โบอิงได้เสนอซูเปอร์ฮอร์เน็ทในโครงการของกรีซ[61]

แบบต่างๆ แก้

  • เอฟ/เอ-18อี ซูเปอร์ฮอร์เน็ท เป็นแบบหนึ่งที่นั่ง
  • เอฟ/เอ-18เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท เป็นแบบสองที่นั่ง
  • อีเอ-18จี โกรว์เลอร์ รุ่นสำหรับสงครามอิเลคทรอนิกของเอฟ/เอ-18เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท กล่าวว่าจะเริ่มทำการผลิตในปีพ.ศ. 2551 โดยพร้อมใช้งานในปีพ.ศ. 2552 อีเอ-18จีจะเข้าแทนที่อีเอ-6บี โพรว์เลอร์ของกองทัพเรือสหรัฐฯ

ประเทศผู้ใช้งาน แก้

 
ประเทศผู้ใช้งานเอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท
 
เอฟ/เอ-18เอฟของกองทัพเรือสหรัฐฯ ในงานแสดงที่ปารีสเมื่อปีพ.ศ. 2550
  ออสเตรเลีย
  สหรัฐ

รายละเอียด เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท แก้

[63]

สื่อบันเทิง แก้

เอฟ/เอ-18 เอฟเป็นเครื่องบินที่ถูกยิงตกโดยกองกำลังเซอร์เบียในภาพยนตร์เรื่องบีไฮนด์ เอ็นเนมี ไลน์ส

ดูเพิ่ม แก้

การพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
เครื่องบินที่เทียบเท่า

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Boeing Delivers Proposal to Equip Indian Air Force with Super Hornet Fighters", Boeing, 24 April 2008. Accessed 29 April 2008.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Jenkins, Dennis R (2000). F/A-18 Hornet: A Navy Success Story. New York City: McGraw-Hill. ISBN 0071346961.
  3. Donald 2004, p. 45.
  4. 4.0 4.1 F/A-18E/F Super Hornet program milestones
  5. Young, J., Anderson, R., Yurkovich, R., AIAA-98-4701, "A Description of the F/A-18E/F Design and Design Process", 7th AIAA/USAF/NASA/ISSMO Symposium on Multidisciplinary Analysis and Optimization, St. Louis, Missouri, 2-4 September 1998. (F/A-18E intended to replace A-6 and F-14D)
  6. F/A-18E/F Super Hornet Approved For Low-Rate Production
  7. F/A-18E/F Super Hornet Enters Production
  8. Operational and Test Evaluation of F/A-18E/F and F-22 review to Senate Armed Services Committee เก็บถาวร 2011-07-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 22 March 2000.
  9. DoD Special Briefing on "Super Hornet" Operation Evaluation Results
  10. 10.0 10.1 10.2 F/A-18 fact file เก็บถาวร 2014-01-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, US Navy, 13 October 2006.
  11. "The F/A-18E/F Super Hornet: Tomorrow's Air Power Today". National Defense Industrial Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PPT)เมื่อ 2008-05-28. สืบค้นเมื่อ 2008-07-04.
  12. Cavas, Christopher P. (2007-05-18). "Navy, Boeing downplay alleged F/A-18 problems". Navy Times.[ลิงก์เสีย]
  13. Fulghum, David A. (2008-01-30). "Boeing Plans Sixth Generation Fighter With Block 3 Super Hornet". Aviation Week. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-17. สืบค้นเมื่อ 2008-02-17.
  14. 14.0 14.1 14.2 Kopp, C. "Flying the F/A-18F Super Hornet", AusAirPower.net, 2001.
  15. Bob Kress and RADM Gilchrist USNRet "F-14D Tomcat vs. F/18 E/F Super Hornet" เก็บถาวร 2011-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Flight Journal Magazine, February 2002 Issue "it has only 36 percent of the F-14's payload/range capability"
  16. 16.0 16.1 Donald 2004, pp. 49-52.
  17. F/A-18E/F Super Hornet - maritime strike attack aircraft
  18. Ready On Arrival: Super Hornet Joins The Fleet เก็บถาวร 2006-11-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Navy League, June 2002.
  19. Elward 2001, pp. 74-75.
  20. 20.0 20.1 F/A-18E/F Super Hornet page, Boeing
  21. Gaddis, BD. F/A-18 & EF-18G Program brief เก็บถาวร 2008-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, US Navy, 24 April 2007.
  22. F/A-18-E/F Super Hornet .... Leading Naval Aviation into the 21st Century เก็บถาวร 2011-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, US Navy, Accessed 13 December 2007.
  23. Donald 2004, pp. 50-51, 56.
  24. 24.0 24.1 Elward 2001, p. 77.
  25. Winchester, Jim. The Encyclopedia of Modern Aircraft, p. 166. Thunder Bay Press, 2006. ISBN 1-59223-628-6.
  26. 26.0 26.1 "Boeing Super Hornet Demonstrates Aerial Refueling Capability", Boeing Global Strike Systems, April 14, 1999.
  27. Donald 2004, p. 76.
  28. Boeing Frontiers: F/A-18E/F Block II upgrades add to Super Hornet's potent arsenal, Boeing, June 2005.
  29. "Raytheon to Provide Revolutionary AESA Capabilities to 135 F/A-18s", Raytheon, 23 January 2008.
  30. New APG-79 AESA Radars for Super Hornets เก็บถาวร 2007-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Defense Industry Daily, April 26, 2005.
  31. "New U.S. Navy Radar Detects Cruise Missiles". Aviation Week and Space Technology. 2007-04-30. {{cite news}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  32. AN/ALE-55 Fiber Optic Towed Decoy, Globalsecurity.org
  33. Navy Details New Super Hornet Capabilities เก็บถาวร 2012-02-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Aviation Week and Space Technology, February 25, 2007
  34. Raytheon Awarded Navy Contract to Increase SHARP System Capability, October 4, 2006
  35. Boeing Selects Supplier for Super Hornet Block II Infrared Search and Track Capability, July 2, 2007.
  36. U.S.N. photo of PDU-5 leaflet drop[ลิงก์เสีย]
  37. USS Carl Vinson CVN-70 History
  38. "Strikes Continue; ISAF Air Component Commander Visits Big E". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-22. สืบค้นเมื่อ 2009-04-25.
  39. "CVW-7 Sailors Complete an Eight-Month Deployment". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-29. สืบค้นเมื่อ 2009-04-25.
  40. Trimble, Stephen. "US Navy Super Hornet deal could cut JSF numbers", Flight International, 23 July 2007.
  41. "U.S. Navy Mulls New F/A-18E/F Buy"[ลิงก์เสีย], DefenseNews.com, 5 March 2008.
  42. "Where Have all the Strike Fighters Gone?", Tailhook Daily Briefing, October 2008.
  43. Boeing F/A-18E/F Super Hornet a Finalist in Brazil Fighter Aircraft Competition. Boeing Press Release, St. Louis, MO, October 1, 2008.
  44. http://www.defenselink.mil/transcripts/transcript.aspx?transcriptid=4396
  45. Super Hornet Acquisition Contract Signed
  46. 46.0 46.1 The 7.30 Report, "Nelson stands by fighter jet decision", Australian Broadcasting Corporation (ABC), (Transcript, broadcast March 15, 2007) Access date: April 13, 2007.
  47. Criss, Peter. "There is nothing super about this Hornet", Sydney Morning Herald, March 15, 2007. Access date: May 9, 2007.
  48. Richard Baker "The Hornet's nest" The Age, July 9, 2007
  49. Australia – F/A-18E/F Super Hornet Aircraft เก็บถาวร 2009-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, US Defense Security Cooperation Agency, 6 February 2007.
  50. Allard, Tom (2007-12-31). "Axe set to fall on Nelson's fighters". The Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 2008-07-04.
  51. Govt to keep Super Hornets The Age, March 3, 2008
  52. Dodd, Mark (2008-08-15). "RAAF likes the sound of the Growler". The Australian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-17. สืบค้นเมื่อ 2008-08-15.
  53. "SUPER HORNETS WIRED FOR FUTURE UPGRADE". Department of Defence. 2009-02-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-08. สืบค้นเมื่อ 2009-04-25.
  54. Boeing Press Release, December 17, 2008
  55. "Super Hornets, Awacs may feature in RMAF modernisation plans". Utusan Malaysia. 2007-04-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-06. สืบค้นเมื่อ 2008-09-05. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  56. Warwick, Graham. "Boeing Submits Danish Super Hornet Proposal" เก็บถาวร 2012-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Aviation Week, 28 August 2008.
  57. "Boeing, US Navy Offer Super Hornet for Denmark Fighter Competition", Boeing, 27 August 2008.
  58. Trimble, Stephen. "Brazil names three finalists for F-X2 contract, rejects three others", Flight International, 6 October 2008.
  59. "Boeing F/A-18E/F Super Hornet a Finalist in Brazil Fighter Aircraft Competition", Boeing, October 1, 2008.
  60. "Boeing Submits Combat Aircraft Industrial-Participation Proposal to Indian Government", Boeing, 4 August 2008.
  61. "Boeing to Offer Super Hornet for Greece's Next-Generation Fighter Program". Boeing. Boeing. March 10, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-04-22.
  62. F/A-18E/F Super Hornet page, FAS.org.
  63. F/A-18E/F Super Hornet page on Aerospaceweb.org

แหล่งข้อมูลอื่น แก้